Category Archive Application

วิธีเชื่อมต่อ WooCommerce กับ Google Analytic เพื่อติดตามยอด Ecommerce

พอดีว่ามีโอกาสได้หาวิธีเชื่อมต่อให้ Google Analytic สามารถตรวจจับการซื้อขายบนเว็บไซต์ที่ใช้ WooCommerce ได้ แล้วก็เห็นว่ายังไม่มี Tutorial ที่เป็นภาษาไทย ก็เลยขอโอกาสตรงนี้มาเขียนให้อ่านกันว่าต้องทำอย่างไรบ้างครับ

ใช้ Plug-in ตัวไหนในการติดตั้ง ?

เท่าที่ลองหลาย ๆ ตัว ผมพบว่า Enhanced Ecommerce Google Analytics เป็นตัวที่ติดตั้งง่ายมาก! แค่ลงปลั๊กอิน ใส่เลข Google Analytics ID แล้วก็ติ๊กเปิดใช้งาน ก็สามารถทำงานได้แล้ว

หน้าต่างปลั๊กอิน Enhanced Ecommerce Google Analytic ก็ประมาณนี้ครับ ง่ายๆ ติ๊กมันทุกอันเลย

พอเสร็จแล้วให้เราไปเปิดที่ Google Analytic และเข้าไปตั้งค่า Ecommerce Setting โดยเข้าจาก Admin > View > E-commerce Settings

จะพบหน้าต่าง Ecommerce Set-up ให้เราเปิด Status ให้เป็น On แล้วกด Next Step เพื่อไปยังหน้าต่อไปครับ

เสร็จแล้วก็มาเปิด Enhanced Ecommerce Reporting เพื่อดูว่า User ที่เข้ามาซื้อของ มีพฤติกรรมอะไรบ้าง เช่น ลบสินค้าออกจากตะกร้ากี่ครั้ง เข้าไปดู Related products กี่ครั้ง

(สำหรับส่วนนี้ทางผู้เขียนบทความก็ยังไม่ได้ศึกษาโดยละเอียด แต่ทางเจ้าของ Plugin แนะนำมาว่าให้ติดตั้งครับ)

และให้ตั้งค่า Checkout Labeling ตามที่ผมเขียนเอาไว้ได้แก่

Step 1 : Checkout View
Step 2 : Billing Info
Step 3 : Proceed to payment

และขั้นตอนสุดท้าย หากสินค้าของเรา รับชำระเป็นเงินบาท ต้องไปตั้งค่าทั้งใน Google Analytic ให้เป็น THB และใน Woocommerce ให้เป็น THB ตรงกัน

ตั้งค่าตามวงกลมนี้เลยครับ

พอตอนสุดท้าย ก็คือการทดสอบซื้อสินค้า ในที่นี้ผมได้ลองตั้งสินค้าที่มีราคา 1 บาท แล้วลองทำการซื้อผ่านออนไลน์ ก็จะขึ้นในหน้าต่าง Product Performance ตามภาพด้านล่างนี้ครับ

ก็เป็นอันเสร็จสิ้นในการตั้งค่าให้ WooCommerce และ Google Analytic ทำงานร่วมกันและแสดงผล ซึ่งจากตรงนี้ เราสามารถนำไปใช้คู่กับ UTM Link เพิ่มเติม เพื่อหาว่า Channel ใดที่มีคนเข้ามาซื้อมากที่สุด หรือสินค้าแบบไหนที่คนเข้ามาดูแต่ไม่ซื้อ เพื่อปรับปรุงกันต่อไป


Credit: medium.com/@kittypunkz

ข้อดีข้อเสียของ WooCommerce คืออะไรบ้าง?

เคยสงสัยกันไหมทำไมเว็บไซต์ E-Commerce บ้านเราทำไมมีเยอะแยะเต็มไปหมด แล้วเขาสร้างมันขึ้นมากันได้ยังไง มันไม่ใช้เรื่องง่ายเลยที่จะพัฒนาระบบขึ้นมาระบบหนึ่ง บางเจ้าถึงกับไปต้องไปฝากร้านกับ lnwshop เนื่องจากจัดการสินค้าและข้อมูลง่าย แต่จะดีกว่าไหมถ้าเราสร้างมันขึ้นมาเองง่าย ๆ แบบคนไม่รู้ Code เลย ไม่ได้บอกว่า lnwshop ไม่ดีนะ เพียงแค่ Concept Blog นี้จะพาไปสร้างมันขั้นมาเอง

เพราะ Woocommerce เป็น Plugin ของ WordPress และ Plugin นี้มืออาชีพมาก เหมือนตีบวก +10 ให้กับตัว WordPress เลย การติดตั้งก็เหมือนเราติดตั้ง plugin ทั่วไปที่มีใน WordPress เลย

ทำไมเราถึงใช้ Woocommerce ?

WordPress + Woocommerce เป็นที่นิยมมากในการพัฒนาเว็ปไซต์ E-Commerce ในปัจจุบัน เพราะติดตั้งง่ายและมีครบทุกอย่าง ทั้ง ระบบจัดการสมาชิก ระบบจัดการสินค้า ระบบ shipping และหลากหลาย เราติดตั้งเจ้าตัวนี้ไปแทบจะไม่ต้องไปแก้ไขอะไรให้มาก เพราะมีพร้อม ก็อยู่ที่เราแล้วแหละว่าจะใช้มันเป็นหรือเปล่า

Woocommerce ไม่ได้รองรับทุก Theme ซะทีเดียว

เห็นหัวข้อของ Paragraph หลายคนที่ทำ WordPress อยู่ก็อาจบอกไม่จำเป็นแค่เอาหน้าไปแทรกแค่นั้นปรับแต่งหน่อยก็ใช้งานได้แล้ว แต่ถ้าเราต้องใจจะเปิดร้านออนไลน์ทำไมไม่หา Theme ที่มันเฉพาะทางเลยละ ดีกว่าไปหมดพลังงานชีวิตไปปรับแต่งเยอะแยะ ซึ่ง wordpress ก็มี theme พวกนี้มากมายทั้ง Free และ เสียเงิน แต่ถ้าใครอยากทดลองสร้างดู แนะนำลองใช้ Theme Storefront ดู เพราะทาง Woocommerce เข้าได้พัฒนามันขึ้นมาเลย

จุดแข็งจุดอ่อนของ Woocommerce

จุดแข็ง

อย่างแรกคือ มัน Free อ่านไม่ผิด เพราะมันฟรี เราสามารถโหลดใช้ Free ได้เลย Woocommerce

และที่เด่นต่อไปมีระบบมากมายให้เราใช้งาน เช่น ระบบจัดการสมาชิก ระบบตะกร้าสินค้า คูปองส่วนลด ระบบ Stock สินค้า ระบบจัดการ ORDER ส่งข้อความหาลูกค้าแต่ละคน ติดตามสถานะการสั่งซื้อ Gallery สำหรับสินค้า คำนวณภาษี รองรับการจ่ายเงินหลายประเภท ขายสินค้าที่มีตัวเลือก ระบบ shipping พูดซะยาวของแบบนี้สิบปากว่าไม่เท่าลงมือทำ อ่าน Blog ต้องลองไปเล่นแล้ว

จุดอ่อน

ไม่สามารถ ปริ้นสลิปบิลออกมาได้ ซึ่งร้านบางร้านก็ต้องการใช้ระบบนี้ที่เป็นรูปแบบ PDF หรือ อย่าง Woocommerce ยังทำไม่ได้ และอีกอย่างก็คือ ไม่มีตัวแจ้งชำระเงิน แต่ก็ไม่ถือว่าเป็นจุดอ่อนหรอกเพราะ Woocommerce เป็นของต่างชาติ แต่ก็มีคนไทยที่พัฒนาตัว Plugin ตัวนี้ขึ้นมา Seed Confirm Pro อาจจะหาไม่เจอเราต้องเข้าไปซื้อ Seed Themes บอกเลยซื้อจากที่นี่ดีที่สุด เพราะสามารถคุยสอบถามหลังซื้อได้ และตอบเร็วมาก

อ้าว ถ้ามันดีขนาดนี้ก็เปิดแข่งกับ Lazada ได้เลยดิ

ถ้าใครกำลังเอา Woocommerce ไปแข่งกับ Lazada ล้มเลิกความคิดแล้วเอาเวลาไปศึกษา WordPress ดีกว่าเพราะมันไม่มีความใกล้เคียงที่จะแข่งกันได้เลย เพราะ Woocommerce เหมาะสำหรับเปิดร้านส่วนตัวมากกว่าที่จะให้คนอื่นมาเปิดร้านได้


Credit: medium.com

WordPress E-Commerce Plugins ตัวไหนชนะเลิศ

ถ้าพูดถึงการสร้างเว็บไซต์ร้านค้าออนไลน์ หรือเว็บไซต์ E-Commerce หลายๆ ท่านอาจจะนึกไปถึงเว็บสำเร็จรูปอย่าง Weloveshopping อันโด่งดัง หรือ Lnwshop ที่กำลังมาแรง ไม่ก็จัด CMS Shopping Carts งามๆ ไปเลยด้วย OpenCart, PrestaShop, Magento หรือจะเลือก Joomla + VirtueMart ไปจนถึงการจ้างเขียนขึ้นมาเฉพาะ แล้วแฟนพันธุ์แท้ WordPress ล่ะ นอกจากเขียนบล็อกแล้วขายของด้วยได้มั้ย ข่าวดี! ทำได้สิจ๊ะ

WordPress ไม่ใช่แค่บล็อกอัจริยะ แน่นอนไอ้เจ้า WordPress นี้ มันสามารถสร้างเว็บร้านค้าออนไลน์ได้ด้วย เพราะมีผู้ช่วยอย่าง plugins และ themes เทพๆ อยู่มากมายบนโลกใบนี้ และด้วยความเยอะ วันนี้เราจะขอเลือกผู้เข้ารอบมาประเมินด้วยกัน 3 ตัว คือ

WordPress E-Commerce Plugins
1. WP Marketplace
2. WP eCommerce
3. WooCommerce

ผลการประเมินออกมาดังนี้…

wp-ecommerce-plugin-evaluation2

 

สภาพแวดล้อมการประเมิน

* Marks : วิจารณญาณและความคิดเห็นส่วนตัวจากประสบการณ์ทำงานในสายงาน E-Commerce
* Hosting : ทดสอบบน localhost ด้วย XAMPP – อ่านวิธีการติดตั้ง WordPress บน localhost (XAMPP)
* Software : WordPress 3.9.1 (ยกเว้น WP Marketplace ใช้ WordPress 3.8.1)
* Theme : ทดสอบเบื้องต้นกับ WordPress Default Theme: Twenty Twelve
* Plugin : ประเมินจาก default ของ plugin ที่ยังไม่รวม add-on
* Target : ประเมินโดยอิงกับพฤติกรรมผู้ซื้อชาวไทยส่วนใหญ่
* Date : 5 มิถุนายน 2014

ผลสรุป

เมื่อลองใช้งานดูเบื้องต้นแล้วขอยกย่องให้ WooCommerce เป็นผู้ชนะ ทั้งฝั่ง admin และฝั่ง user (ผู้ซื้อ)
และขอเสริมว่าเท่าที่เจอ WordPress Theme มาเยอะมาก ส่วนใหญ่จะเห็นคำว่า “compatible with WooCommerce” แสดงว่าได้รับความนิยมเยอะอยู่ จำนวนการดาวน์โหลดก็แซงเค้าหมด …เมื่อมีคนใช้เยอะ แน่นอนว่าเราจะหาข้อมูล support ได้เยอะ มีการต่อยอดและพัฒนาไปอีกไกลสำหรับยี่ห้อ Woo

ทั้งนี้การจะเลือกใช้ WordPress E-Commerce Plugins ตัวไหนก็ต้องขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของเว็บไซต์และความชอบความถนัดของคนทำเว็บด้วย ยังมี Shopping Cart อีกหลายตัวที่น่าใช้ทั้งฟรีและเสียเงิน สรุปแล้วตัวไหนที่เหมาะกับเรา “ต้องลองเองถึงจะรู้”

 


Credit: www.webmonsterlab.com

เปลี่ยน wordpress ให้เป็นร้านค้าออนไลน์ด้วย “wp e-Commerce”

บทความนี้เหมาะสำหรับคนที่รู้จัก wordpress หรือใช้งาน wordpress เป็นบ้างแล้ว เช่นติดตั้งปลั๊กอินได้ เป็นต้น ส่วนใครที่เป็นมือใหม่ ไม่เคยรู้จัก wordpress ไม่รู้ว่า wordpress คืออะไร ใช้งาน wordpress ไม่เป็น ก็แนะนำให้ลองศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับ wordpress  ในบทความอื่นๆ ก่อนนะครับ 

ที่นี้มีหลายคนคงจะรู้ดีว่า wordpress มันคือ Blog ใช้ทำเว็บ blog ทั่วไปจะสามารถนำมาทำเป็นร้านขายของออนไลน์ หรือที่เรียกอีกอย่างนึงว่า เว็บ e-Commerce ได้ด้วยหรอ อยากจะตอบอย่างนี้ครับว่า ความสามารถของ wordpress นั้นเราสามารถทำให้มันเป็นเว็บอะไรก็ได้เท่าที่เราต้องการ ส่วนวิธีที่ผมจะเขียนต่อไปนี้เป็นวิธีที่ใช้ Plugin เข้ามาช่วยครับ (wordpress มีทีเด็จตรง plugin นี่และ) เพราะมันเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดแล้ว และบางคนอาจจะสงสัยว่าแล้วจะใช้ Plugin ตัวไหนละในเมื่อ plugin ที่เกี่ยวกับ e-Commerce นั้นมีตั้งหลายตัว อยากจะตอบอย่างนี้ครับว่า plugin e-Commerce เท่าที่ผมเคยลองใช้และลองทดสอบมา ตัวที่ผมจะแนะนำต่อไปนี้เป็นตัวที่ใช้งานง่ายน่าจะที่สุดแล้ว และที่สำคัญฟรีด้วย

Plugin ตัวนี้ชื่อว่า “WPe-Commerce” เวลาค้นหาให้ดูชื่อดีดีนะ เพราะมีตัวซ้ำกันเยอะ เลือกตัวที่ชื่อตรงที่สุด

นี่คือหน้าตาของ WP e-Commerce เป็นหน้าที่แสดงสินค้าของเราทั้งหมดว่ามีอะไรบ้าง ราคาเท่าไหร่ เป็นต้น เราสามารถเพิ่มสินค้าได้ตามต้องการ ส่วนรูปด้านล่างนี้คือหน้าที่เรา ใส่รายละเอียดสินค้า ใส่ชื่อสินค้าได้ รายละเอียดของสินค้า ใส่รูปสินค้า กำหนดราคาของสินค้า เป็นต้น

หลังจากเราใส่รายละเอียดของสินค้าเสร็จทั้งหมดแล้วพอกดเผยแพร่แล้ว ก็จะได้หน้าตาของหน้า แสดงสินค้าออกมาแบบนี้ บางคนอาจจะคิดว่าไม่เป็นสวยเลย ความสวยขึ้นอยู่กับธีมที่เราใช้ครับ…อันนี้มันเป็นธีมธรรมดา ถ้าอยากให้ดูเลิศก็ ต้องเลือกธีมดีดีครับ… และแถมยังมีปุ่ม “Add To Cart” อีกนะ เวลามีลูกค้าเข้ามาที่เว็บเราแล้วสนใจสินค้าก็แค่กดปุ่ม “Add To Cart” แค่นี้สินค้าก็จะลงไปอยู่ในตระกร้าแล้ว ดังเช่น รูปด้านล่างนี้ เห็นไหมว่า มันมีระบบที่แสดงการซื้อสินค้าและ ระบบเก็บเงิน คำนวนเงิน ให้พร้อม แถมยังสามารถให้ลูกค้า กรอกที่อยู่เพื่อจัดส่งสินค้าได้อีกด้วย

ข้อดีของปลั๊กอินตัวนี้ WP e-Commerce 
  • ง่ายต่อการติดตั้งเวิร์ดเพรสปลั๊กอิน
  • ทำงานร่วมกับทุกมาตรฐานตาม theme WordPress
  • เล่นได้ดีกับปลั๊กอินอื่น ๆ
  • สนับสนุนเครื่องมือ WordPress
  • ใช้รหัสย่อและแท็กแม่แบบ (เช่นเดียวกับ WordPress)
  • ทำงาน out-of-the-box กับ WordPress MU

ระบบการชำระเงินมีดังนี้ ถือว่าครบถ้วนเลยทีเดียว

  • ชำระเงินด้วยตนเอง (เช่น โอนผ่านธนาคาร) ก็ปรับแต่งได้
  • มาตรฐานการชำระเงิน PayPal
  • วิธีการชำระเงิน PayPal Pro
  • ชำระเงินด่วน PayPal
  • Google Checkout

ลูกเล่นบริการเสริมของร้าน

  • มีระบบคูปอง / ส่วนลดต่างๆ
  • ขายเฉพาะสินค้า (เลือกสินค้าที่เด่นชัดหรือสินค้าที่มีจำนวนจำกัดได้)
  • ส่วนลดปริมาณ (ซื้อเยอะก็ได้ส่วนลดเยอะ ตั้งค่าได้)
  • ตัวเลือกส่งฟรี
  • การกำหนดราคาแบบหลายชั้นสำหรับส่วนลดปริมาณ

ระบบการส่งสินค้า

  • รวมกับ UPS, USPS, ออสเตรเลียโพสต์และ Shipwire สำหรับเวลาจริงอัตราค่าจัดส่ง
  • มีความยืดหยุ่นในตัวเครื่องคิดเลขอัตราค่าจัดส่ง (ระบบคิดค่าส่งอัตโนมัติ)
  • ประเทศและทั่วโลกอัตราค่าจัดส่ง (ตั้งค่าได้ว่าจะบริการส่งประเทศไหนบ้าง)
  • การจัดส่งสินค้าอัตราเรด (ตั้งค่าได้ว่าซื้อราคานี้ขึ้นไป จัดส่งฟรี)
  • การจัดส่งสินค้าอัตราจำนวน (ตั้งค่าได้ว่าซื้อจำนวนเท่านี้ขึ้นไปจัดส่งฟรี)
  • การจัดส่งสินค้าอัตราน้ำหนัก

ระบบการจัดการของ Admin หรือผู้ขาย อันนี้ดีมาก

  • แดชบอร์ดผู้ดูแลระบบสำหรับภาพรวมยอดขาย แสดงสถิติการขายได้
  • ส่งออกข้อมูลการสั่งซื้อและข้อมูลลูกค้าในรูปแบบที่ CSV, Excel สามารถโหลดมาเก็บไว้ในเครื่องได้ด้วย
  • ประวัติการสั่งซื้อที่มีป้ายชื่อสำหรับสถานะประมวลผลคำสั่ง (แสดงสถานะได้ว่า ลูกค้าชำระเงินหรือยัง สินค้าจัดส่งไปหรือยัง เป็นต้น)
  • การแจ้งเตือนอีเมลของคำสั่ง (ตั้งค่าระบบแจ้งเตือน Email ให้ลูกค้าได้)
  • พิมพ์ใบแจ้งหนี้ ต่างๆ

นี่คือข้อมูลรายละเอียดความสามารถส่วนหนึงของ Plugin WP e-Commerce เท่านั้น ยังมีรายละเอียดอีกเยอะมากแต่ขี้เกลียดพิพม์แล้ว สำหรับบทความนี้ไว้แค่นี้ก่อนแล้วกัน ในบทความต่อไปผมจะมาบอกเล่าวิธีติดตั้งและวิธีตั้งค่าเจ้า Plugin WP e-Commerce ตัวนี้กัน

แต่ถ้าใครสนใจอยากจะลองทำเองดูก่อนก็สามารถโหลดมาติดตั้งได้ โหลดปลั๊กอินตัวนี้ที่ http://wordpress.org/extend/plugins/wp-e-commerce/


Credit: nampheung.com

ทำไมเว็บไซต์ E-Commerce ควรใช้ WordPress มากที่สุด

อีคอมเมิร์ซ (E-Commerce) เติบโตอย่างก้าวกระโดดในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นก้าวกระโดดที่สามารถพลิกธุรกิจให้เหมือนเสือติดปีก หรือเป็นได้แค่หงษ์ปีกหักได้ในเวลาอันรวดเร็ว ปัจจุบันสัดส่วนของเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ (E-Commerce) อยู่ที่ 45.4% ของจำนวนเว็บไซต์ทั้งหมด ซึ่งในปี 2017 หรือ 2560 คาดว่ายอดขายจากอีคอมเมิร์ซ (E-Commerce) ทั่วโลกจะอยู่ที่ 2.2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นสัดส่วน 8.2% จากยอดขายปลีกทั่วโลก ซึ่งเป็นตัวเลขที่เติบโตอย่างมีนัยสำคัญมากๆครับ ดังนั้นเราไม่ต้องสงสัยเลยว่าธุรกิจออนไลน์ หรืออีคอมเมิร์ซ (E-Commerce) จะมีบทบาทและอิทธิพลต่อการทำธุรกิจต่อไปในอนาคตอย่างแน่นอน

แล้วเทคโนโลยี หรือ Platform อะไรที่มีชื่อเสียงที่สุดในวงการทำเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ (E-Commerce)

ผู้นำในตลาด E-Commerce ก็คือ WooCommerce มีสัดส่วนคิดเป็น 42% ลองลงมาคือ Magento มีสัดส่วน 13% เท่ากับ Shopify ที่ 13% เช่นเดียวกัน นอกนั้นมีสัดส่วนไม่ถึง 10% คงไม่ต้องสงสัยว่า WooCommerce จะครองอันดับหนึ่งได้ในเวลาอันรวดเร็ว และทิ้งห่างจาก Platform อื่นๆอย่างไม่เห็นฝุ่น

เทคโนโลยีการพัฒนาเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซที่ได้รับความนิยมสูงสุด

เว็บไซต์ที่พัฒนาด้วย WooCommerce มากถึง 617,027 เว็บไซต์ ซึ่งเป็นที่นิยมสูงสุด โดยจากสองภาพด้านบนเราได้ยกตัวอย่างเฉพาะเว็บไซต์ที่พัฒนาด้วยโครงสร้างของระบบ CMS (Content Management System) ซึ่งถือว่ามีประสิทธิภาพในการไต่อันดับ หรือทำอันดับ SEO ได้รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพสูง นอกจากนี้ยังสามารถสร้างหรือพัฒนาเว็บไซต์ระบบอีคอมเมิร์ซ (E-Commerce) ได้ในเวลาอันรวดเร็ว และจะขยายขีดความสามารถเพิ่มเติมได้อย่างไม่จำกัด มี Web Hosting รองรับมากมายในราคาถูกมากๆ ต่างกับการเขียน Code ขึ้นมาเองใหม่หมดตั้งแต่บรรทัดแรก ซึ่งใช้เวลานานกว่า และยังมีช่องโหว่มากมายเพราะมีนักพัฒนาไม่กี่คน และไม่ค่อยพัฒนาหรือแก้ไขช่องโหว่อย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกับระบบ CMS (Content Management System)

และที่ผมตั้งชื่อเรื่องไว้ว่า ทำไมเว็บไซต์ E-Commerce ควรใช้ WordPress มากที่สุด ก็เพราะว่า WooCommerce นั้นเป็น Plugin ส่วนเสริมความสามารถด้านอีคอมเมิร์ซ (E-Commerce) ให้กับ WordPress นั่นเอง ซึ่งทั้งหมดเป็น Open Source ฟรีทั้งสองระบบครับ ทำให้ต้นทุนในการพัฒนาเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ (E-Commerce) ของเราต่ำมากเมื่อเทียบกับการจ้างเขียน Code ด้วยภาษาต่างๆขึ้นมาใหม่ นอกจากนี้ WordPress ยังมีส่วนแบ่งตลาดหรือ Market Share ที่ 25% จากเว็บไซต์ที่พัฒนาทั่วโลกและทุกระบบ และคิดเป็น 67% เมื่อเทียบกับเว็บไซต์ในระบบ CMS ทั้งหมด ด้วยความนิยมขนาดนี้ทำให้เรามั่นใจได้ว่าระบบอีคอมเมิร์ซ (E-Commerce) ของ WooCommerce จะต้องได้รับการพัฒนาต่อยอดไปเรื่อยๆ และมีคุณสมบัติที่ได้มาตรฐานยิ่งๆขึ้นไปอีกอย่างแน่นอน เราในฐานะคนใช้งานก็อุ่นใจ ไม่ต้องร้อนๆหนาวๆกับบรรดาโปรแกรมเมอร์ที่เคารพรักว่าจะหยุดพัฒนาหรือหายหน้าหนีเราไปแต่อย่างใด

นอกจากนี้ WooCommerce ในปัจจุบันนั้นใช้งานได้ง่ายกว่าเดิม รองรับสินค้าได้อย่างไม่จำกัด ซึ่งข้อนี้หลายคนที่พัฒนาเว็บไซต์ด้วย Magento จะเถียงว่าไม่จริง WooCommerce นั้นรองรับไม่กี่สินค้าก็หนักและช้าแล้ว อย่างไรก็ลองเข้าไปดูข้อมูลใน Google แล้วรองค้นหาข้อมูลดูนะครับ เดี๋ยวนี้ใส่สินค้าเข้าไปเป็นแสนตัวยังรับได้ ขึ้นกับ Server หรือ Hosting ครับ ในทางกลับกัน Magento กลับเริ่มต้นติดตั้งยุ่งยากกว่า และหา Server รองรับได้ทันทีในประเทศไทยไม่มาก และส่วนต่อขยายหรือ Extension นั้นมีน้อยกว่าฝั่ง WordPress เป็นอย่างมาก ราคาก็แพงกว่าด้วยครับ ผมตอบในฐานะที่พัฒนาทั้ง WordPress และ Magento มาแล้ว ถ้าเป็นสมัยก่อนผมยอมรับว่า Magento เหนือกว่าในด้าน E-Commerce จริง แต่ปัจจุบัน WooCommerce ไล่ทันแล้ว ขึ้นอยู่กับความถนัดครับ และข้อมูลที่ปรากฏว่า Platform ไหนคนใช้งานมากที่สุดก็เป็นเครื่องพิสูจน์อยู่แล้วเพราะมันคือ Facts จากทั่วโลกครับ ผมมักจะบอกลูกค้าว่าใช้ WordPress เถอะราคาทำเว็บถูกว่า Magento เยอะ ใช้งานก็ง่ายกว่า และเก่งเรื่องทำ Blog หรือบทความกว่าเยอะมาก และถ้าคุณต้องการระบบ E-Commerce ดีๆ และระบบจัดการ Blog ดีๆ ติด SEO เร็วๆ คำตอบส่วนตัวของผมคือ WordPress ครับ

เจาะลึก WooCommerce สำหรับผู้เริ่มต้น

Woocommerce คืออะไร?

Woocommerce คือ ปลั๊กอินที่ช่วยแปลงร่างเว็บ WordPress ธรรมดาๆ ของคุณให้กลายเป็นเว็บบร้านค้าออนไลน์เต็มรูปแบบ เราสามารถโหลดตัวปลั๊กอินนี้มาใช้ฟรีๆ ได้อีกด้วย และในปัจจุบันจากสถิติเว็บร้านค้าออนไลน์ของทั้งโลก 47% คือเว็บที่สร้างมาจาก Woocommerce

WooCommerce-Stats-2018

ทำไมต้องใช้ Woocommerce?

  1. โหลดมาใช้ได้ฟรี
    ไม่ต้องกังวลเรื่องเงินในกระเป๋า ช่วยให้เราเริ่มต้นสร้างเว็บขายของออนไลน์ด้วยต้นทุนที่น้อยมาก เราสามารถโหลดและติดตั้ง Woocommerce ได้ฟรีๆ
  2. อนาคตสดใส
    เพราะมีคนใช้งาน Woocommerce จำนวนมากกว่า 1 ล้านเว็บไซต์ แถบเจ้าของปลั๊กอินนี้คือบริษัท Automattic ผู้อยู่เบื้องหลัง WordPress.org และ WordPress.com หมดกังวลว่าเขาจะหยุดพัฒนาไปได้เลย เรียกว่าเรายังสามารถเกาะปลั๊กอินตัวนี้ได้อีกนาน
  3. มันใช้งานง่าย
    ไม่ต้องโค้ด ไม่ต้องเป็นโปรแกรมเมอร์ เป็นแค่คนธรรมาดาๆ พ่อค้า แม่ค้าทั่วไปก็สามารถใช้งานได้หมด เหตุผลหลักที่ทำให้ WordPress หรือ Woocommerc มีคนใช้เยอะ เพราะมันง่ายนั้นเอง ตัวอย่างเว็บไซต์ที่สร้างโดยคนธรรมดา มีทั้งแม่บ้าน พ่อบ้าน ผู้สูงวัย สามารถทำเว็บสวยๆ ได้หมดนั้นเอง
  4. มีอุปกรณ์เสริมแต่งเพียบ
    แม้ว่า Woocommerce จะมีฟังชั่นเพียงพอต่อการเริ่มต้นทำเว็บขายของออนไลน์แล้วก็ตาม แต่หากยังรู้สึกว่าไม่พอใจ เราสามารถเพิ่มตัว extensions ได้อีกมากมาย แต่บางตัวอาจไม่ฟรีนะ

 

สิ่งที่ควรรู้ก่อนเริ่มต้นใช้งาน Woocommerce

1.  WordPress และ Woocommerce มีการอัพเดทตลอด

ดังนั้นหากใครมาสายนี้ เมื่อเราทำเว็บเสร็จต้องเรียนรู้วิธีการดูแลเว็บ และการอัพเดทเว็บของเราด้วย

โดยมากส่วนใหญ่คิดว่าทำเว็บเสร็จแล้วปล่อยทิ้งไว้ได้เลย ตรงจุดนี้เป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง เราจำเป็นต้องคอยอัพเดทเว็บอยู่เสมอ เพื่อให้เว็บเราใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และความเสี่ยงของการถูกแฮคเว็บจะน้อยลงด้วย คู่มืออัพเดทธีมและปลั๊กอินยังไงไม่ให้เว็บพัง

ปล. เว็บที่โดนแฮคส่วนมากคือเว็บที่ไม่ยอมอัพเดท หรือเว็บที่ถูกคนทำปล่อยทิ้งไปแล้วนั้นเอง

 

2. โฮสทุกโฮสทำเว็บได้หมด แต่ไม่ทุกโฮสเหมาะกับเว็บ WordPress + Woocommerce

ในฐานะที่ผมทำอาชีพสอนทำเว็บ ในตอนแรกใครบอกว่าที่ไหนดีผมก็ลองไปเช่ามาใช้หมดครับ ทั้งของไทยและต่างประเทศ เพื่อมองหาโฮสที่เหมาะกับมือใหม่ที่สุด

ปัญหาที่เจอของโฮสที่มีชื่อเสียงก็คือเขาจะมีลูกค้าเยอะ เขาจึงค่อนข้างจำกัดการใช้งานของลูกค้าในระดับ Share Host ซึ่งโดยทั่วไปมือใหม่ 90% ก็เริ่มต้นทำเว็บด้วยการใช้โฮส ในระดับ Share host ที่มีราคาถูก นั่นเองในช่วงเริ่มต้น

การถูกจำกัดการใช้งานเท่าที่เคยเจอมา เช่น ลง WordPress เองไม่ได้ อัพเดท WordPress ไม่ได้ จำกัดพวกหน่วยความจำในส่วนของ PHP

สำหรับ Standhost เอง ก็เป็น Hosting ที่เหมาะสมกับการทำ WordPress ครับ 🙂

 

3. ทำเว็บเสกลขนาดไหนเหมาะกับ Woocommerce มากที่สุด

หากเราแบ่งประเภทของเว็บร้านค้า อาจจำแนกได้ 2 ประเภทใหญ่ๆ

1) เว็บร้านค้ารายเดียว ที่ขายสินค้าต่างๆ

2 ) เว็บร้านค้าที่เป็นตลาดกลาง (Market place) ที่เปิดให้ร้านค้าหลายราย มาวางขายสินค้า ตัวอย่างเช่น Lazada, Amazon Kaideeตามหลักการเราสามารถใช้ Woocommerce สร้างเว็บได้ทั้ง 2 แบบ แต่ในการใช้งานทำเว็บจริงๆ ตัว Woocommerce มีโครงสร้างที่เหมาะสำหรับการทำเว็บร้านค้าเดี่ยวๆ มากกว่า ครับ

เพราะเว็บที่เป็น Market place มีความซับซ้อนของระบบมากกว่าหลายเท่า เพราะผู้ขายต้องมีสิทธิเอาสินค้ามาวางขาย และแก้ไขรายละเอียดของตัวเอง เช็คยอดเงิน / การส่งของต่างๆ (ซึ่งต้องกำหนดอีกมากว่า ใครส่ง ด้วยเงื่อนไขไหน ใครรับประกัน)

และยังต้องคำนึงถึงปริมาณของผู้เข้าชมเว็บของเราอีกด้วย การทำเว็บแบบนี้ควรเขียนระบบขึ้นมาเองจะตอบโจทย์มากกว่า ดูกระทู้เพิ่มเติมเรื่องนี้ ได้ที่ สร้างเว็บอีคอมเมิร์ซทำด้วยอะไรดี?

 

การเลือกธีมให้เหมาะกับ Woocommerce

woocommerce theme

จากรูปภาพอธิบายได้ว่า WordPress คือ Platform หลัก แต่ฟังชั่นต่างๆ หรือการปรับหน้าตาเว็บเราจะปรับแต่งผ่านธีมและปลั๊กอิน

90 % ของเว็บ WordPress ที่ทำระบบตระกร้านสินค้าใช้ปลั๊กอิน Woocommerce ในการทำทั้งสิ้น นั้นหมายความว่า หากตัว Woocommerce ออกเวอร์ชั่นใหม่ ระบบต่างอาจมีเปลี่ยนแปลงมากบ้างน้อยมาก ธีมที่ดีต้องมีการอัพเดทให้ใช้งานร่วมกับ Woocommerce ด้วย

  •  ควรใช้พรีเมี่ยมธีม (ธีมตัวเสียเงิน) ธีมฟรีจะมีข้อจำกัดค่อนข้างเยอะ และไม่มีความยืดหยุ่น จะออกแนวเว็บสำเร็จรูป เราไม่สามารถปรับแต่งตามใจ หรือตามไอเดียที่เรามีได้แต่หากเราเลือกใช้ธีมตัวเสียเงิน อารมณ์การใช้งาน จะเปรียบเหมือนเราซื้อตัวต่อเลโก้ เราซื้อ 1 ธีม เราก็จะได้ชิ้นส่วนมา 1 ถุง หน้าที่ของเราคือเอาชิ้นส่วนเหล่านั้นมาประกอบเป็นเว็บให้มีหน้าตาแบบใดก็ได้ ตามไอเดียของเราได้หมด เหมือนกับเราต่อตัวต่อเลโก้ให้มีรูปร่างอะไรก็ได้นั้นเอง
  • มีการอัพเดทอยู่เสมอ ธีมที่ดีควรมีการอัพเดทล่าสุดให้สามารถใช้งานบน WordPress เวอร์ชั่นล่าสุดอยู่เสมอ
  • อัพเดทตาม Woo เวอร์ชั่นล่าสุด (ver.3+)
  • มียอดขายพอสมควร ทุกคนสามารถทำธีมแล้วเอาไปลงขายที่ ThemeForest ได้หมด แต่ไม่ใช่ทุกธีมที่วางขายบน ThemeForest แล้วจะขายดี ในหลายๆ ธีมหากไม่ค่อยมียอดขาย ผู้สร้างธีมมักหยุดพัฒนาธีม หรืออัพเดทธีมในรองรับ WordPress และ Woocommerce เวอร์ชั่นใหม่ๆ หากเราใช้ธีมนั้นๆ ต่อไป ก็มีความเสี่ยงสูงว่าเว็บเราจะใช้งานไม่ได้เมื่อมีการอัพเดทนั้นเอง
  • มีคลิปสอนการ setup ธีม บน YouTube การทำเว็บ WordPress นั้นไม่ยาก เราไม่ต้องเขียนโค้ด แต่มันก็ไม่ง่าย เพราะมันมีรายละเอียดที่เยอะมาก และแต่ละธีมมีการ Setup ที่ไม่เหมือนกันเลย หากเราจะซื้อธีมไหน ลองเอาชื่อธีมนั้นไปเสริจหาบน Youtube ดู ถ้าธีมนั้นมีคลิปสอน ก็จะช่วยให้เราเรียนรู้การทำเว็บได้เร็วขึ้นนั้นเอง
  • มี Facebook Group ช่วย ถาม-ตอบ ในบางธีม เขาจะสร้าง Facebook Group เพื่อคอย Support คนที่ใช้ธีมเดียวกัน ติดขัดตรงไหนเราก็สามารถไปตั้งกระทู้ถามได้เลย แต่มีแค่บางธีมนะที่มี
  • แหล่งซื้อธีมคุณภาพ themeforest.net

บทสรุป สอน Woocommerce

Woocommerce คือปลั๊กอินสร้างระบบร้านค้าออนไลน์ ที่ช่วยให้คนธรรมดา เริ่มต้นสร้างเว็บขายของด้วยตนเองได้ และเป็นที่นิยมมากที่สุดในโลก ถึงแม้ว่าเขาจะใช้งานง่าย แต่ในความง่ายก็ยังมีรายละเอียดอีกพอสมควร หากเราพื้นฐานไม่ดี จากเรื่องง่ายๆ อาจกลายเป็นเรื่องยากได้นั้นเอง

 


ขอบคุณที่มา: padveewebschool.com

สุดยอด 5 ปลั๊กอินในการสร้างเว็บไซต์ e-Commerce ด้วย WordPress

10 ที่ดีที่สุดของปลั๊กอิน e-Commerce WordPress ที่ดีที่สุด S

1 WP e-Commerce

ปลั๊กอิน WordPress, WP-e-Commerce-eCommercepour

WP e-Commerceเป็นปลั๊กอินอีคอมเมิร์ซ WordPress ตัวแรกของโลก มีคุณสมบัติหลากหลาย คุณยังสามารถซื้อ Add-on เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับร้านค้าของคุณได้

คุณลักษณะปลั๊กอินอย่างย่อ

  • ดาวน์โหลดได้ฟรีและทำงานได้ดี
  • รหัสคูปอง
  • ตัวเลือกการจัดส่งฟรี
  • โปรโมชั่นในหลาย ๆ หน้า
  • ผลิตภัณฑ์ใหม่ Widget
  • การบูรณาการวิธีการชำระเงิน e-Commerce
  • ยอมรับ Paypal
  • และอื่น ๆ …

 

2 WooCommerce

WordPress ปลั๊กอินสำหรับ WooCommerce - อีคอมเมิร์ซ

WooCommerce. เป็นปลั๊กอินอีคอมเมิร์ซที่ใช้มากที่สุดใน WordPress เพื่อสร้างเว็บไซต์ขายออนไลน์ ไม่เพียง แต่เป็นอิสระ แต่เป็นเรื่องง่ายที่จะใช้สำหรับร้านค้าออนไลน์และลูกค้า เราได้เขียนที่ยอดเยี่ยม เกี่ยวกับการสอน เพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนี้ อีคอมเมิร์ซ มืออาชีพมาก: วิธีการติดตั้งและกำหนดค่า WooCommerce.

สรุปคุณสมบัติสำหรับตัวเลือกฟรี

  • ตะกร้าสินค้า
  • การจัดการสินค้าและสต็อกง่ายพอ
  • จัดการคำสั่งซื้อ
  • การจัดการสินค้าคงคลัง
  • รายงานการขาย
  • บัญชีลูกค้า
  • การควบคุมของการจัดส่ง
  • Paypal บัญชีธนาคาร
  • การจัดส่งอัตโนมัติของไฟล์ที่ดาวน์โหลด
  • และอื่น ๆ …

 

3 Jigoshop

WordPress ปลั๊กอินสำหรับ Jigoshop อีคอมเมิร์ซ

ปลั๊กอิน WordPress Jigoshop มีทุกสิ่งที่คุณต้องการเพื่อเริ่มต้นร้านค้าบนอินเทอร์เน็ต ฟรีและมีไลบรารีของส่วนขยายฟรี นอกจากนี้คุณมีความเป็นไปได้ที่จะซื้อธีมพิเศษที่ปรับเปลี่ยนได้ ดาวน์โหลด

คุณสมบัติอย่างย่อ

  • ยอดขายรายละเอียดของรายงาน
  • เครื่องมือและย่อ
  • หน้าเว็บของ paiements
  • การจัดการสินค้าคงคลัง
  • นำเข้า / ส่งออกสินค้า
  • ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการแสดงผล
  • การชำระเงิน PayPal
  • และอื่น ๆ …

 

4 eShop

WordPress ปลั๊กอินสำหรับ eshop - อีคอมเมิร์ซ

มีดาวน์โหลดกว่าครึ่งล้านดาวน์โหลดฟรีปลั๊กอิน WordPress eShop เป็นโซลูชั่นที่สมบูรณ์แบบสำหรับร้านค้าทุกคนที่ต้องการที่จะขายสินค้าออนไลน์ของพวกเขา มันเป็นเรื่องง่ายที่จะติดตั้งและเป็นอย่างเข้ากันกับ WordPress ดาวน์โหลด

คุณสมบัติอย่างย่อ

  • บัญชีลูกค้า
  • หลายตัวเลือกสำหรับผลิตภัณฑ์
  • ขายดาวน์โหลดเนื้อหา
  • รายงานการขาย
  • การจัดการสินค้าคงคลัง
  • ตัวเลือกการชำระเงินหลาย

 

5 MarketPress

WordPress ปลั๊กอินสำหรับ MarketPress - อีคอมเมิร์ซ

นี่เป็นคู่แข่งที่ร้ายแรงของ WooCommerce. ปัญหาเดียวคือคุณต้องมีพื้นฐานในภาษาอังกฤษ เนื่องจากไม่มีภาษาไทยให้ใช้

คุณสมบัติอย่างย่อ

  • การขายผลิตภัณฑ์ทางกายภาพ
  • ยอดขายของผลิตภัณฑ์ดิจิตอล
  • จัดการคำสั่งซื้อ
  • การจัดการสินค้าคงคลังที่มีการแจ้งเตือน
  • รองรับเกตเวย์การชำระเงินที่สำคัญทั้งหมด
  • รองรับทุกสกุลเงินหลัก
  • และอื่น ๆ อีกมากมาย …

ขอบคุณที่มา th.blogpascher.com/

10 เทคนิค การเขียนบทความ / เขียนบล็อก ให้ประสบความสำเร็จ

การเขียนบทความที่ดี มีคุณภาพ ควรมีลักษณะอย่างไร ? เขียนบทความ SEO มีหลักการอย่างไร ? คำถามในทำนองนี้ ผมเชื่อว่าคงมีใครหลายคนสงสัยอยู่เป็นแน่ ..

เป็นที่รู้กันดีว่า หากต้องการประสบความสำเร็จ ในเรื่องของ Content Marketing (รวมไปถึงการทำ SEO) ไม่ว่าจะชอบหรือไม่ก็ตาม คุณจำเป็นต้องเรียนรู้ในเรื่องของ “Blog” (บล็อก) เพราะ การเขียนบล็อก (Blogging) / การเขียนบทความ นับว่าเป็นช่องทางหนึ่งที่สำคัญในสายงานของ Digital Marketing

ยิ่งหากคุณต้องการที่จะสร้างตัวตน สร้างแบรนด์ สร้างธุรกิจ หรือ ทำการตลาด บนโลกออนไลน์ ความรู้เรื่อง Blog เรื่อง การเขียนบทความ ถือเป็นพื้นฐานที่จำเป็นอย่างมาก ซึ่งคนทำ SEO หรือนักการตลาดออนไลน์ มือใหม่ มักจะไม่เข้าใจถึงคุณค่าและประโยชน์ของการมี Blog ว่ามันสามารถช่วยในเรื่องของ SEO อีกทั้งยังช่วยในเรื่องธุรกิจออนไลน์ได้

ประโยชน์ของการเขียนบทความ / การเขียนบล็อก

การเขียนบล็อกถูกใช้กันอย่างแพร่หลายในโลกออนไลน์ ด้วยวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันออกไป
• บางคนใช้ Blog ในการเขียนเล่าเรื่องราวชีวิตส่วนตัว
• บางคนใช้ Blog ในการแชร์ประสบการณ์ ความรู้ หรือเรื่องราวที่ตนสนใจ
• บางคนใช้ Blog ในการช่วยทำอันดับบน Google (ช่วยเรื่อง SEO)
• บางคนใช้ Blog ในการโปรโมทแนะนำ สินค้าหรือบริการ
• บางคนใช้ Blog เพื่อสร้างรายได้บนโลกออนไลน์

(สำหรับมือใหม่มากๆ ที่ไม่รู้ว่า Blog มันเป็นยังไง หรือแตกต่างกับเว็บไซต์ยังไง อาจเกิดความสงสัย ขอให้ลองอ่านที่ผมเคยเขียนอธิบายไว้ ►  Website กับ Blog ต่างกันอย่างไร?)

Blog มีความสำคัญอย่างมาก แต่การจะสร้างบล็อก หรือ เขียนบล็อก ขึ้นมาให้ประสบความสำเร็จนั้น ใช่ว่าจะทำกันได้ง่ายๆ ที่ว่าสำเร็จนั้น ในเบื้องต้นก็คือ “มีคนอ่าน” และต่อมาคือ ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่คุณตั้งเป้าหมายไว้ตามมา อาทิเช่น
– ทำให้มีคนติดตามเรา
– ทำให้คนรู้จักแบรนด์สินค้าเรา หรือ รู้จักตัวเรา
– ทำให้คนเชื่อใจเรา หรือ ให้ความไว้วางใจเรา
– ทำให้คนโทรติดต่อมาสอบถาม หรือ สั่งซื้อสินค้า/บริการ ของเรา

แนวคิดหลักในการเขียนบล็อกอย่างมืออาชีพ

ผมขอยกตัวอย่างบล็อกของคุณณัฐ www.nuttaputch.com (ถือเป็นอีกคนหนึ่งที่เป็นไอดอลของผม)
คุณณัฐแนะนำเรื่องการสร้างบล็อกให้ประสบความสำเร็จไว้ 5 อย่าง ซึ่งถือเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับ
คนที่คิดจะเป็น Blogger หรือคนที่อยากจะใช้การเขียนบทความ มาช่วยในเรื่องของการทำ Content Marketing

1. ต้องโฟกัส
2. ต้องต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
3. ต้องรักและให้เกียรติในสิ่งที่ทำ
4. อย่าหยุดคิด อย่าหยุดที่จะเรียนรู้
5. วางแผนระยะยาว และ Optimize อยู่เสมอ

► อ่านฉบับเต็ม

10 วิธีการเขียนบทความ / เขียนบล็อก ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

สำหรับในบทความนี้ผมจะขอมาแนะนำวิธีที่จะช่วยทำให้ Blog ของคุณมีประสิทธิภาพ แบบเจาะลึกลงรายละเอียดให้มากยิ่งขึ้น เพื่อให้คุณกลายเป็น Blogger ที่มีคุณภาพในสายตาคนอ่าน รวมไปถึง หลักของการเขียนบทความที่ดี และ การเขียนบทความให้เป็นมิตรต่อ SEO

#1 – กำหนดเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของการเขียนบล็อก (Blog  Purpose)

+ คุณจะเขียนบล็อกไปทำไม ?
+ อะไรคือวัตถุประสงค์ หรือ จุดมุ่งหมาย ?
+ คอนเซ็ปต์ของบล็อกคืออะไร ?
+ บทความที่คุณตั้งใจจะนำเสนอ ตั้งใจจะเขียนเพื่ออะไร ?

คำถามเหล่านี้ถือเป็นจุดเริ่มต้น ที่หลายคนมองข้าม และหลายต่อหลายบล็อก (รวมไปถึงบทความงานเขียนส่วนใหญ่) ที่ถูกเขียนขึ้นมานั้น สร้างมาอย่างไร้จุดหมาย ซึ่งหากเราไม่รู้ว่าเราจะเขียนบล็อกขึ้นมาทำไม … มันก็ยากที่จะทำให้เราประสบความสำเร็จได้ (เป้าหมายมีไว้พุ่งชน แต่คุณจะพุ่งชนอะไร ในเมื่อคุณไม่มีเป้าหมาย ??)

การกำหนดเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ไว้ก่อนนี้ ก็เพื่อให้คุณได้หลัก หรือ จุดหมาย สำหรับกำหนดทิศทางและหาแนวทางปฎิบัติได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ยกตัวอย่าง 3 เป้าหมายหลักๆของการเขียนบล็อก ซึ่งเป็นที่นิยม เช่น

เขียนบล็อกเพื่อสร้างรายได้ (Blog For Money) : คุณสร้างบล็อกขึ้นมา , เผยแพร่ Content ที่น่าสนใจ , มี Traffic มีคนอ่าน จากนั้น หารายได้จาก Adsense หรือ Affiliate Marketing หรือ ติด Banner โฆษณา หรือ ช่องทางอื่นๆ นี่เป็นเป้าหมายที่นิยมในหมู่ของ คนที่ต้องการหารายได้จากอินเตอร์เนต

กรณีนี้ ตัวอย่างแนวทางปฎิบัติคือ : การให้ความสำคัญกับ Content ที่มีความเกี่ยวข้องสอดคล้องกับ Keyword ที่จะทำเงินให้คุณ

เขียนบล็อกเพื่อนำเสนอ (Blog For Lead) : ไม่ว่าจะขายสินค้า หรือ บริการ (ทั้ง Online และ Offline) การใช้ Blog ถือเป็นวิธีการโปรโมท ทางอินเตอร์เนตที่มีประสิทธิภาพที่สุดวิธีหนึ่ง เพราะคุณสามารถที่จะสื่อสารกับกลุ่มคนอ่าน โดยนำเสนอ สินค้า/บริการ ผ่านทางการเขียนบทความ เพื่อโน้มน้าวใจพวกเค้ากลายมาเป็นลูกค้าได้ หรือเพื่อให้เค้าเกิดความสนใจในเบื้องต้น จนที่สุดแล้วติดต่อเรามาเพื่อสอบถามพูดคุยกันต่อไป

กรณีนี้ ตัวอย่างแนวทางปฎิบัติคือ : การให้ความสำคัญกับการให้รายละเอียดข้อมูลที่ครบถ้วน รวมไปถึงคำแนะนำต่างๆ ที่จะโน้มน้าวให้ผู้อ่านเชื่อใจ และตัดสินใจเลือกเรา

เขียนบล็อกเพื่อเพิ่มจำนวนคนเข้าเว็บ (Blog For Traffic) : หากคุณถามผู้เชี่ยวชาญการตลาดออนไลน์ หรือ ผู้เชี่ยวชาญด้าน SEO ถึง วิธีการเพิ่ม Traffic ให้กับเว็บไซต์ คำตอบหนึ่งที่คุณจะได้รับอย่างแน่นอน นั่นก็คือ “สร้าง Blog ครับ/ค่ะ” หรือ “ใช้ Content Marketing สิ” ซึ่งการเขียนบล็อกเพื่อเพิ่ม Traffic ยังเสมือนเป็นการขยาย Brand Awareness ทำให้คนรู้จักเรามากยิ่งขึ้นด้วย

กรณีนี้ ตัวอย่างแนวทางปฎิบัติคือ : การให้ความสำคัญกับการอัพเดทอย่างต่อเนื่อง และรู้จักเลือกหัวเรื่องนำเสนอที่คิดว่าคนจะให้ความสนใจ หรือที่กำลังเป็นกระแส หรือเป็นที่นิยม (Trending Topics)

#2 – ค้นหาข้อมูลก่อนลงมือเขียน (Research)

การจะเขียนบทความขึ้นมาสักบทความหนึ่งให้มีคุณภาพนั้น จำเป็นต้องอาศัยเวลา หากต้องการทำให้ง่ายขึ้น ก่อนที่จะลงมือเขียน คุณควรจะทำการค้นคว้าข้อมูลก่อน เรื่องนี้ ถือเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก (ส่วนตัวแล้วสำหรับผม ถือเป็น หัวใจหลักเลย เรื่อง หาข้อมูล)

เมื่อคุณได้หัวเรื่องที่จะเขียน ให้ทำการค้นหาใน Google โดยใช้ คำค้นหาที่ใกล้เคียง เพื่อ
– รวบรวมข้อมูลเพิ่มเติม หาไอเดีย มาต่อยอดในงานเขียนของเรา
– ดูคนอื่นว่า เค้าเขียนอย่างไร ในหัวข้อที่เรากำลังจะเขียน
– ดูบทความอื่นๆที่ติดอันดับหน้าแรกๆบน  Google
– เพื่อนำมาวิเคราะห์ ว่าการตั้งชื่อโพสแบบไหน ลักษณะการเขียนอย่างไร Google ถึงชอบ

อย่าลืมที่จะทำการค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อนำมาพัฒนาการเขียนบทความ การเขียนบล็อกของเราให้ดียิ่งขึ้น

#3 – ตั้งชื่อโพสอย่างมีกึ๋น (Post Title)

เมื่อคุณได้ไอเดียที่จะเขียนแล้ว สิ่งสำคัญต่อมาก็คือ การตั้งชื่อโพส (ตั้งชื่อบทความ) …
ซึ่งโดยปกติแล้ว หน้าที่สำคัญของ Post Title นั้น มีอยู่ด้วยกัน 2 อย่าง คือ
1. เพื่อให้คนที่เห็น เกิดความรู้สึกน่าสนใจ อยากคลิกอ่าน
2. เพื่อให้เป็นมิตรต่อการทำ SEO
ดังนั้นในการตั้งชื่อโพสในบล็อก เราควรอาศัยหลักที่ว่านี้ ควบคู่กันไป

ผมขอยกตัวอย่างง่ายๆ เอาว่า บทความนี้เลยละกัน

General Keyword = การเขียนบล็อก , การเขียนบทความ
Long Tail Keyword =  เทคนิค + การเขียนบล็อก / การเขียนบทความ + ที่ดี
Semantic Keyword = เทคนิค + การเขียนบล็อก / การเขียนบทความ + ประสบความสำเร็จ
Post Title = 10 เทคนิค การเขียนบทความ / เขียนบล็อก ให้ประสบความสำเร็จ

ตั้งชื่อแบบนี้ คนเห็นก็อยากคลิกอ่าน รู้สึกน่าสนใจ อีกทั้งยัง SEO-Friendly เหมาะต่อการทำ SEO เพราะมี Keyword อยู่ในชื่อโพสด้วย … ส่วนไอเดียการตั้งชื่อ Post Title นั้น ก็อาจจะหาไอเดียแบบง่ายๆ จาก Related Keyword ใน Google (ในส่วนของ Predictive Search)

 

หรือยกตัวอย่างเพิ่มเติม

main keyword = รีวิวร้านอาหาร 
longtail keyword = รีวิวร้านอาหาร อร่อย
longtail keyword = รีวิวร้านอาหาร ราคาถูก
longtail keyword = รีวิวร้านอาหาร ชื่อดัง
longtail keyword = รีวิวร้านอาหาร อร่อย กรุงเทพ
longtail keyword = รีวิวร้านอาหาร อร่อย สีลม
long + semantic keyword = รีวิวที่กิน อร่อย สีลม
long + semantic keyword = แนะนำ ร้านอาหาร เมนูเด็ด สีลม
long + semantic keyword = รีวิวร้านอาหารญี่ปุ่น สีลม
long + semantic keyword = รีวิวร้านอาหารเวียดนาม ในกรุงเทพ

focus keyword หรือ main keyword หรือ จะเรียก seed keyword ก็สุดแล้วแต่ ส่วน long tail กับ semantic เอาจริงๆมันก็คล้ายๆกัน  ยิ่งยกตัวอย่างมากไปหรือใช้ศัพท์เทคนิคมากเกิน อาจจะยิ่งทำให้งง เอาเป็นว่าง่ายๆคือ เราต้องฉลาดในการเล่นคำ ที่จะเอามาเป็น Keyword โดยยึดหลัก คำที่คนน่าจะนิยมใช้ค้นหาเป็นหลัก (ใช้ Keyword Planner ดู Volumn) ว่า เราจะใช้คำไหนดี ที่เข้ากับเนื้อหาบทความของเรา เอามาตั้งเป็นชื่อ Post Title

ข้อคิดสำคัญ : ในส่วนของการตั้งชื่อโพสนี้ ถือว่าจำเป็นมากๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคนที่หวังผลจะเขียนเพื่อทำ SEO ด้วยแล้ว นอกเหนือจากการวิเคราะห์ Keyword เบื้องต้น (โดยใช้ ► Google Keyword Planner) เพื่อหา Volumn ปริมาณการค้นหา หากคุณได้ทำการ Research ข้อมูลในข้อที่ 2 แล้วทำการวิเคราะห์คู่แข่งมาก่อน มันจะช่วยทำให้สามารถตัดสินใจวางแผนในการปรับเปลี่ยน Post Title รวมถึง Keyword … โดยพยายามหลีกเลี่ยง ที่จะแข่งขันกับ เว็บไซต์ที่เป็น Authority Site (เว็บใหญ่ๆเว็บดังๆ) ที่จำนวนมากๆ และหันมามอง Long Tail Keyword หรือ Semantic Keyword แทน ที่เว็บไซต์คู่แข่งที่แข็งแกร่งมีจำนวนน้อยกว่า

#4 – กำหนดเค้าโครงของโพส (Post Outline)

เมื่อได้ชื่อโพสมาแล้ว ขั้นตอนต่อไปที่จะช่วยให้งานเขียนของคุณง่ายขึ้น และช่วยลดระยะเวลาในการเขียน นั่นก็คือ การกำหนดเค้าโครงสร้าง ในที่นี้หมายถึง “การตัดสินใจเลือกว่า ในบทความที่เราจะเขียนนั้น จะประกอบด้วยหัวข้ออะไรบ้าง” เสมือนเป็นการแบ่งย่อยบทความเป็น Section ซึ่งการกำหนด หัวข้อ/หัวเรื่อง ให้กับบทความนั้น นอกเหนือจากจะทำให้เราประหยัดเวลาในการเขียน ยังช่วยทำให้ง่ายต่อการอ่านอีกด้วย

ยกตัวอย่างการเขียนบทความนี้ ผมวาง Post Outline ไว้คือ
– ประโยชน์
– แนวคิดหลัก
– วิธีการ (แบ่งย่อย อีก 10 หัวข้อย่อย)
– บทสรุป

#5 – รู้จักเขียน Introduction (Post Intro)

“เริ่มต้นดี มีชัยไปกว่าครึ่ง” – คำกล่าวนี้นำมาใช้ได้จริงกับการเขียนบทนำสำหรับโพสลงในบล็อก

บทนำสำหรับการเขียนบล็อกที่ดี ควรจะมีความยาวสักประมาณ 2-3 บรรทัด โดยอธิบายถึงภาพรวมคร่าวๆของเนื้อหาในบทความนั้นๆ ในขณะที่ สอดแทรกด้วยข้อความที่ชวนให้ผู้อ่านเกิดความรู้สึกน่าสนใจ ชวนให้ติดตาม และแน่นอนว่า อย่าลืมที่จะใส่ Keyword ลงไปใน Post Intro ด้วย หากคุณหวังที่จะเป็นมิตรต่อ SEO (ตัวอย่าง ย้อนกลับไปดูด้านบนสุดนะครับ ^_^)

#6 – ขนาดของบทความ ยาวดีกว่าสั้น (Post Length)

หากเรากล่าวถึงเฉพาะการเขียนบทความสำหรับ Blog เมื่อดูจากสถิติของที่มาหลายๆแห่ง ทั้งจาก Blog ที่ให้ความรู้ด้าน SEO ของต่างประเทศ รวมถึงจากประสบการณ์วิเคราะห์ผล SERPs ส่วนตัว ผลยืนยันได้ว่า บทความที่มีความยาว มีแนวโน้มที่จะถูกจัดอันดับบน Google ได้ดีกว่าบทความที่มีขนาดสั้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ไม่ได้หมายความว่า บทความยาวๆทุกบทความจะอันดับดีกันหมด หรือ บทความสั้นๆไม่มีโอกาสติดอันดับเลย

สิ่งสำคัญที่มากกว่า ขนาดของบทความ คือ คุณค่าของตัวเนื้อหา ว่ามีประโยชน์ต่อคนอ่าน อีกทั้งมีความสอดคล้องกับคำค้นหา มากน้อยเพียงใด

#7 – เรียนรู้กฎพื้นฐานของ Onpage SEO

SEO ถือเป็นเรื่องที่ค่อนข้างละเอียดอ่อนและซับซ้อน แต่หากพูดถึง SEO กับ การเขียนบทความ คุณไม่จำเป็นต้องเชี่ยวชาญในเรื่องของ SEO ในทุกๆเรื่องก็ได้ แต่สิ่งที่คุณจำเป็นต้องเรียนรู้ ก็คือ คอนเซ็ปต์พื้นฐานในการปรับแต่ง Onpage หรือ การปรับแต่งบทความ ให้เป็นมิตรต่อ SEO

Onpage SEO ในส่วนของ Content นั้นก็ไม่มีอะไรมาก เพียงแค่กฎบางข้อที่คุณต้องนำมาปรับใช้กับบทความของคุณ เพื่อช่วยส่งสัญญาณที่ดีให้ Google เข้าใจบทความเรามากยิ่งขึ้น ซึ่งหลักๆก็มีดังต่อไปนี้

• ชื่อ Title ปรับให้มีขนาดน้อยกว่า 60 ตัวอักษร และต้องมี Keyword ร่วมอยู่ด้วย
• เขียน Descriptions ให้น่าอ่าน อยู่ระหว่าง 150-160 ตัวอักษร และควรมี Keyword ร่วมอยู่ด้วย
• การใส่  ALT tags สำหรับรูปภาพในบทความ เพื่อบอก Google ให้รู้ว่ารูปนั้นเกี่ยวกับอะไร
• การใช้ H1 สำหรับชื่อโพส (ปกติชื่อโพสจะถูกตั้งให้เป็น H1 อัตโนมัติอยู่แล้ว)
• การใช้ H2, H3 , H4 tags สำหรับหัวข้อย่อย หากมี Keyword อยู่ด้วยจะยิ่งดี (ดูตามความเหมาะสม)
• การตั้งชื่อ URLs หากมี Keyword อยู่ด้วยจะยิ่งดี (ดูตามความเหมาะสม)
• ทำหน้าเพจให้โหลดเร็วๆ อะไรที่ไม่จำเป็นก็ตัดทิ้ง เช่นพวก Script ต่างๆ รวมถึงขนาดไฟล์ของรูปภาพ
• การสร้าง Internal Links อย่างชาญฉลาด เพื่อเชื่อมโยงบทความใหม่และเก่าในบล็อก
• การทำโครงสร้างหน้าเว็บให้เป็นมิตรต่อทั้ง User และ Bot
• การทำให้หน้าเว็บรองรับการดูบนมือถือ

(เรื่อง Onpage SEO นี้จะกล่าวแบบละเอียดในโอกาสต่อไป)

#8 – ตกแต่งบทความให้น่าอ่าน

เมื่อตั้งชื่อโพสที่น่าสนใจ และเขียนบทความที่ดี เสร็จเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไป ที่จำเป็นต้องทำ
ก็คือ การจัดหน้าตาของโพส ให้ดูสวยงาม และง่ายต่อการอ่าน ไม่ว่าจะเป็น

• การขึ้นบรรทัดใหม่และการจัดวางพารากราฟ (4 บรรทัด ต่อ พารากราฟ กำลังสวย)
• การใช้ Bullet เพื่อช่วยให้อ่านง่ายและดูน่าสนใจ
• การปรับขนาดและสีสันของตัวอักษร ทั้งในส่วนของหัวข้อย่อย และในตัวเนื้อหา
• การใช้ตัวหนา-ตัวเอียง เพื่อเน้นข้อความ
• การเลือกใช้รูปแบบ Font ที่เหมาะสม
• การเพิ่มรูปภาพประกอบ ให้ดูมีสีสัน มีชีวิตชีวา
• การเพิ่ม External Links ที่มีความเกี่ยวข้องกับเนื้อหา และเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน

 

#9 – รู้จักโปรโมทเผยแพร่บทความให้คนเห็น

การเขียนบล็อก ต่อให้คุณเขียนบทความ มีเนื้อหาที่ดีขนาดไหนก็ตาม มันจะไม่ประสบความสำเร็จได้เลย
หากไม่มีคนเห็น ไม่มีคนรู้จัก และไร้ซึ่งคนอ่าน … อย่ามองว่าการโปรโมทเป็นตัวเลือกหนึ่ง แต่ให้มองว่า
มันเป็นส่วนหนึ่ง (ที่สำคัญมากเสียด้วย) ของการเขียนบล็อก หรือ การทำ Content Marketing

ในปัจจุบัน Social Media ทำให้เราสามารถทำการโปรโมทได้ง่ายขึ้น
สิ่่งที่ควรจะทำหลังจากที่คุณได้เผยแพร่บทความลงในบล็อกแล้ว อาทิเช่น

• แชร์โพสใน Facebook Page
• แชร์โพสใน Facebook Profile (เฟสส่วนตัวของคุณ)
• แชร์โพสใน Twitter , Instagram , Pinterest หรือ Line
• แชร์โพสใน Facebook Group ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาของคุณ
• การใช้ Email List ส่งเป็น Newsletter สำหรับผู้ที่มาติดตามบล็อกของคุณ
• โปรโมทโพสผ่าน Comment ในเว็บไซต์ หรือ Facebook Page อื่นๆ 
(เลือกที่มีเนื้อหาใกล้เคียง ตามความเหมาะสม และกาลเทศะ)
• โปรโมทโพสผ่าน Webboard ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา หรือที่น่าจะทำให้คนเห็น
• การนำบทความไป Submit กับ PR Site คุณภาพ
• (สำหรับคนมีงบ) ลงโฆษณากับ Facebook Ads หรือ Twitter Ads
• (สำหรับคนมีงบ) ลงโฆษณากับ Google Adwords

ในขั้นตอนนี้ นักทำ SEO ส่วนใหญ่นิยมเรียกมันว่า “การสร้าง Backlinks” ซึ่งผมถือว่ามันเป็นส่วนหนึ่งในการโปรโมท

#10 – เขียนบทความใหม่ๆอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ

ไม่ว่าจะเป็นคนอ่าน , Search Engine หรือ Social Media ต่างล้วนมองหา Content ใหม่ๆอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นการที่เราหมั่นอัพเดทบทความ ที่สดใหม่ มีความ Unique และ มีความสอดคล้องเกี่ยวข้องกับ วัตถุประสงค์หรือเป้าหมายหรือคอนเซ็ปต์ของบล็อก ย่อมสามารถช่วยทำให้บล็อกมี Traffic เพิ่มมากขึ้น และเป็นกุญแจสำคัญ ที่จะทำให้คุณประสบความสำเร็จในฐานะ Blogger ได้ในระยะยาว

บทสรุปส่งท้าย

ในสายงาน Digital Marketing นั้นการสร้าง Content มีอยู่ด้วยกันหลากหลายช่องทาง แต่ การเขียนบล็อก (Blogging) โดยใช้ทักษะของ การเขียนบทความ ถือเป็น กระบวนการหลักอย่างหนึ่ง ซึ่งหากคุณสามารถสร้าง Content / สร้างบทความ ที่มีคุณภาพด้วยแล้ว ย่อมเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้ประสบกับความสำเร็จดังที่ตั้งเป้าหมายไว้ ไม่ว่าจะในฐานะของ Blogger , Web Master/Admin , SEO Specialist , Internet Marketer , Content Creator , Copy Writer และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง Online Business Owner …

บทความนี้ น่าจะช่วยทำให้ท่านเข้าใจถึง การสร้าง Content / การเขียนบล็อก / การเขียนบทความ ให้มีคุณภาพ ได้อย่างเห็นภาพชัดเจนมากยิ่งขึ้น และผมหวังว่าท่านจะลองนำไปใช้ต่อยอดสร้างสรรค์ผลงานของตัวท่านเอง ให้ออกมาเข้ากับคำกล่าวที่ว่า “Content is King” นะครับ

10 เทคนิค การเขียนบทความ / เขียนบล็อก ให้ประสบความสำเร็จ

1 – กำหนดเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของการเขียนบล็อก (Blog  Purpose)
2 – ค้นหาข้อมูลก่อนลงมือเขียน (Research)
3 – ตั้งชื่อโพสอย่างมีกึ๋น (Post Title)
4 – กำหนดเค้าโครงของโพส (Post Outline)
5 – รู้จักเขียน Introduction (Post Intro)
6 – ขนาดของบทความ ยาวดีกว่าสั้น (Post Length)
7 – เรียนรู้กฎพื้นฐานของ Onpage SEO
8 – ตกแต่งบทความให้น่าอ่าน
9 – รู้จักโปรโมทเผยแพร่บทความให้คนเห็น
10 – เขียนบทความใหม่ๆอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ


Credit: http://www.webbastard.net/how-to-blogging/

WordPress หน้าขาว แก้ได้ง่าย ๆ ใน 5 วิธีนี้

WordPress หน้าขาว ปัญหายอดฮิตอีกปัญหาที่คนทำ WordPress ต้องพบเจออยู่เป็นประจำ บทความนี้ CodingDee จะพามาดูวิธีรับมือเมื่อ WordPress ขึ้นหน้าขาว โล่ง ๆ ไม่มีอะไรเลย มาดูกันครับ

WordPress หน้าขาว แก้ได้ง่าย ๆ

WordPress หน้าขาว

CodingDee ได้รวบรวมวิธีแก้ปัญหาไว้ให้ 5 วิธีลองเลือกนำไปปรับใช้ดูครับ

1. เปิดโหมด Debug

Default ของ WordPress จะปิดโหมดนี้ไว้เพื่อความปลอดภัยครับ เว็บจะไม่แสดงข้อความหรือ error อะไรออกมา ทำให้เราเห็นเป็นหน้าขาว ๆ โล่ง ๆ วิธีที่จะทำให้ WordPress บอกเราว่าเกิดอะไรขึ้น เราจะได้นำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์หาสาเหตุและวิธีแก้กันต่อไป วิธีก็คือให้เราไปที่ไฟล์ wp-config.php แล้วมองหาบรรทัดนี้
define( 'WP_DEBUG', false);
แก้จาก false เป็น true ก็จะได้แบบนี้
define( 'WP_DEBUG', true);
save แล้วลองเปิดหน้าเว็บดูก็จะเจอ ข้อความหรือ error ที่ WordPress ส่งออกมาให้เราดูเราก็นำข้อความตรงนี้ไป Search Google เพื่อหาวิธีแก้ไขต่อไปครับ

2.ปิด Plugin ให้หมดทุกตัว

WordPress หน้าขาว ปัญหาส่วนใหญ่ก็มาจาก Plugin ที่เราเอามาลงเนี่ยแหละ พอลงเสร็จ หน้าขาวเลย ถ้าเป็นแบบนี้ก็สันนิษฐานได้เลยว่าเป็นที่ Plugin เนี่ยแหละลองไปไล่ปิด Plugin ดูก็จะหายครับ ไล่ปิดไปทีละตัว ๆ ก็จะรู้เองว่าเป็นที่ Plugin ตัวไหน
แต่มันก็จะมีเคสที่หนักกว่านี้คือ error แบบเข้าหลังบ้านไม่ได้เลยแบบนี้ก็ปิด Plugin ไม่ได้น่ะสิ ไม่ต้องตกใจครับ CodingDee มีวิธีแก้ง่าย ๆ ทำตามนี้เลย วิธีปิดปลั๊กอิน WordPress เมื่อเข้าหลังบ้านไม่ได้

3.โหลด Theme มาลงใหม่

บางครั้งปัญหาก็อาจจะเป็นที่ Theme ที่เราใช้งานอยู่ครับ ไฟล์อาจจะหายไปหรือไม่สมบูรณ์ด้วยสาเหตุอะไรก็แล้วแต่ที่เราไม่รู้ หรือเราเผลอไปแก้ไขไฟล์ Theme ก็เป็นสาเหตุให้ WordPress หน้าขาวได้ครับ วิธีก็คือให้เราไปโหลด Theme ที่เราใช้ ส่วนใหญ่ก็คงซื้อ Theme มาจาก Themeforest กันแหละเนอะ นั่นแหละไปโหลดมาแตกไฟล์แล้ว FTP ไฟล์ขึ้นไปทับของเดิมให้หมด

4.โหลด WordPress มาลงใหม่

วิธีนี้ก็จะคล้าย ๆ กับวิธีที่ 3 เพียงแต่เปลี่ยนจาก Theme เป็น ไฟล์ WordPress ก็ไม่มีอะไรมากไปโหลดมา แตกไฟล์ FTP ขึ้นไปทับของเดิม

ปล.ยกเว้นไฟล์ wp-config.php นะครับไม่ต้องเอาไปทับของเดิมนะ เดี๋ยวเว็บจะพังเอา

5.Backup เว็บบ่อย ๆ

วิธีนี้เป็นวิธีที่ง่ายและผมชอบทำอยู่บ่อย ๆ เพราะเนื่องจากผมดูแล WordPress อยู่หลายเว็บ ผมเลยตั้ง BackUp ทุกวัน ถ้าเว็บไหนมีปัญหาก็ Restore ให้ 1-5 นาทีก็เสร็จเรียบร้อย แต่วิธีนี้อาจจะไม่เหมาะกับเว็บที่ใช้ WooCommerce นะครับ เพราะอาจส่งผลให้ Order ที่ลูกค้าสั่งมาหน้าเว็บหายได้เพราะเราไป Restore มัน แต่ก็เป็นไม่ตายสุดท้าย ถ้า 4 วิธีข้างบนเกิดไม่ได้ผลขึ้นมา ยังไงหมั่นทำ Backup ไว้บ่อย ๆ จะดีมากครับ มันช่วยเราได้เสมอถ้าเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดขึ้นมา BackUp ไว้หลาย ๆ ที่นะไม่ใช่เอาไว้บน Cloud ที่เดียว เอาลงมาเก็บ Offline ใส่ไว้ใน External ก็ได้ เดี๋ยวจะหาว่าไม่เตือน

แถมให้เอามาเล่าสู่กันฟัง

ผมเคยเจออยู่เคสนึง อาการหน้าขาวแบบนี้เลย ก็ไล่แก้ไป ปิด Plugin ลง Theme ใหม่ ก็หาย พอวันต่อมาเป็นอีก เราก็สงสัย เพิ่งแก้ไปนะเป็นอีกแล้วเหรอ ผมก็ลองไปเปิด โหมด Debug ดู มันฟ้องว่าไฟล์หลักใน WordPress ไม่สมบูรณ์ก็เลย FTP ไปไล่ดูว่าไฟล์ไหนลองเปิดไฟล์ดูก็รู้เลยสาเหตุเลยครับ ว่าทำไมเพิ่งแก้ไปแล้วกลับมาเป็นอีก สาเหตุคือ WordPress โดน Hack ครับ ไฟล์โดนฝัง script เต็มไปหมด ผมก็เลยต้องมาล้างระบบใหม่หมด

  • ติดตั้ง WordPress ให้ใหม่
  • ติดตั้ง Theme ใหม่
  • ติดตั้ง Plugins ใหม่

จบแล้ว

ขอบคุณบทความดี ๆ จาก CodingDee

ปัญหา wordpress ที่เจอได้บ่อย ๆ พร้อมวิธีแก้ไข

ปัญหา wordpress ที่มือใหม่มักจะพบเจอได้บ่อย ๆ ทาง Standhost ได้รวบรวมบทความพร้อมวิธีแก้ไขไว้ให้อ่านกันได้ง่าย ๆ ไม่ต้องไปไล่หาอ่านทีละบทความใครเจอปัญหาอะไรก็อ่านตามลิงก์ข้างล่างนี้ได้เลย

1.WordPress ส่งเมลไม่ออก หรือส่งแล้วอีเมลเข้า junk mail

เป็นอีกปัญหายอดฮิตที่ต้องเจอกันแทบจะทุกคน ไม่ต้องกังวล CodingDee มีวิธีแก้ไขอ่านวิธีทำได้ที่บทความนี้

แชร์ประสบการณ์ เมื่อเวิร์ดเพรส “ส่งเมลไม่ออก” และวิธีแก้ปัญหา

2.WordPress โดน hack

ปัญหาโดนแฮกทุกคนมีโอกาสได้พบเจอแน่นอนถ้าไม่มีการป้องกันที่ดีผมเขียนวิธีการป้องกันไว้ที่บทความนี้ เสริมเกราะให้เวิร์ดเพรสด้วย iThemes Security ตอนที่ 1

3.WordPress แชร์บทความแล้วรูปไม่ขึ้น

ปัญหานี้มักจะเจอเวลาเรานำบทความไปแชร์ใน facebook แล้วรูปไม่ขึ้นหรือขึ้นแต่รูปไม่ตรงกับรูปในบทความอ่านวิธีแก้ไขได้ที่บทความนี้

Facebook Share รูปไม่ขึ้นและวิธีแก้ไข

4.WordPress โดน Spam

ตอนผมทำเว็บใหม่ ๆ ปวดหัวกับมันมากผมมีวิธีป้องกันที่ได้ผลแทบจะ 100% เลยอ่านต่อที่บทความนี้ Invisible reCaptcha ปลั๊กอินป้องกันสแปมสำหรับ WordPress

5.Database มีขนาดใหญ่ (บวม)

ปัญหานี้ต้องจ้างแม่บ้านประจำเวิร์ดเพรส WP Optimize ปลั๊กอินกำจัดขยะสำหรับเวิร์ดเพรส

6.Fatal error: Allowed memory size of 123….

ไม่รู้จะอธิบายยังไง ปัญหานี้ก็เจอบ่อยมากกกกกก อ่านวิธีแก้ไขต่อที่บทความนี้ Fatal Error: Allowed Memory size Exhausted WordPress

7.White Screen Of The Dead (หน้าขาว)

ในเมื่อ Windows มีจอฟ้า WordPress ก็มีจอขาว 555+ อ่านวิธีแก้ไขได้ที่บทความนี้ครับ WordPress หน้าขาว แก้ได้ง่าย ๆ ใน 5 วิธีนี้

จบแล้ว

ขอบคุณบทความดี ๆ จาก CodingDee