Author Archive Support Dept

10 เทคนิค การเขียนบทความ / เขียนบล็อก ให้ประสบความสำเร็จ

การเขียนบทความที่ดี มีคุณภาพ ควรมีลักษณะอย่างไร ? เขียนบทความ SEO มีหลักการอย่างไร ? คำถามในทำนองนี้ ผมเชื่อว่าคงมีใครหลายคนสงสัยอยู่เป็นแน่ ..

เป็นที่รู้กันดีว่า หากต้องการประสบความสำเร็จ ในเรื่องของ Content Marketing (รวมไปถึงการทำ SEO) ไม่ว่าจะชอบหรือไม่ก็ตาม คุณจำเป็นต้องเรียนรู้ในเรื่องของ “Blog” (บล็อก) เพราะ การเขียนบล็อก (Blogging) / การเขียนบทความ นับว่าเป็นช่องทางหนึ่งที่สำคัญในสายงานของ Digital Marketing

ยิ่งหากคุณต้องการที่จะสร้างตัวตน สร้างแบรนด์ สร้างธุรกิจ หรือ ทำการตลาด บนโลกออนไลน์ ความรู้เรื่อง Blog เรื่อง การเขียนบทความ ถือเป็นพื้นฐานที่จำเป็นอย่างมาก ซึ่งคนทำ SEO หรือนักการตลาดออนไลน์ มือใหม่ มักจะไม่เข้าใจถึงคุณค่าและประโยชน์ของการมี Blog ว่ามันสามารถช่วยในเรื่องของ SEO อีกทั้งยังช่วยในเรื่องธุรกิจออนไลน์ได้

ประโยชน์ของการเขียนบทความ / การเขียนบล็อก

การเขียนบล็อกถูกใช้กันอย่างแพร่หลายในโลกออนไลน์ ด้วยวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันออกไป
• บางคนใช้ Blog ในการเขียนเล่าเรื่องราวชีวิตส่วนตัว
• บางคนใช้ Blog ในการแชร์ประสบการณ์ ความรู้ หรือเรื่องราวที่ตนสนใจ
• บางคนใช้ Blog ในการช่วยทำอันดับบน Google (ช่วยเรื่อง SEO)
• บางคนใช้ Blog ในการโปรโมทแนะนำ สินค้าหรือบริการ
• บางคนใช้ Blog เพื่อสร้างรายได้บนโลกออนไลน์

(สำหรับมือใหม่มากๆ ที่ไม่รู้ว่า Blog มันเป็นยังไง หรือแตกต่างกับเว็บไซต์ยังไง อาจเกิดความสงสัย ขอให้ลองอ่านที่ผมเคยเขียนอธิบายไว้ ►  Website กับ Blog ต่างกันอย่างไร?)

Blog มีความสำคัญอย่างมาก แต่การจะสร้างบล็อก หรือ เขียนบล็อก ขึ้นมาให้ประสบความสำเร็จนั้น ใช่ว่าจะทำกันได้ง่ายๆ ที่ว่าสำเร็จนั้น ในเบื้องต้นก็คือ “มีคนอ่าน” และต่อมาคือ ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่คุณตั้งเป้าหมายไว้ตามมา อาทิเช่น
– ทำให้มีคนติดตามเรา
– ทำให้คนรู้จักแบรนด์สินค้าเรา หรือ รู้จักตัวเรา
– ทำให้คนเชื่อใจเรา หรือ ให้ความไว้วางใจเรา
– ทำให้คนโทรติดต่อมาสอบถาม หรือ สั่งซื้อสินค้า/บริการ ของเรา

แนวคิดหลักในการเขียนบล็อกอย่างมืออาชีพ

ผมขอยกตัวอย่างบล็อกของคุณณัฐ www.nuttaputch.com (ถือเป็นอีกคนหนึ่งที่เป็นไอดอลของผม)
คุณณัฐแนะนำเรื่องการสร้างบล็อกให้ประสบความสำเร็จไว้ 5 อย่าง ซึ่งถือเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับ
คนที่คิดจะเป็น Blogger หรือคนที่อยากจะใช้การเขียนบทความ มาช่วยในเรื่องของการทำ Content Marketing

1. ต้องโฟกัส
2. ต้องต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
3. ต้องรักและให้เกียรติในสิ่งที่ทำ
4. อย่าหยุดคิด อย่าหยุดที่จะเรียนรู้
5. วางแผนระยะยาว และ Optimize อยู่เสมอ

► อ่านฉบับเต็ม

10 วิธีการเขียนบทความ / เขียนบล็อก ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

สำหรับในบทความนี้ผมจะขอมาแนะนำวิธีที่จะช่วยทำให้ Blog ของคุณมีประสิทธิภาพ แบบเจาะลึกลงรายละเอียดให้มากยิ่งขึ้น เพื่อให้คุณกลายเป็น Blogger ที่มีคุณภาพในสายตาคนอ่าน รวมไปถึง หลักของการเขียนบทความที่ดี และ การเขียนบทความให้เป็นมิตรต่อ SEO

#1 – กำหนดเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของการเขียนบล็อก (Blog  Purpose)

+ คุณจะเขียนบล็อกไปทำไม ?
+ อะไรคือวัตถุประสงค์ หรือ จุดมุ่งหมาย ?
+ คอนเซ็ปต์ของบล็อกคืออะไร ?
+ บทความที่คุณตั้งใจจะนำเสนอ ตั้งใจจะเขียนเพื่ออะไร ?

คำถามเหล่านี้ถือเป็นจุดเริ่มต้น ที่หลายคนมองข้าม และหลายต่อหลายบล็อก (รวมไปถึงบทความงานเขียนส่วนใหญ่) ที่ถูกเขียนขึ้นมานั้น สร้างมาอย่างไร้จุดหมาย ซึ่งหากเราไม่รู้ว่าเราจะเขียนบล็อกขึ้นมาทำไม … มันก็ยากที่จะทำให้เราประสบความสำเร็จได้ (เป้าหมายมีไว้พุ่งชน แต่คุณจะพุ่งชนอะไร ในเมื่อคุณไม่มีเป้าหมาย ??)

การกำหนดเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ไว้ก่อนนี้ ก็เพื่อให้คุณได้หลัก หรือ จุดหมาย สำหรับกำหนดทิศทางและหาแนวทางปฎิบัติได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ยกตัวอย่าง 3 เป้าหมายหลักๆของการเขียนบล็อก ซึ่งเป็นที่นิยม เช่น

เขียนบล็อกเพื่อสร้างรายได้ (Blog For Money) : คุณสร้างบล็อกขึ้นมา , เผยแพร่ Content ที่น่าสนใจ , มี Traffic มีคนอ่าน จากนั้น หารายได้จาก Adsense หรือ Affiliate Marketing หรือ ติด Banner โฆษณา หรือ ช่องทางอื่นๆ นี่เป็นเป้าหมายที่นิยมในหมู่ของ คนที่ต้องการหารายได้จากอินเตอร์เนต

กรณีนี้ ตัวอย่างแนวทางปฎิบัติคือ : การให้ความสำคัญกับ Content ที่มีความเกี่ยวข้องสอดคล้องกับ Keyword ที่จะทำเงินให้คุณ

เขียนบล็อกเพื่อนำเสนอ (Blog For Lead) : ไม่ว่าจะขายสินค้า หรือ บริการ (ทั้ง Online และ Offline) การใช้ Blog ถือเป็นวิธีการโปรโมท ทางอินเตอร์เนตที่มีประสิทธิภาพที่สุดวิธีหนึ่ง เพราะคุณสามารถที่จะสื่อสารกับกลุ่มคนอ่าน โดยนำเสนอ สินค้า/บริการ ผ่านทางการเขียนบทความ เพื่อโน้มน้าวใจพวกเค้ากลายมาเป็นลูกค้าได้ หรือเพื่อให้เค้าเกิดความสนใจในเบื้องต้น จนที่สุดแล้วติดต่อเรามาเพื่อสอบถามพูดคุยกันต่อไป

กรณีนี้ ตัวอย่างแนวทางปฎิบัติคือ : การให้ความสำคัญกับการให้รายละเอียดข้อมูลที่ครบถ้วน รวมไปถึงคำแนะนำต่างๆ ที่จะโน้มน้าวให้ผู้อ่านเชื่อใจ และตัดสินใจเลือกเรา

เขียนบล็อกเพื่อเพิ่มจำนวนคนเข้าเว็บ (Blog For Traffic) : หากคุณถามผู้เชี่ยวชาญการตลาดออนไลน์ หรือ ผู้เชี่ยวชาญด้าน SEO ถึง วิธีการเพิ่ม Traffic ให้กับเว็บไซต์ คำตอบหนึ่งที่คุณจะได้รับอย่างแน่นอน นั่นก็คือ “สร้าง Blog ครับ/ค่ะ” หรือ “ใช้ Content Marketing สิ” ซึ่งการเขียนบล็อกเพื่อเพิ่ม Traffic ยังเสมือนเป็นการขยาย Brand Awareness ทำให้คนรู้จักเรามากยิ่งขึ้นด้วย

กรณีนี้ ตัวอย่างแนวทางปฎิบัติคือ : การให้ความสำคัญกับการอัพเดทอย่างต่อเนื่อง และรู้จักเลือกหัวเรื่องนำเสนอที่คิดว่าคนจะให้ความสนใจ หรือที่กำลังเป็นกระแส หรือเป็นที่นิยม (Trending Topics)

#2 – ค้นหาข้อมูลก่อนลงมือเขียน (Research)

การจะเขียนบทความขึ้นมาสักบทความหนึ่งให้มีคุณภาพนั้น จำเป็นต้องอาศัยเวลา หากต้องการทำให้ง่ายขึ้น ก่อนที่จะลงมือเขียน คุณควรจะทำการค้นคว้าข้อมูลก่อน เรื่องนี้ ถือเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก (ส่วนตัวแล้วสำหรับผม ถือเป็น หัวใจหลักเลย เรื่อง หาข้อมูล)

เมื่อคุณได้หัวเรื่องที่จะเขียน ให้ทำการค้นหาใน Google โดยใช้ คำค้นหาที่ใกล้เคียง เพื่อ
– รวบรวมข้อมูลเพิ่มเติม หาไอเดีย มาต่อยอดในงานเขียนของเรา
– ดูคนอื่นว่า เค้าเขียนอย่างไร ในหัวข้อที่เรากำลังจะเขียน
– ดูบทความอื่นๆที่ติดอันดับหน้าแรกๆบน  Google
– เพื่อนำมาวิเคราะห์ ว่าการตั้งชื่อโพสแบบไหน ลักษณะการเขียนอย่างไร Google ถึงชอบ

อย่าลืมที่จะทำการค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อนำมาพัฒนาการเขียนบทความ การเขียนบล็อกของเราให้ดียิ่งขึ้น

#3 – ตั้งชื่อโพสอย่างมีกึ๋น (Post Title)

เมื่อคุณได้ไอเดียที่จะเขียนแล้ว สิ่งสำคัญต่อมาก็คือ การตั้งชื่อโพส (ตั้งชื่อบทความ) …
ซึ่งโดยปกติแล้ว หน้าที่สำคัญของ Post Title นั้น มีอยู่ด้วยกัน 2 อย่าง คือ
1. เพื่อให้คนที่เห็น เกิดความรู้สึกน่าสนใจ อยากคลิกอ่าน
2. เพื่อให้เป็นมิตรต่อการทำ SEO
ดังนั้นในการตั้งชื่อโพสในบล็อก เราควรอาศัยหลักที่ว่านี้ ควบคู่กันไป

ผมขอยกตัวอย่างง่ายๆ เอาว่า บทความนี้เลยละกัน

General Keyword = การเขียนบล็อก , การเขียนบทความ
Long Tail Keyword =  เทคนิค + การเขียนบล็อก / การเขียนบทความ + ที่ดี
Semantic Keyword = เทคนิค + การเขียนบล็อก / การเขียนบทความ + ประสบความสำเร็จ
Post Title = 10 เทคนิค การเขียนบทความ / เขียนบล็อก ให้ประสบความสำเร็จ

ตั้งชื่อแบบนี้ คนเห็นก็อยากคลิกอ่าน รู้สึกน่าสนใจ อีกทั้งยัง SEO-Friendly เหมาะต่อการทำ SEO เพราะมี Keyword อยู่ในชื่อโพสด้วย … ส่วนไอเดียการตั้งชื่อ Post Title นั้น ก็อาจจะหาไอเดียแบบง่ายๆ จาก Related Keyword ใน Google (ในส่วนของ Predictive Search)

 

หรือยกตัวอย่างเพิ่มเติม

main keyword = รีวิวร้านอาหาร 
longtail keyword = รีวิวร้านอาหาร อร่อย
longtail keyword = รีวิวร้านอาหาร ราคาถูก
longtail keyword = รีวิวร้านอาหาร ชื่อดัง
longtail keyword = รีวิวร้านอาหาร อร่อย กรุงเทพ
longtail keyword = รีวิวร้านอาหาร อร่อย สีลม
long + semantic keyword = รีวิวที่กิน อร่อย สีลม
long + semantic keyword = แนะนำ ร้านอาหาร เมนูเด็ด สีลม
long + semantic keyword = รีวิวร้านอาหารญี่ปุ่น สีลม
long + semantic keyword = รีวิวร้านอาหารเวียดนาม ในกรุงเทพ

focus keyword หรือ main keyword หรือ จะเรียก seed keyword ก็สุดแล้วแต่ ส่วน long tail กับ semantic เอาจริงๆมันก็คล้ายๆกัน  ยิ่งยกตัวอย่างมากไปหรือใช้ศัพท์เทคนิคมากเกิน อาจจะยิ่งทำให้งง เอาเป็นว่าง่ายๆคือ เราต้องฉลาดในการเล่นคำ ที่จะเอามาเป็น Keyword โดยยึดหลัก คำที่คนน่าจะนิยมใช้ค้นหาเป็นหลัก (ใช้ Keyword Planner ดู Volumn) ว่า เราจะใช้คำไหนดี ที่เข้ากับเนื้อหาบทความของเรา เอามาตั้งเป็นชื่อ Post Title

ข้อคิดสำคัญ : ในส่วนของการตั้งชื่อโพสนี้ ถือว่าจำเป็นมากๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคนที่หวังผลจะเขียนเพื่อทำ SEO ด้วยแล้ว นอกเหนือจากการวิเคราะห์ Keyword เบื้องต้น (โดยใช้ ► Google Keyword Planner) เพื่อหา Volumn ปริมาณการค้นหา หากคุณได้ทำการ Research ข้อมูลในข้อที่ 2 แล้วทำการวิเคราะห์คู่แข่งมาก่อน มันจะช่วยทำให้สามารถตัดสินใจวางแผนในการปรับเปลี่ยน Post Title รวมถึง Keyword … โดยพยายามหลีกเลี่ยง ที่จะแข่งขันกับ เว็บไซต์ที่เป็น Authority Site (เว็บใหญ่ๆเว็บดังๆ) ที่จำนวนมากๆ และหันมามอง Long Tail Keyword หรือ Semantic Keyword แทน ที่เว็บไซต์คู่แข่งที่แข็งแกร่งมีจำนวนน้อยกว่า

#4 – กำหนดเค้าโครงของโพส (Post Outline)

เมื่อได้ชื่อโพสมาแล้ว ขั้นตอนต่อไปที่จะช่วยให้งานเขียนของคุณง่ายขึ้น และช่วยลดระยะเวลาในการเขียน นั่นก็คือ การกำหนดเค้าโครงสร้าง ในที่นี้หมายถึง “การตัดสินใจเลือกว่า ในบทความที่เราจะเขียนนั้น จะประกอบด้วยหัวข้ออะไรบ้าง” เสมือนเป็นการแบ่งย่อยบทความเป็น Section ซึ่งการกำหนด หัวข้อ/หัวเรื่อง ให้กับบทความนั้น นอกเหนือจากจะทำให้เราประหยัดเวลาในการเขียน ยังช่วยทำให้ง่ายต่อการอ่านอีกด้วย

ยกตัวอย่างการเขียนบทความนี้ ผมวาง Post Outline ไว้คือ
– ประโยชน์
– แนวคิดหลัก
– วิธีการ (แบ่งย่อย อีก 10 หัวข้อย่อย)
– บทสรุป

#5 – รู้จักเขียน Introduction (Post Intro)

“เริ่มต้นดี มีชัยไปกว่าครึ่ง” – คำกล่าวนี้นำมาใช้ได้จริงกับการเขียนบทนำสำหรับโพสลงในบล็อก

บทนำสำหรับการเขียนบล็อกที่ดี ควรจะมีความยาวสักประมาณ 2-3 บรรทัด โดยอธิบายถึงภาพรวมคร่าวๆของเนื้อหาในบทความนั้นๆ ในขณะที่ สอดแทรกด้วยข้อความที่ชวนให้ผู้อ่านเกิดความรู้สึกน่าสนใจ ชวนให้ติดตาม และแน่นอนว่า อย่าลืมที่จะใส่ Keyword ลงไปใน Post Intro ด้วย หากคุณหวังที่จะเป็นมิตรต่อ SEO (ตัวอย่าง ย้อนกลับไปดูด้านบนสุดนะครับ ^_^)

#6 – ขนาดของบทความ ยาวดีกว่าสั้น (Post Length)

หากเรากล่าวถึงเฉพาะการเขียนบทความสำหรับ Blog เมื่อดูจากสถิติของที่มาหลายๆแห่ง ทั้งจาก Blog ที่ให้ความรู้ด้าน SEO ของต่างประเทศ รวมถึงจากประสบการณ์วิเคราะห์ผล SERPs ส่วนตัว ผลยืนยันได้ว่า บทความที่มีความยาว มีแนวโน้มที่จะถูกจัดอันดับบน Google ได้ดีกว่าบทความที่มีขนาดสั้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ไม่ได้หมายความว่า บทความยาวๆทุกบทความจะอันดับดีกันหมด หรือ บทความสั้นๆไม่มีโอกาสติดอันดับเลย

สิ่งสำคัญที่มากกว่า ขนาดของบทความ คือ คุณค่าของตัวเนื้อหา ว่ามีประโยชน์ต่อคนอ่าน อีกทั้งมีความสอดคล้องกับคำค้นหา มากน้อยเพียงใด

#7 – เรียนรู้กฎพื้นฐานของ Onpage SEO

SEO ถือเป็นเรื่องที่ค่อนข้างละเอียดอ่อนและซับซ้อน แต่หากพูดถึง SEO กับ การเขียนบทความ คุณไม่จำเป็นต้องเชี่ยวชาญในเรื่องของ SEO ในทุกๆเรื่องก็ได้ แต่สิ่งที่คุณจำเป็นต้องเรียนรู้ ก็คือ คอนเซ็ปต์พื้นฐานในการปรับแต่ง Onpage หรือ การปรับแต่งบทความ ให้เป็นมิตรต่อ SEO

Onpage SEO ในส่วนของ Content นั้นก็ไม่มีอะไรมาก เพียงแค่กฎบางข้อที่คุณต้องนำมาปรับใช้กับบทความของคุณ เพื่อช่วยส่งสัญญาณที่ดีให้ Google เข้าใจบทความเรามากยิ่งขึ้น ซึ่งหลักๆก็มีดังต่อไปนี้

• ชื่อ Title ปรับให้มีขนาดน้อยกว่า 60 ตัวอักษร และต้องมี Keyword ร่วมอยู่ด้วย
• เขียน Descriptions ให้น่าอ่าน อยู่ระหว่าง 150-160 ตัวอักษร และควรมี Keyword ร่วมอยู่ด้วย
• การใส่  ALT tags สำหรับรูปภาพในบทความ เพื่อบอก Google ให้รู้ว่ารูปนั้นเกี่ยวกับอะไร
• การใช้ H1 สำหรับชื่อโพส (ปกติชื่อโพสจะถูกตั้งให้เป็น H1 อัตโนมัติอยู่แล้ว)
• การใช้ H2, H3 , H4 tags สำหรับหัวข้อย่อย หากมี Keyword อยู่ด้วยจะยิ่งดี (ดูตามความเหมาะสม)
• การตั้งชื่อ URLs หากมี Keyword อยู่ด้วยจะยิ่งดี (ดูตามความเหมาะสม)
• ทำหน้าเพจให้โหลดเร็วๆ อะไรที่ไม่จำเป็นก็ตัดทิ้ง เช่นพวก Script ต่างๆ รวมถึงขนาดไฟล์ของรูปภาพ
• การสร้าง Internal Links อย่างชาญฉลาด เพื่อเชื่อมโยงบทความใหม่และเก่าในบล็อก
• การทำโครงสร้างหน้าเว็บให้เป็นมิตรต่อทั้ง User และ Bot
• การทำให้หน้าเว็บรองรับการดูบนมือถือ

(เรื่อง Onpage SEO นี้จะกล่าวแบบละเอียดในโอกาสต่อไป)

#8 – ตกแต่งบทความให้น่าอ่าน

เมื่อตั้งชื่อโพสที่น่าสนใจ และเขียนบทความที่ดี เสร็จเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไป ที่จำเป็นต้องทำ
ก็คือ การจัดหน้าตาของโพส ให้ดูสวยงาม และง่ายต่อการอ่าน ไม่ว่าจะเป็น

• การขึ้นบรรทัดใหม่และการจัดวางพารากราฟ (4 บรรทัด ต่อ พารากราฟ กำลังสวย)
• การใช้ Bullet เพื่อช่วยให้อ่านง่ายและดูน่าสนใจ
• การปรับขนาดและสีสันของตัวอักษร ทั้งในส่วนของหัวข้อย่อย และในตัวเนื้อหา
• การใช้ตัวหนา-ตัวเอียง เพื่อเน้นข้อความ
• การเลือกใช้รูปแบบ Font ที่เหมาะสม
• การเพิ่มรูปภาพประกอบ ให้ดูมีสีสัน มีชีวิตชีวา
• การเพิ่ม External Links ที่มีความเกี่ยวข้องกับเนื้อหา และเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน

 

#9 – รู้จักโปรโมทเผยแพร่บทความให้คนเห็น

การเขียนบล็อก ต่อให้คุณเขียนบทความ มีเนื้อหาที่ดีขนาดไหนก็ตาม มันจะไม่ประสบความสำเร็จได้เลย
หากไม่มีคนเห็น ไม่มีคนรู้จัก และไร้ซึ่งคนอ่าน … อย่ามองว่าการโปรโมทเป็นตัวเลือกหนึ่ง แต่ให้มองว่า
มันเป็นส่วนหนึ่ง (ที่สำคัญมากเสียด้วย) ของการเขียนบล็อก หรือ การทำ Content Marketing

ในปัจจุบัน Social Media ทำให้เราสามารถทำการโปรโมทได้ง่ายขึ้น
สิ่่งที่ควรจะทำหลังจากที่คุณได้เผยแพร่บทความลงในบล็อกแล้ว อาทิเช่น

• แชร์โพสใน Facebook Page
• แชร์โพสใน Facebook Profile (เฟสส่วนตัวของคุณ)
• แชร์โพสใน Twitter , Instagram , Pinterest หรือ Line
• แชร์โพสใน Facebook Group ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาของคุณ
• การใช้ Email List ส่งเป็น Newsletter สำหรับผู้ที่มาติดตามบล็อกของคุณ
• โปรโมทโพสผ่าน Comment ในเว็บไซต์ หรือ Facebook Page อื่นๆ 
(เลือกที่มีเนื้อหาใกล้เคียง ตามความเหมาะสม และกาลเทศะ)
• โปรโมทโพสผ่าน Webboard ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา หรือที่น่าจะทำให้คนเห็น
• การนำบทความไป Submit กับ PR Site คุณภาพ
• (สำหรับคนมีงบ) ลงโฆษณากับ Facebook Ads หรือ Twitter Ads
• (สำหรับคนมีงบ) ลงโฆษณากับ Google Adwords

ในขั้นตอนนี้ นักทำ SEO ส่วนใหญ่นิยมเรียกมันว่า “การสร้าง Backlinks” ซึ่งผมถือว่ามันเป็นส่วนหนึ่งในการโปรโมท

#10 – เขียนบทความใหม่ๆอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ

ไม่ว่าจะเป็นคนอ่าน , Search Engine หรือ Social Media ต่างล้วนมองหา Content ใหม่ๆอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นการที่เราหมั่นอัพเดทบทความ ที่สดใหม่ มีความ Unique และ มีความสอดคล้องเกี่ยวข้องกับ วัตถุประสงค์หรือเป้าหมายหรือคอนเซ็ปต์ของบล็อก ย่อมสามารถช่วยทำให้บล็อกมี Traffic เพิ่มมากขึ้น และเป็นกุญแจสำคัญ ที่จะทำให้คุณประสบความสำเร็จในฐานะ Blogger ได้ในระยะยาว

บทสรุปส่งท้าย

ในสายงาน Digital Marketing นั้นการสร้าง Content มีอยู่ด้วยกันหลากหลายช่องทาง แต่ การเขียนบล็อก (Blogging) โดยใช้ทักษะของ การเขียนบทความ ถือเป็น กระบวนการหลักอย่างหนึ่ง ซึ่งหากคุณสามารถสร้าง Content / สร้างบทความ ที่มีคุณภาพด้วยแล้ว ย่อมเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้ประสบกับความสำเร็จดังที่ตั้งเป้าหมายไว้ ไม่ว่าจะในฐานะของ Blogger , Web Master/Admin , SEO Specialist , Internet Marketer , Content Creator , Copy Writer และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง Online Business Owner …

บทความนี้ น่าจะช่วยทำให้ท่านเข้าใจถึง การสร้าง Content / การเขียนบล็อก / การเขียนบทความ ให้มีคุณภาพ ได้อย่างเห็นภาพชัดเจนมากยิ่งขึ้น และผมหวังว่าท่านจะลองนำไปใช้ต่อยอดสร้างสรรค์ผลงานของตัวท่านเอง ให้ออกมาเข้ากับคำกล่าวที่ว่า “Content is King” นะครับ

10 เทคนิค การเขียนบทความ / เขียนบล็อก ให้ประสบความสำเร็จ

1 – กำหนดเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของการเขียนบล็อก (Blog  Purpose)
2 – ค้นหาข้อมูลก่อนลงมือเขียน (Research)
3 – ตั้งชื่อโพสอย่างมีกึ๋น (Post Title)
4 – กำหนดเค้าโครงของโพส (Post Outline)
5 – รู้จักเขียน Introduction (Post Intro)
6 – ขนาดของบทความ ยาวดีกว่าสั้น (Post Length)
7 – เรียนรู้กฎพื้นฐานของ Onpage SEO
8 – ตกแต่งบทความให้น่าอ่าน
9 – รู้จักโปรโมทเผยแพร่บทความให้คนเห็น
10 – เขียนบทความใหม่ๆอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ


Credit: http://www.webbastard.net/how-to-blogging/

9 ธุรกิจที่ Google รับทำโฆษณา แต่มีเงื่อนไข

รู้หรือไม่!! ธุรกิจอะไรบ้าง ที่ Google รับทำโฆษณา และแต่มีเงื่อนไขในการโฆษณาอย่างไรบ้างนั้น มาดูกันดีกว่าค่ะ

1.ธุรกิจนักสืบและรับดุแลผุ้สูงอายุ ธุรกิจนี้สามารถลงโฆษณากับ Google Search ได้ค่ะ แต่ไม่สามารถใช้โฆษณา GDN,Remarketing,Rlsa ได้ค่ะ เนื่องจากจะมีปัญหาเรื่องสิทธิส่วนบุคคล และมีเนื้อหาที่ค่อนช้างละเอียดอ่อน  Google จึงรับทำไม่รับทำโฆษณากับ 3 รูปแบบนี้ค่ะ

2.ธุรกิจแบรนด์เนมทั้งมือ 1 มือ2  สามารถทำโฆษณาได้ทั้งหมด แต่มีเงื่อนไขคือ จะต้องมีการขอใช้ trademark จากเจ้าของแบรนด์  ว่าโฆษณาเราจะใช้คำนี้มาทำโฆษณา เช่น BMW Rolex Louis Vuitton (trademark คือ เครื่องหมายการค้า)

 3.โลโก้การันตี โดยมีเงื่อนไขคือ ต้องระบุทุกครั้งว่า “ยินดีคืนเงินเต็มจำนวน” และควรใช้เครื่องหมายหรือโลโก้การันตี

4.ธุรกิจประเภท MLM ธุรกิจเครือข่าย ขายตรง สามารถทำโฆษณากับ Google ได้หลากหลายรูปแบบ โดยมีเงื่อนไงว่า หากมีการการันตีรายได้ ต้องระบุด้วยว่า “ผลลัพธ์ขึ้นอยู่กับความสามารถแต่ละบุคคล” และต้องระบุเนื้อหาดังต่อไปนี้

-ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัท เช่น ชื่อบริษัท ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ อีเมล ให้ชัดเจน

-ใส่ข้อมูลที่ชัดเจนเรื่องแผนธุรกิจ และรายละเอียดว่าผู้เข้าร่วมธุรกิจสามารถสร้างรายได้อย่างไร

-ผุ้เข้าร่วมธุรกิจจะทำอะไรบ้าง สร้างรายได้จากกิจกรรมเหล่านี้อย่างไร

-โครงสร้างการสร้างรายได้เป็นอย่างไร (เงินเดือน หรือคอมมิชชั่น ได้ค่าตอบแทนเท่าไหร่ บ่อยแค่ไหน ขึ้นอยุ่กับเงื่อนไขหรือปัจจัยอะไรบ้าง)

-มีความเสี่ยงอะไรบ้าง ในการเข้าร่วมธุรกิจ

5.ธุรกิจที่รับจ้างเก็บข้อมูลในเว็บไซต์ สามารถทำโฆษณา Google Search GDN Remarketing หรือ RLSA โดยมีเงื่อนไข

1.หากมีการเก็บเลขบัตรประชาชน เลขที่บัญชี เลขบัตรเครดิต ต้องทำเรื่องเว็บไซต์ให้เป็น SSL certificate คือ ใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ เป็นไฟล์ข้อมูลขนาดเล็ก ที่ได้มีการผูกไว้กับ Private Key ของเครื่องเซิร์ฟเวอร์ เพื่อยืนยันตัวตนและความถูกต้องในการส่งข้อมูลระหว่างเครื่องเซิร์ฟเวอร์กับเว็บบราว์เซอร์หรือ Application ที่ใช้งาน มีการเข้ารหัสและถอดรหัสผ่านเทคโนโลยี SSL/TLS หากข้อมูลของท่านถูกดักจับไปได้ ข้อมูลก็ท่านก็ยังมีความปลอดภัย

2.ต้องมีคำกล่าวที่ชัดเจนว่าข้อมูลที่เก็บไป จะถูกนำไปใช้ในช่องทางไหน และมีการเก็บข้อมูลให้ปลอดภัยได้อย่างไร

6.อาหารเสริมลดน้ำหนัก ผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนัก อาหารเสริมทางเพศ และอาหารเสริมทุกชนิด โดยสามารถทำโฆษณา Google Search, Google Display Network  เงื่อนไขคือ

1.ต้องใส่ข้อความ ผลลัพธ์อาจเปลี่ยนแปลงขึ้นอยู่กับผู้ใช้แต่ละคน สำหรับเว้บไซต์ที่มีการบรรยายสรรพคุณ ทั้งข้อความ รูปภาพ ตัวอย่างเช่น ใหญ่ขึ้นใน…วัน เห็นผลในกี่วัน  ลดน้ำหนักภายในกี่เดือน หรือตั้งแต่ที่ใช้ รวมถึงภาพประกอบเว็บไซต์ เช่น รูปรีวิวผู้ใช้สินค้า รูปก่อน-หลังใช้ คลิปวีดีโอรีวิวจาก YouTube บรรยายสรรพคุณ

2.ห้ามมีข้อความที่บอกว่า ถาวร ตลอดไป ไม่กลับมาอ้วนอีก ไม่โยโย่ สวยเหมือนนางฟ้า ยาวขึ้น..เซนติเมตร ภานใน…วัน ลดน้ำหนัก..กิโลกรัม ภายใน…วัน ขาวขึ้น…ระดับ ภายใน…วัน มีการรับประกันผลลัพธ์ และระยะเวลาที่เห็นผล

ในส่วนนี้การทำโฆษณาโดยใช้ Remarketing,Rlsa  ไม่รับทำเลย

7.สินเชื่อส่วนบุคคล บริการทางการเงิน กรณีนี้สามารถทำโฆษณาได้ทั้ง 4 รูปแบบ แต่ต้องมีการระบุข้อมูลต่อไปนี้ในเว็บไซต์

1.ระยะเวลาสูงสุดและต่ำสุดในการจ่ายคืนระยะเวลาต่ำสุดไม่น้อยกว่า 60 วัน

2.ต้องระบุดอกเบี้ยสูงสุดต่อปี

3.ต้องมีตัวอย่างให้เห็นถึงค่าใช้จ่ายรวมทั้งหมด รวมถึงค่าธรรมเนียมต่างๆ ที่จะคิด

4.ต้องระบุข้อมูลการติดต่อ สถานที่ตั้งของธุรกิจ

5.หากมีคำนิยมที่เพิ่มความน่าเชื่อถือแก่เว็บไซต์จากบุคคลที่สาม จะต้องมีลิงค์ของบุคคลที่สามที่ให้คำนิยามนั้น

8.การรักษาและสรรพคุณการรักษาโรค สามารถทำโฆษณาในรูปแบบของ Google Search ได้เพียงอย่างเดียว เงื่อนไขคือ ต้องตัดคำที่โฆษณาเกินจริงออกไป เช่น บอกลา 1 เดียวในโลก ป้องกัน ลดความเสี่ยง รักษา บรรเทา ปลอดภัยจาก..

9.ชื่อโรคที่รักษาไม่ได้ สามารถทำโฆษณาในรูปแบบของ Google Search ได้เพียงอย่างเดียว เนื่องจากต้องตัดข้อมูลที่บอกชื่อโรค เช่น มะเร็ง เอดส์ เบาหวาน ความดัน วัณโรค เก๋าท์ โรคไต หรือโรคที่คิดว่าไม่รักษาได้จริง

การทำโฆษณาจะผ่านการตรวจทานว่าเป็นไปตามข้อกำหนดของนโยบายการโฆษณา AdWords หรือไม่ เพื่อให้แน่ใจว่าโฆษณานั้นปลอดภัยและเหมาะกับทุกคน โฆษณาส่วนใหญ่จะได้รับการตรวจทานอย่างเร็วที่สุด


Credit: http://blog.itopplus.com/tips/id_626_NinebusinessGoogle

8 เคล็ดลับสำคัญ ทำเว็บไซต์ ให้สมบูรณ์แบบ

ในปัจจุบันการ ทำเว็บไซต์ สามารถทำได้ง่ายขึ้นแม้ผู้จัดทำไม่มีความรู้ก็สามารถทำได้ เนื่องจากการทำเว็บไซต์ในปัจจุบัน มักเป็นรูปแบบของเว็บสำเร็จรูปที่สามารถลงมือทำได้ง่ายๆ แค่เพียงไม่กี่ขั้นตอน ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกิดการแข่งขันของเว็บไซต์ต่างๆ บนโลกอินเทอร์เน็ตมากขึ้น

หากคุณต้องการให้เว็บไซต์ของคุณเป็นที่น่าสนใจ สิ่งที่คุณจะต้องทำคือการสร้างความสมบูรณ์แบบให้กับเว็บไซต์มากที่สุด ซึ่งในวันนี้ Am2b Marketing ก็ได้นำ 8 เคล็ดลับสำคัญสำหรับการ ทำเว็บไซต์ ให้สมบูรณ์แบบ มาให้ทุกท่านได้อ่าน เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนา หรือออกแบบเว็บไซต์ให้ดีที่สุดนั่นเอง

 

1. สร้างรายชื่ออีเมลของแฟนๆ

อีเมลนับว่าเป็นช่องทางการตลาดออนไลน์ที่เก่าแก่ที่สุด ซึ่งในปีนี้อีเมลก็ได้แสดงพลังในการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพที่จะพาคุณไปสู่ความสำเร็จ เพราะอีเมลสามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้อย่างตรงจุด โดยปัจจุบันคุณสามารถทำการสร้างรายชื่ออีเมลของแฟนๆ โดยการสร้างแบบฟอร์ม และเสนอเงื่อนไขที่น่าสนใจให้ผู้เข้าชมกรอกแบบฟอร์มอีเมล ที่คุณสามารถนำมาสร้างเป็นรายชื่ออีเมลสำหรับติดต่อกับแฟนๆ ของคุณได้อย่างง่ายดาย

2. ทำให้คนอื่นติดตามคุณบนโซเชียลมีเดียได้ง่ายขึ้น

การทำเว็บไซต์ให้สมบูรณ์แบบ คุณไม่ควรพลาดที่จะทำให้รูปแบบของเว็บไซต์เอื้ออำนวยต่อการติดตามที่จะเกิดขึ้น เมื่อผู้เข้าชมต้องการติดตามเนื้อหา เรื่องราวภายในเว็บไซต์ของคุณต่อไป หากคุณยังไม่มั่นใจว่าเว็บไซต์ของคุณสามารถทำให้ผู้คนทำการติดตามได้ง่ายมากแค่ไหน คุณควรทำการตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีบุคคลติดตามแพลตฟอร์มสนับสนุนเว็บไซต์ของคุณเพิ่มขึ้นบ้างหรือไม่

 

3. แต่ละหน้าในเว็บไซต์ของคุณต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน

ก่อนการทำเว็บไซต์ หรือหน้าเพจแต่ละหน้า คุณควรกำหนดเป้าหมาย หรือวางวัตถุประสงค์ในการทำเว็บไซต์ขึ้นมาก่อน เพื่อให้การทำเว็บไซต์ในแต่ละหน้าของคุณมีเป้าหมายในการทำชัดเจนมากยิ่งขึ้น เพื่อป้องกันการสับสน หรือเข้าใจผิดของผู้เข้าชม การกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนสามารถทำได้ด้วยการสร้างเนื้อหาเรื่องราวภายในเว็บไซต์ ให้สัมพันธ์กับเป้าหมาย เพื่อให้ผู้เข้าชมเข้าใจในสิ่งที่คุณต้องการสื่อสาร หรือรู้สึกว่าการเข้าถึงข้อมูลครั้งนี้ตรงกับจุดประสงค์ที่ผู้เข้าชมต้องการ

4. แสดงถึงความเป็นมืออาชีพ

คุณสามารถแสดงความเป็นมืออาชีพในการทำเว็บไซต์ของคุณได้จากการสร้างเนื้อหาที่น่าสนใจ การวางองค์ประกอบภายในเว็บไซต์ให้มีความสะดวกในการใช้งาน เข้าใช้งานได้ง่าย มีจุดประสงค์ที่ชัดเจน เพื่อให้ผู้เข้าชมเว็บไซต์รู้สึกถึงความน่าเชื่อถือ และความเป็นมืออาชีพในการสร้างเว็บไซต์ของคุณ

 

5. ความเรียบง่ายคือกุญแจสำคัญในการออกแบบเว็บไซต์

ในการทำเว็บไซต์การดึงความเรียบง่ายมาใช้งานก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีในการสร้างเว็บไซต์ให้สมบูรณ์แบบ โดยการนำความเรียบง่ายมาใช้ในการสร้างเว็บไซต์ คุณสามารถทำได้จากการสร้างหัวข้อนำทางให้มีความชัดเจน ตรงจุดประสงค์ในการสร้างเว็บไซต์ ไม่ใช้การสร้างหัวข้อนำทาง หรือการใส่ลิงก์นำทางที่แตกต่างกันมากมายลงไปในหน้าเว็บไซต์ ที่อาจจะทำให้เกิดความสับสน และกระทบต่อการตัดสินใจให้กับผู้เข้าชมได้ง่าย

6. ทดสอบความเร็วในการโหลดหน้าเว็บและปรับปรุงให้เร็วขึ้น

ผู้คนมากกว่า 40% มักเลือกปิดเว็บไซต์ที่มีการดาวน์โหลดมากกว่า 3 วินาที เพราะฉะนั้นในการสร้างเว็บไซต์คุณจึงจำเป็นต้องทำการทดสอบความเร็วในการโหลดหน้าเว็บไซต์ เพื่อทำการปรับปรุงเว็บไซต์หากมีการดาวน์โหลดที่ใช้เวลานานจนเกินพอดี

หากคุณต้องการตรวจสอบเว็บไซต์ของคุณว่ามีการใช้เวลาในการดาวน์โหลดมากน้อยแค่ไหน คุณสามารถใช้บริการของ Tools.Pingdom.com ที่เป็นเครื่องมือยอดนิยมสำหรับการทดสอบความเร็วในการดาวน์โหลดของเว็บไซต์ แค่เพียงป้อน URL ของเว็บไซต์ลงไป หากเว็บไซต์คุณทำเวลามากกว่า 6 วินาที ควรทำการแก้ไขทันที แต่ถ้าหากเกิน 2 วินาทีคุณควรทำให้เว็บไซต์ของคุณดาวน์โหลดได้เร็วยิ่งขึ้น

 

7. ตรวจสอบว่าคุณกำลังติดตามการวัดผล

หากคุณต้องการทำให้เว็บไซต์ของคุณเป็นเว็บไซต์ที่สมบูรณ์แบบ สิ่งที่คุณควรทำเป็นประจำคือการตรวจสอบ และติดตามวัดผลความสำเร็จของเว็บไซต์คุณอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้คุณทราบถึงปัญหาของเว็บไซต์ได้ในเวลาอันรวดเร็ว ที่จะทำให้เกิดการแก้ไขได้ทันท่วงทีหากเว็บไซต์ของคุณมีปัญหา

การตรวจสอบ หรือวิเคราะห์เว็บไซต์คุณสามารถทำได้ด้วยการใช้เครื่องมือของ Google อย่าง Google Analytics ที่เป็นเครื่องมือเก็บสถิติต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายในเว็บไซต์ของคุณ ไม่ว่าจะเป็นจำนวนของผู้เข้าใช้งาน พฤติกรรมในการใช้งาน กิจกรรมที่ทำเมื่อเข้ามายังเว็บไซต์ของคุณ และนำข้อมูลเหล่านี้ไปวิเคราะห์เพื่อติดตามผลในหน้าต่างๆ ของเว็บไซต์

8. เลือกแพลตฟอร์มที่ให้ทั้งความสะดวกในการใช้งานและไม่มีข้อจำกัดในการปรับแต่ง

การสร้างเว็บไซต์ในปัจจุบันคุณไม่เป็นต้องทำการสร้างขึ้นมาเองทั้งหมด หรือทำการศึกษาขั้นตอนในการทำเว็บไซต์อย่างละเอียด เพราะในปัจจุบันคุณสามารถสร้างเว็บไซต์ได้จากการคลิกแค่เพียงไม่กี่ครั้ง จากการใช้งานบริการของการสร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปที่มีทั้งรูปแบบที่มีค่าใช้จ่าย และไม่มีค่าใช้จ่ายให้คุณเลือก และสามารถปรับแต่งได้ตามต้องการ

จาก 8 เคล็ดลับสำคัญในการ ทำเว็บไซต์ ให้สมบูรณ์แบบที่ได้นำมาฝากทุกท่านในวันนี้ หากทุกคนได้นำไปใช้ หรือปรับเปลี่ยนเพื่อให้เข้ากับแนวทางในการทำเว็บไซต์ของตัวเองแล้วล่ะก็ เราเชื่อว่าผลลัพธ์ที่จะออกมา จะต้องเป็นผลลัพธ์ที่ดีอย่างแน่นอน


Credit: http://www.am2bmarketing.co.th/web-development-article/make-website/

ทำเว็บให้น่าสนใจได้ง่ายๆ ด้วย กฏ 23 ข้อ

ทำเว็บให้น่าสนใจได้ง่ายๆ ด้วย กฏ 23 ข้อ

เป็นการวิจัยของ 3 สถาบัน ได้แก่

The Poynter Institute,

the Estlow Center for Journalism & New Media,

และ Eyetools

ภายใต้โครงการ “The Eyetrack III” ซึ่งศึกษาถึงกลยุทธ์การออกแบบเว็บไซต์เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้ใช้ให้มากที่สุด

1. ตัวอักษรดึงดูดความสนใจได้เร็วกว่าภาพหรือกราฟฟิค

2. จุดแรกที่สายตามองคือ มุมซ้ายบนของหน้าเว็บ

3. ผู้ใช้จะมองไปที่มุมซ้ายบนของเว็บไซต์ ก่อนที่จะเลื่อนสายตาลงมาด้านล่างขวาเรื่อยๆ

4. ผู้ใช้ส่วนใหญ่ไม่สนใจมองแบนเนอร์โฆษณา

5. รูปแบบเว็บไซต์และตัวอักษรที่มีสีสันสะดุดตา มักไม่ได้รับความสนใจจากผู้ใช้

6. แสดงข้อมูลเป็นตัวเลข จะดึงดูดสายตามากกว่าเขียนเป็นตัวอักษร

7. ขนาดตัวอักษรมีผลต่อพฤติกรรมการใช้เว็บ โดยตัวอักษรเล็กๆ จะทำให้คนอ่านอย่างละเอียด ขณะที่ตัวอักษรใหญ่ ทำให้คนมองเป็นอันดับแรก

8. คนส่วนใหญ่อ่านพาดหัวรอง ในกรณีที่น่าสนใจจริงๆ

9. คนมักจะอ่านส่วนล่างของหน้าเว็บแบบผ่านๆ

10. ประโยคหรือย่อหน้าสั้นๆ ดึงดูดความสนใจของคนอ่านมากกว่า

11. รูปแบบเว็บไซต์ที่มีแถวแนวตั้งแถวเดียว ดึงดูดสายตามากกว่าหลายแถว

12. แบนเนอร์โฆษณาที่อยู่บริเวณบนสุดและซ้ายสุด จะดึงดูดสายตามากที่สุด

13. การวางโฆษณาใกล้กับคอนเทนท์ที่ดีที่สุด จะได้รับความสนใจจากผู้ใช้ค่อนข้างมาก

14. โฆษณาแบบตัวอักษรได้รับความสนใจมากกว่าโฆษณาแบบภาพหรือกราฟฟิค

15. ภาพยิ่งใหญ่ ยิ่งดึงดูดความสนใจได้มาก

16. ภาพที่ชัด ดูง่าย และถ่ายบุคคลจริงๆ จะได้รับความสนใจจากคนดู มากกว่าภาพประเภทดีไซน์จัดๆ ภาพนามธรรม (abstract) หรือภาพนายแบบ-นางแบบ

17. หน้าเว็บไซต์ก็เหมือนหน้าหนึ่งหนังสือพิมพ์ เพราะฉะนั้น พาดหัวจะได้รับความสนใจมากที่สุด

18. คนส่วนใหญ่มักจะสนใจหัวข้อและเมนูต่างๆ ในเว็บไซต์

19. ถ้ามีบทความยาวๆ ในเว็บไซต์หรือบล็อก หากแยกเนื้อหาออกเป็นข้อๆ จะได้รับความสนใจจากผู้อ่านมากขึ้น

20. ผู้ใช้มักจะไม่อ่านบทความที่ติดกันยาวๆ หลายบรรทัด ดังนั้น ถ้าบทความยาวมาก ควรแตกเป็นย่อหน้าย่อยๆ

21. การดึงความสนใจของคนให้อ่านบทความให้มากและนานที่สุด คือการใช้รูปแบบตัวอักษรที่แตกต่างกันไป เช่น ตัวหนา ตัวใหญ่ ตัวเอียง ตัวขีดเส้นใต้ หรือตัวอักษรสีต่างๆ แต่ไม่ควรใช้มากเกินไป เพราะทำให้ผู้อ่านหมดความสนใจเช่นกัน

22. เว้นที่ว่างบนหน้าเว็บบ้างก็ดี ไม่ต้องใส่ข้อมูลหรือภาพบนทุกอณูของเว็บก็ได้

23. ปุ่ม navigation ควรวางไว้บนสุดของหน้าเว็บ เพื่อช่วยเหลือผู้ใช้ได้ง่ายที่สุด

 


 

Credit: http://www.b2ccreation.com/content/knowledgebase/kb_view.asp?kbid=46

มาอ่านค่าความเร็วของเว็บจาก Site Speed รีพอร์ทใน Google Analytics กัน

Site Speed เป็นหนึ่งในหลายรีพอร์ทที่ถูกใช้งานค่อนข้างน้อยจาก digital marketer ทั้งหลาย เนื่องจากข้อมูลที่แสดงในรีพอร์ทนี้อาจจะเกี่ยวข้องไม่มากนักกับกระบวนการตัดสินใจเชิงมาร์เก็ตติ้ง และดูจะเป็นข้อมูลทางเทคนิคอลมากกว่า แต่จากนี้ไปรีพอร์ทนี้ก็น่าจะต้องถูกดูมากขึ้นบ้างอีกสักนิดนึง เนื่องจาก Google ประกาศไว้ค่อนข้างชัดเจนว่า ความเร็วของเว็บนั้นมีผลต่อการจัดอับดับเว็บไซต์ โดยเฉพาะกับอุปกรณ์โมบายด์ โดยจะเริ่มมีผลในเดือน July 2018 ซึ่งจากบทความดังกล่าวยังเผยว่า จริงแล้วนั้น ในบางกรณีก็มีการนำความเร็วของเว็บไปเป็นปัจจัยในการจัดอันดับบนเดสก์ท็อปมาก่อนหน้านี้แล้ว ดังนั้นเรื่องของความเร็วจึงเป็นเรื่องสำคัญอีกเรื่องหนึ่งที่คนทำ SEO ในปีนี้จะต้องพิจารณาไปด้วย แต่เอาจริงๆ ถ้ามองในมุม User Experience แล้ว เรื่องความเร็วของเว็บ ยังไงก็เป็นเรื่องต้องให้ความสำคัญอยู่แล้ว ดังนั้นไม่ว่าเรื่องนี้มีผลกับอันดับมากน้อยแค่ไหนก็ตาม เราก็ควรต้องทำให้มันเร็วขึ้นอยู่ดีไม่ใช่หรือ

เครื่องมือง่ายๆ ที่ใช้ตรวจสอบความเร็วของหน้าบนเว็บไซต์ ซึ่งหลายคนอาจจะเคยใช้มาบ้างแล้ว ก็คือ PageSpeed Insight ซึ่งวิธีการใช้งานก็เพียงให้เราระบุ URL ของหน้าเว็บไซต์ที่เราต้องการจะตรวจสอบความเร็วเท่านั้นเอง ก็จะสามารถเห็นข้อมูลตามภาพได้ทันที อย่างเว็บของ GAT เองหลังจากตรวจสอบก็จะเห็นว่าบน Desktop ได้คะแนน 80/100 ซึ่งผ่านเกณฑ์พอดิบพอดี (Good=80-100) ส่วนบน Mobile ได้ 75/100 ก็จะแสดงให้เห็นเป็นสีเหลืองตามภาพ

PageSpeed-insight

ในกรณีที่คะแนนของหน้าบนเว็บไซต์ไม่ดี เครื่องมือนี้ก็จะแนะนำว่ามีจุดใดที่มีปัญหาพร้อมทั้งแนวทางการแก้ไขให้ด้วย ภาพด้านล่างนี้เป็นตัวอย่างส่วนหนึ่งที่เครื่องมือนี้แนะนำให้ทำการ Optimize ขนาดของรูปภาพให้เล็กลงได้อีกนั่นเอง

optimization-suggestion

แต่ปัญหาอย่างหนึ่งของเครื่องมือ PageSpeed Insight ก็คือ เราจะสามารถตรวจสอบความเร็วได้ทีละหนึ่งหน้า หรือหนึ่ง URL เท่านั้น ดังนั้นในกรณีที่เว็บไซต์เรามีหน้าจำนวนมาก และเราอยากตรวจสอบความเร็วทีละหลายๆ หน้านั้น ก็ดูจะเป็นเรื่องทีเสียเวลาอยู่พอสมควร บทความนี้ก็เลยขอแนะนำอีกหนึ่งรีพอร์ทใน Google Analytics ที่ได้กล่าวไว้ในตอนต้น ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหานี้ได้ซึ่งก็คือ Site Speed รีพอร์ท โดยสามารถเข้าดูได้จากเมนูนี้ Behavior> Site Speed>Speed Suggestions

Speed-suggestions-report

เมื่อเข้ามาดูแล้วเชื่อว่าทุกคนน่าจะทำความเข้าใจเองได้ไม่ยากนัก อย่างที่ได้กล่าวไว้ข้อดีของรีพอร์ทนี้คือ ทุก URL ของเว็บไซต์เราจะถูกรวบรวมไว้ที่เดียวเพื่อให้เราสามารถตรวจสอบความเร็วแต่ละหน้าได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะด้วยวิธีการ Sorting ตามเวลาที่ใช้โหลดหน้าแต่ละหน้า (Avg. Page Load Time) หรือ PageSpeed Score ซึ่งก็เป็นค่าที่ดึงมาจาก PageSpeed Insight อีกทีหนึ่ง หรือจะใช้ Table Filter เอาตรงๆ ได้เลยในกรณีที่เรารู้อยู่แล้วว่าเราต้องการดูค่าความเร็วของหน้าไหน

คำแนะนำและเรื่องควรทราบ

  1. PageSpeed Score ใน Google Analytics จะไม่ใช่ค่า Realtime เหมือนตอนที่เราดูจาก PageSpeed Insight อาจจะคลาดเคลื่อนกันได้เล็กน้อย ดังนั้นในกรณีที่เราสนใจหน้าบางหน้าเป็นพิเศษให้เราคล้ิกที่ไอคอนเปิดหน้าต่างใหม่ในคอลัมม์ PageSpeed Suggestions เพื่อไปดูค่าความเร็วแบบ Realtime และคำแนะนำการแก้ไขที่ PageSpeed Insight อีกทีหนึ่ง
  2. เราไม่จำเป็นต้องแก้ไขเรื่องความเร็วของหน้าทุกหน้าพร้อมๆ กันก็ได้ หลายครั้งเราอาจพบว่าพอเราดูรีพอร์ท Speed Suggestions จะมีหน้าที่ได้คะแนะต่ำๆ จำนวนมากจนน่าตกใจ ซึ่งอาจจะมีถึงหลายร้อยหน้าก็ได้ คำแนะนำคือให้เลือกแก้หน้าที่มีผลต่อการใช้งานของยูสเซอร์ในโฟลว์หลักๆ ก่อน เช่น Shopping Flow หรือ Checkout Flow รวมไปถึงหน้าที่มี Pageviews, Conversion Rate และ Page Value สูงๆ ก่อน
  3. อย่าคาดหวังกับอันดับที่ดีขึ้นใน Google Search Result จนเกินไป เพราะถึงแม้ว่า Google จะออกมาบอกเองว่า ‘ความเร็ว’ มีผลต่อการจัดอันดับ แต่ก็เป็นเพียงปัจจัยหนึ่งเท่านั้นเอง สุดท้ายถึงอันดับบน Google จะดีขึ้นบ้างหรือไม่นั้นก็เป็นเรื่องหนึ่ง แต่อันดับในใจคนใช้งานน่าจะดีขึ้นบ้างละ

Credit: https://googleanalyticsthailand.wordpress.com/2018/02/18/site-speed-%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%9E%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%97%E0%B9%83%E0%B8%99-google-analytics/

วิธีการติดตั้ง Google Analytics อย่างถูกต้อง เข้าใจง่าย ทำได้เอง

การสมัครใช้งานและการติดตั้ง Google Analytics ไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่หลายคนคิด การติดตั้งสามารถทำได้ในเวลาไม่เกิน 15 นาที ใครที่มีเว็บเป็นของตัวเองแต่ยังไม่ได้ติดตั้ง Google Analytics ต้องบอกเลยว่าเสียโอกาสไปมากมายจากข้อมูลที่จะได้จาก Google Analytics เพื่อนำมาวิเคราะห์และปรับปรุงเว็บไซต์ให้ดีขึ้น บทความนี้จะอธิบายขั้นตอนการติดตั้ง Google Analytics ทีละขั้นตอนเพื่อให้ผู้เริ่มต้นสามารถติดตั้งได้เอง มาเริ่มกันเลยครับ

1. เปิด browser แล้วพิมพ์ URL http://www.google.com/analytics/ เพื่อเข้าไปยังหน้าแรกของ Google Analytics ดังภาพ แล้ว sign in ด้วย Gmail account หรือถ้ายังไม่มีก็กด Create account ขึ้นมาใหม่

Setup-Google-Analytics-1

2. เมื่อ sign in แล้วจะเข้ามายังหน้าที่แนะนำขั้นตอนเบื้องต้นดังภาพ ให้กดปุ่ม sign up ต่อไปได้เลย
Setup-Google-Analytics-2

3. เมื่อ sign up แล้วจะเข้ามายังหน้า New Account หน้านี้เป็นหน้าที่สำคัญมาก โดยหน้านี้เราจะต้องเซ็ตอัพ account แรกของเราขึ้นมาซึ่งจะมีรายละเอียดปลีกย่อยดังนี้

  • What would you like to track : ระบบจะ default ไว้ที่ website หากเราจะ track mobile app ให้เลือก mobile app
  • Account Name : แนะนำให้ใส่ชื่อบริษัทที่เป็นเจ้าของเว็บนั้น เพราะหนึ่งบริษัทหรือหนึ่ง account อาจจะมีหลายเว็บได้ ซึ่งต่อไปเราสามารถสร้าง property ของเว็บอื่นๆ ภายใต้ account เดียวกันนี้ได้ ไม่จำเป็นต้องสร้าง account ใหม่ แต่ถ้าไม่มีก็ใส่ชื่อเว็บได้
  • Website Name : ช่องนี้ให้ใส่ชื่อเว็บไซต์
  • Website URL : ช่องนี้ให้ใส่ URL ของเว็บไซต์ ใส่แค่ .com หรือ .co.th เท่านั้นก็พอนะครับ
  • Industry Category : ให้เลือกประเภทธุรกิจหรือเนื้อหาของเว็บไซต์เรา เช่นเราเป็นเว็บไซต์ขายของก็เลือก shopping
  • Time Zone : ให้เลือกประเทศไทย
  • ในส่วนของ Data Sharing Setting ระบบ recommend ให้เลือกทั้งหมด แนะนำให้ปล่อยไว้อย่างนั้นเพราะเป็นส่วนที่เราต้องใช้งานในอนาคตเช่นการแชร์ข้อมูลกับ adwords account ของเรา และแชร์ข้อมูลเพื่อทำ benchmark กับกลุ่มเว็บไซต์ใน industry เดียวกันซึ่งจะทำให้เราสามารถดูรีพอร์ทของเราเปรียบเทียบกับเว็บไซต์อื่นๆได้

Setup-Google-Analytics-3

Setup-Google-Analytics-4

4. เมื่อกรอกข้อมูลครบหมดแล้วให้กดที่ Get Tracking ID ด้านล่างสุด จะมีหน้าต่าง pop up ขึ้นมาให้กด I acceptเพื่อยอมรับเงื่อนไขต่างๆ ในการใช้งาน Google Analytics
Setup-Google-Analytics-5

5. เมื่อกด I accept แล้วก็จะเข้ามายังหน้า Property ซึ่งในหน้านี้จะมีส่วนที่เรียกว่า Tracking Code อยู่ เราจะต้อง copy โค้ดนี้ไปแปะไว้ทุกหน้าในเว็บไซต์ของเรา ตรงนี้หากเราทำเองไม่ได้ ให้ส่ง code นี้ไปให้คนที่ทำเว็บไซต์ของเราติดตั้งให้ เท่านี้เป็นอันเสร็จเรียบร้อย
Setup-Google-Analytics-6

6. หลังจากที่ติดตั้งโค้ดที่หน้าเว็บไซต์แล้ว ข้อมูลจะยังไม่เข้ามาทันที อาจจะต้องรอสักพักหนึ่งแล้วแต่รอบของการอัพเดทข้อมูลของ Google บางที่อาจจะไม่เกินชั่วโมงหรืออาจจะถึงวันหนึ่งก็ได้ ระหว่างนี้เราสามารถเข้าไปทำความรู้จักกับ report ต่างๆ ของ Google Analytics ได้ก่อนโดยการกดที่ Reporting ที่เมนูบาร์ด้านบนก็จะเข้าไปยังหน้า report ตามภาพด้านล่างครับ ขอให้สนุกกับการใช้งาน Google Analytics นะครับ

Setup-Google-Analytics-7


ขอบคุณคำแนะนำดี ๆ จาก https://googleanalyticsthailand.wordpress.com/2015/03/01/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87-google-analytics/

การทำ SEO ด้วย 5 เทคนิคง่ายๆ ทำด้วยตัวเอง ไม่ต้องจ้างใคร

5 เทคนิคการทำ SEO ง่ายๆ ที่สามารถเริ่มได้ทันที

  1. การตั้งชื่อบทความ หรือ Tilte เป็นเรื่องที่สำคัญมาก
    ชื่อของบทความควรต้องสามารถบอกเนื้อหาหลักของบทความได้ทันที ส่วนนี้เป็นส่วนที่สำคัญมากเพราะเป็นส่วนแรกที่ทั้ง Google และผู้อ่านเห็นและจะทำความเข้าใจว่าบทความนี้พูดถึงอะไร ซึ่งโดยปกติชื่อบทความจะถูกนำไปแสดงบนผลการค้นหาด้วย นั่นจึงเป็นส่ิงสำคัญมากที่ชื่อของบทความควรจะต้องมี Keyword หลักที่เราต้องการให้เว็บไซต์ของเราไปแสดงผลเวลามีคนค้นหาคำๆนั้น ยกตัวอย่างเช่นเวลามีคนค้นหาความว่า “ติดตั้ง Google tag manager” ในชื่อบทความก็ควรจะต้องมีคำนี้รวมอยู่ด้วย เทคนิคที่สำคัญอีกอย่างในการตั้งชื่อชื่อบทความคือ จะต้องสื่อสารให้ตรงกับความต้องการของผู้อ่านมากที่สุด คือเมื่ออ่านชื่อบทความแล้วต้องทำให้รู้สึกอยากคลิ้กเข้าไปอ่านต่อ จากตัวอย่างด้านล่างจะเห็นว่า ชื่อบทความที่แสดงผลอยู่จะมี keyword ที่ถูกค้นหารวมอยู่ด้วย

    google-search-result
    ชื่อบทความจะแสดงผลอยู่ในผลการค้นหา การตั้งชื่อบทความจึงควรจะต้องมีคึย์เวิร์ดที่เกี่ยวกับคำค้นหารวมอยู่ด้วย
  2. ย่อหน้าแรกควรต้องมี Keyword หลักของเนื้อหา
    เช่นเดียวกันกับข้อหนึ่ง ส่วนนี้เป็นส่วนแรกๆ ที่ผู้อ่านและ Google จะเห็นและทำความเข้าใจเนื้อหาหลักได้ดีมากยิ่งขึ้น ดังนั้นจึงควรเป็นเนื้อหาที่เจาะเข้าประเด็นหลักของบทความและมีความน่าสนใจที่จะชวนให้ติดตามอ่านต่อจนจบให้ได้ ส่วนนี้สำหรับคนที่สร้างเว็บไซต์จาก WordPress ถือว่ามึความสำคัญค่อนข้างมาก เพราะโดยพื้นฐานแล้ว ย่อหน้าแรกมักจะถูกนำไปแสดงอยู่บนผลการค้นหาด้วย (ดูจากภาพด้านบนจะเห็นว่ามี Keyword รวมอยู่ในรายละเอียดใต้ชื่อบทความ) ดังนั้นแล้วทั้งข้อ 1 และ 2 นี้มีผลโดยตรงกับความน่าสนใจของบทความ ผู้ที่ค้นหาจะคลิ้กเข้าไปอ่านบทความหรือไม่นั้น สองส่วนนี้มีความสำคัญมากที่สุด
  3. ความยาวของเนื้อหา 
    ส่วนนี้ถือเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ค่อนข้างสำคัญ เพราะเวลาที่ใช้อ่านบนเว็บไซต์นั้นมีผลต่ออันดับด้วย การมีเนื้อหาที่ดีนั้นโดยปกติก็ไม่มีทางจะเป็นไปได้ที่มีความยาวแค่ 10 หรือ 20 บรรทัดอยู่แล้ว แต่ที่สำคัญสำหรับเนื้อหาที่มีความยาวนั่นก็คือ จะต้องยาวแบบมีคุณภาพด้วย ไม่ใช่ยาวแบบน้ำท่วมทุ่ง วกไปวนมา อ่านไม่รู้เรื่อง ในผลการวิจัยต่างประเทศนั้นมีตัวเลขที่ชัดเจนว่าส่วนใหญ่เว็บไซต์ที่ติดอันดับหน้าแรก มักจะมีเนื้อหาที่มีความยาวเฉลี่ยประมาณ 1,890 คำ

    word-count-seo-ranking
    ช้อมูลจากเว็บไซต์ http://backlinko.com/ แสดงให้เห็นว่าเว็บไซต์ที่อยู่ในผลการค้นหาหน้าแรกมีความยาวเฉลี่ยที่ 1,890 คำ
  4. การมี Link ไปยังบทความอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ 
    การทำ SEO มักจะพูดกันแต่การทำ Backlink (inbound link) แต่จริงๆ แล้วการลิงค์ออกไปยังเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกันกับเนื้อหาในเนื้อนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ควรทำ เพราะนอกจากจะทำให้ User ได้รับข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมแล้ว Google เองยังสามารถที่จะเข้าใจบริบทของเนื้อหาบนเว็บไซต์เราได้ดียิ่งขึ้นด้วย
  5. การตั้งชื่อไฟล์ภาพ และการเพิ่ม Caption หรือ Alt text ให้กับรูปภาพทุกรูป
    เนื่องจาก Google ยังไม่สามารถทำความเข้าใจความหมายของรูปภาพได้ ดังนั้นการตั้งชื่อไฟล์ภาพ การใส่ชื่อภาพ และคำขยายความของภาพจึงเป็นเรื่องทำสำคัญที่จะทำให้ Google เข้าใจว่าเรากำลังสื่อสารเรื่องอะไร เทคนิคที่คนทำ SEO ส่วนใหญ่ทำกันคือ การใส่ Keyword ของหน้าๆ นั้นเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของคำขยายความภาพด้วยเพื่อเป็นการทำให้มีปริมาณ Keyword ในหน้านั้นหนาแน่นมากยิ่งขึ้น ข้อดีอีกอย่างของการใส่ Caption และ Alt text นั้นก็คือจะทำให้ภาพนั้นอยู่ในผลการค้นหาแบบ Image ได้ดีขึ้นอีกด้วย ซึ่งก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งในการเพิ่มจำนวนคนเข้าเว็บไซต์ จากตัวอย่าง ลองค้นหาคำว่า “ติดตั้ง google tag manager” ก็จะมีภาพจากเว็บไซต์ googleanalyticsthailand ไปแสดงผลอยู่ด้วย

    google-image-search-result
    การใส่คีย์เวิร์ดใน caption ของรูปภาพจะมีส่วนช่วยให้ภาพนั้นมีโอกาสแสดงในผลการค้นหาแบบ Image มากขึ้น

โครสร้างเว็บไซต์ เนื้อหาบนเว็บไซต์ และลิงค์จากเว็บไซต์อื่นๆ ถือเป็นสามปัจจัยที่สำคัญมากในการทำ SEO ซึ่งแต่ละส่วนก็ยังมีรายละเอียดปลีกย่อยที่ต้องศึกษาเพิ่มเติมต่อไปอีก แต่ส่วนที่ผมให้ความสำคัญมากที่สุดและอยากจะเน้นย้ำทิ้งท้ายไว้ตรงนี้อีกครั้ง และมั่นใจว่า Google เองก็ให้ความสำคัญมากเช่นกัน นอกจากทั้งสามส่วนที่กล่าวมาแล้ว นั่นก็คือเรื่อง “User” ที่เข้ามาในเว็บของเรานั่นเอง สิ่งหนึ่งที่ผมเองเชื่อมาตลอดคือ ถ้า user เข้ามาในเว็บของเราแล้วได้รับประสบการณ์ที่ดี เช่น เว็บไซต์โหลดเร็ว รองรับการแสดงผลบนมือถือ รวมถึงได้อ่านเนื้อหาที่มีประโยชน์ ชอบเนื้อหาและข้อมูลในเว็บไซต์ของเราแล้ว Google เองก็จะชอบด้วย เพราะโดยหลักการแล้ว Google ย่อมต้องการที่จะส่งมอบเนื้อหาที่ดีที่สุดให้กับคนที่ใช้โปรดักส์ Search ซึ่งเป็นจุดเด่นของโปรดักส์ตัวนี้ การส่งมอบเนื้อหาของเว็บไซต์ที่สร้างประสบการณ์แย่ๆ ให้กับผู้อ่านย่อมเป็นการ Discredit ตัวเอง ดังนั้นการทำ SEO ที่ดีเราจึงควรที่จะต้องให้ความสำคัญกับ User มากพอๆกับ Search Engine ด้วย

 


 

ขอบคุณข้อมูลจาก https://googleanalyticsthailand.wordpress.com/2015/12/15/seo-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/

วิธีปิดปลั๊กอิน WordPress เมื่อเข้าหลังบ้านไม่ได้

วิธีปิดปลั๊กอิน WordPress จริง ๆ มีหลายวิธีแต่วิธีนี้ง่ายสุด ช่วยได้เมื่อเราไม่สามารถเข้าไปปิดปลั๊กอินผ่านหลังบ้านได้

วิธีปิด Plugin WordPress เมื่อเข้าหลังบ้านไม่ได้

  1. ให้เรา FTP เข้าไปที่เว็บของเรา
  2. มองหาโฟลเดอร์ที่มีชื่อว่า wp-content
  3. ดับเบิ้ลคลิกเข้าไปข้างในโฟลเดอร์
  4. เปลี่ยนชื่อโฟลเดอร์ plugins เป็นชื่อ plugins-backup (จริง ๆ เปลี่ยนเป็นชื่ออะไรก็ได้)

คราวนี้ลองเข้าเว็บดูปลั๊กอินก็จะ Deactivate ทั้งหมดแล้วครับ

จริง ๆ แล้วยังมีอีกวิธีที่จะปิดปลั๊กอินได้ก็คือปิดผ่าน Database แต่วิธีนั้นค่อนข้างยากกว่าวิธีนี้พอสมควรและเสี่ยงที่จะทำ Database พังถ้าเราไม่เชี่ยวชาญพอ

ปล.ถ้าอย่าลืมมาเปลี่ยนชื่อโฟลเดอร์ plugins กลับมาให้เหมือนเดิมด้วยนะครับเมื่อเราเข้าหลังบ้านได้แล้ว

จบแล้ว

ขอบคุณบทความดี ๆ จาก CodingDee ครับ

WordPress หน้าขาว แก้ได้ง่าย ๆ ใน 5 วิธีนี้

WordPress หน้าขาว ปัญหายอดฮิตอีกปัญหาที่คนทำ WordPress ต้องพบเจออยู่เป็นประจำ บทความนี้ CodingDee จะพามาดูวิธีรับมือเมื่อ WordPress ขึ้นหน้าขาว โล่ง ๆ ไม่มีอะไรเลย มาดูกันครับ

WordPress หน้าขาว แก้ได้ง่าย ๆ

WordPress หน้าขาว

CodingDee ได้รวบรวมวิธีแก้ปัญหาไว้ให้ 5 วิธีลองเลือกนำไปปรับใช้ดูครับ

1. เปิดโหมด Debug

Default ของ WordPress จะปิดโหมดนี้ไว้เพื่อความปลอดภัยครับ เว็บจะไม่แสดงข้อความหรือ error อะไรออกมา ทำให้เราเห็นเป็นหน้าขาว ๆ โล่ง ๆ วิธีที่จะทำให้ WordPress บอกเราว่าเกิดอะไรขึ้น เราจะได้นำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์หาสาเหตุและวิธีแก้กันต่อไป วิธีก็คือให้เราไปที่ไฟล์ wp-config.php แล้วมองหาบรรทัดนี้
define( 'WP_DEBUG', false);
แก้จาก false เป็น true ก็จะได้แบบนี้
define( 'WP_DEBUG', true);
save แล้วลองเปิดหน้าเว็บดูก็จะเจอ ข้อความหรือ error ที่ WordPress ส่งออกมาให้เราดูเราก็นำข้อความตรงนี้ไป Search Google เพื่อหาวิธีแก้ไขต่อไปครับ

2.ปิด Plugin ให้หมดทุกตัว

WordPress หน้าขาว ปัญหาส่วนใหญ่ก็มาจาก Plugin ที่เราเอามาลงเนี่ยแหละ พอลงเสร็จ หน้าขาวเลย ถ้าเป็นแบบนี้ก็สันนิษฐานได้เลยว่าเป็นที่ Plugin เนี่ยแหละลองไปไล่ปิด Plugin ดูก็จะหายครับ ไล่ปิดไปทีละตัว ๆ ก็จะรู้เองว่าเป็นที่ Plugin ตัวไหน
แต่มันก็จะมีเคสที่หนักกว่านี้คือ error แบบเข้าหลังบ้านไม่ได้เลยแบบนี้ก็ปิด Plugin ไม่ได้น่ะสิ ไม่ต้องตกใจครับ CodingDee มีวิธีแก้ง่าย ๆ ทำตามนี้เลย วิธีปิดปลั๊กอิน WordPress เมื่อเข้าหลังบ้านไม่ได้

3.โหลด Theme มาลงใหม่

บางครั้งปัญหาก็อาจจะเป็นที่ Theme ที่เราใช้งานอยู่ครับ ไฟล์อาจจะหายไปหรือไม่สมบูรณ์ด้วยสาเหตุอะไรก็แล้วแต่ที่เราไม่รู้ หรือเราเผลอไปแก้ไขไฟล์ Theme ก็เป็นสาเหตุให้ WordPress หน้าขาวได้ครับ วิธีก็คือให้เราไปโหลด Theme ที่เราใช้ ส่วนใหญ่ก็คงซื้อ Theme มาจาก Themeforest กันแหละเนอะ นั่นแหละไปโหลดมาแตกไฟล์แล้ว FTP ไฟล์ขึ้นไปทับของเดิมให้หมด

4.โหลด WordPress มาลงใหม่

วิธีนี้ก็จะคล้าย ๆ กับวิธีที่ 3 เพียงแต่เปลี่ยนจาก Theme เป็น ไฟล์ WordPress ก็ไม่มีอะไรมากไปโหลดมา แตกไฟล์ FTP ขึ้นไปทับของเดิม

ปล.ยกเว้นไฟล์ wp-config.php นะครับไม่ต้องเอาไปทับของเดิมนะ เดี๋ยวเว็บจะพังเอา

5.Backup เว็บบ่อย ๆ

วิธีนี้เป็นวิธีที่ง่ายและผมชอบทำอยู่บ่อย ๆ เพราะเนื่องจากผมดูแล WordPress อยู่หลายเว็บ ผมเลยตั้ง BackUp ทุกวัน ถ้าเว็บไหนมีปัญหาก็ Restore ให้ 1-5 นาทีก็เสร็จเรียบร้อย แต่วิธีนี้อาจจะไม่เหมาะกับเว็บที่ใช้ WooCommerce นะครับ เพราะอาจส่งผลให้ Order ที่ลูกค้าสั่งมาหน้าเว็บหายได้เพราะเราไป Restore มัน แต่ก็เป็นไม่ตายสุดท้าย ถ้า 4 วิธีข้างบนเกิดไม่ได้ผลขึ้นมา ยังไงหมั่นทำ Backup ไว้บ่อย ๆ จะดีมากครับ มันช่วยเราได้เสมอถ้าเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดขึ้นมา BackUp ไว้หลาย ๆ ที่นะไม่ใช่เอาไว้บน Cloud ที่เดียว เอาลงมาเก็บ Offline ใส่ไว้ใน External ก็ได้ เดี๋ยวจะหาว่าไม่เตือน

แถมให้เอามาเล่าสู่กันฟัง

ผมเคยเจออยู่เคสนึง อาการหน้าขาวแบบนี้เลย ก็ไล่แก้ไป ปิด Plugin ลง Theme ใหม่ ก็หาย พอวันต่อมาเป็นอีก เราก็สงสัย เพิ่งแก้ไปนะเป็นอีกแล้วเหรอ ผมก็ลองไปเปิด โหมด Debug ดู มันฟ้องว่าไฟล์หลักใน WordPress ไม่สมบูรณ์ก็เลย FTP ไปไล่ดูว่าไฟล์ไหนลองเปิดไฟล์ดูก็รู้เลยสาเหตุเลยครับ ว่าทำไมเพิ่งแก้ไปแล้วกลับมาเป็นอีก สาเหตุคือ WordPress โดน Hack ครับ ไฟล์โดนฝัง script เต็มไปหมด ผมก็เลยต้องมาล้างระบบใหม่หมด

  • ติดตั้ง WordPress ให้ใหม่
  • ติดตั้ง Theme ใหม่
  • ติดตั้ง Plugins ใหม่

จบแล้ว

ขอบคุณบทความดี ๆ จาก CodingDee

ปัญหา wordpress ที่เจอได้บ่อย ๆ พร้อมวิธีแก้ไข

ปัญหา wordpress ที่มือใหม่มักจะพบเจอได้บ่อย ๆ ทาง Standhost ได้รวบรวมบทความพร้อมวิธีแก้ไขไว้ให้อ่านกันได้ง่าย ๆ ไม่ต้องไปไล่หาอ่านทีละบทความใครเจอปัญหาอะไรก็อ่านตามลิงก์ข้างล่างนี้ได้เลย

1.WordPress ส่งเมลไม่ออก หรือส่งแล้วอีเมลเข้า junk mail

เป็นอีกปัญหายอดฮิตที่ต้องเจอกันแทบจะทุกคน ไม่ต้องกังวล CodingDee มีวิธีแก้ไขอ่านวิธีทำได้ที่บทความนี้

แชร์ประสบการณ์ เมื่อเวิร์ดเพรส “ส่งเมลไม่ออก” และวิธีแก้ปัญหา

2.WordPress โดน hack

ปัญหาโดนแฮกทุกคนมีโอกาสได้พบเจอแน่นอนถ้าไม่มีการป้องกันที่ดีผมเขียนวิธีการป้องกันไว้ที่บทความนี้ เสริมเกราะให้เวิร์ดเพรสด้วย iThemes Security ตอนที่ 1

3.WordPress แชร์บทความแล้วรูปไม่ขึ้น

ปัญหานี้มักจะเจอเวลาเรานำบทความไปแชร์ใน facebook แล้วรูปไม่ขึ้นหรือขึ้นแต่รูปไม่ตรงกับรูปในบทความอ่านวิธีแก้ไขได้ที่บทความนี้

Facebook Share รูปไม่ขึ้นและวิธีแก้ไข

4.WordPress โดน Spam

ตอนผมทำเว็บใหม่ ๆ ปวดหัวกับมันมากผมมีวิธีป้องกันที่ได้ผลแทบจะ 100% เลยอ่านต่อที่บทความนี้ Invisible reCaptcha ปลั๊กอินป้องกันสแปมสำหรับ WordPress

5.Database มีขนาดใหญ่ (บวม)

ปัญหานี้ต้องจ้างแม่บ้านประจำเวิร์ดเพรส WP Optimize ปลั๊กอินกำจัดขยะสำหรับเวิร์ดเพรส

6.Fatal error: Allowed memory size of 123….

ไม่รู้จะอธิบายยังไง ปัญหานี้ก็เจอบ่อยมากกกกกก อ่านวิธีแก้ไขต่อที่บทความนี้ Fatal Error: Allowed Memory size Exhausted WordPress

7.White Screen Of The Dead (หน้าขาว)

ในเมื่อ Windows มีจอฟ้า WordPress ก็มีจอขาว 555+ อ่านวิธีแก้ไขได้ที่บทความนี้ครับ WordPress หน้าขาว แก้ได้ง่าย ๆ ใน 5 วิธีนี้

จบแล้ว

ขอบคุณบทความดี ๆ จาก CodingDee