Monthly Archive January 22, 2018

วิธีแก้ปัญหาส่งเมลไม่ได้ของ wordpress ด้วย Postman SMTP

วิธีแก้ปัญหาส่งเมลไม่ได้ของ wordpress เป็นปัญหาที่น่าปวดหัวสำหรับคนที่อยากจะส่งข้อมูลของที่คนมากรอก ผ่านอีเมล
ซึ่งวิธีแก้ปัญหาไม่ได้ยาก แต่จะมีหลายขั้นตอนหน่อย โดยใช้ปลั๊กอินที่มีชื่อว่า Postman SMTP Mailer/Email Log เป็นปลั๊กอินที่มีประโยชน์มาก โดยต้องตั้งค่า SMTP ผ่าน Gmail ทำให้มีความปลอดภัย

วิธีแก้ปัญหาส่งเมลไม่ได้ของ wordpress ด้วย Postman SMTP

1. อย่างแรกต้องโหลดปลั๊กอินแล้วติดตั้งปลั๊กอิน Postman SMTP ก่อน เสร็จแล้วไปที่ Settings หาเมนู Postman SMTPคลิกเข้าไปจะเจอหน้าตาเหมือนในรูปที่หนึ่งด้านล่าง ให้คลิกที่ Start the Wizard

ปัญหาส่งเมลไม่ได้ของ wordpress

2. หลังจากคลิก Start the Wizard แล้วขั้นตอนที่ 2 คลิก None แล้วกด Next ต่อไปเลย

ปัญหาส่งเมลไม่ได้ของ wordpress ด้วย postman SMTP

3. ในช่อง Email Address ให้ใส่อีเมลของเรา และในช่อง Name ใส่ชื่ออะไรก็ได้ อาาจะใส่ชื่อเว็บเหมือนผมก็ได้

ปัญหาส่งเมลไม่ได้ของ wordpress ด้วย postman SMTP

4. gmail จะดึง Mail Server Hostname ให้เราอัตโนมัติไม่ต้องทำอะไร กด Next 

ปัญหาส่งเมลไม่ได้ของ wordpress ด้วย postman SMTP

5. gmail จะตั้งค่า Default ให้เรา Socket เป็น port 587 และ Authentication เป็น OAuth 2.0 ถ้าค่าตรงตามนี้แล้วกด Nextต่อไปได้เลย

wordpress-postman-mail5

6. มาถึงขั้นตอนนี้ ให้คลิก Google Developers Console Gmail Wizard  เพื่อไปสร้าง Client ID และ Client Secret 

ปัญหาส่งเมลไม่ได้ของ wordpress ด้วย postman SMTP

7. เลือกบัญชีอีเมลของเราที่ต้องการจะใช้กับ SMTP

ปัญหาส่งเมลไม่ได้ของ wordpress ด้วย postman SMTP

8.  Create a project แล้วคลิก Continue

ปัญหาส่งเมลไม่ได้ของ wordpress ด้วย postman SMTP

9. ไม่มีอะไรมาก คลิก Go to credentails

ปัญหาส่งเมลไม่ได้ของ wordpress ด้วย postman SMTP

10. ในขั้นตอนนี้ ให้คลิก client ID  มันจะพาเราไปยังขั้นตอนถัดไป

ปัญหาส่งเมลไม่ได้ของ wordpress ด้วย postman SMTP

11. ขั้นตอนนี้ต้องคลิกที่ Configure consent screen เพื่อที่จะสร้าง OAuth client ID เราจำเป็นต้องตั้งค่า product nameก่อน

ปัญหาส่งเมลไม่ได้ของ wordpress ด้วย postman SMTP

12. หลังจากคลิก Configure consent screen ก่อนหน้านี้ มันจะพาเรามาที่หน้า Credentails แท็บที่ 2 OAuth consent screen ให้ตั้งชื่อ Product name ของเราครับ จากนั้นก็คลิก Save 

ปัญหาส่งเมลไม่ได้ของ wordpress ด้วย postman SMTP

13. ตรงที่ Create client ID  ให้คลิกเลือกที่ Web application หลังคลิกเสร็จข้อมูลด้านล่างตรงหมายเลข 17,18,19 จะโผล่ออกมา ให้เราไป Copy จากหน้าก่อนหน้านี้ในหน้าหลังบ้านของ wordpress(ดูรูปที่ 2 ของข้อนี้)

ปัญหาส่งเมลไม่ได้ของ wordpress ด้วย postman SMTP

 

* ให้ copy ทั้ง Authorized javaScript origins  และ Authorized redirect URI ไปวางที่หมายเลข 17,18 ให้ตรงช่องด้วยครับ และคลิก Create เพื่อไปต่อ

wordpress-postman-mail14

14. ถ้าเราตั้งค่าถูกต้องตามที่ผมแนะนำไว้ คิดว่าคงจะต้องได้ OAuth client ทั้ง client ID และ client secret ตามรูปด้านล่าง

ปัญหาส่งเมลไม่ได้ของ wordpress ด้วย postman SMTP

15. ในขั้นตอนนี้ให้ copy ทั้ง client ID และ client secret ตามรูปด้านบน มากรอกใส่ในช่อง ตามรูปด้านล่าง ให้ตรงช่องด้วยครับแล้วคลิก Next ต่อไปเลยครับ

 

ปัญหาส่งเมลไม่ได้ของ wordpress ด้วย postman SMTP

16. ถ้ากรอกถูกต้อง เราจะเห็นข้อความ You’re Done แล้วคลิก Finish ได้เลยคับ

ปัญหาส่งเมลไม่ได้ของ wordpress ด้วย postman SMTP

17. ยังครับ ยังไม่จบแค่นี้ หลังจากเราตั้งค่าทุกอย่างเสร็จสิ้นเรียบร้อย เราต้องไปกำหนด permission โดยคลิกที่ Grant permission with Google เพื่ออนุญาต

วิธีแก้ปัญหาส่งเมลไม่ได้ของ wordpress

18. คลิกอนุญาตครับ

วิธีแก้ปัญหาส่งเมลไม่ได้ของ wordpress

19. กระบวนการทุกอย่างเสร็จสิ้นแล้วครับ เพื่อให้มั่นใจว่าเราได้ตั้งค่าทุกอย่างถูกต้อง ให้เราทดสอบส่งอีเมล คลิกที่ Send a Test Email

วิธีแก้ปัญหาส่งเมลไม่ได้ของ wordpress

20. ให้กรอกอีเมลที่ต้องการจะทดสอบ แล้วคลิก Next

วิธีแก้ปัญหาส่งเมลไม่ได้ของ wordpress

21. ถ้าได้รับข้อความ Success แสดงว่าเราได้ตั้งค่า SMTP ถูกต้อง และอย่าลืมลองไปเช็คอีเมลเพื่อให้แน่ใจ

วิธีแก้ปัญหาส่งเมลไม่ได้ของ wordpress

วิธีแก้ปัญหาส่งเมลไม่ได้ของ wordpress

จะเห็นได้ว่า วิธีแก้ปัญหาส่งเมลไม่ได้ของ wordpress ด้วย Postman SMTP นั้นไม่ได้ยากอย่างที่คิด แค่มันเยอะขั้นตอนนิดหน่อย แนะนำให้ใจเย็นๆครับ แค่ทำครั้งเดียว เสียเวลาครั้งเดียว ปัญหาการส่งเมลไม่ได้ก็หมดไปจากชีวิตครับ


 

ขอบคุณความรู้ดี ๆ จาก https://www.teeneeweb.com/wordpress-postman-smtp-email/

มาปรับแต่งเว็บไซต์ของคุณเพื่อเพื่มความเร็วกันเถอะ

มีข้อมูลวิจัยผู้ใช้งาน Internet ในสหรัฐส่วนใหญ่ จะรอหน้าเว็บแค่ 4 วิ ครับ เกินจากนี้ไม่ง้อแล้ว เว็บมีเป็นพันล้าน จะคอยทำไม ส่วนใหญ่จะปิดแล้วไปดูเว็บอื่นที่มันรวดเร็วทันใจดีกว่า เราเองในฐานะ Webmaster จึงควรออกแบบเว็บไซต์ให้สามารถโหลดได้รวดเร็ว ทันใจผู้ชมครับ

เราขอแนะนำบริการ Google PageSpeed Insights ครับ สำหรับผู้ที่มีเว็บไซต์ทุกท่านเลยนะครับ ผมแนะนำว่าให้ทดลองใช้งานดู บริการนี้จะเป็นบริการตรวจสอบความเร็วในการเรียกโหลดหน้าเว็บไซต์ของเราครับ โดยระบบตรวจสอบ จะสามารถวิเคราะห์ได้ว่า รูปภาพในเว็บไซต์ของเรารูปใดใหญ่ไปบ้าง สามารถปรับลดขนาดของรูปได้โดยไม่สูญเสียรายละเอียด หรือ Code ในจุดใดสามารถ Optimize ได้บ้าง เพื่อลดขนาดของ Object บนหน้าเว้บไซต์ของเราให้มีขนาดเล็กที่สุด ทำให้การโหลดหน้าเว็บของคุณเร็วขึ้นครับ

ส่วนประโยชน์ที่ได้ นอกจากจะประหยัด Bandwidth แล้วยังทำให้ผู้เข้าชมเว็บไซต์ของคุณ เปิดหน้าเว็บไซต์ได้รวดเร็วขึ้นด้วยครับ

เครื่องมีอนี้เป็น เครื่องมือที่ให้บริการโดย Google เองครับ ความสามารถของ Web Page Speed Test ตัวนี้ไม่ธรรมดาครับ
เพราะไม่เพียงทดสอบความเร็วในการตรวจสอบหน้าเว็บไซต์ของเราเท่านั้น ยังมีคำอธิบาย และคำแนะนำเพื่อนำไปปรับแต่ง

 

เว็บไซต์ของเราให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย ยกตัวอย่างเช่น

  • การโหลดรูปภาพซ้ำซ้อน
  • การคำนวนว่ารูปภาพบนเว็บไซต์บางรูปยังสามารถลดขนาดลงได้อีก โดยไม่สูญเสียความคมชัด
  • การแยกโหลด Java Script ที่ไม่จำเป็นของหน้าแรกให้กระจายออกไปโหลดที่หน้าอื่น

ลองทดสอบประสิทธิภาพเว็บไซค์ของคุณกันได้เลยครับ ที่ลิงค์ด้านล่างนี้ครับ
https://developers.google.com/speed/pagespeed/insights

 


ขอบคุณข้อมูลดี ๆ จาก https://kb.hostatom.com/content/2343/

วิธีการ Upload Files ด้วย File Manager ใน DirectAdmin Control Panel

การ Upload Files to Current Directory ใน File Manager ขั้นแรกคุณต้องทำการ Login เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้งานของคุณ แล้วทำตามขั้นตอนดังนี้

1.พิมพ์ชื่อเว็บของคุณ.com แล้วตามด้วย :2222 ตัวอย่างเช่น yourdomain.com:2222 จากนั้นใส่ Username, Password ของคุณ แล้วกดปุ่ม Login

2. เลือกที่เมนู File Manager

3. คลิกที่ public_html

4.คลิก Empty Clipboard เพื่อล้างขั้นตอนต่างๆที่ค้างอยู่ในระบบ

5. คลิกที่ Upload Files to Current Directory

6. สามารถ Upload Files ได้โดยการคลิก Browse จากนั้นเลือก File ที่ต้องการ ซึ่งจะ Upload Files ได้สูงสุด 8 Files

7. หากต้องการ Upload Files ครั้งละมากกว่า 8 Files ทำได้โดยการคลิกที่ Upload Even More Files ใส่จำนวนไฟล์ที่ต้องการลงไป และคลิก OK

8. จากนั้นคลิก Upload Files

9. ระบบจะแจ้งการยืนยัน Upload Files ดังภาพ

 


 

ขอบคุณข้อมูลจาก https://kb.hostatom.com/content/270/

วิธีการใช้งานโปรแกรม WinSCP

WinSCP (วินเอสซีพี) คือ โปรแกรมสำหรับอัพโหลดและดาวน์โหลดไฟล์ ผ่านโปรโตคอล FTP ที่เชื่อมต่อกับ Hosting ของคุณ ซึ่งเป็นโปรแกรมที่สามารถดาวน์โหลดมาใช้งานได้ฟรี

สามารถดาวน์โหลดและติดตั้งได้ที่
http://winscp.net/eng/download.php

โดยมีขั้นตอนการใช้งานดังนี้

1.คลิกที่ icon WinSCP

2. กรอกรายละเอียดเพื่อเชื่อมต่อกับ Server

  • กำหนดโปรโตคอลเป็น FTP (File Transfer Protocol) ในช่อง File portocol
  • กรอกชื่อเว็บไซต์หรือเลขไอพีแอสเดรสในช่อง Host Name
  • กำหนดค่า Port ในช่อง Port number (โดยมาตรฐานแล้วจะเป็น Port 21)
  • กรอกชื่อบัญชีผู้ใช้ในช่อง User name
  • กรอกรหัสผ่านในช่อง Password

จากนั้น click ที่ login

** หมายเหตุ : เพื่อความปลอดภัย กรุณาหลีกเลี่ยงการบันทึกรหัสผ่านไว้ที่โปรแกรม และปิดโปรแกรมทุกครั้งหลังใช้งาน **

3. ดับเบิ้ลคลิกที่ Directory domains

4. ดับเบิ้ลคลิกที่ชื่อโดเมนของคุณ

5. จากนั้นดับเบิ้ลคลิกที่ Directory public_html (ไฟล์ของเว็บไซต์ที่จะออนไลน์บนอินเตอร์เน็ทของจะถูกอัพโหลดไว้ที่ Directory นี้)

6. จากนั้นทำการ Upload ไฟล์โดยลากไฟล์ทีต้องการจากหน้าต่างทางด้านซ้าย (เครื่องเรา)ไปวางไว้ใน หน้าต่างทางด้านขวา (เครื่อง Server)

 


 

ขอบคุณข้อมูลดี ๆ จาก atom โฮสอะตอม

วิธีการใช้งานโปรแกรม WinSCP

การเพิ่ม และแก้ไข FTP Account

คุณสามารถสร้าง FTP Account เพื่อใช้ Upload และจัดการ File บน Server ได้ผ่านทาง DirectAdmin Control Panel
โดยคุณต้องทำการ Login เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้งานของคุณก่อน แล้วทำตามขั้นตอนดังนี้

1. พิมพ์ชื่อเว็บของคุณ.com แล้วตามด้วย :2222 ตัวอย่างเช่น yourdomain.com:2222

2. ในเมนูหมวด Your Account ให้คลิกที่เมนู FTP Management

3. ในหน้า FTP Management จะแสดงรายการบัญชี FTP User ที่มีอยู่ ให้คลิก Create FTP Account

4. ในหน้า Create FTP Account ให้ระบุรายละเอียด รวมถึงสิทธิ์การเข้าถึงของบัญชี FTP ที่ต้องการสร้าง

  • FTP Username: สำหรับระบุชื่อผู้ใช้ กรุณาใช้ อักษรภาษาอังกฤษ หรือตัวเลข (ใช้ตัวพิมพ์เล็กเท่านั้น)
  • Enter Password: สำหรับระบุรหัสผ่านสำหรับบัญชีผู้ใช้
  • Re-Enter Password: สำหรับยืนยันรหัสผ่านที่ใส่ในช่องที่แล้ว
  • Domain / FTP / User / Custom เป็นตำแหน่ง Path ที่เลือกว่าผู้ใช้จะมีสิทธิ์เข้าถึง Directory ในส่วนใดได้บ้าง

5. กรอกข้อมูลทั้งจากนั้นกด Create ก็เป็นอันเรียบร้อย สามารถนำบัญชี FTP Account ไปใช้งานผ่าน FTP Client ได้เลย ซึ่ง FTP ที่นิยมใช้กันได้แก่ WinSCP และ FileZilla


 

ขอบคุณข้อมูลดี ๆ จาก atom โฮสอะตอม
URL: https://kb.hostatom.com/content/228/

วิธีเปลี่ยนชื่อ Domain หลักใน DirectAdmin Control Panel

คุณสามารถเปลี่ยนชื่อ Domain หลักใน Directadmin Control Panel โดยทำตามขั้นตอนดังนี้

1. คุณต้องทำการ Login เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้งานของคุณ โดยพิมพ์ชื่อเว็บของคุณ.com แล้วตามด้วย :2222 ตัวอย่างเช่น yourdomain.com:2222 จากนั้นใส่ Username, Password ของคุณ แล้วกดปุ่ม Login

2. เลือกที่ Domain Setup

3. คลิกที่ Change a Domain Name

4. เลือก Domain ที่ต้องการเปลี่ยน จากนั้นระบุชื่อ Domain ใหม่ของคุณ และคลิก Change

5. จากนั้นระบบจะแจ้งยืนยันการเปลี่ยนชื่อ Domain ว่าได้ถูกเปลี่ยนสำเร็จแล้ว

 


 

ขอบคุณข้อมูลดี ๆ จากคุณ Petcha โฮส อะตอม ครับ
https://kb.hostatom.com/content/769/

 

10 ข้อห้าม ในการทำ SEO

10 ข้อห้าม ในการทำ SEO หากคุณเผลอทำไป แก้ไขอะไรได้ก็รีบแก้ซะนะครับ ก่อนนะโดนเก็บนะครับ

1. ห้ามโกง Search Engine  ในทุกๆ วิธี จะทำอะไรก็ทำแต่ พองาม นะครับ บาง คนอาจจะบอกว่า “ก็มันติดหน้าแรกเร็วนี่” เคยได้ยินคำว่า มาไวไปไวมั้ยล่ะครับ โดนแบนมาเมื่อไหร่อย่าหาว่าผมไม่เตือนนะ อยากให้จำสุภาษิตนึงไว้ว่า “ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน” อย่าหลงเข้าไปอยู่ในด้านมืดของ SEO นะครับ

2. อย่าให้เห็นนะว่า link ไหนเข้าไม่ได้  การทำมี link ตัวไหนซักตัว นี่ก็เป็น ผลเสียของ SEO เช่นกันครับ เพราะ บรรดา Search Engine จะมองว่า เว็บที่มี link เสีย หรือที่เรียกกันว่า Broken Link นั้นเป็นเว็บไม่มีคุณภาพ ไม่นาเชื่อถือ เอาล่ะว่าแล้วก็รีบเช็คกันเลยนะครับ เช็ค Broken Link

3. Hosting ที่ให้บริการมีคุณภาพต่ำ  เรื่องนี้ก็เห็นใจนะครับ เพราะปรกติ เราจ่ายค่าโฮสเป็นรายปี ก็ใช้ไปแล้วนี่เนอะ อืม…อยากบอกว่า ถ้าเปลี่ยนได้ก็เปลี่ยนเถอะครับ เพราะ อยากให้คุณลองวัดที่ตัวคุณเองดูว่าเวลาเข้าเว็บไหน ที่มันโหลดนานๆ คุณจะอยากเข้ามั้ย หรือ เข้าเว็บไหน แล้วมันกลายเป็น Page Not Found คุณจะกลับมาเข้าเว็บนี้อีกมั้ย และ ก็จงอย่าแปลกใจเลย หาก คุณทำ SEO ขั้นเทพแล้ว เว็บยังไม่ติดอันดับ ซักที อาจเป็นเพราะ บอท มันมาเจอคำว่า Page Not Found ตอนมาเว็บคุณก็เป็นได้

4. link ไปเว็บที่เนื้อหาไม่สอดคล้องกับเว็บเรา  เนื้อหาเว็บ กับเว็บที่เรา link ไปหาก็เกี่ยวเหมือนกันนะครับ เพราะ Google panda Algorithm นอกจากจะวัดคุณภาพจากเนื้อหาในเว็บของคุณแล้ว ยังวัดจาก link ที่ไปจากเว็บของคุณด้วยเช่นกัน จะแลก link กับเว็บไหนจะดูแต่ PR ไม่ได้นะครับ ต้องดูเนื้อหาเว็บด้วยครับ

5. link เข้ามามากผิดปรกติ  คุณเป็นคนนึงหรือป่าวที่ submit directory ที่เดียว 500 กว่าเว็บ Google คงไม่ปลื้มแน่ถ้าเห็นเว็บไหนทำแบบนี้ เรียกว่าไม่เนียน เอาซะเลย ค่อยๆ ทำดีกว่าครับ เนียนๆ ดูเป็นธรรมชาติ อยากให้จำสุภาษิตนึงไว้ (อีกแระ) ว่า “ช้าๆ ได้พร้าเล่มงาม” วันนึง 10 เว็บ 20 เว็บ ก็พอแล้วครับค่อยๆ นะ ค่อยๆ อ้อ !! อีกเรื่องครับ เว็บที่ link เข้ามาต้องเป็นเว็บที่เนื้อหาสอดคล้องกับเว็บคุณเหมือนกันนะครับ

6. อย่าทำ Gray SEO อย่างน่าเกลียด  คำพระสอนไว้ว่าให้เดินสายกลาง เราก็ทำ SEO กันแบบสีเทาๆ เหอๆ เค้ามี สายขาว กับ สายดำ เราสายเทา ว่างั้น อืม…บาปเบาๆ ทำบ่อยๆ มันก็เป็นบาป หนักได้เหมือนกันนะครับ เพราะ ฉะนั้น Gray SEO ถ้าเราคิดว่าเฮ้ย “ไม่เป็นไร” แล้วอัดมันทุกวันล่ะก็ มันก็จะกลายเป็นเหมือนกับคุณกำลังทำ Black SEO อยู่ แล้วก็รอวันโดนแบนได้เลยล่ะครับ

7. ทำตัวเป็นโจรขโมยเนื้อหา  นอกจากจะบาป แล้ว คริสต์ก็ผิดพระบัญญัติข้อ 8 ทาง พุทธก็ผิดศีลข้อ 2 ทาง Search Engine ก็มองว่าคุณ Duplicate Content อีกด้วย ผมเคยพูดถึงเรื่องนี้ในบทความ Google panda คืออะไร Duplicate Content คือ การก็อปปี้ หรือ ขโมย เนื้อหาข้อมูลมากจากเว็บไซต์อื่นๆ มาเว็บในเว็บของคุณเอง Google ก็จะมีหน้าที่เป็นตำรวจมาจับขโมยนั่นเอง

8. ทำ Cloaking  เหอๆ จะกลายเป็นบทความศาสนา แล้วมั้ง ก็คือ ข้อนี้บาปครับ และ นอกจากนี้ ทาง Search Engine ก็มองว่าเว็บคุณไม่ดีด้วย การทำ Cloaking การทำหน้าเว็บเพื่อหลอก Bots หรือ Crawler ของ Search Engine โดยทำเพื่อให้เว็บติดอันดับอย่างรวดเร็ว ครับ เหมือนกับการโกหก แหละครับ บาปกรรม นะ

 

9. หลีกเลี่ยงโปรแกรมช่วยทำ SEO ใครมาชวนให้ลองบอกไปเลยว่าไม่ เพราะ Search Engine เค้าฉลาดนะ จับได้หมดแหละครับอย่าพยายามเลย ไอ้วิธีนี้อ่ะไม่ได้ผลหรอกครับ เข้าข่าย ข้อ1 โกง Search Engine นะครับ

10. การทำ Redirects   มาถึงข้อนี้อาจมีคนท้วงผมครับว่า “จำได้นะว่าเคยให้ทำ แนะนำไว้ในบทความที่ชื่อว่า 18 สิ่งง่ายๆเกี่ยวกับ SEO ที่นักพัฒนาเวปไซท์มักจะมองข้ามไป” ใช่ครับผมเคยบอกไว้ การทำ Redirect นั้นควรทำแต่ต้องทำอย่างถูกวิธีครับทำได้แค่วิธีที่ชื่อว่า 301 redirect เท่านั้นครับ ถ้าเป็นประเภท <META HTTP-EQUIV=’Refresh’ อะไรแบบนั้น อย่าครับ ห้ามเด็ดขาด


 

ขอบคุณข้อมูลดี ๆ จาก โฮสอะตอม ครับ

ปัญหาเมื่อ WordPress เจอ 500 Internal Server Error

ปัญหานี้เกิดจากหลายสาเหตุด้วยกัน แล้วแต่สถานการณ์นะครับ แต่ในกรณีผมเนี่ยกำลังจะติดตั้งเว็บใหม่ แต่ทว่ายังไม่ทันเข้าไปถึงหน้าติดตั้งเลยครับ เจอทีถึงกับสะอึกเลยครับ

สาเหตุและวิธีการแก้ไข

ความจริงอาการ 500 Internal Server Error เนี่ยเกิดได้จากหลายสาเหตุนะครับขอบอกไว้ก่อน

1.ตั้งค่า Permission ไม่ถูกหลักของ WordPress นั่นคือ ไฟล์ทุกไฟล์จะต้องเป็น 644 และโฟลเดอร์จะต้องเป็น 755 มิฉะนั้นบางครั้งอาจจะ Error ได้

2.ตั้งค่า Permission ไม่ถูกหลักของ Server (บาง Server จะบล๊อกไว้ไม่ให้ตั้ง Permission เป็น 777 มิฉะนั้นจะขึ้น 500 Internal Server Error)

3.ไฟล์ .htaccess เสีย หรือสร้างขึ้นมาแล้วแต่พิการ ด้วยสาเหตุใดๆก็ตาม ให้ทำการดึงลงมาแก้ไขใหม่อีกครั้ง สังเกตุง่ายๆ ไฟล์ .htaccess จะมีขนาดเป็น 0 kb และอัพโหลดขึ้นไป ทั้งนี้ให้ใส่โค๊ดพื้นฐานของ WordPress นะครับยังไม่ต้องใส่ลูกเล่นกับไฟล์ .htaccess ใส่ค่าดังนี้

# BEGIN WordPress
<IfModule mod_rewrite.c>
RewriteEngine On
RewriteBase /
RewriteCond %{REQUEST_FILENAME} !-f
RewriteCond %{REQUEST_FILENAME} !-d
RewriteRule . /index.php [L]
</IfModule>
# END WordPress

ถ้ายังไม่หาย ให้ลองปิดปลั๊กอินทั้งหมด  บางคนสงสัยว่า เอ๊ะทำยังไง ก็ในเมื่อมันเข้าเว็บไม่ได้เลยอะ

วิธีการปิดปลั๊กอินในกรณีที่เข้าหน้า Admin ไม่ได้ มีดังนี้ครับ

1.ให้ FTP เข้าไปยังโฟลเดอร์ wp-content -> plugins จะเจอกับไฟล์ปลั๊กอินเยอะแยะเลยครับ

2.ให้ทำการเปลียนชื่อโฟลเดอร์ปลั๊กอิน เช่น ถ้าผมจะเปลี่ยนชื่อให้ง่ายๆ คือ ใส่ “_”ข้างหน้าชื่อ ตัวอย่าง _all_in_on_seo_pack

การเปลี่ยนชื่อ = Deactivate ปลั๊กอิน

 


 

ขอบคุณข้อมูลดี ๆ จาก professional-wordpress.com

 

การย้ายเว็บไซต์ WordPress ด้วยปลั๊กอิน Duplicator

การย้ายเว็บไซต์ มักเป็นเรื่องยุ่งยากชวนปวดหัวเสมอ แต่ต่อไปนี้เราจะมาทำให้มันเป็นเรื่องง่ายกัน โดยการใช้ปลั๊กอินที่จะทำการมัดรวมเว็บไซต์ของเราเข้าด้วยกัน แล้วนำไปติดตั้งยังอีกโฮ้สต์ในอีกโดเมน และได้หน้าตาออกมาเหมือนกันอย่างกับโคลนนิ่งเลยทีเดียว

เมื่อไหร่ที่เราควรทำการสำรองข้อมูล

  • ก่อนการ ติดตั้ง อัพเกรด ธีมหรือปลั๊กอิน และ WordPress ควรมีการสำรองฐานข้อมูลและไฟล์อื่นๆ โดยอาจไม่ต้องสำรองไฟล์มีเดียที่อัพโหลดขึ้น
  • หากเป็นเว็บที่มีการเพิ่มเนื้อหาใหม่ทุกวัน ก็ควรมีการสำรองฐานข้อมูลทุกวัน แล้วอาจจะสำรองไฟล์มีเดียรูปภาพวันเว้นวันก็ได้
  • หากเป็นเว็บที่ไม่ค่อยอัพเดตบ่อย ก็ให้สำรองหลังจากการอัพเดตเนื้อหาทุกครั้งแทน

Duplicator

เป็นปลั๊กอินสำหรับการแบ็คอัพหรือย้ายเว็บไซต์ WordPress ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในจำนวนเว็บปลั๊กอินฟรีทั้งหลายของ WordPress เนื่องจากใช้งานค่อนข้างง่ายและคาดหวังได้ มีเวอร์ชั่น Free และแบบ Professional วันนี้เราจะใช้ตัวฟรีกันค่ะ

ตัวฟรีนี้จะเหมาะสำหรับการย้ายเว็บไซต์มากกว่า เพราะปกติปลั๊กอินที่ใช้สำหรับการสำรองข้อมูลนั้นจะต้องมีคุณสมบัติอย่างน้อยเพิ่มอีก 2 อย่าง นั่นก็คือ การตั้งเวลาแบ็คอัพ และ การส่งแบ็คอัพไปยังแหล่งเก็บไฟล์ภายนอก ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้จะไม่มีในตัวฟรีนั่นเอง ให้มานั่งแบ็คอัพเองตลอด เชื่อเถอะค่ะว่าขยันทำไม่ถึงอาทิตย์ก็เลิกแน่นอน! เราผ่านจุดนั้นมาแล้ว

ขั้นแรกเรามาดูเว็บปัจจุบันของเรา เว็บแรกอันบนเป็นเว็บที่เราจำลองบนเครื่องเอง ชื่อ  desktopsite.dev  (ซึ่งสมมุติว่าเราได้ทำการแก้ไขเรียบร้อยแล้ว) ส่วนเว็บที่ 2 อันล่างชื่อ  napamakeup.com  ซึ่งเป็นเนื้อหาเริ่มต้นจากทางโฮสต์ ทีนี้เราต้องการจะทำให้ อันล่างเป็นเหมือนอันบน ด้วยการย้ายแบบ Migrate

desktop-napa

เริ่มกันเลยดีกว่าค่ะ

Desktopsite.dev

Backup

หลังจากติดตั้งปลั๊กอินแล้ว บนเว็บต้นทางของเรา ให้เราไปที่เมนู  Duplicator > Packages ที่แถบเมนูด้านซ้ายมือ แล้วคลิกปุ่ม Create New ด้านมุมขวา

create-package

จากนั้นคลิปปุ่ม Next

next-create-package-backup-duplicator

ระบบก็จะทำการสแกนไฟล์ในของเว็บเราและแสดงสถานะต่างๆ บางโฮ้สต์ก็มีการติดตั้งที่ไม่สนับสนุนกันหรืออาจจะล้าหลังก็จะทำให้เราลำบาก เราเคยมาแล้วกับโฮ้สต์เดิม สุดท้ายต้องมาคอย Import ภาพและบทความทีละอย่างใหม่ ติดตั้งใหม่ เหนื่อย

สำหรับเว็บที่มีไฟล์ uploads เยอะ เช่น รูปภาพ วิดีโอ เราก็สามารถที่จะละเว้นการแบ็คอัพไฟล์เหล่านั้นแล้วดาวน์โหลดมาอัพขึ้นเองต่างหากดไ้ โดยการคลี่แท็บ Archive ออกมาเพื่อตั้งค่าดังนี้

Files

ติ๊ก Enable File Filters เสร็จแล้วก็ใส่พาทของไฟล์ที่ไม่ต้องการในช่อง Directories: เพื่อละเว้นโฟลเดอร์ที่ไม่ต้องการแบ็คอัพ สามารถคลิกที่ [root path] [wp-uploads] [cache] เพื่อกรอกอัตโนมัติได้ คั่นแต่ละพาทด้วยเครื่องหมาย เราสามารถเปิดโปรแกรม FileZilla เพื่อดูพาทที่แน่นอนได้

file-filters-duplicator

ส่วน File extensions: ก็คือ ประเภทของไฟล์ที่เราไม่ต้องการจะแบ็คอัพ เช่น ไฟล์วิดีโอ เป็นต้น

Database

ในแท็บนี้จะเน้นไปในส่วนของฐานข้อมูลที่เราไม่ต้องการให้แบ็คอัพไปด้วยค่ะ ให้ติ๊ก Enable Table Filters ก่อน แล้วไม่ต้องการอันไหนก็ติ๊กที่อันนั้นนะคะ

database-filtes

เพียงเท่านี้เราก็จะสามารถย่อขนาดไฟล์และย่นเวลาในการแบ็คอัพได้แล้วค่ะ

จากนั้นคลิกปุ่ม Build

scan-complete

รอจนเสร็จก็จะขึ้นหน้าต่างแบบนี้ แสดงว่าเรียบร้อยแล้ว

ให้เราทำการคลิกเพื่อดาวน์โหลดไฟล์ทั้ง 2 มาไว้ที่เครื่องเราค่ะ

build-complete

เป็นอันเสร็จสิ้นการแบ็คอัพที่โฮ้สต์ต้นทาง ถ้าหากผ่านขั้นตอนการสแกนไปได้ก็ไม่ค่อยจะมีปัญหาอะไรแล้วค่ะ ส่วนใหญ่ที่ติดปัญหาคือ 1. โฮ้สต์ไม่ซับพอร์ต อันนี้ต้องดูว่ามันเป็นตรงไหนแล้วคุยกับโฮ้สต์ถ้าไม่สามารถแก้ด้วยตัวเองได้  2. ไฟล์มีขนาดใหญ่เกินไป อาจจะไม่รวมไฟล์ที่มีขนาดใหญ่ไปด้วย หรือซื้อตัว Pro ที่รับไฟล์ขนาดใหญ่มากๆ ได้

Napamakeup.com

Create Database

ล็อกอินใช้งาน Control Panel ของเว็บ Napamakeup.com เรา โดยดูการเข้าใช้งานและรหัสผ่านจากอีเมลที่ทางโฮ้สต์ส่งมาให้  ใช้ DirectAdmin จากนั้นทำการสร้างฐานข้อมูล

directtadmin-pathosting mysql-management create-new-database

กรอก Database Name, Database Username กด Random รหัสผ่าน แล้วคลิก Create

create-database

เราก็จะได้ข้อมูล Database มาแบบนี้ อย่าเพิ่งปิดนะคะ ก๊อปทั้งหมดใส่ Notepad ไว้ก่อนก็ได้ค่ะ

database-detailUpload

ให้เรานำข้อมูล FTP ของเว็บ (มีในอีเมล) มาทำการเชื่อมต่อกับโฮ้สต์ของเราด้วยโปรแกรม FileZilla เพื่อทำการลบไฟล์ทั้งหมดในโฟลเดอร์ public_html  ออก แล้วอัพโหลดไฟล์ที่เราได้ดาวน์โหลดมาเก็บไว้ก่อนหน้านี้ขึ้นไปแทน

ftp-detail upload-backup-to-server

อ่านหน้าต่อไปสำหรับการเริ่มติดตั้งติดตั้งแบ็คอัพลงไปที่เว็บใหม่

Install

ที่ช่อง Address bar ก็ให้เราพิพม์ชื่อเว็บเราตามด้วยชื่อไฟล์ installer.php เป็น  napamakeup.com/installer.php 

อันนี้ระบบแจ้งว่า Fail ที่ Root directory นะคะ คือตัว public_html ไม่ได้เปิดให้เขียนไฟล์ได้นั่นเอง

fail-root

ดังนั้นก็ให้เราไปแก้ Permission ของโฟลเดอร์ public_html ให้เป็น 777 ก่อนค่ะ โดยการใช้โปรแกรม FileZilla เช่นเดิม คลิกขวาที่ public_html เลือก File Permission ใส่เลข 777 (แล้วมาเปลี่ยนกลับเป็น 755 หรือ 644 หลังจากติดตั้งเว็บเสร็จแล้ว)

file-permission-root

จากนั้นลองรีเฟรชหน้าเว็บอีกที

เมื่อผ่านแล้ว ระบบจะให้เราใส่ข้อมูลของ Database ที่เราได้สร้างไว้ก่อนหน้านี้ ก๊อปมาใส่ได้เลย

จากนั้นคลิกปุ่ม Test Connection เพื่อทดสอบว่าถูกต้องหรือไม่

เลือนไปด้านล่าง ติ๊กยอมรับ  แล้วคลิกที่ปุ่ม Run Deployment

run-deploy confirm-deploy
กำลังทำการติดตั้ง

กำลังทำการติดตั้ง

เสร็จแล้ว เช็คความถูกต้องก่อนกด Run Update โดยเราสามารถเปลี่ยน Title ตอนนี้ก็ได้ หรือคลิกที่แท็บ New Admin Accountเพื่อเพิ่มยูเซอร์ใหม่หรือ Advanced Options สำหรับการจัดการฐานข้อมูลเพิ่มเติม

พอมาถึงขั้นตอนนี้ก็เป็นอันเสร็จสมบูรณ์แล้วค่ะ จัดการขั้นสุดท้ายด้วยการคลิกที่ลิงค์ต่างๆ

test-site
  1. Review Install Report ดูรายงาน
  2. Save Permalinks เปลี่ยน Permalink ต้องล็อกอินก่อน
  3. Test Site ทดสอบว่าเป็นตามที่ต้องการหรือไม่
  4. Security Cleanup ลบไฟล์แบคอัพที่ติดตั้งเสร็จแล้ว ต้องล็อกอิน

ในที่นี้เราลอง Test Site ดูแล้วเห็นว่าถูกต้อง ก็ทำการคลิก Security Cleanup ค่ะ เขาจะให้เรายืนยันอีกครั้ง

cleanup

ระบบจะให้เรากรอก Username, Password อันเดิมเว็บเดิมที่เราใช้บน desktopsite.dev ค่ะ

login-cleanup

ระบบก็จะนำเราล็อกอินเข้ามาที่ Dashboard ของ WordPress ที่เมนู Duplicator > Tools ให้เราคลิก Delete และ  Clear ทั้ง 3 อย่างในแท็บ Cleanup

clear-duplicator-backup

หน้าตาเว็บใหม่ของเรา แทบแยกไม่ออกจากอันแรกเลยใช่มั๊ยคะ หากเราไม่เปลี่ยน Title ก่อนหน้านี้ ก็จะเหมือนกันเป๊ะค่ะ

after-duplicator-deploy-install
ภาพเปรียบเทียบ

ภาพเปรียบเทียบ

แค่นี้ก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อย เห็นมั๊ยคะว่าย้ายเว็บนั้นไม่ยากอย่างที่คิด

Duplicator Pro

เวอร์ชั่นโปรนั้นสามารถที่จะเพิ่มความสามารถหลายๆ อย่างที่คุ้มค่ากับการลงทุนในราคาเพียง $39 สำหรับ 3 เว็บไซต์ จุดเด่นที่สำคัญนอกเหนือจากการใช้กับเว็บขนาดใหญ่แล้ว ยังมีสิ่งที่น่าสนใจเช่น

Templates

สร้างเทมเพลตการแบคอัพไว้ล่วงหน้า เทมเพลตที่ว่านี้ก็คือ การที่เราต้องการจำกำหนดว่าจะรวมไฟล์ไหน หรือไม่ต้องการที่จะรวมไฟล์ไหนในแบคอัพ จะเอาเฉพาะฐานข้อมูลหรือจะเอาไฟล์อื่นๆ ด้วย เป็นต้น ปกติเราต้องทำการกำหนดทุกครั้ง แต่ถ้าเราสร้างเทมเพลตไว้แล้ว เราก็สามารถเลือกจากเทมเพลตได้เลย

templatesStorage

สามารถที่จะส่งไฟล์แบคอัพไปเก็บไว้บนพื้นที่เก็บไฟล์ออนไลน์ยอดนิยมอย่าง Amazon S3, Dropbox, Google Drive หรือส่งเป็น FTP ไปเก็บไว้บนเซิฟเวอร์อื่นที่เรามีก็ได้ สามารถเพิ่มที่เก็บได้หลายที่นอกเหนือจากเก็บไว้บนเซิฟเวอร์เดียวกับเว็บไซต์

storage

Schedules

กำหนดระยะเวลาในการแบคอัพแบบอัตโนมัติ ทำให้ไม่จำเป็นต้องมาคลิกเอง หากเว็บมีปัญหาเราก็สามารถย้อนกลับไปที่การแบคอัพอัตโนมัติล่าสุดได้เลย สามารถเลือกได้ว่า การแบคอัพอัตโนมัติตัวไหน ใช้กับเทมเพลตไหน เช่น ช่วงเย็นแบคอัพฐานข้อมูล ดึกๆ ก็แบคอัพไฟล์ หรือแบคอัพทั้งเว็บอาทิตย์ละครั้ง เป็นต้น

schedules

และยังมีอีกหลายฟีเจอร์ที่สามารถอำนวยความสะดวกให้เราได้ดังลิสต์ด้านล่าง

pro-featuresราคาตอนนี้จาก $59 เหลือ $39 เท่านั้น สำหรับ Personal Licence (3 เว็บ เพิ่มลบได้) มี Support 1 ปี ต่ออายุในราคาลด 40% คือถึงหมดอายุเราก็ใช้งานไปเรื่อยๆ ได้นะคะ เพียงแต่ไม่ได้อัพเดต ถ้าเลยกำหนดต่ออายุแล้วไปต่อหลังจากนั้นเขาก็จะคิดราคาเต็ม ถ้าต่อภายในช่วงเวลาที่กำหนดถึงจะได้ลด

หากโฮ้สต์ไหนใช้ปลั๊กอินนี้ไม่ได้ อาจจะลองใช้ วิธีการย้ายแบบ Manual ดูนะคะ เสียเวลาหน่อยแต่ได้แน่นอนค่ะ

บทสรุป
Duplicator เป็นปลั๊กอินที่ทำการโคลนนิ่งเว็บแบบยกมาทั้งเว็บ โดยไม่ต้องติดตั้ง WordPress ก่อนทำการโคลนนิ่ง แต่เราก็ต้องสร้างและเชื่อมต่อฐานข้อมูลเอง ปลั๊กอินใช้งานได้ดี

ขอบคุณข้อมูลดี ๆ จาก wpthaiuser

แก้ไข “การเชื่อมต่อของคุณไม่เป็นส่วนตัว” ข้อผิดพลาดใน Google Chrome

ในช่วงเวลาที่มันเกิดขึ้นว่าเมื่อคุณเปิดเบราว์เซอร์ Google Chrome ของคุณคุณจะได้รับ “การเชื่อมต่อของคุณไม่เป็นส่วนตัวข้อผิดพลาด” เราได้รับการตีพิมพ์เมื่อเร็ว ๆ นี้บทความเกี่ยวกับข้อผิดพลาด Chrome อื่น ๆ เช่นกัน แต่อย่างหนึ่งที่อ่านดังนี้กลัวคนมากที่สุด:

ผู้บุกรุกอาจพยายามที่จะขโมยข้อมูลของคุณจาก www.example.com (เช่นรหัสผ่านบัตรข้อความหรือบัตรเครดิต)
NET :: ERR_CERT_COMMON_NAME_INVALID

 

ในช่วงเวลาสายเหล่านี้เราทุกคนรู้สึกกลัวการสูญเสียรหัสผ่านและความปลอดภัยดิจิตอลของเรา ดังนั้นขวาที่จุดเริ่มต้นให้เราแจ้งให้ทราบว่าข้อผิดพลาด Chrome นี้เป็นเรื่องง่ายมากที่จะแก้ปัญหา ในบทความนี้เราจะได้เรียนรู้เหตุผลที่อยู่เบื้องหลังข้อผิดพลาดนี้และวิธีที่จะแก้ไขได้

ข้อผิดพลาดนี้จะปรากฏเฉพาะในกรณีของ URL ของเว็บไซต์ที่ขึ้นต้นด้วย HTTPS แทน HTTP โปรโตคอล HTTPS แสดงให้เห็นว่าข้อมูลที่ส่งอย่างปลอดภัยในเว็บไซต์ที่ใช้ SSL เราจะไปในรายละเอียดเพิ่มเติมในภายหลังในบทความ

 

เชื่อมต่อของคุณไม่ได้เป็นข้อผิดพลาด SSL ส่วนตัวใน Google Chrome

วิธีการแก้ไข “การเชื่อมต่อของคุณไม่เป็นส่วนตัว: NET :: ERR_CERT_COMMON_NAME_INVALID”

คุณสามารถทำตามขั้นตอนต่อไปนี้เพื่อที่จะแก้ปัญหาข้อผิดพลาดนี้ คุณควรจะไปผ่านขั้นตอนเหล่านี้โดยหนึ่งที่เราได้ระบุไว้ตามประสิทธิภาพ

ขั้นตอนที่ 1: ตรวจสอบระบบวันที่และเวลา

ก่อนอื่นคุณควรตรวจสอบวันที่และเวลาของเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณ ในคอมพิวเตอร์รุ่นเก่าแบตเตอรี่บนเมนบอร์ดเป็นอ่อนแอหลังจากนั้นไม่กี่ปีที่ผ่านมาและที่เป็นสาเหตุของความผิดปกติของระบบวันที่และเวลา เราจะอธิบายในภายหลังว่าเป็นสาเหตุที่ผิดวันที่และเวลาที่ก่อให้เกิดข้อผิดพลาดนี้ ในขณะที่ให้ของได้รับตรงไปยังจุดและแก้ปัญหา

 

  • ไปที่แผงควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณ
  • เปิดวันที่และเวลา
  • ดูว่าวันที่หรือเวลาที่เป็นธรรม ถ้าเป็นเช่นนั้นแก้ไขให้ถูกต้อง

คุณอาจจะสังเกตเห็นว่าในครั้งต่อไปคุณจะรีบูตเครื่องคอมพิวเตอร์, วันที่และการตั้งค่าเวลาอีกครั้งจะได้กลายเป็นที่ไม่ถูกต้อง หากเป็นกรณีที่คุณควรเปลี่ยนแบตเตอรี่เมนบอร์ด แบตเตอรี่นี้รักษาบนนาฬิกาคณะกรรมการในขณะที่ระบบขับเคลื่อนปิด

 

ขั้นตอนที่ 2: ตรวจสอบการตั้งค่าการป้องกันไวรัส

เนื่องจากการเชื่อมต่อของคุณไม่เป็นส่วนตัวเป็นข้อผิดพลาดที่เกี่ยวข้อง SSL ก็ยังเป็นสิ่งสำคัญที่จะตรวจสอบการตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัสของคุณ ซอฟต์แวร์เหล่านี้บางครั้งปิดกั้นใบรับรอง SSL ของเว็บไซต์และทำให้ Google Chrome พ่นสุทธิข้อผิดพลาด SSL :: ERR_CERT_DATE_INVALID

 

เมื่อต้องการแก้ไขปัญหานี้ให้ตรวจสอบการตั้งค่าของโปรแกรมป้องกันไวรัสของคุณ คุณจำเป็นที่จะปิดการสแกน SSL โดยโปรแกรมป้องกันไวรัส ที่แตกต่างกันซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสที่มีการตั้งค่านี้ในสถานที่ที่แตกต่างกัน เพียงแค่มองหามันภายใต้การเลือกการตั้งค่า

ถ้าป้องกันไวรัสที่มีการกำหนดค่าการสแกนเว็บไซต์ก่อนที่คุณจะเรียกมันบางครั้งไวรัสอาจตรวจสอบวันที่ไม่ถูกต้องในใบรับรอง SSL ของเว็บไซต์ เป็นผลให้มันจะคิดว่าการเชื่อมต่อของคุณกับเว็บไซต์ที่ไม่ปลอดภัย และทำให้เกิดข้อผิดพลาด

 

ขั้นตอนที่ 3: ลบคุกกี้

เช่นเดียวกับเบราว์เซอร์อื่น ๆ ทั้งหมด Google Chrome ยังช่วยให้เว็บไซต์ใช้คุกกี้เพื่อติดตามการโต้ตอบของคุณกับพวกเขา บางครั้งข้อมูลในคุกกี้เหล่านี้ได้รับการตีความโดย Chrome เหตุการณ์ดังกล่าวอาจบังคับ Chrome แสดงข้อผิดพลาด SSL หากขั้นตอนก่อนหน้านี้ไม่ได้ทำงานคุณควรลบคุกกี้ที่กำหนดโดยเบราว์เซอร์Google Chrome

 

  • เปิด Chrome และไปที่การตั้งค่า
  • พิมพ์คุกกี้ในช่องค้นหา
    ค้นหาคุกกี้ใน Google Chrome

    ค้นหาคุกกี้ใน Google Chrome

  • คลิกที่ล้างข้อมูลการท่องเว็บ
  • เลือกคุกกี้และเว็บไซต์อื่น ๆ และข้อมูลปลั๊กอิน
  • คลิกที่ปุ่มล้างข้อมูลการท่องเว็บ
ล้างคุกกี้ใน Google Chrome

ล้างคุกกี้ใน Google Chrome

เสร็จสิ้นทั้งหมด แต่ฉันยังคงได้รับข้อผิดพลาด!

หากไม่มีวิธีการข้างต้นทำงานและคุณยังคงได้รับการเชื่อมต่อของคุณไม่ได้เป็นข้อผิดพลาดส่วนตัวก็มีแนวโน้มว่า Google Chrome เป็นเพียงแค่สับสนและคุณอาจเลือกที่จะดำเนินการเว็บไซต์

 

  • เปิด Chrome และไปที่เว็บไซต์ที่แสดงให้คุณเห็นข้อผิดพลาด
  • ข้อผิดพลาดบนหน้าคลิกที่ลิงค์ขั้นสูง
  • คลิกที่ดำเนินการเชื่อมโยง โครเมี่ยมจะไม่สนใจข้อผิดพลาดและจะเปิดเว็บไซต์

ที่นี่เราอยากจะแนะนำให้ระมัดระวัง ถ้าคุณได้รับการใช้เว็บไซต์ในคำถามและคุณเชื่อว่าเว็บไซต์ที่เป็นที่ของที่มีคุณภาพดีและการบำรุงรักษาโดยมืออาชีพที่รับผิดชอบ – แล้วคุณสามารถดำเนินการละเว้นการเชื่อมต่อของคุณไม่ได้เป็นข้อผิดพลาดส่วนตัว

 

เชื่อมต่อของคุณไม่เป็นส่วนตัวตัวเลือกดำเนินการต่อไป

แต่ถ้าคุณกำลังเยี่ยมชมเว็บไซต์เป็นครั้งแรกและจะมีเนื้อหาสำหรับผู้ใหญ่ (เช่นภาพลามกอนาจารการพนันเกมนิตยสารสำหรับผู้ใหญ่) แล้วคุณดีวางความคิดของการเยี่ยมชมเว็บไซต์ที่ คุณควรมองหาทางเลือกเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาหรือบริการที่คล้ายกัน

ทำไม “เชื่อมต่อของคุณไม่เป็นส่วนตัว: NET :: ERR_CERT_DATE_INVALID” ปรากฏข้อผิดพลาด?

จำนวนมากของเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัย SSL เพื่อส่งข้อมูลของผู้ใช้ ตัวอย่างเช่นเมื่อคุณส่งแบบฟอร์มหรือเข้าสู่เว็บไซต์ข้อมูลที่เต็มไปด้วยคุณเดินทางจากเบราว์เซอร์ของคุณไปยังเซิร์ฟเวอร์ในรูปแบบการเข้ารหัสสูง การเข้ารหัสนี้จะกระทำโดยชั้น SSL และมันจะช่วยในการรักษาแฮกเกอร์ออกไป

 

SSL ย่อมาจาก Secure Socket Layer เว็บไซต์ที่ใช้ SSL ทุกคนมีที่จะได้รับและเก็บในการต่ออายุใบรับรอง SSL ที่ตรวจสอบเว็บไซต์ การเชื่อมต่อของคุณไม่ได้ข้อผิดพลาดส่วนตัวมักจะเกิดขึ้นเมื่อเบราว์เซอร์ของคุณไม่สามารถที่จะตรวจสอบใบรับรอง SSL หรือเมื่อใบรับรอง SSL จะถือว่าหมดอายุ ถ้าวันที่ระบบของคุณกลับไปหรือมาจากวันที่เกิดขึ้นจริง (ตามที่มันเกิดขึ้นเมื่อแบตเตอรี่อยู่ในระดับต่ำ) แล้วใบรับรอง SSL วันหมดอายุจะไม่ตรงกับ

ถ้าป้องกันไวรัสของคุณมีการกำหนดค่าการสแกนเนื้อหาของเว็บไซต์ที่คุณเรียกดูอินเทอร์เน็ตบางครั้งล้มเหลวในการป้องกันไวรัสขั้นตอนการสแกนแล้วยังข้อผิดพลาดนี้ขึ้นมา

 


 

ขอบคุณข้อมูลดี ๆ จาก TECHWELKIN