Author Archive Support Dept

เปลี่ยน wordpress ให้เป็นร้านค้าออนไลน์ด้วย “wp e-Commerce”

บทความนี้เหมาะสำหรับคนที่รู้จัก wordpress หรือใช้งาน wordpress เป็นบ้างแล้ว เช่นติดตั้งปลั๊กอินได้ เป็นต้น ส่วนใครที่เป็นมือใหม่ ไม่เคยรู้จัก wordpress ไม่รู้ว่า wordpress คืออะไร ใช้งาน wordpress ไม่เป็น ก็แนะนำให้ลองศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับ wordpress  ในบทความอื่นๆ ก่อนนะครับ 

ที่นี้มีหลายคนคงจะรู้ดีว่า wordpress มันคือ Blog ใช้ทำเว็บ blog ทั่วไปจะสามารถนำมาทำเป็นร้านขายของออนไลน์ หรือที่เรียกอีกอย่างนึงว่า เว็บ e-Commerce ได้ด้วยหรอ อยากจะตอบอย่างนี้ครับว่า ความสามารถของ wordpress นั้นเราสามารถทำให้มันเป็นเว็บอะไรก็ได้เท่าที่เราต้องการ ส่วนวิธีที่ผมจะเขียนต่อไปนี้เป็นวิธีที่ใช้ Plugin เข้ามาช่วยครับ (wordpress มีทีเด็จตรง plugin นี่และ) เพราะมันเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดแล้ว และบางคนอาจจะสงสัยว่าแล้วจะใช้ Plugin ตัวไหนละในเมื่อ plugin ที่เกี่ยวกับ e-Commerce นั้นมีตั้งหลายตัว อยากจะตอบอย่างนี้ครับว่า plugin e-Commerce เท่าที่ผมเคยลองใช้และลองทดสอบมา ตัวที่ผมจะแนะนำต่อไปนี้เป็นตัวที่ใช้งานง่ายน่าจะที่สุดแล้ว และที่สำคัญฟรีด้วย

Plugin ตัวนี้ชื่อว่า “WPe-Commerce” เวลาค้นหาให้ดูชื่อดีดีนะ เพราะมีตัวซ้ำกันเยอะ เลือกตัวที่ชื่อตรงที่สุด

นี่คือหน้าตาของ WP e-Commerce เป็นหน้าที่แสดงสินค้าของเราทั้งหมดว่ามีอะไรบ้าง ราคาเท่าไหร่ เป็นต้น เราสามารถเพิ่มสินค้าได้ตามต้องการ ส่วนรูปด้านล่างนี้คือหน้าที่เรา ใส่รายละเอียดสินค้า ใส่ชื่อสินค้าได้ รายละเอียดของสินค้า ใส่รูปสินค้า กำหนดราคาของสินค้า เป็นต้น

หลังจากเราใส่รายละเอียดของสินค้าเสร็จทั้งหมดแล้วพอกดเผยแพร่แล้ว ก็จะได้หน้าตาของหน้า แสดงสินค้าออกมาแบบนี้ บางคนอาจจะคิดว่าไม่เป็นสวยเลย ความสวยขึ้นอยู่กับธีมที่เราใช้ครับ…อันนี้มันเป็นธีมธรรมดา ถ้าอยากให้ดูเลิศก็ ต้องเลือกธีมดีดีครับ… และแถมยังมีปุ่ม “Add To Cart” อีกนะ เวลามีลูกค้าเข้ามาที่เว็บเราแล้วสนใจสินค้าก็แค่กดปุ่ม “Add To Cart” แค่นี้สินค้าก็จะลงไปอยู่ในตระกร้าแล้ว ดังเช่น รูปด้านล่างนี้ เห็นไหมว่า มันมีระบบที่แสดงการซื้อสินค้าและ ระบบเก็บเงิน คำนวนเงิน ให้พร้อม แถมยังสามารถให้ลูกค้า กรอกที่อยู่เพื่อจัดส่งสินค้าได้อีกด้วย

ข้อดีของปลั๊กอินตัวนี้ WP e-Commerce 
  • ง่ายต่อการติดตั้งเวิร์ดเพรสปลั๊กอิน
  • ทำงานร่วมกับทุกมาตรฐานตาม theme WordPress
  • เล่นได้ดีกับปลั๊กอินอื่น ๆ
  • สนับสนุนเครื่องมือ WordPress
  • ใช้รหัสย่อและแท็กแม่แบบ (เช่นเดียวกับ WordPress)
  • ทำงาน out-of-the-box กับ WordPress MU

ระบบการชำระเงินมีดังนี้ ถือว่าครบถ้วนเลยทีเดียว

  • ชำระเงินด้วยตนเอง (เช่น โอนผ่านธนาคาร) ก็ปรับแต่งได้
  • มาตรฐานการชำระเงิน PayPal
  • วิธีการชำระเงิน PayPal Pro
  • ชำระเงินด่วน PayPal
  • Google Checkout

ลูกเล่นบริการเสริมของร้าน

  • มีระบบคูปอง / ส่วนลดต่างๆ
  • ขายเฉพาะสินค้า (เลือกสินค้าที่เด่นชัดหรือสินค้าที่มีจำนวนจำกัดได้)
  • ส่วนลดปริมาณ (ซื้อเยอะก็ได้ส่วนลดเยอะ ตั้งค่าได้)
  • ตัวเลือกส่งฟรี
  • การกำหนดราคาแบบหลายชั้นสำหรับส่วนลดปริมาณ

ระบบการส่งสินค้า

  • รวมกับ UPS, USPS, ออสเตรเลียโพสต์และ Shipwire สำหรับเวลาจริงอัตราค่าจัดส่ง
  • มีความยืดหยุ่นในตัวเครื่องคิดเลขอัตราค่าจัดส่ง (ระบบคิดค่าส่งอัตโนมัติ)
  • ประเทศและทั่วโลกอัตราค่าจัดส่ง (ตั้งค่าได้ว่าจะบริการส่งประเทศไหนบ้าง)
  • การจัดส่งสินค้าอัตราเรด (ตั้งค่าได้ว่าซื้อราคานี้ขึ้นไป จัดส่งฟรี)
  • การจัดส่งสินค้าอัตราจำนวน (ตั้งค่าได้ว่าซื้อจำนวนเท่านี้ขึ้นไปจัดส่งฟรี)
  • การจัดส่งสินค้าอัตราน้ำหนัก

ระบบการจัดการของ Admin หรือผู้ขาย อันนี้ดีมาก

  • แดชบอร์ดผู้ดูแลระบบสำหรับภาพรวมยอดขาย แสดงสถิติการขายได้
  • ส่งออกข้อมูลการสั่งซื้อและข้อมูลลูกค้าในรูปแบบที่ CSV, Excel สามารถโหลดมาเก็บไว้ในเครื่องได้ด้วย
  • ประวัติการสั่งซื้อที่มีป้ายชื่อสำหรับสถานะประมวลผลคำสั่ง (แสดงสถานะได้ว่า ลูกค้าชำระเงินหรือยัง สินค้าจัดส่งไปหรือยัง เป็นต้น)
  • การแจ้งเตือนอีเมลของคำสั่ง (ตั้งค่าระบบแจ้งเตือน Email ให้ลูกค้าได้)
  • พิมพ์ใบแจ้งหนี้ ต่างๆ

นี่คือข้อมูลรายละเอียดความสามารถส่วนหนึงของ Plugin WP e-Commerce เท่านั้น ยังมีรายละเอียดอีกเยอะมากแต่ขี้เกลียดพิพม์แล้ว สำหรับบทความนี้ไว้แค่นี้ก่อนแล้วกัน ในบทความต่อไปผมจะมาบอกเล่าวิธีติดตั้งและวิธีตั้งค่าเจ้า Plugin WP e-Commerce ตัวนี้กัน

แต่ถ้าใครสนใจอยากจะลองทำเองดูก่อนก็สามารถโหลดมาติดตั้งได้ โหลดปลั๊กอินตัวนี้ที่ http://wordpress.org/extend/plugins/wp-e-commerce/


Credit: nampheung.com

ทำไมเว็บไซต์ E-Commerce ควรใช้ WordPress มากที่สุด

อีคอมเมิร์ซ (E-Commerce) เติบโตอย่างก้าวกระโดดในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นก้าวกระโดดที่สามารถพลิกธุรกิจให้เหมือนเสือติดปีก หรือเป็นได้แค่หงษ์ปีกหักได้ในเวลาอันรวดเร็ว ปัจจุบันสัดส่วนของเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ (E-Commerce) อยู่ที่ 45.4% ของจำนวนเว็บไซต์ทั้งหมด ซึ่งในปี 2017 หรือ 2560 คาดว่ายอดขายจากอีคอมเมิร์ซ (E-Commerce) ทั่วโลกจะอยู่ที่ 2.2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นสัดส่วน 8.2% จากยอดขายปลีกทั่วโลก ซึ่งเป็นตัวเลขที่เติบโตอย่างมีนัยสำคัญมากๆครับ ดังนั้นเราไม่ต้องสงสัยเลยว่าธุรกิจออนไลน์ หรืออีคอมเมิร์ซ (E-Commerce) จะมีบทบาทและอิทธิพลต่อการทำธุรกิจต่อไปในอนาคตอย่างแน่นอน

แล้วเทคโนโลยี หรือ Platform อะไรที่มีชื่อเสียงที่สุดในวงการทำเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ (E-Commerce)

ผู้นำในตลาด E-Commerce ก็คือ WooCommerce มีสัดส่วนคิดเป็น 42% ลองลงมาคือ Magento มีสัดส่วน 13% เท่ากับ Shopify ที่ 13% เช่นเดียวกัน นอกนั้นมีสัดส่วนไม่ถึง 10% คงไม่ต้องสงสัยว่า WooCommerce จะครองอันดับหนึ่งได้ในเวลาอันรวดเร็ว และทิ้งห่างจาก Platform อื่นๆอย่างไม่เห็นฝุ่น

เทคโนโลยีการพัฒนาเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซที่ได้รับความนิยมสูงสุด

เว็บไซต์ที่พัฒนาด้วย WooCommerce มากถึง 617,027 เว็บไซต์ ซึ่งเป็นที่นิยมสูงสุด โดยจากสองภาพด้านบนเราได้ยกตัวอย่างเฉพาะเว็บไซต์ที่พัฒนาด้วยโครงสร้างของระบบ CMS (Content Management System) ซึ่งถือว่ามีประสิทธิภาพในการไต่อันดับ หรือทำอันดับ SEO ได้รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพสูง นอกจากนี้ยังสามารถสร้างหรือพัฒนาเว็บไซต์ระบบอีคอมเมิร์ซ (E-Commerce) ได้ในเวลาอันรวดเร็ว และจะขยายขีดความสามารถเพิ่มเติมได้อย่างไม่จำกัด มี Web Hosting รองรับมากมายในราคาถูกมากๆ ต่างกับการเขียน Code ขึ้นมาเองใหม่หมดตั้งแต่บรรทัดแรก ซึ่งใช้เวลานานกว่า และยังมีช่องโหว่มากมายเพราะมีนักพัฒนาไม่กี่คน และไม่ค่อยพัฒนาหรือแก้ไขช่องโหว่อย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกับระบบ CMS (Content Management System)

และที่ผมตั้งชื่อเรื่องไว้ว่า ทำไมเว็บไซต์ E-Commerce ควรใช้ WordPress มากที่สุด ก็เพราะว่า WooCommerce นั้นเป็น Plugin ส่วนเสริมความสามารถด้านอีคอมเมิร์ซ (E-Commerce) ให้กับ WordPress นั่นเอง ซึ่งทั้งหมดเป็น Open Source ฟรีทั้งสองระบบครับ ทำให้ต้นทุนในการพัฒนาเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ (E-Commerce) ของเราต่ำมากเมื่อเทียบกับการจ้างเขียน Code ด้วยภาษาต่างๆขึ้นมาใหม่ นอกจากนี้ WordPress ยังมีส่วนแบ่งตลาดหรือ Market Share ที่ 25% จากเว็บไซต์ที่พัฒนาทั่วโลกและทุกระบบ และคิดเป็น 67% เมื่อเทียบกับเว็บไซต์ในระบบ CMS ทั้งหมด ด้วยความนิยมขนาดนี้ทำให้เรามั่นใจได้ว่าระบบอีคอมเมิร์ซ (E-Commerce) ของ WooCommerce จะต้องได้รับการพัฒนาต่อยอดไปเรื่อยๆ และมีคุณสมบัติที่ได้มาตรฐานยิ่งๆขึ้นไปอีกอย่างแน่นอน เราในฐานะคนใช้งานก็อุ่นใจ ไม่ต้องร้อนๆหนาวๆกับบรรดาโปรแกรมเมอร์ที่เคารพรักว่าจะหยุดพัฒนาหรือหายหน้าหนีเราไปแต่อย่างใด

นอกจากนี้ WooCommerce ในปัจจุบันนั้นใช้งานได้ง่ายกว่าเดิม รองรับสินค้าได้อย่างไม่จำกัด ซึ่งข้อนี้หลายคนที่พัฒนาเว็บไซต์ด้วย Magento จะเถียงว่าไม่จริง WooCommerce นั้นรองรับไม่กี่สินค้าก็หนักและช้าแล้ว อย่างไรก็ลองเข้าไปดูข้อมูลใน Google แล้วรองค้นหาข้อมูลดูนะครับ เดี๋ยวนี้ใส่สินค้าเข้าไปเป็นแสนตัวยังรับได้ ขึ้นกับ Server หรือ Hosting ครับ ในทางกลับกัน Magento กลับเริ่มต้นติดตั้งยุ่งยากกว่า และหา Server รองรับได้ทันทีในประเทศไทยไม่มาก และส่วนต่อขยายหรือ Extension นั้นมีน้อยกว่าฝั่ง WordPress เป็นอย่างมาก ราคาก็แพงกว่าด้วยครับ ผมตอบในฐานะที่พัฒนาทั้ง WordPress และ Magento มาแล้ว ถ้าเป็นสมัยก่อนผมยอมรับว่า Magento เหนือกว่าในด้าน E-Commerce จริง แต่ปัจจุบัน WooCommerce ไล่ทันแล้ว ขึ้นอยู่กับความถนัดครับ และข้อมูลที่ปรากฏว่า Platform ไหนคนใช้งานมากที่สุดก็เป็นเครื่องพิสูจน์อยู่แล้วเพราะมันคือ Facts จากทั่วโลกครับ ผมมักจะบอกลูกค้าว่าใช้ WordPress เถอะราคาทำเว็บถูกว่า Magento เยอะ ใช้งานก็ง่ายกว่า และเก่งเรื่องทำ Blog หรือบทความกว่าเยอะมาก และถ้าคุณต้องการระบบ E-Commerce ดีๆ และระบบจัดการ Blog ดีๆ ติด SEO เร็วๆ คำตอบส่วนตัวของผมคือ WordPress ครับ

เจาะลึก WooCommerce สำหรับผู้เริ่มต้น

Woocommerce คืออะไร?

Woocommerce คือ ปลั๊กอินที่ช่วยแปลงร่างเว็บ WordPress ธรรมดาๆ ของคุณให้กลายเป็นเว็บบร้านค้าออนไลน์เต็มรูปแบบ เราสามารถโหลดตัวปลั๊กอินนี้มาใช้ฟรีๆ ได้อีกด้วย และในปัจจุบันจากสถิติเว็บร้านค้าออนไลน์ของทั้งโลก 47% คือเว็บที่สร้างมาจาก Woocommerce

WooCommerce-Stats-2018

ทำไมต้องใช้ Woocommerce?

  1. โหลดมาใช้ได้ฟรี
    ไม่ต้องกังวลเรื่องเงินในกระเป๋า ช่วยให้เราเริ่มต้นสร้างเว็บขายของออนไลน์ด้วยต้นทุนที่น้อยมาก เราสามารถโหลดและติดตั้ง Woocommerce ได้ฟรีๆ
  2. อนาคตสดใส
    เพราะมีคนใช้งาน Woocommerce จำนวนมากกว่า 1 ล้านเว็บไซต์ แถบเจ้าของปลั๊กอินนี้คือบริษัท Automattic ผู้อยู่เบื้องหลัง WordPress.org และ WordPress.com หมดกังวลว่าเขาจะหยุดพัฒนาไปได้เลย เรียกว่าเรายังสามารถเกาะปลั๊กอินตัวนี้ได้อีกนาน
  3. มันใช้งานง่าย
    ไม่ต้องโค้ด ไม่ต้องเป็นโปรแกรมเมอร์ เป็นแค่คนธรรมาดาๆ พ่อค้า แม่ค้าทั่วไปก็สามารถใช้งานได้หมด เหตุผลหลักที่ทำให้ WordPress หรือ Woocommerc มีคนใช้เยอะ เพราะมันง่ายนั้นเอง ตัวอย่างเว็บไซต์ที่สร้างโดยคนธรรมดา มีทั้งแม่บ้าน พ่อบ้าน ผู้สูงวัย สามารถทำเว็บสวยๆ ได้หมดนั้นเอง
  4. มีอุปกรณ์เสริมแต่งเพียบ
    แม้ว่า Woocommerce จะมีฟังชั่นเพียงพอต่อการเริ่มต้นทำเว็บขายของออนไลน์แล้วก็ตาม แต่หากยังรู้สึกว่าไม่พอใจ เราสามารถเพิ่มตัว extensions ได้อีกมากมาย แต่บางตัวอาจไม่ฟรีนะ

 

สิ่งที่ควรรู้ก่อนเริ่มต้นใช้งาน Woocommerce

1.  WordPress และ Woocommerce มีการอัพเดทตลอด

ดังนั้นหากใครมาสายนี้ เมื่อเราทำเว็บเสร็จต้องเรียนรู้วิธีการดูแลเว็บ และการอัพเดทเว็บของเราด้วย

โดยมากส่วนใหญ่คิดว่าทำเว็บเสร็จแล้วปล่อยทิ้งไว้ได้เลย ตรงจุดนี้เป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง เราจำเป็นต้องคอยอัพเดทเว็บอยู่เสมอ เพื่อให้เว็บเราใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และความเสี่ยงของการถูกแฮคเว็บจะน้อยลงด้วย คู่มืออัพเดทธีมและปลั๊กอินยังไงไม่ให้เว็บพัง

ปล. เว็บที่โดนแฮคส่วนมากคือเว็บที่ไม่ยอมอัพเดท หรือเว็บที่ถูกคนทำปล่อยทิ้งไปแล้วนั้นเอง

 

2. โฮสทุกโฮสทำเว็บได้หมด แต่ไม่ทุกโฮสเหมาะกับเว็บ WordPress + Woocommerce

ในฐานะที่ผมทำอาชีพสอนทำเว็บ ในตอนแรกใครบอกว่าที่ไหนดีผมก็ลองไปเช่ามาใช้หมดครับ ทั้งของไทยและต่างประเทศ เพื่อมองหาโฮสที่เหมาะกับมือใหม่ที่สุด

ปัญหาที่เจอของโฮสที่มีชื่อเสียงก็คือเขาจะมีลูกค้าเยอะ เขาจึงค่อนข้างจำกัดการใช้งานของลูกค้าในระดับ Share Host ซึ่งโดยทั่วไปมือใหม่ 90% ก็เริ่มต้นทำเว็บด้วยการใช้โฮส ในระดับ Share host ที่มีราคาถูก นั่นเองในช่วงเริ่มต้น

การถูกจำกัดการใช้งานเท่าที่เคยเจอมา เช่น ลง WordPress เองไม่ได้ อัพเดท WordPress ไม่ได้ จำกัดพวกหน่วยความจำในส่วนของ PHP

สำหรับ Standhost เอง ก็เป็น Hosting ที่เหมาะสมกับการทำ WordPress ครับ 🙂

 

3. ทำเว็บเสกลขนาดไหนเหมาะกับ Woocommerce มากที่สุด

หากเราแบ่งประเภทของเว็บร้านค้า อาจจำแนกได้ 2 ประเภทใหญ่ๆ

1) เว็บร้านค้ารายเดียว ที่ขายสินค้าต่างๆ

2 ) เว็บร้านค้าที่เป็นตลาดกลาง (Market place) ที่เปิดให้ร้านค้าหลายราย มาวางขายสินค้า ตัวอย่างเช่น Lazada, Amazon Kaideeตามหลักการเราสามารถใช้ Woocommerce สร้างเว็บได้ทั้ง 2 แบบ แต่ในการใช้งานทำเว็บจริงๆ ตัว Woocommerce มีโครงสร้างที่เหมาะสำหรับการทำเว็บร้านค้าเดี่ยวๆ มากกว่า ครับ

เพราะเว็บที่เป็น Market place มีความซับซ้อนของระบบมากกว่าหลายเท่า เพราะผู้ขายต้องมีสิทธิเอาสินค้ามาวางขาย และแก้ไขรายละเอียดของตัวเอง เช็คยอดเงิน / การส่งของต่างๆ (ซึ่งต้องกำหนดอีกมากว่า ใครส่ง ด้วยเงื่อนไขไหน ใครรับประกัน)

และยังต้องคำนึงถึงปริมาณของผู้เข้าชมเว็บของเราอีกด้วย การทำเว็บแบบนี้ควรเขียนระบบขึ้นมาเองจะตอบโจทย์มากกว่า ดูกระทู้เพิ่มเติมเรื่องนี้ ได้ที่ สร้างเว็บอีคอมเมิร์ซทำด้วยอะไรดี?

 

การเลือกธีมให้เหมาะกับ Woocommerce

woocommerce theme

จากรูปภาพอธิบายได้ว่า WordPress คือ Platform หลัก แต่ฟังชั่นต่างๆ หรือการปรับหน้าตาเว็บเราจะปรับแต่งผ่านธีมและปลั๊กอิน

90 % ของเว็บ WordPress ที่ทำระบบตระกร้านสินค้าใช้ปลั๊กอิน Woocommerce ในการทำทั้งสิ้น นั้นหมายความว่า หากตัว Woocommerce ออกเวอร์ชั่นใหม่ ระบบต่างอาจมีเปลี่ยนแปลงมากบ้างน้อยมาก ธีมที่ดีต้องมีการอัพเดทให้ใช้งานร่วมกับ Woocommerce ด้วย

  •  ควรใช้พรีเมี่ยมธีม (ธีมตัวเสียเงิน) ธีมฟรีจะมีข้อจำกัดค่อนข้างเยอะ และไม่มีความยืดหยุ่น จะออกแนวเว็บสำเร็จรูป เราไม่สามารถปรับแต่งตามใจ หรือตามไอเดียที่เรามีได้แต่หากเราเลือกใช้ธีมตัวเสียเงิน อารมณ์การใช้งาน จะเปรียบเหมือนเราซื้อตัวต่อเลโก้ เราซื้อ 1 ธีม เราก็จะได้ชิ้นส่วนมา 1 ถุง หน้าที่ของเราคือเอาชิ้นส่วนเหล่านั้นมาประกอบเป็นเว็บให้มีหน้าตาแบบใดก็ได้ ตามไอเดียของเราได้หมด เหมือนกับเราต่อตัวต่อเลโก้ให้มีรูปร่างอะไรก็ได้นั้นเอง
  • มีการอัพเดทอยู่เสมอ ธีมที่ดีควรมีการอัพเดทล่าสุดให้สามารถใช้งานบน WordPress เวอร์ชั่นล่าสุดอยู่เสมอ
  • อัพเดทตาม Woo เวอร์ชั่นล่าสุด (ver.3+)
  • มียอดขายพอสมควร ทุกคนสามารถทำธีมแล้วเอาไปลงขายที่ ThemeForest ได้หมด แต่ไม่ใช่ทุกธีมที่วางขายบน ThemeForest แล้วจะขายดี ในหลายๆ ธีมหากไม่ค่อยมียอดขาย ผู้สร้างธีมมักหยุดพัฒนาธีม หรืออัพเดทธีมในรองรับ WordPress และ Woocommerce เวอร์ชั่นใหม่ๆ หากเราใช้ธีมนั้นๆ ต่อไป ก็มีความเสี่ยงสูงว่าเว็บเราจะใช้งานไม่ได้เมื่อมีการอัพเดทนั้นเอง
  • มีคลิปสอนการ setup ธีม บน YouTube การทำเว็บ WordPress นั้นไม่ยาก เราไม่ต้องเขียนโค้ด แต่มันก็ไม่ง่าย เพราะมันมีรายละเอียดที่เยอะมาก และแต่ละธีมมีการ Setup ที่ไม่เหมือนกันเลย หากเราจะซื้อธีมไหน ลองเอาชื่อธีมนั้นไปเสริจหาบน Youtube ดู ถ้าธีมนั้นมีคลิปสอน ก็จะช่วยให้เราเรียนรู้การทำเว็บได้เร็วขึ้นนั้นเอง
  • มี Facebook Group ช่วย ถาม-ตอบ ในบางธีม เขาจะสร้าง Facebook Group เพื่อคอย Support คนที่ใช้ธีมเดียวกัน ติดขัดตรงไหนเราก็สามารถไปตั้งกระทู้ถามได้เลย แต่มีแค่บางธีมนะที่มี
  • แหล่งซื้อธีมคุณภาพ themeforest.net

บทสรุป สอน Woocommerce

Woocommerce คือปลั๊กอินสร้างระบบร้านค้าออนไลน์ ที่ช่วยให้คนธรรมดา เริ่มต้นสร้างเว็บขายของด้วยตนเองได้ และเป็นที่นิยมมากที่สุดในโลก ถึงแม้ว่าเขาจะใช้งานง่าย แต่ในความง่ายก็ยังมีรายละเอียดอีกพอสมควร หากเราพื้นฐานไม่ดี จากเรื่องง่ายๆ อาจกลายเป็นเรื่องยากได้นั้นเอง

 


ขอบคุณที่มา: padveewebschool.com

สุดยอด 5 ปลั๊กอินในการสร้างเว็บไซต์ e-Commerce ด้วย WordPress

10 ที่ดีที่สุดของปลั๊กอิน e-Commerce WordPress ที่ดีที่สุด S

1 WP e-Commerce

ปลั๊กอิน WordPress, WP-e-Commerce-eCommercepour

WP e-Commerceเป็นปลั๊กอินอีคอมเมิร์ซ WordPress ตัวแรกของโลก มีคุณสมบัติหลากหลาย คุณยังสามารถซื้อ Add-on เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับร้านค้าของคุณได้

คุณลักษณะปลั๊กอินอย่างย่อ

  • ดาวน์โหลดได้ฟรีและทำงานได้ดี
  • รหัสคูปอง
  • ตัวเลือกการจัดส่งฟรี
  • โปรโมชั่นในหลาย ๆ หน้า
  • ผลิตภัณฑ์ใหม่ Widget
  • การบูรณาการวิธีการชำระเงิน e-Commerce
  • ยอมรับ Paypal
  • และอื่น ๆ …

 

2 WooCommerce

WordPress ปลั๊กอินสำหรับ WooCommerce - อีคอมเมิร์ซ

WooCommerce. เป็นปลั๊กอินอีคอมเมิร์ซที่ใช้มากที่สุดใน WordPress เพื่อสร้างเว็บไซต์ขายออนไลน์ ไม่เพียง แต่เป็นอิสระ แต่เป็นเรื่องง่ายที่จะใช้สำหรับร้านค้าออนไลน์และลูกค้า เราได้เขียนที่ยอดเยี่ยม เกี่ยวกับการสอน เพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนี้ อีคอมเมิร์ซ มืออาชีพมาก: วิธีการติดตั้งและกำหนดค่า WooCommerce.

สรุปคุณสมบัติสำหรับตัวเลือกฟรี

  • ตะกร้าสินค้า
  • การจัดการสินค้าและสต็อกง่ายพอ
  • จัดการคำสั่งซื้อ
  • การจัดการสินค้าคงคลัง
  • รายงานการขาย
  • บัญชีลูกค้า
  • การควบคุมของการจัดส่ง
  • Paypal บัญชีธนาคาร
  • การจัดส่งอัตโนมัติของไฟล์ที่ดาวน์โหลด
  • และอื่น ๆ …

 

3 Jigoshop

WordPress ปลั๊กอินสำหรับ Jigoshop อีคอมเมิร์ซ

ปลั๊กอิน WordPress Jigoshop มีทุกสิ่งที่คุณต้องการเพื่อเริ่มต้นร้านค้าบนอินเทอร์เน็ต ฟรีและมีไลบรารีของส่วนขยายฟรี นอกจากนี้คุณมีความเป็นไปได้ที่จะซื้อธีมพิเศษที่ปรับเปลี่ยนได้ ดาวน์โหลด

คุณสมบัติอย่างย่อ

  • ยอดขายรายละเอียดของรายงาน
  • เครื่องมือและย่อ
  • หน้าเว็บของ paiements
  • การจัดการสินค้าคงคลัง
  • นำเข้า / ส่งออกสินค้า
  • ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการแสดงผล
  • การชำระเงิน PayPal
  • และอื่น ๆ …

 

4 eShop

WordPress ปลั๊กอินสำหรับ eshop - อีคอมเมิร์ซ

มีดาวน์โหลดกว่าครึ่งล้านดาวน์โหลดฟรีปลั๊กอิน WordPress eShop เป็นโซลูชั่นที่สมบูรณ์แบบสำหรับร้านค้าทุกคนที่ต้องการที่จะขายสินค้าออนไลน์ของพวกเขา มันเป็นเรื่องง่ายที่จะติดตั้งและเป็นอย่างเข้ากันกับ WordPress ดาวน์โหลด

คุณสมบัติอย่างย่อ

  • บัญชีลูกค้า
  • หลายตัวเลือกสำหรับผลิตภัณฑ์
  • ขายดาวน์โหลดเนื้อหา
  • รายงานการขาย
  • การจัดการสินค้าคงคลัง
  • ตัวเลือกการชำระเงินหลาย

 

5 MarketPress

WordPress ปลั๊กอินสำหรับ MarketPress - อีคอมเมิร์ซ

นี่เป็นคู่แข่งที่ร้ายแรงของ WooCommerce. ปัญหาเดียวคือคุณต้องมีพื้นฐานในภาษาอังกฤษ เนื่องจากไม่มีภาษาไทยให้ใช้

คุณสมบัติอย่างย่อ

  • การขายผลิตภัณฑ์ทางกายภาพ
  • ยอดขายของผลิตภัณฑ์ดิจิตอล
  • จัดการคำสั่งซื้อ
  • การจัดการสินค้าคงคลังที่มีการแจ้งเตือน
  • รองรับเกตเวย์การชำระเงินที่สำคัญทั้งหมด
  • รองรับทุกสกุลเงินหลัก
  • และอื่น ๆ อีกมากมาย …

ขอบคุณที่มา th.blogpascher.com/

หน้าเวปตัวหนังสือเป็น ??? ทั้งที่ใน phpmyadmin เป็นภาษาไทย

ให้ใส่ code เพิ่มไปตามนี้ ใต้ mysql_connect

 ในกรณีที่ charset เป็น tis-620

        @mysql_query(“SET NAMES ’tis620′”);

ในกรณีที่ charset เป็น utf-8

        @mysql_query(“SET NAMES ‘utf8′”);

เข้าเว็บต่างประเทศช้า สามารถ test speed จากต่างประเทศได้

เว็บที่เอาไว้คอย test speed จากต่างประเทศ

http://www.web-hosting-top.com/web-hosting/tools.website-speed-test

http://www.selfseo.com/website_speed_test.php

อันนี้จะเป็น trace route ของประเทศต่างๆสามารถเลือกประเทศทดสอบได้  โดยไม่ต้องให้ลูกค้า cap หน้าจอ

http://www.traceroute.org/

ข้อดีของ G Suite

ข้อมูลเบื้องต้น เพิ่งเริ่มต้นใช้ G Suite

G Suite เป็นแพ็คเกจของบริการที่ใช้ระบบคลาวด์ ซึ่งทำให้ผู้ใช้ในบริษัทหรือโรงเรียนสามารถทำงานร่วมกันแบบออนไลน์ในรูปแบบใหม่ที่ไม่ใช่แค่ใช้อีเมลและแชท แต่ยังมีการประชุมทางวิดีโอ โซเชียลมีเดีย การทำงานร่วมกันในเอกสารแบบเรียลไทม์ และอีกมากมาย เพียงลงชื่อสมัครใช้บัญชี G Suite โดยระบุชื่อโดเมนที่ต้องการใช้กับบริการของ Google เมื่อยืนยันว่าเป็นเจ้าของโดเมนแล้ว คุณและทีมสามารถเริ่มใช้ Gmail, ปฏิทิน, ไดรฟ์ และบริการหลักอื่นๆ ของ G Suite รวมถึงบริการเพิ่มเติมอื่นๆ เช่น Google+, แฮงเอาท์, Blogger และอีกมากมาย

เคล็ดลับ 10 ข้อสำหรับการจัดการ G Suite
1. เพิ่มผู้ใช้และจัดการบริการในคอนโซลผู้ดูแลระบบของ Google ถ้าต้องการให้ผู้ใช้ในองค์กรเริ่มต้นใช้ G Suite คุณต้องเพิ่มผู้ใช้ลงในบัญชีของคุณ คุณสามารถดำเนินการนี้ได้จากคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องหรือแม้แต่อุปกรณ์เคลื่อนที่โดยใช้ คอนโซลผู้ดูแลระบบของ Google
ในเว็บเบราว์เซอร์ ให้ไปที่ admin.google.com และลงชื่อเข้าใช้ด้วยชื่อและรหัสผ่านของผู้ดูแลระบบ นอกจากนี้ คุณยังสามารถใช้คอนโซลผู้ดูแลระบบเพื่อจัดการบริการของผู้ใช้ รหัสผ่าน และข้อมูลอื่นๆ ทั้งหมดสำหรับบัญชีของคุณ
2. เพิ่มระดับความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัย
G Suite มี คุณลักษณะด้านความปลอดภัย ที่สำคัญมากมาย ซึ่งออกแบบมาเพื่อเก็บรักษาข้อมูลที่คุณบันทึกไว้ในระบบของเราให้มีความปลอดภัย นอกจากนี้ ขอแนะนำให้คุณทำตามแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดด้านความปลอดภัยเพื่อเพิ่มระดับความปลอดภัย เช่น การยืนยันแบบ 2 ขั้นตอนเพื่อเพิ่มระดับความปลอดภัยของรหัสผ่าน และมาตรการป้องกันการปลอมแปลงเพื่อต่อสู่กับการละเมิดความปลอดภัยของอีเมล
3. ควบคุมการเข้าถึงคุณลักษณะและบริการของผู้ใช้
เมื่อเริ่มต้น ผู้ใช้ทุกคนจะสามารถใช้บริการส่วนใหญ่ได้ แต่คุณสามารถใช้คอนโซลผู้ดูแลระบบเพื่อปิดบริการที่ไม่ต้องการให้คนอื่นใช้ หรือเพื่อปรับแต่งการทำงานของบริการ กำหนดการตั้งค่าเดียวกันสำหรับทุกคนหรือ
ใช้นโยบายกับผู้ใช้แต่ละกลุ่ม ตัวอย่างเช่น คุณอาจเปิดใช้งานแฮงเอาท์เฉพาะสำหรับทีมสนับสนุนของคุณ หรืออนุญาตเฉพาะแผนกการตลาดให้แชร์ Google Sites แบบสาธารณะได้
            4. เปลี่ยนอีเมลทางธุรกิจมาใช้ Gmail
ผู้ใช้ที่คุณเพิ่มในบัญชี G Suite จะได้รับที่อยู่อีเมลในโดเมนที่คุณระบุเมื่อสร้างบัญชี ผู้ใช้สามารถใช้ที่อยู่นี้กับบริการ Gmail ของ G Suite แต่ถ้าผู้ใช้ใช้ที่อยู่นี้กับโปรแกรมอีเมลเดิมอยู่ คุณสามารถเลือกเวลาที่จะให้เปลี่ยนโปรแกรมได้ อีเมลจะยังไม่เข้าไปที่บัญชี Gmail ของผู้ใช้ (และหยุดเข้าไปที่โปรแกรมเดิม) จนกว่าคุณจะเปลี่ยนระเบียน MX ของโดเมนให้ชี้ไปที่เซิร์ฟเวอร์ของ Google โปรดดูที่ เริ่มต้นใช้งาน Gmail
            5. ใช้แหล่งข้อมูลการทำให้ใช้งานได้และการฝึกอบรมของเรา เพื่อช่วยให้การเริ่มต้นใช้งานเป็นไปอย่างราบรื่น เราได้จัดเตรียมแหล่งข้อมูลมากมายไว้สำหรับทำให้ผู้ใช้ของคุณใช้งาน G Suite ได้ แนะนำให้ผู้ใช้ไปที่ ศูนย์การเรียนรู้ของ G Suite เพื่อดูคำแนะนำการเริ่มต้นอย่างรวดเร็ว วิดีโอ และเคล็ดลับสำหรับผู้ใช้ด้านธุรกิจ และไปที่ เว็บไซต์การทำให้ใช้งานได้ เพื่อดูแผนการเริ่มต้นใช้งาน คำแนะนำด้านเทคนิค และเทมเพลตสำหรับสร้างศูนย์การเรียนรู้ของคุณเอง
             6. ให้สิทธิ์ผู้ดูแลระบบแก่เจ้าหน้าที่ IT
ไม่ว่าองค์กรของคุณจะมีขนาดเท่าใด เราขอแนะนำให้คุณกระจายความรับผิดชอบในการจัดการผู้ใช้และบริการให้แก่ผู้ใช้ที่เชื่อถือได้กลุ่มหนึ่ง ซึ่งทำได้โดย การให้สิทธิ์ผู้ดูแลระบบ แก่ผู้ใช้เหล่านั้น เมื่อผู้ดูแลระบบลงชื่อเข้าใช้บัญชี G Suite ระบบจะนำไปที่คอนโซลผู้ดูแลระบบเช่นเดียวกับคุณ แต่ผู้ใช้ที่ไม่ใช่ผู้ดูแลระบบจะไม่เห็นคอนโซลผู้ดูแลระบบเมื่อลงชื่อเข้าใช้ แต่จะไปที่รายการของบริการที่มีการจัดการทันที
             7. จัดการการเผยแพร่คุณลักษณะสำหรับผู้ใช้
G Suite ทำงานบนเว็บ 100% ดังนั้นคุณและผู้ใช้ของคุณจะได้รับคุณลักษณะและอัปเดตใหม่ๆ โดยอัตโนมัติ โดยไม่ต้องติดตั้งหรืออัปเดตซอฟต์แวร์ใดๆ แต่คุณสามารถติดตามการเผยแพร่ที่กำลังจะมีขึ้นได้อย่างง่ายดายผ่าน ปฏิทินการเผยแพร่ หรือบล็อกของเรา รวมถึงควบคุมว่าจะเปิดให้บริการคุณลักษณะใหม่สำหรับผู้ใช้เมื่อใด
โดยตั้งค่า กระบวนการเผยแพร่ของ G Suite
            8. จัดการอุปกรณ์เคลื่อนที่ของคุณจากระยะไกล
ใช้คอนโซลผู้ดูแลระบบเพื่อ จัดการอุปกรณ์เคลื่อนที่ของผู้ใช้ บังคับใช้นโยบายการรักษาความปลอดภัยสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ของคุณ ล้างข้อมูลอุปกรณ์ที่สูญหายหรือถูกโจรกรรมจากระยะไกล เป็นต้น
9. ติดตามการใช้งานและแนวโน้ม
ตรวจสอบว่าบริการแต่ละรายการมีการใช้งานอย่างไรในองค์กรของคุณ โดยดู กราฟและรายงานการใช้งาน ในคอนโซลผู้ดูแลระบบ วิเคราะห์การทำงานร่วมกันของทีม ระบุรูปแบบการรักษาความปลอดภัยที่ไม่ต้องการ และติดตามแนวโน้มอื่นๆ
           10. เพิ่มโดเมนได้ฟรี ถ้าองค์กรของคุณได้ชื่อโดเมนมาใหม่หรือทำธุรกิจในหลายโดเมน คุณสามารถ เพิ่มโดเมนทั้งหมด ลงในบัญชีได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม จากนั้นผู้ใช้สามารถมีข้อมูลประจำตัวได้หลายโดเมนในขณะที่แชร์บริการต่างๆ ในฐานะองค์กรเดียว

G Suite ต่างจากบริการอื่นๆอย่างไร ?
         1. ผู้บุกเบิกระบบคลาวด์ Google ได้รับการยอมรับว่าเป็นชื่อที่ได้รับความไว้วางใจและเป็นผู้นำในวงการด้านโครงสร้างพื้นฐานระบบคลาวด์ที่เชื่อถือได้
2. สร้างมาเพื่อระบบคลาวด์ G Suite ออกแบบมาเป็นบริการที่ทำงานในระบบคลาวด์โดยสมบูรณ์ แผนกไอทีจึงไม่ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายไปกับการดูแลชุดอุปกรณ์เดสก์ท็อป
3. แพ็กเกจครบวงจร โดยมีพื้นที่เก็บไฟล์และการแชร์กับ Google ไดรฟ์ การทำงานร่วมกันใน Google เอกสารแบบเรียลไทม์ การประชุมผ่านวิดีโอโดยใช้แฮงเอาท์ และ ระบบอีเมลแบบมืออาชีพอย่าง Gmail ทั้งหมดนี้ให้บริการในราคาเดียว
          4. ระบบเดียวที่ใช้ได้สะดวก ผู้ใช้ G Suite จะได้รับประสบการณ์แบบเดียวกันเมื่อใช้อุปกรณ์ ระบบปฏิบัติการ และเบราว์เซอร์ต่างๆ และมีพนักงานจำนวนมากใช้ ผลิตภัณฑ์ Google ที่บ้านอยู่แล้ว
          5. ความช่วยเหลือออฟไลน์ Gmail, ปฏิทิน และ Google เอกสารช่วยให้ผู้ใช้ดู แก้ไข และสร้างเนื้อหาได้เมื่อไม่ได้เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต จากนั้นระบบจะซิงค์ข้อมูลให้โดยอัตโนมัติเมื่อเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต

ทำไมฉันควรจ่ายค่าบริการ G Suite ในเมื่อ Google มีผลิตภัณฑ์ที่คล้ายกันซึ่งใช้งานได้ฟรี ?
      1. อีเมลธุรกิจที่ใช้ชื่อโดเมนของคุณ
2. พื้นที่เก็บข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับ Gmail และ ไดรฟ์
3. การสนับสนุนทางโทรศัพท์และอีเมลตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน
4. การรับประกันความพร้อมในการใช้งาน 99.9%
ทำงานร่วม กับ Microsoft Outlook ได้
5. คุณลักษณะด้านการรักษาความปลอดภัยที่ดียิ่งขึ้น
6. การดูแลระบบแบบเต็มรูปแบบกับบัญชีผู้ใช้ทั้งหมด

 

ขอบคุณที่มา: www.1belief.com

Google G Suite จำเป็นต่อองค์กรแค่ไหน

Google G Suite จำเป็นต่อองค์กรแค่ไหน และประโยชน์ที่จะได้รับจาก G Suite

Google G Suite คืออะไร ต้องทำความเข้าใจเสียก่อนว่า Google ได้ออกแอพพลิเคชันมามากมาย เพื่ออำนวยความสะดวกสบายให้กับผู้ใช้งานในตลาดองค์กร ซึ่งคือ Google Apps for Business แต่ Google เอง ได้เปลี่ยนชื่อใหม่ แต่ฟีเจอร์ยังเหมือนเดิม เหมาะสมกับตลาดองค์กรในชื่อของ Google G Suite นั่นเอง

บริการของ Google G Suite มีอะไรบ้าง

บริการโดยรวมของ G Suite เป็นโซลูชันครบวงจร เน้นบริการบนคลาวด์เป็นหลัก ช่วยตอบสนองความต้องการของธุรกิจต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น

 

อีเมลและการเชื่อมต่ออื่นๆ

มีอีเมล์โดเมนในชื่อธุรกิจของคุณเองเช่น [email protected] ทำให้ธุรกิจของคุณดูน่าเชื่อถือ เป็นมืออาชีพ และยังสามารถสร้างรายชื่ออีเมลได้ตามความต้องการ พร้อมใช้งานทั้งในมือถือและพีซี

ยังมี Google Calendar ที่เป็นปฏิทินออนไลน์สำหรับทุกคนในองค์กร กำหนดการประชุมได้อย่างพร้อมเพรียงกัน และยังมีการแจ้งเตือนก่อนถึงนัดหมาย ทำให้ไม่พลาดทุกการนัดหมายของคุณ

ติดต่อกับทุกคนในองค์กร เพียงแค่ใช้ Meet จากแฮงก์เอาท์ เชื่อมต่อกันให้กลายเป็นหนึ่งเดียว ไม่ว่าจะแชทคุยผ่านตัวอักษร แนบไฟล์งานต่างๆ หรือประชุมแบบวิดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ก็ทำได้เช่นกัน

และยังมี Google Drive รองรับการเก็บข้อมูลบนคลาวด์ตามเท่าที่คุณต้องการ ควบคุมวิธีการแชร์ไฟล์ที่ง่ายกว่า และยังซิงค์ไฟล์ข้อมูลกับคอมพิวเตอร์ของคุณโดยอัตโนมัติ

งานด้านเอกสาร

google g suite

  • Google Docs งานเอกสารโดยทั่วไป ตอบโจทย์การทำงานพร้อมกัน ลืมปุ่ม Save ไปได้เลย เพราะจะมีการบันทึกโดยอัตโนมัติ
  • Google Sheets สร้างตารางง่ายๆ แค่คลิกที่เบราเซอร์ ไม่ต้องลงโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ใดๆ เพิ่มเติม เพิ่มแผนภูมิหรือตารางได้อย่างง่ายดาย
  • Google Form ใช้งานแบบสำรวจที่ดูสวยงาม และเป็นมืออาชีพ วิเคราะห์คำตอบได้อัตโนมัติ และมีการสำรองข้อมูลไว้ใน Google Sheet
  • Google Slides พอกันทีกับการพรีเซนต์งานแบบเดิมๆ ง่ายกว่าด้วย Google Slide งานนำเสนอของคุณจะดูสวยงาม ทุกคนในทีมสามารถเข้าถึงและแก้ไขได้พร้อมกัน ใช้งานได้ทันที
  • Google Sites      สร้างเว็บไซต์ไม่เป็นไม่ใช่ปัญหา เพราะ Google Sites รองรับออกมาทุกหน้าจอ ไม่ว่าจะเป็นเดสก์ท็อปหรือมือถือ ไม่จำเป็นที่จะต้องเรียนทางด้านกราฟิกหรือเขียนโปรแกรมก็เข้าใจได้
  • Google Keep ต้องการโน้ตส่วนตัว ต้อง Google Keep ที่ช่วยให้การจดบันทึกเป็นเรื่องที่น่าสนใจ มีเครื่องมือช่วยเตือนทำให้ไม่ลืม ใช้งานได้กับทุกอุปกรณ์

ข้อดีของการใช้งาน G Suite

google g suite

  • ไม่จำเป็นที่จะต้องลงโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ใดๆ ให้หนักเครื่อง เพราะบริการ G Suite สามารถใช้งานผ่านเว็บเบราเซอร์ได้ทันที
  • ทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถึงแม้ว่าจะไม่ได้อยู่สถานที่เดียวกัน ทุกคนในองค์กร สามารถแก้ไข เพิ่มเติมงานเอกสารได้แบบเรียลไทม์ ทำให้ทุกคนใช้งานเอกสารที่เป็นเวอร์ชันล่าสุดเสมอ
  • เหมาะกับหลายอุปกรณ์ ไม่ว่าจะเป็นบนเดสก์ท็อป บนสมาร์ทโฟน หรือจะระบบปฏิบัติการต่างกันเช่น MAC OS หรือ Windows ก็ใช้ร่วมกับบริการของ G Suite ได้อย่างราบรื่น ไม่มีสะดุด
  • ปลอดภัย มั่นใจได้ว่า คุณจะได้รับบริการอย่างต่อเนื่อง ได้ใช้เวอร์ชันใหม่ตลอด จึงไม่ต้องกังวลใดๆ กับการอัพเดตซอฟต์แวร์

แล้ว Google G Suite เหมาะกับใคร

G Suite เหมาะกับองค์กรทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก เพราะจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายไปได้มากกว่าการซื้อซอฟต์แวร์ ซึ่งมีราคาสูงกว่า G Suite และยังประหยัดเวลา ช่วยให้การสื่อสารระหว่างในกลุ่มพนักงานมีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วย

เคล็ดลับการ ทำเว็บไซต์ ให้โดนใจลูกค้า

ในยุคที่อะไรๆ ก็ Go Online กันหมด จากสื่อสิ่งพิมพ์เป็น Online Magazine จากพ่อค้ามีหน้าร้านสู่พ่อค้าบนแพลทฟอร์ม ทำให้การ ทำเว็บไซต์ในตอนนี้กลายเป็นเรื่องสำคัญไปแล้วสำหรับเหล่านักธุรกิจหน้าใหม่และเหล่าพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์!

จะมาสร้างเพจแบบไก่กาอาราเล่ก็อาจจะทำให้คุณค้าขายไปได้ในระยะหนึ่งเท่านั้นแต่หากอยากจะประสบความสำเร็จแบบเปรี้ยงปร้างแล้วละก็…การมีเว็บไซต์นี่แหละดีที่สุด เพราะมันเปรียบเหมือนคุณมีหน้าร้านแบบออนไลน์เป็นของตัวเอง ไม่ต้องไปเช่าที่หรือไปฝากร้านที่ไหน แต่มาตกแต่งหน้าร้านของตัวเองให้ดูสวยงาม น่าสนใจ เท่านี้ก็สามารถดึงดูดลูกค้าให้มามี Engagement กับแบรนด์ของคุณได้เป็นอย่างดีเลยล่ะ!

ในวันนี้เราเลยเอา เคล็ดลับการ ทำเว็บไซต์เพื่อเหล่าพ่อค้าแม่ค้าและนักธุรกิจมือใหม่จะได้มีเว็บไซต์ที่สวยโดนใจทั้งคนขายแล้วก็คนซื้อ ลองไปดูกันเลย!

เคล็ดลับออกแบบเว็บไซต์ ให้โดนใจลูกค้า - เรียบง่าย

Simple is the best

เพราะหน้าตารูปลักษณ์เป็นสิ่งแรกที่เรามักจะเห็นกันใช่ไหม!? การทำเว็บไซต์ ก็เช่นกัน คุณเคยเข้าไปในเว็บไซต์ที่รก เต็มไปด้วยกล่องนั้นกล่องนี้เด้งขึ้นมาไม่รู้จักจบจักสิ้นหรือเปล่า เจอแบบนี้ก็อยากจะปิดแล้ว! ลูกค้าของคุณก็เช่นกัน พยายามทำให้เว็บไซต์ของคุณมีความเรียบง่าย ดูแล้วสะอาดตา ไม่รก เลือกใช้โทนสีที่ดูสบาย ไม่แสบตา อ่านง่าย ควรคำนึงถึงตัวอักษรและพื้นหลังด้วยนะ นอกจากนี้คุณอาจใช้โทนสีของแบรนด์มาปรับให้เข้ากับเว็บไซต์ก็ดูเก๋ดีไม่น้อยเลยล่ะ

เคล็ดลับออกแบบเว็บไซต์ ให้โดนใจลูกค้า - พร้อมใช้งาน

Ready to take

หนึ่งในสิ่งที่ทำให้เหล่าลูกค้ามักจะเบือนหน้าหนีแทนที่จะกดซื้อสินค้าเมื่อเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์นั้นก็คือ ความยุ่งยากในระบบของการจ่ายเงิน ปุ่มซื้ออยู่ตรงไหนหาไม่เจอ ราคากี่บาทไม่ชัดเจน ต้องเข้าตรงนู่น ต้องกดตรงนี้ กว่าจะฝ่าด่านเข้าไปจ่ายเงินได้เป็น 100 Steps แบบนี้ลูกค้าเบื่อแน่นอน สำหรับเหล่าพ่อค้าแม่ค้ามือใหม่ เราอยากแนะนำว่าคุณควรมีความชัดเจนในเรื่องของราคา ใส่รูปภาพให้สวยงาม น่าซื้อ ติดราคาให้เรียบร้อยและอีกอย่างที่จะดึงดูดลูกค้าได้เป็นอย่างดีเลยก็คือคำว่า SALE!!!

หากคุณจะลดราคาสินค้าตัวนี้ก็ติดป้ายไปเลยว่า Sale เหลือราคาเท่าไหร่ก็ใส่ลงไป นอกจากนี้ทำปุ่มจ่ายเงินให้ดูง่าย ทำระบบหลังบ้านให้มีความปลอดภัย ไม่ให้ข้อมูลของลูกค้ารั่วไหล เท่านี้ก็เก๋แล้ว!

เคล็ดลับออกแบบเว็บไซต์ ให้โดนใจลูกค้า - รู้ใจลูกค้า

Know your customer

เรื่องสำคัญมากที่สุดเวลาที่คุณอยากจะเข้าถึงหัวใจของลูกค้าก็คือการที่คุณต้องรู้จักลูกค้าของคุณเป็นอย่างดี ก่อนอื่นเลยคุณต้องเข้าใจแบรนด์ของคุณและรู้ว่ากลุ่มลูกค้าของคุณคือใคร ชอบอะไร ไม่ชอบอะไร เหมือนเวลาที่คุณชอบใครสักคนก็คงอยากจะรู้จักตัวตนของเขา อยากจะเอาใจ อยากทำให้เขาชอบคุณ การเอาใจกลุ่มลูกค้าก็ใช้หลักการเดียวกัน

เมื่อคุณรู้จักกลุ่มลูกค้าของตัวเองแล้วคุณก็สามารถใช้จุดนั้นมาเป็นส่วนหนึ่งในการ ทำเว็บไซต์ ของตัวเองได้ เช่น กลุ่มลูกค้าของคุณเป็นคน Gen Y แน่นอนว่าพวกเขามีความเป็นตัวของตัวเองสูง ชอบความ Unique ชอบอะไรเท่ๆ คุณก็อาจจะมี Feature ที่ให้ลูกค้าสร้าง Profile ของแต่ละคนได้หรืออาจออกแบบให้เหล่าลูกค้ากลุ่มนี้สามารถลองสินค้าแบบออนไลน์ หรือให้เขา Create สินค้าที่มีชิ้นเดียวในโลกโดยพวกเขาออกแบบเองได้ อะไรแบบนี้ก็จะได้ใจลูกค้าไปเต็มๆ!

เคล็ดลับออกแบบเว็บไซต์ ให้โดนใจลูกค้า - content ต้องโดน

Create Cool Content

อีกหนึ่งสิ่งที่จะทำให้เว็บไซต์ของคุณดู Cool ดึงดูดลูกค้าให้มา Enjoy ในเว็บไซต์ได้ก็คือ Content คุณสามารถดีไซน์ในส่วนของ Content ให้ดูน่าอ่าน มีรูปภาพประกอบพร้อมทั้ง Create Content ที่เป็นประโยชน์สำหรับลูกค้ารวมถึงคนทั่วไป Content ที่ดีจะช่วยให้คุณดึงคนเข้าสู่เว็บไซต์ได้มากขึ้น

นอกจากนี้หาก Content ของคุณมีประสิทธิภาพแล้วล่ะก็… เตรียมตัวรับลูกค้าที่ถาโถมได้เลย เพราะ Content ที่ดีจะถูกส่งต่อออกไปด้วยการแชร์ ฉะนั้นแล้วอย่าลืมเตรียมหลังบ้านไว้ให้พร้อมก่อนที่เว็บจะล่มหาก Content ของคุณโดนใจจนใครๆ ก็อยากแชร์!

เคล็ดลับออกแบบเว็บไซต์ ให้โดนใจลูกค้า - เคลื่อนไหวตลอดเวลา

Stay Lively

มาถึงข้อสุดท้ายที่จะช่วยให้เว็บไซต์ของคุณโดนใจเหล่าลูกค้าและคนทั่วไปก็คือการเคลื่อนไหวในเว็บไซต์ คุณควรที่จะมี Activities กับลูกค้าตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นการตอบปัญหาลูกค้าแบบ Real time การลง Content ใหม่ๆ การอัพเดตสินค้าตลอดเวลา อย่าปล่อยให้เว็บไซต์ของคุณกลายเป็นเว็บไซต์ที่นิ่งเฉยเหมือนบ้านร้าง ควรมีคนดูแลเป็นประจำ ที่สำคัญคนดูแลจะต้องมี Attitude ที่ไปในทิศทางเดียวกับแบรนด์ของคุณด้วย เคยเห็นมานักต่อนักแล้วที่คนดูแลดันเหวี่ยงใส่ลูกค้าจนแบรนด์เสียหาย น่ากลัวก็ตรงนี้!

ที่สำคัญคือในเทศกาลต่างๆ คุณก็สามารถสร้างสีสันให้เว็บไซต์ด้วยการทำกราฟฟิกสวยๆ เก๋ๆ ให้เข้ากับเทศกาล นี่ก็เป็นอีกหนึ่งดีไซน์ที่แสดงให้เห็นว่าแบรนด์ของคุณทันสมัยและทันต่อเหตุการณ์มากแค่ไหน!

เคล็ดลับการ ทำเว็บไซต์ ให้โดนใจลูกค้า


Credit: https://www.webconer.com/%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%94%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3-%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B9%87%E0%B8%9A%E0%B9%84%E0%B8%8B%E0%B8%95%E0%B9%8C-%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%88%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2/

5 วิธีทำเว็บไซต์ ให้ถูกใจคนซื้อยุค GEN Y

หลายคนกำลังคิดอยู่ละสิว่า สร้างเว็บให้ถูกใจคนซื้อ ก็แค่มีเว็บที่สวยไง มันจะไปยากอะไร !!!

แต่สวยเรา กับสวยคนอื่น มันเหมือนกันรึป่าว แล้วอะไรกันแน่ที่เป็นปัจจัยให้เว็บของเราโดนใจคนซื้อ เอาเป็นว่ามาดูหลักการ 5 ข้อที่โบจะบอกต่อไปนี้ดีกว่าคะ ใครที่มีครบขอแนะนำให้เดินหน้า ทำการตลาดออนไลน์ไปได้เลย แต่ถ้าใครยังมีไม่ครบก็ลองปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้นดูนะคะ

  1. ตรงกลุ่มเป้าหมาย ( Meet Target) สำหรับการทำธุรกิจกลุ่มเป้าหมายเป็นอะไรที่สำคัญมากๆ เพราะฉะนั้นเพื่อนๆที่เป็นเจ้าของแบรนด์จะต้องรู้ว่ากลุ่มเป้าหมายของเราคือใคร ผู้ชาย หรือผู้หญิง ช่วงอายุประมาณเท่าไหร่ ตรงนี้จะส่งผลมากๆต่อการออกแบบเว็บไซต์ของคุณ และนอกจากนี้ยังต้องเลือกประเภทเว็บไซต์ให้เหมาะกับธุรกิจ เป็นเว็บ Blog , เว็บบริษัท (Corporate) หรือ เว็บร้านค้าออนไลน์ (eCommerce) เช่น ธุรกิจขายเสื้อผ้าออนไลน์ กลุ่มเป้าหมายเป็นวัยรุ่น อายุ 18 – 25 ปี เหมาะกับเว็บไซต์ประเภทร้านค้าออนไลน์ (eCommerce) ที่มีระบบสั่งซื้อสินค้าผ่านเว็บไซต์ การออกแบบเว็บไซต์ก็ควรเลือกโทนสีสันสดใส เน้นความทันสมัย ดูโมเดิร์น นอกจากจะต้องออกแบบตามกลุ่มเป้าหมายแล้ว ควรออกแบบให้เหมาะสมกับตัวสินค้าด้วยวิธีสร้างเว็บ ให้โดนใจกลุ่มเป้าหมาย
  2. ออกแบบสวย (Beautiful Design) เว็บไซต์ยิ่งสวยยิ่งดึงดูดคนซื้อ และถ้ายิ่งสามารถโชว์ความเป็นตัวตนผ่านเว็บไซต์ได้อีกยิ่งดีเข้าไปใหญ่ เว็บสวยสามารถเพิ่มมูลค่าของสินค้าของเราได้ด้วย โบแนะนำให้ ให้ความสำคัญกับการออกแบบเว็บไซต์ที่สามารถชูสินค้าได้อย่างโดดเด่น เว้นระยะห่างภายในเว็บไซต์ให้เหมาะสม การใช้สีภายในเว็บไซต์ต้องดูสะอาดตา มีการจัดเรียงสีที่มีโทนเดียวกัน สีไม่โดด หรือจัดจ้านจนเกินไป การใช้ชนิดตัวอักษรที่อ่านง่าย มีขนาดตัวอักษรที่ชัดเจน รูปภาพที่นำมาใช้ภายในเว็บก็ควรมีขนาดที่เหมาะสม และต้องเป็นภาพที่มีคุณภาพ คมชัด และถูกลิขสิทธิ์นะคะวิธีทำเว็บไซต์ ให้สวย
  3.  ใช้งานง่าย (Easy to use) ใครๆก็ชอบอะไรง่ายๆ สั้นๆ เร็วๆ ดังนั้น เราต้องออกแบบเว็บไซต์ให้ใช้งานง่าย มีการแบ่งสัดส่วนการใช้งานไว้อย่างชัดเจน เรียงลำดับเมนูให้เรียง สินค้า/บริการ, รีวิว/ผลงาน อะไรที่เกี่ยวกับเราเอาไว้ท้ายๆ  ช่องที่จะให้สอบถามข้อมูลต้องดูสะดุดตาเข้าถึงง่าย มีช่องสำหรับการค้นหาที่ใช้งานได้จริง มีช่องทางการติดต่อที่ชัดเจน ใส่ไปให้หมดเลยค่ะ ทั้งอีเมล์ เฟสบุ๊ก, ไลน์, อินสตาแกรม, ทวิตเตอร์  แล้วถ้าใครมีหน้าร้านก็อย่าลืมไปปักหมุดแผนที่ลงในเว็บด้วย สามารถสร้างความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์เราได้เยอะเลยคะวิธีสร้างเว็บไซต์ ให้ใช้งานง่าย
  4. รองรับการใช้งานบนมือถือ (Mobile Responsive) ยุคดิจิตอลนี้ ใครมีแค่โน๊ตบุ๊ค นี่คือ เอ้าท์มากนะ เพราะอะไรๆก็ drive ด้วยมือถือ แท็บเล็ต และสมาร์ทโฟน กันทั้งนั้น ดังนั้นถ้าเว็บของเราไม่รองรับการใช้งานบนอุปกรณ์มือถือ มันอาจจะเสียโอกาสในการขาย กระทบต่อความสะดวกสบายต่อการใช้งานได้ เพราะฉะนั้นการสร้างเว็บไซต์ต้องใช้งานได้กับทุกอุปกรณ์ที่ผู้ซื้อมี การปรับแปลงนี้มีความสำคัญอย่างมาก เพราะมันสามารถสื่อถึงความเป็น professional ของเจ้าของแบรนด์ได้ด้วย ยิ่งสะดวก ยิ่งขายดี จำไว้ !!!วิธีสร้างเว็บ ให้รองรับบนมือถือ
  5. เว็บปัง เนื้อหาต้องดี (Content is the best) ในยุคนี้ต้องทำเนื้อหาให้ดี ให้โดน และต้องยูนีกเป็นเอกลักษณ์ แล้วมันจะปังมาก คอนเทนท์ในเว็บไซต์เป็นอะไรที่สำคัญมาก เพราะเนื้อหาเราดี โดนใจคนซื้อ บทความนั้นก็จะถูกแชร์ออกไป เรื่อย เรื่อย เรื่อยๆ ทำให้กลุ่มลูกค้าเราขยายตัวกว้างขึ้น ทำให้ผู้ซื้อมองเห็นสินค้าเรามากขึ้นด้วย เรื่องนี้ต้องทำด่วน !!! เพราะมันสามารถส่งผลดีต่อเว็บไซต์ของเราด้านความน่าเชื่อถือ น่าสนใจ และยังเป็นผลดีๆมากๆๆ ก.ไก่ ล้านตัว ต่อการทำการตลาดออนไลน์ในอนาคตด้วยวิธีสร้างเว็บ ให้มีแต่บทความดีๆ
    ไหนๆ ก็ไหนๆ ล่ะ โบจะมาบอก tool ดีๆ สำหรับคนอยากมีเว็บฟรีกันดีกว่า ในบ้านเรามีเว็บที่ให้บริการรับทำเว็บไซต์ฟรีเยอะเลย แต่ที่เห็นส่วนมากมีแต่ประเภท Ecommarce และ Blog ยังไม่ประเภท Corporate เท่าไหร่ มีที่ไหนบ้างมาดูกัน !!!

วิธีสร้างเว็บฟรี  สำหรับคนเริ่มต้นธุรกิจขายของออนไลน์

การสร้างเว็บไซต์ฟรี แบบง่ายๆ สามารถทำได้โดยการสร้างผ่านเว็บสำเร็จรูป ซึ่งในประเทศไทยมีผู้ให้บริการประเภทนี้มากมาย ยกตัวอย่างเช่น Weloveshopping, Lnwshop สองเว็บนี้เหมาะกับการสร้างเว็บร้านค้าออนไลน์ เพราะมีรูปแบบของเว็บไซต์ที่มีระบบตะกร้าสินค้าไว้ให้บริการ แต่สำหรับเหล่าบล็อกเกอร์ที่อยากมีเว็บ blog ขอแนะนำ wordpress.org และ blogger.com เว็บนี้มีธีมให้เลือกมากมาย ใช้งานง่าย เหมาะกับการเขียนบล๊อกมากๆค่ะ

วิธีสร้างเว็บ ฟรี
ข้อเสนอแนะ
  : หากต้องการปรับแต่งเว็บไซต์ให้ตรงตามต้องการมากขึ้น ควรรู้เรื่องพื้นฐาน HTML, CSS ไว้บ้างนะคะ โดยสามารถศึกษาได้จาก Thaicreate.com ที่นี่เป็นแหล่งรวมโค้ดที่มีตั้งแต่ง่ายจนไปถึงยากเลยทีเดียว แต่สำหรับใครที่ไม่อยากทำเอง อยากหาบริษัทรับทำเว็บไซต์แล้วละก็ ก็แนะนำให้ดูที่หน้าผลงานเป็นอันดับแรก ลองพูดคุยกับเจ้าของบริษัทดูว่าสามารถร่วมงานกันได้ไหม และลองเปรียบเทียบราคากับปริมาณงานที่เราต้องการ เราจะได้รู้ว่าเจ้าดีสุดในการทำเว็บไซต์ของเรา ^^


Credit: https://www.webconer.com/5-%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B9%87%E0%B8%9A%E0%B9%84%E0%B8%8B%E0%B8%95%E0%B9%8C/