Category Archive Website

มาอ่านค่าความเร็วของเว็บจาก Site Speed รีพอร์ทใน Google Analytics กัน

Site Speed เป็นหนึ่งในหลายรีพอร์ทที่ถูกใช้งานค่อนข้างน้อยจาก digital marketer ทั้งหลาย เนื่องจากข้อมูลที่แสดงในรีพอร์ทนี้อาจจะเกี่ยวข้องไม่มากนักกับกระบวนการตัดสินใจเชิงมาร์เก็ตติ้ง และดูจะเป็นข้อมูลทางเทคนิคอลมากกว่า แต่จากนี้ไปรีพอร์ทนี้ก็น่าจะต้องถูกดูมากขึ้นบ้างอีกสักนิดนึง เนื่องจาก Google ประกาศไว้ค่อนข้างชัดเจนว่า ความเร็วของเว็บนั้นมีผลต่อการจัดอับดับเว็บไซต์ โดยเฉพาะกับอุปกรณ์โมบายด์ โดยจะเริ่มมีผลในเดือน July 2018 ซึ่งจากบทความดังกล่าวยังเผยว่า จริงแล้วนั้น ในบางกรณีก็มีการนำความเร็วของเว็บไปเป็นปัจจัยในการจัดอันดับบนเดสก์ท็อปมาก่อนหน้านี้แล้ว ดังนั้นเรื่องของความเร็วจึงเป็นเรื่องสำคัญอีกเรื่องหนึ่งที่คนทำ SEO ในปีนี้จะต้องพิจารณาไปด้วย แต่เอาจริงๆ ถ้ามองในมุม User Experience แล้ว เรื่องความเร็วของเว็บ ยังไงก็เป็นเรื่องต้องให้ความสำคัญอยู่แล้ว ดังนั้นไม่ว่าเรื่องนี้มีผลกับอันดับมากน้อยแค่ไหนก็ตาม เราก็ควรต้องทำให้มันเร็วขึ้นอยู่ดีไม่ใช่หรือ

เครื่องมือง่ายๆ ที่ใช้ตรวจสอบความเร็วของหน้าบนเว็บไซต์ ซึ่งหลายคนอาจจะเคยใช้มาบ้างแล้ว ก็คือ PageSpeed Insight ซึ่งวิธีการใช้งานก็เพียงให้เราระบุ URL ของหน้าเว็บไซต์ที่เราต้องการจะตรวจสอบความเร็วเท่านั้นเอง ก็จะสามารถเห็นข้อมูลตามภาพได้ทันที อย่างเว็บของ GAT เองหลังจากตรวจสอบก็จะเห็นว่าบน Desktop ได้คะแนน 80/100 ซึ่งผ่านเกณฑ์พอดิบพอดี (Good=80-100) ส่วนบน Mobile ได้ 75/100 ก็จะแสดงให้เห็นเป็นสีเหลืองตามภาพ

PageSpeed-insight

ในกรณีที่คะแนนของหน้าบนเว็บไซต์ไม่ดี เครื่องมือนี้ก็จะแนะนำว่ามีจุดใดที่มีปัญหาพร้อมทั้งแนวทางการแก้ไขให้ด้วย ภาพด้านล่างนี้เป็นตัวอย่างส่วนหนึ่งที่เครื่องมือนี้แนะนำให้ทำการ Optimize ขนาดของรูปภาพให้เล็กลงได้อีกนั่นเอง

optimization-suggestion

แต่ปัญหาอย่างหนึ่งของเครื่องมือ PageSpeed Insight ก็คือ เราจะสามารถตรวจสอบความเร็วได้ทีละหนึ่งหน้า หรือหนึ่ง URL เท่านั้น ดังนั้นในกรณีที่เว็บไซต์เรามีหน้าจำนวนมาก และเราอยากตรวจสอบความเร็วทีละหลายๆ หน้านั้น ก็ดูจะเป็นเรื่องทีเสียเวลาอยู่พอสมควร บทความนี้ก็เลยขอแนะนำอีกหนึ่งรีพอร์ทใน Google Analytics ที่ได้กล่าวไว้ในตอนต้น ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหานี้ได้ซึ่งก็คือ Site Speed รีพอร์ท โดยสามารถเข้าดูได้จากเมนูนี้ Behavior> Site Speed>Speed Suggestions

Speed-suggestions-report

เมื่อเข้ามาดูแล้วเชื่อว่าทุกคนน่าจะทำความเข้าใจเองได้ไม่ยากนัก อย่างที่ได้กล่าวไว้ข้อดีของรีพอร์ทนี้คือ ทุก URL ของเว็บไซต์เราจะถูกรวบรวมไว้ที่เดียวเพื่อให้เราสามารถตรวจสอบความเร็วแต่ละหน้าได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะด้วยวิธีการ Sorting ตามเวลาที่ใช้โหลดหน้าแต่ละหน้า (Avg. Page Load Time) หรือ PageSpeed Score ซึ่งก็เป็นค่าที่ดึงมาจาก PageSpeed Insight อีกทีหนึ่ง หรือจะใช้ Table Filter เอาตรงๆ ได้เลยในกรณีที่เรารู้อยู่แล้วว่าเราต้องการดูค่าความเร็วของหน้าไหน

คำแนะนำและเรื่องควรทราบ

  1. PageSpeed Score ใน Google Analytics จะไม่ใช่ค่า Realtime เหมือนตอนที่เราดูจาก PageSpeed Insight อาจจะคลาดเคลื่อนกันได้เล็กน้อย ดังนั้นในกรณีที่เราสนใจหน้าบางหน้าเป็นพิเศษให้เราคล้ิกที่ไอคอนเปิดหน้าต่างใหม่ในคอลัมม์ PageSpeed Suggestions เพื่อไปดูค่าความเร็วแบบ Realtime และคำแนะนำการแก้ไขที่ PageSpeed Insight อีกทีหนึ่ง
  2. เราไม่จำเป็นต้องแก้ไขเรื่องความเร็วของหน้าทุกหน้าพร้อมๆ กันก็ได้ หลายครั้งเราอาจพบว่าพอเราดูรีพอร์ท Speed Suggestions จะมีหน้าที่ได้คะแนะต่ำๆ จำนวนมากจนน่าตกใจ ซึ่งอาจจะมีถึงหลายร้อยหน้าก็ได้ คำแนะนำคือให้เลือกแก้หน้าที่มีผลต่อการใช้งานของยูสเซอร์ในโฟลว์หลักๆ ก่อน เช่น Shopping Flow หรือ Checkout Flow รวมไปถึงหน้าที่มี Pageviews, Conversion Rate และ Page Value สูงๆ ก่อน
  3. อย่าคาดหวังกับอันดับที่ดีขึ้นใน Google Search Result จนเกินไป เพราะถึงแม้ว่า Google จะออกมาบอกเองว่า ‘ความเร็ว’ มีผลต่อการจัดอันดับ แต่ก็เป็นเพียงปัจจัยหนึ่งเท่านั้นเอง สุดท้ายถึงอันดับบน Google จะดีขึ้นบ้างหรือไม่นั้นก็เป็นเรื่องหนึ่ง แต่อันดับในใจคนใช้งานน่าจะดีขึ้นบ้างละ

Credit: https://googleanalyticsthailand.wordpress.com/2018/02/18/site-speed-%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%9E%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%97%E0%B9%83%E0%B8%99-google-analytics/

วิธีการติดตั้ง Google Analytics อย่างถูกต้อง เข้าใจง่าย ทำได้เอง

การสมัครใช้งานและการติดตั้ง Google Analytics ไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่หลายคนคิด การติดตั้งสามารถทำได้ในเวลาไม่เกิน 15 นาที ใครที่มีเว็บเป็นของตัวเองแต่ยังไม่ได้ติดตั้ง Google Analytics ต้องบอกเลยว่าเสียโอกาสไปมากมายจากข้อมูลที่จะได้จาก Google Analytics เพื่อนำมาวิเคราะห์และปรับปรุงเว็บไซต์ให้ดีขึ้น บทความนี้จะอธิบายขั้นตอนการติดตั้ง Google Analytics ทีละขั้นตอนเพื่อให้ผู้เริ่มต้นสามารถติดตั้งได้เอง มาเริ่มกันเลยครับ

1. เปิด browser แล้วพิมพ์ URL http://www.google.com/analytics/ เพื่อเข้าไปยังหน้าแรกของ Google Analytics ดังภาพ แล้ว sign in ด้วย Gmail account หรือถ้ายังไม่มีก็กด Create account ขึ้นมาใหม่

Setup-Google-Analytics-1

2. เมื่อ sign in แล้วจะเข้ามายังหน้าที่แนะนำขั้นตอนเบื้องต้นดังภาพ ให้กดปุ่ม sign up ต่อไปได้เลย
Setup-Google-Analytics-2

3. เมื่อ sign up แล้วจะเข้ามายังหน้า New Account หน้านี้เป็นหน้าที่สำคัญมาก โดยหน้านี้เราจะต้องเซ็ตอัพ account แรกของเราขึ้นมาซึ่งจะมีรายละเอียดปลีกย่อยดังนี้

  • What would you like to track : ระบบจะ default ไว้ที่ website หากเราจะ track mobile app ให้เลือก mobile app
  • Account Name : แนะนำให้ใส่ชื่อบริษัทที่เป็นเจ้าของเว็บนั้น เพราะหนึ่งบริษัทหรือหนึ่ง account อาจจะมีหลายเว็บได้ ซึ่งต่อไปเราสามารถสร้าง property ของเว็บอื่นๆ ภายใต้ account เดียวกันนี้ได้ ไม่จำเป็นต้องสร้าง account ใหม่ แต่ถ้าไม่มีก็ใส่ชื่อเว็บได้
  • Website Name : ช่องนี้ให้ใส่ชื่อเว็บไซต์
  • Website URL : ช่องนี้ให้ใส่ URL ของเว็บไซต์ ใส่แค่ .com หรือ .co.th เท่านั้นก็พอนะครับ
  • Industry Category : ให้เลือกประเภทธุรกิจหรือเนื้อหาของเว็บไซต์เรา เช่นเราเป็นเว็บไซต์ขายของก็เลือก shopping
  • Time Zone : ให้เลือกประเทศไทย
  • ในส่วนของ Data Sharing Setting ระบบ recommend ให้เลือกทั้งหมด แนะนำให้ปล่อยไว้อย่างนั้นเพราะเป็นส่วนที่เราต้องใช้งานในอนาคตเช่นการแชร์ข้อมูลกับ adwords account ของเรา และแชร์ข้อมูลเพื่อทำ benchmark กับกลุ่มเว็บไซต์ใน industry เดียวกันซึ่งจะทำให้เราสามารถดูรีพอร์ทของเราเปรียบเทียบกับเว็บไซต์อื่นๆได้

Setup-Google-Analytics-3

Setup-Google-Analytics-4

4. เมื่อกรอกข้อมูลครบหมดแล้วให้กดที่ Get Tracking ID ด้านล่างสุด จะมีหน้าต่าง pop up ขึ้นมาให้กด I acceptเพื่อยอมรับเงื่อนไขต่างๆ ในการใช้งาน Google Analytics
Setup-Google-Analytics-5

5. เมื่อกด I accept แล้วก็จะเข้ามายังหน้า Property ซึ่งในหน้านี้จะมีส่วนที่เรียกว่า Tracking Code อยู่ เราจะต้อง copy โค้ดนี้ไปแปะไว้ทุกหน้าในเว็บไซต์ของเรา ตรงนี้หากเราทำเองไม่ได้ ให้ส่ง code นี้ไปให้คนที่ทำเว็บไซต์ของเราติดตั้งให้ เท่านี้เป็นอันเสร็จเรียบร้อย
Setup-Google-Analytics-6

6. หลังจากที่ติดตั้งโค้ดที่หน้าเว็บไซต์แล้ว ข้อมูลจะยังไม่เข้ามาทันที อาจจะต้องรอสักพักหนึ่งแล้วแต่รอบของการอัพเดทข้อมูลของ Google บางที่อาจจะไม่เกินชั่วโมงหรืออาจจะถึงวันหนึ่งก็ได้ ระหว่างนี้เราสามารถเข้าไปทำความรู้จักกับ report ต่างๆ ของ Google Analytics ได้ก่อนโดยการกดที่ Reporting ที่เมนูบาร์ด้านบนก็จะเข้าไปยังหน้า report ตามภาพด้านล่างครับ ขอให้สนุกกับการใช้งาน Google Analytics นะครับ

Setup-Google-Analytics-7


ขอบคุณคำแนะนำดี ๆ จาก https://googleanalyticsthailand.wordpress.com/2015/03/01/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87-google-analytics/

WordPress หน้าขาว แก้ได้ง่าย ๆ ใน 5 วิธีนี้

WordPress หน้าขาว ปัญหายอดฮิตอีกปัญหาที่คนทำ WordPress ต้องพบเจออยู่เป็นประจำ บทความนี้ CodingDee จะพามาดูวิธีรับมือเมื่อ WordPress ขึ้นหน้าขาว โล่ง ๆ ไม่มีอะไรเลย มาดูกันครับ

WordPress หน้าขาว แก้ได้ง่าย ๆ

WordPress หน้าขาว

CodingDee ได้รวบรวมวิธีแก้ปัญหาไว้ให้ 5 วิธีลองเลือกนำไปปรับใช้ดูครับ

1. เปิดโหมด Debug

Default ของ WordPress จะปิดโหมดนี้ไว้เพื่อความปลอดภัยครับ เว็บจะไม่แสดงข้อความหรือ error อะไรออกมา ทำให้เราเห็นเป็นหน้าขาว ๆ โล่ง ๆ วิธีที่จะทำให้ WordPress บอกเราว่าเกิดอะไรขึ้น เราจะได้นำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์หาสาเหตุและวิธีแก้กันต่อไป วิธีก็คือให้เราไปที่ไฟล์ wp-config.php แล้วมองหาบรรทัดนี้
define( 'WP_DEBUG', false);
แก้จาก false เป็น true ก็จะได้แบบนี้
define( 'WP_DEBUG', true);
save แล้วลองเปิดหน้าเว็บดูก็จะเจอ ข้อความหรือ error ที่ WordPress ส่งออกมาให้เราดูเราก็นำข้อความตรงนี้ไป Search Google เพื่อหาวิธีแก้ไขต่อไปครับ

2.ปิด Plugin ให้หมดทุกตัว

WordPress หน้าขาว ปัญหาส่วนใหญ่ก็มาจาก Plugin ที่เราเอามาลงเนี่ยแหละ พอลงเสร็จ หน้าขาวเลย ถ้าเป็นแบบนี้ก็สันนิษฐานได้เลยว่าเป็นที่ Plugin เนี่ยแหละลองไปไล่ปิด Plugin ดูก็จะหายครับ ไล่ปิดไปทีละตัว ๆ ก็จะรู้เองว่าเป็นที่ Plugin ตัวไหน
แต่มันก็จะมีเคสที่หนักกว่านี้คือ error แบบเข้าหลังบ้านไม่ได้เลยแบบนี้ก็ปิด Plugin ไม่ได้น่ะสิ ไม่ต้องตกใจครับ CodingDee มีวิธีแก้ง่าย ๆ ทำตามนี้เลย วิธีปิดปลั๊กอิน WordPress เมื่อเข้าหลังบ้านไม่ได้

3.โหลด Theme มาลงใหม่

บางครั้งปัญหาก็อาจจะเป็นที่ Theme ที่เราใช้งานอยู่ครับ ไฟล์อาจจะหายไปหรือไม่สมบูรณ์ด้วยสาเหตุอะไรก็แล้วแต่ที่เราไม่รู้ หรือเราเผลอไปแก้ไขไฟล์ Theme ก็เป็นสาเหตุให้ WordPress หน้าขาวได้ครับ วิธีก็คือให้เราไปโหลด Theme ที่เราใช้ ส่วนใหญ่ก็คงซื้อ Theme มาจาก Themeforest กันแหละเนอะ นั่นแหละไปโหลดมาแตกไฟล์แล้ว FTP ไฟล์ขึ้นไปทับของเดิมให้หมด

4.โหลด WordPress มาลงใหม่

วิธีนี้ก็จะคล้าย ๆ กับวิธีที่ 3 เพียงแต่เปลี่ยนจาก Theme เป็น ไฟล์ WordPress ก็ไม่มีอะไรมากไปโหลดมา แตกไฟล์ FTP ขึ้นไปทับของเดิม

ปล.ยกเว้นไฟล์ wp-config.php นะครับไม่ต้องเอาไปทับของเดิมนะ เดี๋ยวเว็บจะพังเอา

5.Backup เว็บบ่อย ๆ

วิธีนี้เป็นวิธีที่ง่ายและผมชอบทำอยู่บ่อย ๆ เพราะเนื่องจากผมดูแล WordPress อยู่หลายเว็บ ผมเลยตั้ง BackUp ทุกวัน ถ้าเว็บไหนมีปัญหาก็ Restore ให้ 1-5 นาทีก็เสร็จเรียบร้อย แต่วิธีนี้อาจจะไม่เหมาะกับเว็บที่ใช้ WooCommerce นะครับ เพราะอาจส่งผลให้ Order ที่ลูกค้าสั่งมาหน้าเว็บหายได้เพราะเราไป Restore มัน แต่ก็เป็นไม่ตายสุดท้าย ถ้า 4 วิธีข้างบนเกิดไม่ได้ผลขึ้นมา ยังไงหมั่นทำ Backup ไว้บ่อย ๆ จะดีมากครับ มันช่วยเราได้เสมอถ้าเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดขึ้นมา BackUp ไว้หลาย ๆ ที่นะไม่ใช่เอาไว้บน Cloud ที่เดียว เอาลงมาเก็บ Offline ใส่ไว้ใน External ก็ได้ เดี๋ยวจะหาว่าไม่เตือน

แถมให้เอามาเล่าสู่กันฟัง

ผมเคยเจออยู่เคสนึง อาการหน้าขาวแบบนี้เลย ก็ไล่แก้ไป ปิด Plugin ลง Theme ใหม่ ก็หาย พอวันต่อมาเป็นอีก เราก็สงสัย เพิ่งแก้ไปนะเป็นอีกแล้วเหรอ ผมก็ลองไปเปิด โหมด Debug ดู มันฟ้องว่าไฟล์หลักใน WordPress ไม่สมบูรณ์ก็เลย FTP ไปไล่ดูว่าไฟล์ไหนลองเปิดไฟล์ดูก็รู้เลยสาเหตุเลยครับ ว่าทำไมเพิ่งแก้ไปแล้วกลับมาเป็นอีก สาเหตุคือ WordPress โดน Hack ครับ ไฟล์โดนฝัง script เต็มไปหมด ผมก็เลยต้องมาล้างระบบใหม่หมด

  • ติดตั้ง WordPress ให้ใหม่
  • ติดตั้ง Theme ใหม่
  • ติดตั้ง Plugins ใหม่

จบแล้ว

ขอบคุณบทความดี ๆ จาก CodingDee

ปัญหา wordpress ที่เจอได้บ่อย ๆ พร้อมวิธีแก้ไข

ปัญหา wordpress ที่มือใหม่มักจะพบเจอได้บ่อย ๆ ทาง Standhost ได้รวบรวมบทความพร้อมวิธีแก้ไขไว้ให้อ่านกันได้ง่าย ๆ ไม่ต้องไปไล่หาอ่านทีละบทความใครเจอปัญหาอะไรก็อ่านตามลิงก์ข้างล่างนี้ได้เลย

1.WordPress ส่งเมลไม่ออก หรือส่งแล้วอีเมลเข้า junk mail

เป็นอีกปัญหายอดฮิตที่ต้องเจอกันแทบจะทุกคน ไม่ต้องกังวล CodingDee มีวิธีแก้ไขอ่านวิธีทำได้ที่บทความนี้

แชร์ประสบการณ์ เมื่อเวิร์ดเพรส “ส่งเมลไม่ออก” และวิธีแก้ปัญหา

2.WordPress โดน hack

ปัญหาโดนแฮกทุกคนมีโอกาสได้พบเจอแน่นอนถ้าไม่มีการป้องกันที่ดีผมเขียนวิธีการป้องกันไว้ที่บทความนี้ เสริมเกราะให้เวิร์ดเพรสด้วย iThemes Security ตอนที่ 1

3.WordPress แชร์บทความแล้วรูปไม่ขึ้น

ปัญหานี้มักจะเจอเวลาเรานำบทความไปแชร์ใน facebook แล้วรูปไม่ขึ้นหรือขึ้นแต่รูปไม่ตรงกับรูปในบทความอ่านวิธีแก้ไขได้ที่บทความนี้

Facebook Share รูปไม่ขึ้นและวิธีแก้ไข

4.WordPress โดน Spam

ตอนผมทำเว็บใหม่ ๆ ปวดหัวกับมันมากผมมีวิธีป้องกันที่ได้ผลแทบจะ 100% เลยอ่านต่อที่บทความนี้ Invisible reCaptcha ปลั๊กอินป้องกันสแปมสำหรับ WordPress

5.Database มีขนาดใหญ่ (บวม)

ปัญหานี้ต้องจ้างแม่บ้านประจำเวิร์ดเพรส WP Optimize ปลั๊กอินกำจัดขยะสำหรับเวิร์ดเพรส

6.Fatal error: Allowed memory size of 123….

ไม่รู้จะอธิบายยังไง ปัญหานี้ก็เจอบ่อยมากกกกกก อ่านวิธีแก้ไขต่อที่บทความนี้ Fatal Error: Allowed Memory size Exhausted WordPress

7.White Screen Of The Dead (หน้าขาว)

ในเมื่อ Windows มีจอฟ้า WordPress ก็มีจอขาว 555+ อ่านวิธีแก้ไขได้ที่บทความนี้ครับ WordPress หน้าขาว แก้ได้ง่าย ๆ ใน 5 วิธีนี้

จบแล้ว

ขอบคุณบทความดี ๆ จาก CodingDee

Invisible reCaptcha ปลั๊กอินป้องกันสแปมสำหรับ WordPress

Invisible reCaptcha ปลั๊กอินสุดเจ๋งที่ช่วยป้องกันสแปมสำหรับ WordPress ก่อนหน้าที่ผมจะเปลี่ยนมาใช้ Invisible reCaptcha นั้นผมใช้ reCaptcha เวอร์ชั่นเก่าอยู่ก่อนหน้านี้อยู่แล้ว เวอร์ชั่นที่ให้เรากดเลือกรูปนั่นแหละ…

Invisible reCaptcha For WordPress

ปัญหาอีกข้อที่ผมเจอเมื่อเราใส่ captcha ไว้ตามหน้าแบบฟอร์มต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น หน้าฟอร์มสมัครสมาชิก หน้าฟอร์มติดต่อเรา หน้าฟอร์มคอมเมนต์ เป็นต้น ปัญหาที่ตามมาคือการที่ user ถูกขัดจังหวะการใช้งานนั่นเอง ผมเคยเจอบางเว็บใส่ captcha ไว้หน้าสั่งซื้อด้วยก็มีนะ ทีนี้พอ user ถูกขัดจังหวะบางคนเค้าปิดหน้าเว็บทิ้งไปเลย ถ้าเป็นหน้าสั่งซื้อกรอกแล้วไม่ผ่านติด captcha เค้าก็ปิดเว็บออกไปเลยทำให้เราสูญเสียรายได้ ขอยกเคสที่ผมเจอคือผมใส่ Google reCaptcha ไว้ที่หน้าสมัครตัวแทนจำหน่ายที่เราจะต้องกดติ๊กถูกก่อน submit ฟอร์มนั่นแหละ ผมเองก็คิดว่ามันง่ายในระดับแล้วนะ มันต้องมากรอก ตัวอักษร ตัวเลข แต่ปรากฎว่ามีลูกค้าโทรศัพท์เข้าที่บริษัทค่อนข้างบ่อย บอกว่ากด สมัครตัวแทนไม่ได้ ผมก็สงสัยว่าเพราะอะไรเค้าถึงกดสมัครไม่ได้ ผมลองใช้งานดูมันก็สมัครได้นะ ไม่ติดปัญหาอะไรแล้วทำไมลูกค้าเรากดสมัครไม่ได้ งงสิครับทีนี้ ไม่รู้จะวิเคราะห์หาสาเหตุยังไง

ผมนึกขึ้นได้ว่าเว็บเราติด Hotjar ไว้นี่หว่า ( Hotjar คือ เครื่องมือวิเคราะห์การใช้งานของ user ในเว็บเราว่าเค้า คลิกส่วนไหนของเว็บบ้าง ไม่ว่าจะเป็น ปุ่ม ลิงก์ หรือเลื่อนเมาส์ไปส่วนไหนของหน้าจอ ฯลฯ ไว้จะเล่ารายละเอียดให้ฟังวันหลังนะครับ ) พอผมมาเปิดดู history การใช้งานหน้าแบบฟอร์มสมัครตัวแทนจำหน่าย ปรากฏว่าแทบไม่มีการคลิกที่ช่องสี่เหลี่ยมของ captcha เลย นั่นแหละสาเหตุที่สมัครไม่ผ่าน ทั้งที่ผมเขียนบอกไว้ชัดเจนว่าให้คลิกที่ช่องสี่เหลี่ยมตรงนี้ก่อนนะ แต่ก็อย่างว่าละครับ ความปลอดภัยและความสะดวกสบายมักจะสวนทางกันเสมอ ถ้าเราไม่ติด captcha ลูกค้าก็ใช้งานได้ง่ายขึ้นแต่ก็เสี่ยงจะโดน spam แบบนี้เราควรจะเลือกวิธีไหนดี

สุดท้ายก็หาวิธีแก้ปัญหานี้ได้นั่นก็คือ Invisible reCaptcha ซึ่งมันก็คือ reCaptcha ที่พัฒนาให้ใช้งานง่ายขึ้นโดยที่มีการขัดจังหวะการใช้งานของ user น้อยลงกว่าเดิมนั่นเอง คือ user ไม่ต้องกดอะไรเลย กรอกฟอร์มเสร็จกด submit แค่นั้นจบเลย

ผมไม่รอช้ารีบถอด Google reCaptcha เวอร์ชั่นเดิมออกแล้วเปลี่ยนมาใช้ Invisble reCaptcha อย่างไวปรากฎว่าหลังจากนั้นไม่มีลูกค้าโทรเข้ามาที่บริษัทว่าสมัครตัวแทนไม่ผ่านอีกเลย ย้ำว่าไม่มีเลยนะครับ และอัตราการสมัครตัวแทนจำหน่ายก็เพิ่มมากขึ้นกว่าเดิมอีกด้วยและไม่มี spam เลย win win ทั้งฝั่งเราและลูกค้า

ข้อดีของปลั๊กอินนี้

  1. ไม่ขัดจังหวะการใช้งานของ User UX ดีขึ้นแน่นอน
  2. สามารถใช้งานร่วมกับ WooCommerce ได้
  3. สามารถใช้งานร่วมกับ BuddyPress ได้
  4. สามารถใช้งานร่วมกับ ContactForm7 และ Gravity Form ได้
  5. สามารถใช้งานร่วมกับ Seed Confirm Pro ได้

เล่าเรื่องมาพอสมควร (เหรอ) มาดูวิธีใช้งานกันครับ

สร้าง API Key สำหรับใช้งาน captcha กับเว็บเรา

  • คลิก แล้ว login ด้วย Gmail เข้าไปได้เลย
  • เสร็จแล้วกรอกข้อมูลลงไปดูตัวอย่างตามภาพด้านล่าง
  • Label คือชื่อสำหรับ captcha ที่เราสร้างขึ้นมากรอกเป็นชื่ออะไรก็ได้ผมกรอกเป็น CodingDee.com
  • เลือก Invisible reCAPTCHA
  • Domains กรอกชื่อเว็บที่เราต้องการใช้งานลงไป จริง ๆ สามารถกรอกได้มากกว่าหนึ่งเว็บใครใช้หลายเว็บก็ใส่ลงไป 1 บรรทัดต่อ 1 เว็บ สำหรับผมใช้เว็บเดียว
  • กดยอมรับเงื่อนไขการใช้งาน
  • กด Register

เสร็จแล้วเราจะได้ Site key และ Secret key มาตามภาพ

เข้าไปที่หลังบ้าน Settings >> Invisible reCaptcha

  • นำ Site key และ Secret key กรอกลงไปตามภาพ

  • Badge Position สามารถเลือกได้ 3 ตำแหน่งว่าเราต้องการให้ captcha อยู่ส่วนไหนของฟอร์ม ผมเลือกมุมขวาล่าง
  • เสร็จแล้วกดบันทึก

Tab WordPress

สำหรับส่วนนี้ปลั๊กอินจะมีให้เราเลือกว่าต้องการให้มี captcha ที่ส่วนไหนบ้าง เช่น

  • หน้า Login
  • หน้า Register
  • Comment
  • หน้าลืมรหัสผ่าน

สำหรับผมเปิดหมดทุกหน้าเลย

Tab WooCommerce

ส่วนนี้สำหรับใครที่ใช้ WooCommerce ก็สามารถมาเปิดใช้งานตรงส่วนนี้ได้ครับ

  • หน้า WooCommerce Login
  • หน้า WooCommerce Register
  • หน้าลืมรหัสผ่าน
  • ส่วนของ Comment และรีวิวสินค้า

Tab BuddyPress

ส่วนนี้สำหรับใครที่ใช้ BuddyPress

Tab Contact Forms

ส่วนนี้ผมชอบมากสามารถใช้ร่วมกันกับปลั๊กอินฟอร์มอื่น ๆ ได้ เช่น ContactForm7 GravityForm เป็นต้น

ทดลองเข้าหน้า Login ดูเราก็จะพบกับ captcha ที่โผล่ขึ้นมาตามภาพ

หน้าแจ้งชำระเงินผมใช้ Seed Confirm Pro

สำหรับใครที่ใช้ seed confirm pro อยู่ก็จะได้ captcha เพิ่มเข้ามาให้อัตโนมัติตามภาพครับ

จบแล้ว

ขอบคุณบทความดี ๆ จาก CodingDee  ครับ

7 ปลั๊กอินสามัญประจำเวิร์ดเพรส

สำหรับบทความนี้ผมก็ได้รวบรวมรายชื่อปลั๊กอินยอดนิยมที่ผมลงทุกครั้งที่ทำเว็บมาให้ดูกันครับ เชื่อว่าหลาย ๆ คนคงมีรายชื่อปลั๊กอินที่ชอบเหมือนผม มาดูกันว่ามีปลั๊กอินอะไรบ้าง 

7 ปลั๊กอินสามัญประจำเวิร์ดเพรส

1.iThemes Security

สำหรับปลั๊กอินนี้ บอกได้คำเดียวว่า ต้องลง ไม่ลงไม่ได้เป็นปลั๊กอินที่ช่วยเสริมความปลอดภัยให้กับเว็บเรา ป้องกันและอุดช่องโหว่ต่าง ๆ ที่เสี่ยงต่อการโดนแฮคหรือโดนมัลแวร์

สาเหตุที่ผมแนะนำตัวนี้เพราะ เบา ไม่กินทรัพยากรเว็บมาก ใช้เวลาเรียนรู้น้อย

ไปอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ เสริมเกราะให้เวิร์ดเพรสด้วย iThemes Security ตอนที่ 1

โหลดที่นี่

2.Yoast SEO

ปลั๊กอินนี้คงไม่มีใครไม่รู้จัก เป็นปลั๊กอินที่ช่วยเช็คคะแนนการ Set Onpage ว่าตรงตามมาตรฐานการทำ Seo อยู่ในระดับใดโดยสังเกตได้จาก สีที่เป็นตัวบ่งบอกสถานะว่าหน้านี้เรา Set onpage ได้ดีระดับไหน

  • สีเขียวคือ ดี – ดีมาก
  • สีส้มคือ พอใช้
  • สีแดงคือ แย่

นอกจากนี้ยังช่วยในเรื่องของการ Set รูปภาพ Set รายละเอียดเมื่อเรานำบทความนั้นไปแชร์ตาม Social ต่าง ๆ เช่น Facebook, Twitter เป็นต้น โหลดที่นี่

3.W3 Total Cache

ปลั๊กอินช่วยแคชเว็บนั่นเอง ทำให้เว็บทำงานได้เร็วขึ้น ช่วยลดการทำงานของ server ลง เว็บใครช้าลงตัวนี้เลยครับเร็วขึ้นแน่นอน ส่วนใครที่ใช้ CloudFlare อยู่แล้วก็สามารถ Integrate เข้ากับปลั๊กอินนี้ได้เหมือนกัน Clear Cache CloudFlare ด้วย W3 Total Cache ไปโหลดกันเลย คลิก

4.Imagify

ปลั๊กอินนี้จะช่วยลดขนาดของรูปภาพที่เราใช้ในเว็บให้มีขนาดเล็กลง พอขนาดเล็กลงก็ส่งผลให้โหลดได้เร็วขึ้น โดยตัวปลั๊กอินจะมีระดับการบีบอัดอยู่ 3 ระดับ

  1. NORMAL ลดขนาดลงนิดหน่อย ไม่สูญเสียความละเอียดของภาพ
  2. AGGRESSIVE ลดขนาดลงปานกลาง สูญเสียความละเอียดของภาพบ้างเล็กน้อย
  3. ULTRA ลดขนาดลงแบบเยอะมาก สูญเสียความละเอียดของภาพเยอะ

สาเหตุที่ผมแนะนำตัวนี้เพราะว่า ปลั๊กอินนี้ให้ใช้ฟรีโดยมี เครดิต ให้เราเดือนละ 100 เครดิต สามารถบีบอัดรูปได้ทั้ง 3 ระดับใช้งานง่ายมีหน้าให้เปรียบเทียบรูปภาพ ก่อน – หลัง บีบอัด แนะนำว่าใช้คู่กับ W3 Total Cache จะยิ่งคอมโบโหดมาก โหลด

อ่านรีวิว Imagify เต็ม ๆ ได้ที่นี่ เว็บเร็วขึ้นด้วย Imagify สุดยอดปลั๊กอินลดขนาดรูป

5.Google XML Sitemaps

ปลั๊กอินนี้จะช่วยสร้างไฟล์ sitemap.xml ไว้สำหรับให้ Search engines เข้ามาเก็บข้อมูลและนำไป index ต่อไป ตัวปลั๊กอินใช้งานง่ายไม่ต้องตั้งค่าอะไรลงเสร็จใช้ได้เลย ผมเคยสงสัยอยู่เหมือนกันว่าในเมื่อ Yoast SEO ก็มีฟังก์ชั่นสำหรับสร้าง Sitemap ได้ทำไมไม่ใช้ตัวนั้น ผมค้นไปเจอบทความอยู่บทความหนึ่งที่เปรียบเทียบกันระหว่าง Yoast กับ Google XML ว่าอันไหนดีกว่ากันได้ผลว่า Google XML ชนะผมก็เลยแนะนำให้ใช้ตัวนี้ครับ โหลด

6.Facebook Comments Plugin

ปลั๊กอินสำหรับเชื่อมคอมเมนต์ของ Facebook เข้ากับเว็บเรานั่นเอง ถ้าใครกำลังเจอปัญหาคอมเมนต์สแปมอยู่ลองเปลี่ยนมาใช้ตัวนี้ดูครับ เว็บที่ผมดูแลอยู่ผมจะปิดคอมเมนต์ที่ของเวิร์ดเพรสไป มาใช้ตัวนี้แทน ไม่หนัก Database เว็บเราด้วย โหลด

7.Seed Social

ขาดปลั๊กอินตัวนี้ไปไม่ได้ด้วยประการทั้งปวง เพราะเหมาะกับคนไทยเรามากมี Social แชร์หลัก ๆ ที่นิยมอยู่ครบทั้ง

  • Facebook
  • Google Plus
  • Twitter
  • Line

ผมให้คำนิยามปลั๊กอินนี้สั้น ๆ คือ เบา ดี มีไลน์ รออะไร โหลดเลย

ขอบคุณข้อมูลดี ๆ จาก

https://codingdee.com/important-plugin-for-wp/

 

รวม WordPress Plugins น่าสนใจ แยกตามหมวดหมู่

WordPress Plugins น่าสนใจ แยกตามหมวดหมู่

 

ปลั๊กอินพื้นฐานควรติดตั้ง

ชื่อตัวเสริม คุณสมบัติตัวเสริม
Jetpack by WordPress คุณสมบัติหลากหลาย โดยเฉพาะเรื่องป้องกันความปลอดภัย
All in One SEO จัดการ SEO
WP Super Cache เก็บ Cache เพื่อเพิ่มความเร็วในการเข้าเว็บไซต์
Wordfence Security แสกนเว็บไซต์ป้องกันความปลอดภัย ปล.หนักไม่เหมาะกับติดตั้งตลอดเวลา

ปลั๊กอินสำหรับร้านค้า & ธุรกิจ

ชื่อตัวเสริม คุณสมบัติตัวเสริม
Woocommerce ตั้งร้านค้าออนไลน์ (ฟรี)
Easy digital download ตั้งร้านค้าออนไลน์เน้นเป็นพวกสื่อดิจิตอล (ฟรี) Extension เสริม (ไม่ฟรี)
Sensei ขายคอร์สสอนออนไลน์ (ไม่ฟรี)
easyReservations ระบบจองห้องพัก
Pinpoint Booking System ระบบจองห้องพัก +WooCommerce
Easy Property Listings ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
Car Rental System ระบบจัดการการเช่ารถ (ไม่ฟรี)
WP Car Manager ระบบขายรถ
Booking Ultra Pro Appointments ระบบจองนัดหมายแบบเป็นเวลา
Restaurant Reservations ระบบจองสำหรับร้านอาหาร
Table Rate Shipping for WooCommerce ตัวเสริมจัดการเรื่องระบบขนส่งสำหรับ Woocommerce (ไม่ฟรี)

ปลั๊กอินจัดการเนื้อหาเว็บไซต์

ชื่อตัวเสริม คุณสมบัติตัวเสริม
Page Builder by SiteOrigin ช่วยจัดความสวยงามของเนื้อหาของเว็บไซต์ (ฟรี)
Elementor Page Builder ช่วยจัดความสวยงามของเนื้อหาของเว็บไซต์ (ฟรี)
Visual Composer ช่วยจัดความสวยงามของเนื้อหาของเว็บไซต์ (ไม่ฟรี)
Divi Builder ช่วยจัดความสวยงามของเนื้อหาของเว็บไซต์ (ไม่ฟรี)
SiteOrigin Widgets Bundle ตัวเสริมของ Page Builder by SiteOrigin

ปลั๊กอินจัดการ SEO & ค่าสถิติ

ชื่อตัวเสริม คุณสมบัติตัวเสริม
All in One SEO จัดการ SEO
Yoast SEO จัดการ SEO
Google Analytics Dashboard ดูค่าสถิติ
WP Statistics ดูค่าสถิติ
Google XML Sitemaps สร้าง xml ช่วยเรื่องติดอันดับ google
Broken Link Checker จัดการลิงก์ที่เสียหายเพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือด้าน SEO

ปลั๊กอินเพิ่มความเร็วในการเข้าเว็บไซต์

ชื่อตัวเสริม คุณสมบัติตัวเสริม
WP Fastest Cache เก็บ Cache เพื่อเพิ่มความเร็วในการเข้าเว็บไซต์
WP Super Cache เก็บ Cache เพื่อเพิ่มความเร็วในการเข้าเว็บไซต์
W3 Total Cache เก็บ Cache เพื่อเพิ่มความเร็วในการเข้าเว็บไซต์
EWWW Image Optimizer ลดขนาดรูป เพื่อเพิ่มความเร็วในการเข้าเว็บไซต์
Imagify Image Optimizer ลดขนาดรูป เพื่อเพิ่มความเร็วในการเข้าเว็บไซต์
WP Smush – Image Optimization ลดขนาดรูป เพื่อเพิ่มความเร็วในการเข้าเว็บไซต์
Autoptimize บีบพวก html css js เพื่อเพิ่มความเร็วในการเข้าเว็บไซต์
WP-Optimize ทำความสะอาดฐานข้อมูล และ ไฟล์ที่ไม่จำเป็นออก
P3 (Plugin Performance Profiler) เช็คการทำงานของเว็บไซต์

ปลั๊กอินสร้างเว็บไซต์หลายภาษา

ชื่อตัวเสริม คุณสมบัติตัวเสริม
Polylang สร้างเว็บไซต์ 2ภาษา (ฟรี)
qTranslateX สร้างเว็บไซต์ 2ภาษา (ฟรี)
WPML สร้างเว็บไซต์ 2ภาษา (ไม่ฟรี)

ปลั๊กอินเพิ่มความปลอดภัยเว็บไซต์

ชื่อตัวเสริม คุณสมบัติตัวเสริม
Jetpack by WordPress คุณสมบัติหลากหลาย โดยเฉพาะเรื่องป้องกันความปลอดภัย
Wordfence Security แสกนเว็บไซต์ป้องกันความปลอดภัย ปล.หนักไม่เหมาะกับติดตั้งตลอดเวลา
Captcha by BestWebSoft ให้บวกลบตัวเลขก่อนเข้าสู่ระบบป้องกันเรื่องความปลอดภัย
Lockdown WP Admin เปลี่ยน url การเข้าหลังบ้าน
All In One WP Security & Firewall ป้องกันความปลอดภัยของเว็บไซต์

ปลั๊กอินระบบเว็บบอร์ด & ระบบคอมเม้นท์

ชื่อตัวเสริม คุณสมบัติตัวเสริม
bbPress สร้างเว็บบอร์ด ถามตอบ
DW Question & Answer สร้างเว็บบอร์ด ถามตอบ
AnsPress สร้างเว็บบอร์ด ถามตอบ
BuddyPress สร้างเว็บบอร์ด ถามตอบ
Disqus Comment System ระบบคอมเม้นท์
Facebook Comments ระบบคอมเม้นท์เฟสบุ๊ค
DW Reactions สร้างปุ่ม Like หลายอารมร์แบบ Facebook

ปลั๊กอินสำรองข้อมูล & ย้ายโฮส

ชื่อตัวเสริม คุณสมบัติตัวเสริม
all-in-one-wp-migration สำรองข้อมูล กับ ย้ายโฮส
Duplicator ย้ายโฮส
BackUpWordPress สำรองข้อมูล
UpdraftPlus สำรองข้อมูล

ปลั๊กอินจัดการป้ายโฆษณา

ชื่อตัวเสริม คุณสมบัติตัวเสริม
AdRotate ระบบจัดการป้ายโฆษณา

ปลั๊กอิน Social

ชื่อตัวเสริม คุณสมบัติตัวเสริม
Simple Share Buttons Adder สร้างปุ่ม Social Share ไม่มี Line (ฟรี)
Seed Social สร้างปุ่ม Social Share มี Line (ฟรี)
Easy Social Share Buttons for WordPress สร้างปุ่ม Social Share มี Line (ไม่ฟรี)
Facebook Login ล็อกอินจาก Facebook
Social Login ล็อกอินจากโซเชียลต่างๆ
Sidebar Login ใช้แสดงรายละเอียดผู้ที่ทำการล็อกอิน อื่นๆ

ปลั๊กอินสร้าง Post Type & Custom Field

ชื่อตัวเสริม คุณสมบัติตัวเสริม
Toolset Types สร้าง Custom Post Type, Taxonomy, Custom Fields
custom-post-type-ui สร้าง Custom Post Type, Taxonomy
Advanced Custom Fields สร้าง Custom Fields
Pods – Custom Content Types and Fields สร้าง Custom Post Type, Taxonomy, Custom Fields

ปลั๊กอินระบบค้นหา

ชื่อตัวเสริม คุณสมบัติตัวเสริม
FacetWP ระบบค้นหาแบบมี field ให้กรอก (ไม่ฟรี)
Search & Filter ระบบค้นหาแบบมี field ให้กรอก (ฟรี)
Ajax Search Lite ปุ่มค้นหาแสดงผลทันที

ปลั๊กอินสร้างตาราง & ฟอร์ม

ชื่อตัวเสริม คุณสมบัติตัวเสริม
Easy Table สร้างตาราง
TablePress สร้างตาราง
Contact Form 7 สร้างฟอร์ม (ฟรี)
Caldera Forms สร้างฟอร์ม (ฟรี)
Gravity Forms สร้างฟอร์ม (ไม่ฟรี)

ปลั๊กอินสร้างสไลเดอร์ & ปฏิทิน

ชื่อตัวเสริม คุณสมบัติตัวเสริม
RoyalSlider สร้างสไลเดอร์ (ไม่ฟรี)
LayerSlider สร้างสไลเดอร์ มีลูกเล่นแยก Layer (ไม่ฟรี)
Smart Slider 3 สร้างสไลเดอร์ (ฟรี)
The Events Calendar สร้างปฏิทินกิจกรรม
Appointment Calendar สร้างปฏิทินนัดหมาย

ปลั๊กอินสร้างลูกเล่นอื่นๆ

ชื่อตัวเสริม คุณสมบัติตัวเสริม
Foo Gallery สร้างแกลอรี่
Nextgen Gallery สร้างแกลอรี่
Gallery สร้างแกลอรี่
WP-VR-view สร้างภาพแบบ 360 องศา (ฟรี)
360 Virtual Tour WP สร้างภาพแบบ 360 องศา (ไม่ฟรี)
blueimp lightbox ทำให้รูปภาพเมื่อคลิ๊กแล้วจะเด้งเป็น popup สวยงาม
WP Featherlight ทำให้รูปภาพเมื่อคลิ๊กแล้วจะเด้งเป็น popup สวยงาม
Embed Any Document จัดการพวกไฟล์เอกสาร เช่น pdf

ปลั๊กอินระบบเกี่ยวกับสร้างบทความ

ชื่อตัวเสริม คุณสมบัติตัวเสริม
Recent Posts Widget Extended แสดงบทความตามที่ต้องการในวิดเจ๊ด
Flexible Posts Widget แสดงบทความตามที่ต้องการในวิดเจ๊ด
Custom Post Widget แสดงบทความตามที่ต้องการในวิดเจ๊ดของแต่ละบทความ
Related Posts Thumbnails แสดงบทความที่เกี่ยวข้อง
Related Posts By Taxonomy แสดงบทความที่เกี่ยวข้องจาก Taxonomy

ปลั๊กอินระบบตอบลูกค้า & Live Chat

ชื่อตัวเสริม คุณสมบัติตัวเสริม
Awesome Support ระบบ Ticket ตอบปัญหาลูกค้า
WP Support Plus Responsive Ticket System ระบบ Ticket ตอบปัญหาลูกค้า
Simple Ajax Chat ระบบ Live Chat
ClickDesk ระบบ Live Chat (ไม่ฟรี)

ปลั๊กอิน Mail

ชื่อตัวเสริม คุณสมบัติตัวเสริม
Postman SMTP ระบบเมล
Bloom email opt-in ระบบเมล (ไม่ฟรี)
WP Subscribe Pro ระบบเมล (ไม่ฟรี)

ปลั๊กอินอื่นๆ

ชื่อตัวเสริม คุณสมบัติตัวเสริม
AJAX Thumbnail Rebuild สร้างรูป Thumbnail ใหม่
cms-tree-page-view จัดเรียงอันดับ post page
theme-test-drive แยกการแสดงผลธีมในแต่ละอุปกรณ์
Redirection redirect url
Seed Buddhist Year เปลี่ยนปี ค.ศ. เป็นปี พ.ศ.
Seed Fonts เปลี่ยนฟอนต์ภาษาไทย
Ultimate Member ระบบ Member (ฟรี)
Disable Google Fonts ปิด Google Fonts
Hide Admin Bar ซ่อน Admin Bar
LONG URL MAKER แก้ปัญหา url ไทยโดนตัดคำ
WP Pro Quiz สร้างแบบทดสอบ
ขอบคุณข้อมูลดี ๆ จาก คุณ Narongchai Suphiratwanich
https://www.beanthemes.com/knowledge/wordpress-pluins-2016/

วิธีเปลี่ยนชื่อ Domain หลักใน DirectAdmin Control Panel

คุณสามารถเปลี่ยนชื่อ Domain หลักใน Directadmin Control Panel โดยทำตามขั้นตอนดังนี้

1. คุณต้องทำการ Login เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้งานของคุณ โดยพิมพ์ชื่อเว็บของคุณ.com แล้วตามด้วย :2222 ตัวอย่างเช่น yourdomain.com:2222 จากนั้นใส่ Username, Password ของคุณ แล้วกดปุ่ม Login

2. เลือกที่ Domain Setup

3. คลิกที่ Change a Domain Name

4. เลือก Domain ที่ต้องการเปลี่ยน จากนั้นระบุชื่อ Domain ใหม่ของคุณ และคลิก Change

5. จากนั้นระบบจะแจ้งยืนยันการเปลี่ยนชื่อ Domain ว่าได้ถูกเปลี่ยนสำเร็จแล้ว

 


 

ขอบคุณข้อมูลดี ๆ จากคุณ Petcha โฮส อะตอม ครับ
https://kb.hostatom.com/content/769/

 

“5 สิ่งควรรู้” เกี่ยวกับ ICANN

     Internet Corporation for Assigned Names and Numbers หรือ ICANN เป็นองค์กรสากลที่ทำหน้าที่ในการบริหารงานและพัฒนาระบบชื่อโดเมนโลก ซึ่งสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ สพธอ. ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการทำงานกับ ICANN เพื่อร่วมกำหนดทิศทางการอภิบาลอินเทอร์เน็ตโลก โดย สพธอ. ทำหน้าที่ประสานความร่วมมือระหว่าง ICANN และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายในประเทศ เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของคนไทย และส่งเสริมให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับระบบบริหารจัดการอินเทอร์เน็ตโลกที่ดำเนินการผ่าน ICANN และการอภิบาลอินเทอร์เน็ต

ICANN มีความสำคัญและบทบาทหน้าที่อะไร และเกี่ยวข้องอย่างไรกับ สพธอ. สามารถติดตามได้ที่

5 สิ่งควรรู้ เกี่ยวกับ ICANN

 

ขอบคุณที่มา: ETDA | Electronic Transactions Development Agency (Public Organization).

มาเปลี่ยน URL login ของ WordPress จาก wp-admin เป็นชื่ออื่นกันครับ

มาเปลี่ยน URL login ของ WordPress จาก wp-admin เป็นชื่ออื่นกันครับ ! ป้องกันการโดน Hack และยังทำให้เว็บของท่านดู Professional ขึ้นได้อีกด้วยนะ 

มีขั้นตอนง่าย ๆ แค่ 8 ขั้นตอน คลิกดูที่รูปภาพได้เลยครับ

1. เลือกเมนู ปลั๊กอิน
2. เลือกเมนู เพิ่มปล๊กอินใหม่
3. ค้นหาคำว่า lockdown wp
4. ในกล่องปลั๊กอิน Lockdown WP Admin ให้คลิก “ติดตั้งตอนนี้”
5. คลิกที่เมนู Lockdown WP
6. ติ๊กที่กล่อง Yes, please hide WP Admin …
7. พิมพ์ชื่อ Login URL ที่ต้องการลงไป่ (ชื่ออะไรก็ได้)
8. กด Save Options

จากนั้นลอง Logout ปิดหน้าต่างเว็บ แล้วเปิดหน้าล็อกอินใหม่ครับ สังเกตว่าถ้าเปิดด้วย Login URL เดิมที่เป็น …/wp-admin จะพบว่าเข้าหน้าล็อกอินไม่ได้แล้วใช่มั้ยครับ
คราวนี้ให้ลองเปิดหน้าล็อกอินด้วย Login URL ใหม่ดู จะพบว่ามันใช้งานล็อกอินได้ ! เพียงเท่านี้เราก็สามารถเปลี่ยน URL Login ของ WordPress เป็นชื่ออื่นได้แล้วครับ