Category Archive E-Commerce

วิธีเชื่อมต่อ WooCommerce กับ Google Analytic เพื่อติดตามยอด Ecommerce

พอดีว่ามีโอกาสได้หาวิธีเชื่อมต่อให้ Google Analytic สามารถตรวจจับการซื้อขายบนเว็บไซต์ที่ใช้ WooCommerce ได้ แล้วก็เห็นว่ายังไม่มี Tutorial ที่เป็นภาษาไทย ก็เลยขอโอกาสตรงนี้มาเขียนให้อ่านกันว่าต้องทำอย่างไรบ้างครับ

ใช้ Plug-in ตัวไหนในการติดตั้ง ?

เท่าที่ลองหลาย ๆ ตัว ผมพบว่า Enhanced Ecommerce Google Analytics เป็นตัวที่ติดตั้งง่ายมาก! แค่ลงปลั๊กอิน ใส่เลข Google Analytics ID แล้วก็ติ๊กเปิดใช้งาน ก็สามารถทำงานได้แล้ว

หน้าต่างปลั๊กอิน Enhanced Ecommerce Google Analytic ก็ประมาณนี้ครับ ง่ายๆ ติ๊กมันทุกอันเลย

พอเสร็จแล้วให้เราไปเปิดที่ Google Analytic และเข้าไปตั้งค่า Ecommerce Setting โดยเข้าจาก Admin > View > E-commerce Settings

จะพบหน้าต่าง Ecommerce Set-up ให้เราเปิด Status ให้เป็น On แล้วกด Next Step เพื่อไปยังหน้าต่อไปครับ

เสร็จแล้วก็มาเปิด Enhanced Ecommerce Reporting เพื่อดูว่า User ที่เข้ามาซื้อของ มีพฤติกรรมอะไรบ้าง เช่น ลบสินค้าออกจากตะกร้ากี่ครั้ง เข้าไปดู Related products กี่ครั้ง

(สำหรับส่วนนี้ทางผู้เขียนบทความก็ยังไม่ได้ศึกษาโดยละเอียด แต่ทางเจ้าของ Plugin แนะนำมาว่าให้ติดตั้งครับ)

และให้ตั้งค่า Checkout Labeling ตามที่ผมเขียนเอาไว้ได้แก่

Step 1 : Checkout View
Step 2 : Billing Info
Step 3 : Proceed to payment

และขั้นตอนสุดท้าย หากสินค้าของเรา รับชำระเป็นเงินบาท ต้องไปตั้งค่าทั้งใน Google Analytic ให้เป็น THB และใน Woocommerce ให้เป็น THB ตรงกัน

ตั้งค่าตามวงกลมนี้เลยครับ

พอตอนสุดท้าย ก็คือการทดสอบซื้อสินค้า ในที่นี้ผมได้ลองตั้งสินค้าที่มีราคา 1 บาท แล้วลองทำการซื้อผ่านออนไลน์ ก็จะขึ้นในหน้าต่าง Product Performance ตามภาพด้านล่างนี้ครับ

ก็เป็นอันเสร็จสิ้นในการตั้งค่าให้ WooCommerce และ Google Analytic ทำงานร่วมกันและแสดงผล ซึ่งจากตรงนี้ เราสามารถนำไปใช้คู่กับ UTM Link เพิ่มเติม เพื่อหาว่า Channel ใดที่มีคนเข้ามาซื้อมากที่สุด หรือสินค้าแบบไหนที่คนเข้ามาดูแต่ไม่ซื้อ เพื่อปรับปรุงกันต่อไป


Credit: medium.com/@kittypunkz

ข้อดีข้อเสียของ WooCommerce คืออะไรบ้าง?

เคยสงสัยกันไหมทำไมเว็บไซต์ E-Commerce บ้านเราทำไมมีเยอะแยะเต็มไปหมด แล้วเขาสร้างมันขึ้นมากันได้ยังไง มันไม่ใช้เรื่องง่ายเลยที่จะพัฒนาระบบขึ้นมาระบบหนึ่ง บางเจ้าถึงกับไปต้องไปฝากร้านกับ lnwshop เนื่องจากจัดการสินค้าและข้อมูลง่าย แต่จะดีกว่าไหมถ้าเราสร้างมันขึ้นมาเองง่าย ๆ แบบคนไม่รู้ Code เลย ไม่ได้บอกว่า lnwshop ไม่ดีนะ เพียงแค่ Concept Blog นี้จะพาไปสร้างมันขั้นมาเอง

เพราะ Woocommerce เป็น Plugin ของ WordPress และ Plugin นี้มืออาชีพมาก เหมือนตีบวก +10 ให้กับตัว WordPress เลย การติดตั้งก็เหมือนเราติดตั้ง plugin ทั่วไปที่มีใน WordPress เลย

ทำไมเราถึงใช้ Woocommerce ?

WordPress + Woocommerce เป็นที่นิยมมากในการพัฒนาเว็ปไซต์ E-Commerce ในปัจจุบัน เพราะติดตั้งง่ายและมีครบทุกอย่าง ทั้ง ระบบจัดการสมาชิก ระบบจัดการสินค้า ระบบ shipping และหลากหลาย เราติดตั้งเจ้าตัวนี้ไปแทบจะไม่ต้องไปแก้ไขอะไรให้มาก เพราะมีพร้อม ก็อยู่ที่เราแล้วแหละว่าจะใช้มันเป็นหรือเปล่า

Woocommerce ไม่ได้รองรับทุก Theme ซะทีเดียว

เห็นหัวข้อของ Paragraph หลายคนที่ทำ WordPress อยู่ก็อาจบอกไม่จำเป็นแค่เอาหน้าไปแทรกแค่นั้นปรับแต่งหน่อยก็ใช้งานได้แล้ว แต่ถ้าเราต้องใจจะเปิดร้านออนไลน์ทำไมไม่หา Theme ที่มันเฉพาะทางเลยละ ดีกว่าไปหมดพลังงานชีวิตไปปรับแต่งเยอะแยะ ซึ่ง wordpress ก็มี theme พวกนี้มากมายทั้ง Free และ เสียเงิน แต่ถ้าใครอยากทดลองสร้างดู แนะนำลองใช้ Theme Storefront ดู เพราะทาง Woocommerce เข้าได้พัฒนามันขึ้นมาเลย

จุดแข็งจุดอ่อนของ Woocommerce

จุดแข็ง

อย่างแรกคือ มัน Free อ่านไม่ผิด เพราะมันฟรี เราสามารถโหลดใช้ Free ได้เลย Woocommerce

และที่เด่นต่อไปมีระบบมากมายให้เราใช้งาน เช่น ระบบจัดการสมาชิก ระบบตะกร้าสินค้า คูปองส่วนลด ระบบ Stock สินค้า ระบบจัดการ ORDER ส่งข้อความหาลูกค้าแต่ละคน ติดตามสถานะการสั่งซื้อ Gallery สำหรับสินค้า คำนวณภาษี รองรับการจ่ายเงินหลายประเภท ขายสินค้าที่มีตัวเลือก ระบบ shipping พูดซะยาวของแบบนี้สิบปากว่าไม่เท่าลงมือทำ อ่าน Blog ต้องลองไปเล่นแล้ว

จุดอ่อน

ไม่สามารถ ปริ้นสลิปบิลออกมาได้ ซึ่งร้านบางร้านก็ต้องการใช้ระบบนี้ที่เป็นรูปแบบ PDF หรือ อย่าง Woocommerce ยังทำไม่ได้ และอีกอย่างก็คือ ไม่มีตัวแจ้งชำระเงิน แต่ก็ไม่ถือว่าเป็นจุดอ่อนหรอกเพราะ Woocommerce เป็นของต่างชาติ แต่ก็มีคนไทยที่พัฒนาตัว Plugin ตัวนี้ขึ้นมา Seed Confirm Pro อาจจะหาไม่เจอเราต้องเข้าไปซื้อ Seed Themes บอกเลยซื้อจากที่นี่ดีที่สุด เพราะสามารถคุยสอบถามหลังซื้อได้ และตอบเร็วมาก

อ้าว ถ้ามันดีขนาดนี้ก็เปิดแข่งกับ Lazada ได้เลยดิ

ถ้าใครกำลังเอา Woocommerce ไปแข่งกับ Lazada ล้มเลิกความคิดแล้วเอาเวลาไปศึกษา WordPress ดีกว่าเพราะมันไม่มีความใกล้เคียงที่จะแข่งกันได้เลย เพราะ Woocommerce เหมาะสำหรับเปิดร้านส่วนตัวมากกว่าที่จะให้คนอื่นมาเปิดร้านได้


Credit: medium.com

WordPress E-Commerce Plugins ตัวไหนชนะเลิศ

ถ้าพูดถึงการสร้างเว็บไซต์ร้านค้าออนไลน์ หรือเว็บไซต์ E-Commerce หลายๆ ท่านอาจจะนึกไปถึงเว็บสำเร็จรูปอย่าง Weloveshopping อันโด่งดัง หรือ Lnwshop ที่กำลังมาแรง ไม่ก็จัด CMS Shopping Carts งามๆ ไปเลยด้วย OpenCart, PrestaShop, Magento หรือจะเลือก Joomla + VirtueMart ไปจนถึงการจ้างเขียนขึ้นมาเฉพาะ แล้วแฟนพันธุ์แท้ WordPress ล่ะ นอกจากเขียนบล็อกแล้วขายของด้วยได้มั้ย ข่าวดี! ทำได้สิจ๊ะ

WordPress ไม่ใช่แค่บล็อกอัจริยะ แน่นอนไอ้เจ้า WordPress นี้ มันสามารถสร้างเว็บร้านค้าออนไลน์ได้ด้วย เพราะมีผู้ช่วยอย่าง plugins และ themes เทพๆ อยู่มากมายบนโลกใบนี้ และด้วยความเยอะ วันนี้เราจะขอเลือกผู้เข้ารอบมาประเมินด้วยกัน 3 ตัว คือ

WordPress E-Commerce Plugins
1. WP Marketplace
2. WP eCommerce
3. WooCommerce

ผลการประเมินออกมาดังนี้…

wp-ecommerce-plugin-evaluation2

 

สภาพแวดล้อมการประเมิน

* Marks : วิจารณญาณและความคิดเห็นส่วนตัวจากประสบการณ์ทำงานในสายงาน E-Commerce
* Hosting : ทดสอบบน localhost ด้วย XAMPP – อ่านวิธีการติดตั้ง WordPress บน localhost (XAMPP)
* Software : WordPress 3.9.1 (ยกเว้น WP Marketplace ใช้ WordPress 3.8.1)
* Theme : ทดสอบเบื้องต้นกับ WordPress Default Theme: Twenty Twelve
* Plugin : ประเมินจาก default ของ plugin ที่ยังไม่รวม add-on
* Target : ประเมินโดยอิงกับพฤติกรรมผู้ซื้อชาวไทยส่วนใหญ่
* Date : 5 มิถุนายน 2014

ผลสรุป

เมื่อลองใช้งานดูเบื้องต้นแล้วขอยกย่องให้ WooCommerce เป็นผู้ชนะ ทั้งฝั่ง admin และฝั่ง user (ผู้ซื้อ)
และขอเสริมว่าเท่าที่เจอ WordPress Theme มาเยอะมาก ส่วนใหญ่จะเห็นคำว่า “compatible with WooCommerce” แสดงว่าได้รับความนิยมเยอะอยู่ จำนวนการดาวน์โหลดก็แซงเค้าหมด …เมื่อมีคนใช้เยอะ แน่นอนว่าเราจะหาข้อมูล support ได้เยอะ มีการต่อยอดและพัฒนาไปอีกไกลสำหรับยี่ห้อ Woo

ทั้งนี้การจะเลือกใช้ WordPress E-Commerce Plugins ตัวไหนก็ต้องขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของเว็บไซต์และความชอบความถนัดของคนทำเว็บด้วย ยังมี Shopping Cart อีกหลายตัวที่น่าใช้ทั้งฟรีและเสียเงิน สรุปแล้วตัวไหนที่เหมาะกับเรา “ต้องลองเองถึงจะรู้”

 


Credit: www.webmonsterlab.com

เปลี่ยน wordpress ให้เป็นร้านค้าออนไลน์ด้วย “wp e-Commerce”

บทความนี้เหมาะสำหรับคนที่รู้จัก wordpress หรือใช้งาน wordpress เป็นบ้างแล้ว เช่นติดตั้งปลั๊กอินได้ เป็นต้น ส่วนใครที่เป็นมือใหม่ ไม่เคยรู้จัก wordpress ไม่รู้ว่า wordpress คืออะไร ใช้งาน wordpress ไม่เป็น ก็แนะนำให้ลองศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับ wordpress  ในบทความอื่นๆ ก่อนนะครับ 

ที่นี้มีหลายคนคงจะรู้ดีว่า wordpress มันคือ Blog ใช้ทำเว็บ blog ทั่วไปจะสามารถนำมาทำเป็นร้านขายของออนไลน์ หรือที่เรียกอีกอย่างนึงว่า เว็บ e-Commerce ได้ด้วยหรอ อยากจะตอบอย่างนี้ครับว่า ความสามารถของ wordpress นั้นเราสามารถทำให้มันเป็นเว็บอะไรก็ได้เท่าที่เราต้องการ ส่วนวิธีที่ผมจะเขียนต่อไปนี้เป็นวิธีที่ใช้ Plugin เข้ามาช่วยครับ (wordpress มีทีเด็จตรง plugin นี่และ) เพราะมันเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดแล้ว และบางคนอาจจะสงสัยว่าแล้วจะใช้ Plugin ตัวไหนละในเมื่อ plugin ที่เกี่ยวกับ e-Commerce นั้นมีตั้งหลายตัว อยากจะตอบอย่างนี้ครับว่า plugin e-Commerce เท่าที่ผมเคยลองใช้และลองทดสอบมา ตัวที่ผมจะแนะนำต่อไปนี้เป็นตัวที่ใช้งานง่ายน่าจะที่สุดแล้ว และที่สำคัญฟรีด้วย

Plugin ตัวนี้ชื่อว่า “WPe-Commerce” เวลาค้นหาให้ดูชื่อดีดีนะ เพราะมีตัวซ้ำกันเยอะ เลือกตัวที่ชื่อตรงที่สุด

นี่คือหน้าตาของ WP e-Commerce เป็นหน้าที่แสดงสินค้าของเราทั้งหมดว่ามีอะไรบ้าง ราคาเท่าไหร่ เป็นต้น เราสามารถเพิ่มสินค้าได้ตามต้องการ ส่วนรูปด้านล่างนี้คือหน้าที่เรา ใส่รายละเอียดสินค้า ใส่ชื่อสินค้าได้ รายละเอียดของสินค้า ใส่รูปสินค้า กำหนดราคาของสินค้า เป็นต้น

หลังจากเราใส่รายละเอียดของสินค้าเสร็จทั้งหมดแล้วพอกดเผยแพร่แล้ว ก็จะได้หน้าตาของหน้า แสดงสินค้าออกมาแบบนี้ บางคนอาจจะคิดว่าไม่เป็นสวยเลย ความสวยขึ้นอยู่กับธีมที่เราใช้ครับ…อันนี้มันเป็นธีมธรรมดา ถ้าอยากให้ดูเลิศก็ ต้องเลือกธีมดีดีครับ… และแถมยังมีปุ่ม “Add To Cart” อีกนะ เวลามีลูกค้าเข้ามาที่เว็บเราแล้วสนใจสินค้าก็แค่กดปุ่ม “Add To Cart” แค่นี้สินค้าก็จะลงไปอยู่ในตระกร้าแล้ว ดังเช่น รูปด้านล่างนี้ เห็นไหมว่า มันมีระบบที่แสดงการซื้อสินค้าและ ระบบเก็บเงิน คำนวนเงิน ให้พร้อม แถมยังสามารถให้ลูกค้า กรอกที่อยู่เพื่อจัดส่งสินค้าได้อีกด้วย

ข้อดีของปลั๊กอินตัวนี้ WP e-Commerce 
  • ง่ายต่อการติดตั้งเวิร์ดเพรสปลั๊กอิน
  • ทำงานร่วมกับทุกมาตรฐานตาม theme WordPress
  • เล่นได้ดีกับปลั๊กอินอื่น ๆ
  • สนับสนุนเครื่องมือ WordPress
  • ใช้รหัสย่อและแท็กแม่แบบ (เช่นเดียวกับ WordPress)
  • ทำงาน out-of-the-box กับ WordPress MU

ระบบการชำระเงินมีดังนี้ ถือว่าครบถ้วนเลยทีเดียว

  • ชำระเงินด้วยตนเอง (เช่น โอนผ่านธนาคาร) ก็ปรับแต่งได้
  • มาตรฐานการชำระเงิน PayPal
  • วิธีการชำระเงิน PayPal Pro
  • ชำระเงินด่วน PayPal
  • Google Checkout

ลูกเล่นบริการเสริมของร้าน

  • มีระบบคูปอง / ส่วนลดต่างๆ
  • ขายเฉพาะสินค้า (เลือกสินค้าที่เด่นชัดหรือสินค้าที่มีจำนวนจำกัดได้)
  • ส่วนลดปริมาณ (ซื้อเยอะก็ได้ส่วนลดเยอะ ตั้งค่าได้)
  • ตัวเลือกส่งฟรี
  • การกำหนดราคาแบบหลายชั้นสำหรับส่วนลดปริมาณ

ระบบการส่งสินค้า

  • รวมกับ UPS, USPS, ออสเตรเลียโพสต์และ Shipwire สำหรับเวลาจริงอัตราค่าจัดส่ง
  • มีความยืดหยุ่นในตัวเครื่องคิดเลขอัตราค่าจัดส่ง (ระบบคิดค่าส่งอัตโนมัติ)
  • ประเทศและทั่วโลกอัตราค่าจัดส่ง (ตั้งค่าได้ว่าจะบริการส่งประเทศไหนบ้าง)
  • การจัดส่งสินค้าอัตราเรด (ตั้งค่าได้ว่าซื้อราคานี้ขึ้นไป จัดส่งฟรี)
  • การจัดส่งสินค้าอัตราจำนวน (ตั้งค่าได้ว่าซื้อจำนวนเท่านี้ขึ้นไปจัดส่งฟรี)
  • การจัดส่งสินค้าอัตราน้ำหนัก

ระบบการจัดการของ Admin หรือผู้ขาย อันนี้ดีมาก

  • แดชบอร์ดผู้ดูแลระบบสำหรับภาพรวมยอดขาย แสดงสถิติการขายได้
  • ส่งออกข้อมูลการสั่งซื้อและข้อมูลลูกค้าในรูปแบบที่ CSV, Excel สามารถโหลดมาเก็บไว้ในเครื่องได้ด้วย
  • ประวัติการสั่งซื้อที่มีป้ายชื่อสำหรับสถานะประมวลผลคำสั่ง (แสดงสถานะได้ว่า ลูกค้าชำระเงินหรือยัง สินค้าจัดส่งไปหรือยัง เป็นต้น)
  • การแจ้งเตือนอีเมลของคำสั่ง (ตั้งค่าระบบแจ้งเตือน Email ให้ลูกค้าได้)
  • พิมพ์ใบแจ้งหนี้ ต่างๆ

นี่คือข้อมูลรายละเอียดความสามารถส่วนหนึงของ Plugin WP e-Commerce เท่านั้น ยังมีรายละเอียดอีกเยอะมากแต่ขี้เกลียดพิพม์แล้ว สำหรับบทความนี้ไว้แค่นี้ก่อนแล้วกัน ในบทความต่อไปผมจะมาบอกเล่าวิธีติดตั้งและวิธีตั้งค่าเจ้า Plugin WP e-Commerce ตัวนี้กัน

แต่ถ้าใครสนใจอยากจะลองทำเองดูก่อนก็สามารถโหลดมาติดตั้งได้ โหลดปลั๊กอินตัวนี้ที่ http://wordpress.org/extend/plugins/wp-e-commerce/


Credit: nampheung.com

ทำไมเว็บไซต์ E-Commerce ควรใช้ WordPress มากที่สุด

อีคอมเมิร์ซ (E-Commerce) เติบโตอย่างก้าวกระโดดในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นก้าวกระโดดที่สามารถพลิกธุรกิจให้เหมือนเสือติดปีก หรือเป็นได้แค่หงษ์ปีกหักได้ในเวลาอันรวดเร็ว ปัจจุบันสัดส่วนของเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ (E-Commerce) อยู่ที่ 45.4% ของจำนวนเว็บไซต์ทั้งหมด ซึ่งในปี 2017 หรือ 2560 คาดว่ายอดขายจากอีคอมเมิร์ซ (E-Commerce) ทั่วโลกจะอยู่ที่ 2.2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นสัดส่วน 8.2% จากยอดขายปลีกทั่วโลก ซึ่งเป็นตัวเลขที่เติบโตอย่างมีนัยสำคัญมากๆครับ ดังนั้นเราไม่ต้องสงสัยเลยว่าธุรกิจออนไลน์ หรืออีคอมเมิร์ซ (E-Commerce) จะมีบทบาทและอิทธิพลต่อการทำธุรกิจต่อไปในอนาคตอย่างแน่นอน

แล้วเทคโนโลยี หรือ Platform อะไรที่มีชื่อเสียงที่สุดในวงการทำเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ (E-Commerce)

ผู้นำในตลาด E-Commerce ก็คือ WooCommerce มีสัดส่วนคิดเป็น 42% ลองลงมาคือ Magento มีสัดส่วน 13% เท่ากับ Shopify ที่ 13% เช่นเดียวกัน นอกนั้นมีสัดส่วนไม่ถึง 10% คงไม่ต้องสงสัยว่า WooCommerce จะครองอันดับหนึ่งได้ในเวลาอันรวดเร็ว และทิ้งห่างจาก Platform อื่นๆอย่างไม่เห็นฝุ่น

เทคโนโลยีการพัฒนาเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซที่ได้รับความนิยมสูงสุด

เว็บไซต์ที่พัฒนาด้วย WooCommerce มากถึง 617,027 เว็บไซต์ ซึ่งเป็นที่นิยมสูงสุด โดยจากสองภาพด้านบนเราได้ยกตัวอย่างเฉพาะเว็บไซต์ที่พัฒนาด้วยโครงสร้างของระบบ CMS (Content Management System) ซึ่งถือว่ามีประสิทธิภาพในการไต่อันดับ หรือทำอันดับ SEO ได้รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพสูง นอกจากนี้ยังสามารถสร้างหรือพัฒนาเว็บไซต์ระบบอีคอมเมิร์ซ (E-Commerce) ได้ในเวลาอันรวดเร็ว และจะขยายขีดความสามารถเพิ่มเติมได้อย่างไม่จำกัด มี Web Hosting รองรับมากมายในราคาถูกมากๆ ต่างกับการเขียน Code ขึ้นมาเองใหม่หมดตั้งแต่บรรทัดแรก ซึ่งใช้เวลานานกว่า และยังมีช่องโหว่มากมายเพราะมีนักพัฒนาไม่กี่คน และไม่ค่อยพัฒนาหรือแก้ไขช่องโหว่อย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกับระบบ CMS (Content Management System)

และที่ผมตั้งชื่อเรื่องไว้ว่า ทำไมเว็บไซต์ E-Commerce ควรใช้ WordPress มากที่สุด ก็เพราะว่า WooCommerce นั้นเป็น Plugin ส่วนเสริมความสามารถด้านอีคอมเมิร์ซ (E-Commerce) ให้กับ WordPress นั่นเอง ซึ่งทั้งหมดเป็น Open Source ฟรีทั้งสองระบบครับ ทำให้ต้นทุนในการพัฒนาเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ (E-Commerce) ของเราต่ำมากเมื่อเทียบกับการจ้างเขียน Code ด้วยภาษาต่างๆขึ้นมาใหม่ นอกจากนี้ WordPress ยังมีส่วนแบ่งตลาดหรือ Market Share ที่ 25% จากเว็บไซต์ที่พัฒนาทั่วโลกและทุกระบบ และคิดเป็น 67% เมื่อเทียบกับเว็บไซต์ในระบบ CMS ทั้งหมด ด้วยความนิยมขนาดนี้ทำให้เรามั่นใจได้ว่าระบบอีคอมเมิร์ซ (E-Commerce) ของ WooCommerce จะต้องได้รับการพัฒนาต่อยอดไปเรื่อยๆ และมีคุณสมบัติที่ได้มาตรฐานยิ่งๆขึ้นไปอีกอย่างแน่นอน เราในฐานะคนใช้งานก็อุ่นใจ ไม่ต้องร้อนๆหนาวๆกับบรรดาโปรแกรมเมอร์ที่เคารพรักว่าจะหยุดพัฒนาหรือหายหน้าหนีเราไปแต่อย่างใด

นอกจากนี้ WooCommerce ในปัจจุบันนั้นใช้งานได้ง่ายกว่าเดิม รองรับสินค้าได้อย่างไม่จำกัด ซึ่งข้อนี้หลายคนที่พัฒนาเว็บไซต์ด้วย Magento จะเถียงว่าไม่จริง WooCommerce นั้นรองรับไม่กี่สินค้าก็หนักและช้าแล้ว อย่างไรก็ลองเข้าไปดูข้อมูลใน Google แล้วรองค้นหาข้อมูลดูนะครับ เดี๋ยวนี้ใส่สินค้าเข้าไปเป็นแสนตัวยังรับได้ ขึ้นกับ Server หรือ Hosting ครับ ในทางกลับกัน Magento กลับเริ่มต้นติดตั้งยุ่งยากกว่า และหา Server รองรับได้ทันทีในประเทศไทยไม่มาก และส่วนต่อขยายหรือ Extension นั้นมีน้อยกว่าฝั่ง WordPress เป็นอย่างมาก ราคาก็แพงกว่าด้วยครับ ผมตอบในฐานะที่พัฒนาทั้ง WordPress และ Magento มาแล้ว ถ้าเป็นสมัยก่อนผมยอมรับว่า Magento เหนือกว่าในด้าน E-Commerce จริง แต่ปัจจุบัน WooCommerce ไล่ทันแล้ว ขึ้นอยู่กับความถนัดครับ และข้อมูลที่ปรากฏว่า Platform ไหนคนใช้งานมากที่สุดก็เป็นเครื่องพิสูจน์อยู่แล้วเพราะมันคือ Facts จากทั่วโลกครับ ผมมักจะบอกลูกค้าว่าใช้ WordPress เถอะราคาทำเว็บถูกว่า Magento เยอะ ใช้งานก็ง่ายกว่า และเก่งเรื่องทำ Blog หรือบทความกว่าเยอะมาก และถ้าคุณต้องการระบบ E-Commerce ดีๆ และระบบจัดการ Blog ดีๆ ติด SEO เร็วๆ คำตอบส่วนตัวของผมคือ WordPress ครับ

เจาะลึก WooCommerce สำหรับผู้เริ่มต้น

Woocommerce คืออะไร?

Woocommerce คือ ปลั๊กอินที่ช่วยแปลงร่างเว็บ WordPress ธรรมดาๆ ของคุณให้กลายเป็นเว็บบร้านค้าออนไลน์เต็มรูปแบบ เราสามารถโหลดตัวปลั๊กอินนี้มาใช้ฟรีๆ ได้อีกด้วย และในปัจจุบันจากสถิติเว็บร้านค้าออนไลน์ของทั้งโลก 47% คือเว็บที่สร้างมาจาก Woocommerce

WooCommerce-Stats-2018

ทำไมต้องใช้ Woocommerce?

  1. โหลดมาใช้ได้ฟรี
    ไม่ต้องกังวลเรื่องเงินในกระเป๋า ช่วยให้เราเริ่มต้นสร้างเว็บขายของออนไลน์ด้วยต้นทุนที่น้อยมาก เราสามารถโหลดและติดตั้ง Woocommerce ได้ฟรีๆ
  2. อนาคตสดใส
    เพราะมีคนใช้งาน Woocommerce จำนวนมากกว่า 1 ล้านเว็บไซต์ แถบเจ้าของปลั๊กอินนี้คือบริษัท Automattic ผู้อยู่เบื้องหลัง WordPress.org และ WordPress.com หมดกังวลว่าเขาจะหยุดพัฒนาไปได้เลย เรียกว่าเรายังสามารถเกาะปลั๊กอินตัวนี้ได้อีกนาน
  3. มันใช้งานง่าย
    ไม่ต้องโค้ด ไม่ต้องเป็นโปรแกรมเมอร์ เป็นแค่คนธรรมาดาๆ พ่อค้า แม่ค้าทั่วไปก็สามารถใช้งานได้หมด เหตุผลหลักที่ทำให้ WordPress หรือ Woocommerc มีคนใช้เยอะ เพราะมันง่ายนั้นเอง ตัวอย่างเว็บไซต์ที่สร้างโดยคนธรรมดา มีทั้งแม่บ้าน พ่อบ้าน ผู้สูงวัย สามารถทำเว็บสวยๆ ได้หมดนั้นเอง
  4. มีอุปกรณ์เสริมแต่งเพียบ
    แม้ว่า Woocommerce จะมีฟังชั่นเพียงพอต่อการเริ่มต้นทำเว็บขายของออนไลน์แล้วก็ตาม แต่หากยังรู้สึกว่าไม่พอใจ เราสามารถเพิ่มตัว extensions ได้อีกมากมาย แต่บางตัวอาจไม่ฟรีนะ

 

สิ่งที่ควรรู้ก่อนเริ่มต้นใช้งาน Woocommerce

1.  WordPress และ Woocommerce มีการอัพเดทตลอด

ดังนั้นหากใครมาสายนี้ เมื่อเราทำเว็บเสร็จต้องเรียนรู้วิธีการดูแลเว็บ และการอัพเดทเว็บของเราด้วย

โดยมากส่วนใหญ่คิดว่าทำเว็บเสร็จแล้วปล่อยทิ้งไว้ได้เลย ตรงจุดนี้เป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง เราจำเป็นต้องคอยอัพเดทเว็บอยู่เสมอ เพื่อให้เว็บเราใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และความเสี่ยงของการถูกแฮคเว็บจะน้อยลงด้วย คู่มืออัพเดทธีมและปลั๊กอินยังไงไม่ให้เว็บพัง

ปล. เว็บที่โดนแฮคส่วนมากคือเว็บที่ไม่ยอมอัพเดท หรือเว็บที่ถูกคนทำปล่อยทิ้งไปแล้วนั้นเอง

 

2. โฮสทุกโฮสทำเว็บได้หมด แต่ไม่ทุกโฮสเหมาะกับเว็บ WordPress + Woocommerce

ในฐานะที่ผมทำอาชีพสอนทำเว็บ ในตอนแรกใครบอกว่าที่ไหนดีผมก็ลองไปเช่ามาใช้หมดครับ ทั้งของไทยและต่างประเทศ เพื่อมองหาโฮสที่เหมาะกับมือใหม่ที่สุด

ปัญหาที่เจอของโฮสที่มีชื่อเสียงก็คือเขาจะมีลูกค้าเยอะ เขาจึงค่อนข้างจำกัดการใช้งานของลูกค้าในระดับ Share Host ซึ่งโดยทั่วไปมือใหม่ 90% ก็เริ่มต้นทำเว็บด้วยการใช้โฮส ในระดับ Share host ที่มีราคาถูก นั่นเองในช่วงเริ่มต้น

การถูกจำกัดการใช้งานเท่าที่เคยเจอมา เช่น ลง WordPress เองไม่ได้ อัพเดท WordPress ไม่ได้ จำกัดพวกหน่วยความจำในส่วนของ PHP

สำหรับ Standhost เอง ก็เป็น Hosting ที่เหมาะสมกับการทำ WordPress ครับ 🙂

 

3. ทำเว็บเสกลขนาดไหนเหมาะกับ Woocommerce มากที่สุด

หากเราแบ่งประเภทของเว็บร้านค้า อาจจำแนกได้ 2 ประเภทใหญ่ๆ

1) เว็บร้านค้ารายเดียว ที่ขายสินค้าต่างๆ

2 ) เว็บร้านค้าที่เป็นตลาดกลาง (Market place) ที่เปิดให้ร้านค้าหลายราย มาวางขายสินค้า ตัวอย่างเช่น Lazada, Amazon Kaideeตามหลักการเราสามารถใช้ Woocommerce สร้างเว็บได้ทั้ง 2 แบบ แต่ในการใช้งานทำเว็บจริงๆ ตัว Woocommerce มีโครงสร้างที่เหมาะสำหรับการทำเว็บร้านค้าเดี่ยวๆ มากกว่า ครับ

เพราะเว็บที่เป็น Market place มีความซับซ้อนของระบบมากกว่าหลายเท่า เพราะผู้ขายต้องมีสิทธิเอาสินค้ามาวางขาย และแก้ไขรายละเอียดของตัวเอง เช็คยอดเงิน / การส่งของต่างๆ (ซึ่งต้องกำหนดอีกมากว่า ใครส่ง ด้วยเงื่อนไขไหน ใครรับประกัน)

และยังต้องคำนึงถึงปริมาณของผู้เข้าชมเว็บของเราอีกด้วย การทำเว็บแบบนี้ควรเขียนระบบขึ้นมาเองจะตอบโจทย์มากกว่า ดูกระทู้เพิ่มเติมเรื่องนี้ ได้ที่ สร้างเว็บอีคอมเมิร์ซทำด้วยอะไรดี?

 

การเลือกธีมให้เหมาะกับ Woocommerce

woocommerce theme

จากรูปภาพอธิบายได้ว่า WordPress คือ Platform หลัก แต่ฟังชั่นต่างๆ หรือการปรับหน้าตาเว็บเราจะปรับแต่งผ่านธีมและปลั๊กอิน

90 % ของเว็บ WordPress ที่ทำระบบตระกร้านสินค้าใช้ปลั๊กอิน Woocommerce ในการทำทั้งสิ้น นั้นหมายความว่า หากตัว Woocommerce ออกเวอร์ชั่นใหม่ ระบบต่างอาจมีเปลี่ยนแปลงมากบ้างน้อยมาก ธีมที่ดีต้องมีการอัพเดทให้ใช้งานร่วมกับ Woocommerce ด้วย

  •  ควรใช้พรีเมี่ยมธีม (ธีมตัวเสียเงิน) ธีมฟรีจะมีข้อจำกัดค่อนข้างเยอะ และไม่มีความยืดหยุ่น จะออกแนวเว็บสำเร็จรูป เราไม่สามารถปรับแต่งตามใจ หรือตามไอเดียที่เรามีได้แต่หากเราเลือกใช้ธีมตัวเสียเงิน อารมณ์การใช้งาน จะเปรียบเหมือนเราซื้อตัวต่อเลโก้ เราซื้อ 1 ธีม เราก็จะได้ชิ้นส่วนมา 1 ถุง หน้าที่ของเราคือเอาชิ้นส่วนเหล่านั้นมาประกอบเป็นเว็บให้มีหน้าตาแบบใดก็ได้ ตามไอเดียของเราได้หมด เหมือนกับเราต่อตัวต่อเลโก้ให้มีรูปร่างอะไรก็ได้นั้นเอง
  • มีการอัพเดทอยู่เสมอ ธีมที่ดีควรมีการอัพเดทล่าสุดให้สามารถใช้งานบน WordPress เวอร์ชั่นล่าสุดอยู่เสมอ
  • อัพเดทตาม Woo เวอร์ชั่นล่าสุด (ver.3+)
  • มียอดขายพอสมควร ทุกคนสามารถทำธีมแล้วเอาไปลงขายที่ ThemeForest ได้หมด แต่ไม่ใช่ทุกธีมที่วางขายบน ThemeForest แล้วจะขายดี ในหลายๆ ธีมหากไม่ค่อยมียอดขาย ผู้สร้างธีมมักหยุดพัฒนาธีม หรืออัพเดทธีมในรองรับ WordPress และ Woocommerce เวอร์ชั่นใหม่ๆ หากเราใช้ธีมนั้นๆ ต่อไป ก็มีความเสี่ยงสูงว่าเว็บเราจะใช้งานไม่ได้เมื่อมีการอัพเดทนั้นเอง
  • มีคลิปสอนการ setup ธีม บน YouTube การทำเว็บ WordPress นั้นไม่ยาก เราไม่ต้องเขียนโค้ด แต่มันก็ไม่ง่าย เพราะมันมีรายละเอียดที่เยอะมาก และแต่ละธีมมีการ Setup ที่ไม่เหมือนกันเลย หากเราจะซื้อธีมไหน ลองเอาชื่อธีมนั้นไปเสริจหาบน Youtube ดู ถ้าธีมนั้นมีคลิปสอน ก็จะช่วยให้เราเรียนรู้การทำเว็บได้เร็วขึ้นนั้นเอง
  • มี Facebook Group ช่วย ถาม-ตอบ ในบางธีม เขาจะสร้าง Facebook Group เพื่อคอย Support คนที่ใช้ธีมเดียวกัน ติดขัดตรงไหนเราก็สามารถไปตั้งกระทู้ถามได้เลย แต่มีแค่บางธีมนะที่มี
  • แหล่งซื้อธีมคุณภาพ themeforest.net

บทสรุป สอน Woocommerce

Woocommerce คือปลั๊กอินสร้างระบบร้านค้าออนไลน์ ที่ช่วยให้คนธรรมดา เริ่มต้นสร้างเว็บขายของด้วยตนเองได้ และเป็นที่นิยมมากที่สุดในโลก ถึงแม้ว่าเขาจะใช้งานง่าย แต่ในความง่ายก็ยังมีรายละเอียดอีกพอสมควร หากเราพื้นฐานไม่ดี จากเรื่องง่ายๆ อาจกลายเป็นเรื่องยากได้นั้นเอง

 


ขอบคุณที่มา: padveewebschool.com

สุดยอด 5 ปลั๊กอินในการสร้างเว็บไซต์ e-Commerce ด้วย WordPress

10 ที่ดีที่สุดของปลั๊กอิน e-Commerce WordPress ที่ดีที่สุด S

1 WP e-Commerce

ปลั๊กอิน WordPress, WP-e-Commerce-eCommercepour

WP e-Commerceเป็นปลั๊กอินอีคอมเมิร์ซ WordPress ตัวแรกของโลก มีคุณสมบัติหลากหลาย คุณยังสามารถซื้อ Add-on เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับร้านค้าของคุณได้

คุณลักษณะปลั๊กอินอย่างย่อ

  • ดาวน์โหลดได้ฟรีและทำงานได้ดี
  • รหัสคูปอง
  • ตัวเลือกการจัดส่งฟรี
  • โปรโมชั่นในหลาย ๆ หน้า
  • ผลิตภัณฑ์ใหม่ Widget
  • การบูรณาการวิธีการชำระเงิน e-Commerce
  • ยอมรับ Paypal
  • และอื่น ๆ …

 

2 WooCommerce

WordPress ปลั๊กอินสำหรับ WooCommerce - อีคอมเมิร์ซ

WooCommerce. เป็นปลั๊กอินอีคอมเมิร์ซที่ใช้มากที่สุดใน WordPress เพื่อสร้างเว็บไซต์ขายออนไลน์ ไม่เพียง แต่เป็นอิสระ แต่เป็นเรื่องง่ายที่จะใช้สำหรับร้านค้าออนไลน์และลูกค้า เราได้เขียนที่ยอดเยี่ยม เกี่ยวกับการสอน เพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนี้ อีคอมเมิร์ซ มืออาชีพมาก: วิธีการติดตั้งและกำหนดค่า WooCommerce.

สรุปคุณสมบัติสำหรับตัวเลือกฟรี

  • ตะกร้าสินค้า
  • การจัดการสินค้าและสต็อกง่ายพอ
  • จัดการคำสั่งซื้อ
  • การจัดการสินค้าคงคลัง
  • รายงานการขาย
  • บัญชีลูกค้า
  • การควบคุมของการจัดส่ง
  • Paypal บัญชีธนาคาร
  • การจัดส่งอัตโนมัติของไฟล์ที่ดาวน์โหลด
  • และอื่น ๆ …

 

3 Jigoshop

WordPress ปลั๊กอินสำหรับ Jigoshop อีคอมเมิร์ซ

ปลั๊กอิน WordPress Jigoshop มีทุกสิ่งที่คุณต้องการเพื่อเริ่มต้นร้านค้าบนอินเทอร์เน็ต ฟรีและมีไลบรารีของส่วนขยายฟรี นอกจากนี้คุณมีความเป็นไปได้ที่จะซื้อธีมพิเศษที่ปรับเปลี่ยนได้ ดาวน์โหลด

คุณสมบัติอย่างย่อ

  • ยอดขายรายละเอียดของรายงาน
  • เครื่องมือและย่อ
  • หน้าเว็บของ paiements
  • การจัดการสินค้าคงคลัง
  • นำเข้า / ส่งออกสินค้า
  • ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการแสดงผล
  • การชำระเงิน PayPal
  • และอื่น ๆ …

 

4 eShop

WordPress ปลั๊กอินสำหรับ eshop - อีคอมเมิร์ซ

มีดาวน์โหลดกว่าครึ่งล้านดาวน์โหลดฟรีปลั๊กอิน WordPress eShop เป็นโซลูชั่นที่สมบูรณ์แบบสำหรับร้านค้าทุกคนที่ต้องการที่จะขายสินค้าออนไลน์ของพวกเขา มันเป็นเรื่องง่ายที่จะติดตั้งและเป็นอย่างเข้ากันกับ WordPress ดาวน์โหลด

คุณสมบัติอย่างย่อ

  • บัญชีลูกค้า
  • หลายตัวเลือกสำหรับผลิตภัณฑ์
  • ขายดาวน์โหลดเนื้อหา
  • รายงานการขาย
  • การจัดการสินค้าคงคลัง
  • ตัวเลือกการชำระเงินหลาย

 

5 MarketPress

WordPress ปลั๊กอินสำหรับ MarketPress - อีคอมเมิร์ซ

นี่เป็นคู่แข่งที่ร้ายแรงของ WooCommerce. ปัญหาเดียวคือคุณต้องมีพื้นฐานในภาษาอังกฤษ เนื่องจากไม่มีภาษาไทยให้ใช้

คุณสมบัติอย่างย่อ

  • การขายผลิตภัณฑ์ทางกายภาพ
  • ยอดขายของผลิตภัณฑ์ดิจิตอล
  • จัดการคำสั่งซื้อ
  • การจัดการสินค้าคงคลังที่มีการแจ้งเตือน
  • รองรับเกตเวย์การชำระเงินที่สำคัญทั้งหมด
  • รองรับทุกสกุลเงินหลัก
  • และอื่น ๆ อีกมากมาย …

ขอบคุณที่มา th.blogpascher.com/

10 ข้อห้าม ในการทำ SEO

10 ข้อห้าม ในการทำ SEO หากคุณเผลอทำไป แก้ไขอะไรได้ก็รีบแก้ซะนะครับ ก่อนนะโดนเก็บนะครับ

1. ห้ามโกง Search Engine  ในทุกๆ วิธี จะทำอะไรก็ทำแต่ พองาม นะครับ บาง คนอาจจะบอกว่า “ก็มันติดหน้าแรกเร็วนี่” เคยได้ยินคำว่า มาไวไปไวมั้ยล่ะครับ โดนแบนมาเมื่อไหร่อย่าหาว่าผมไม่เตือนนะ อยากให้จำสุภาษิตนึงไว้ว่า “ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน” อย่าหลงเข้าไปอยู่ในด้านมืดของ SEO นะครับ

2. อย่าให้เห็นนะว่า link ไหนเข้าไม่ได้  การทำมี link ตัวไหนซักตัว นี่ก็เป็น ผลเสียของ SEO เช่นกันครับ เพราะ บรรดา Search Engine จะมองว่า เว็บที่มี link เสีย หรือที่เรียกกันว่า Broken Link นั้นเป็นเว็บไม่มีคุณภาพ ไม่นาเชื่อถือ เอาล่ะว่าแล้วก็รีบเช็คกันเลยนะครับ เช็ค Broken Link

3. Hosting ที่ให้บริการมีคุณภาพต่ำ  เรื่องนี้ก็เห็นใจนะครับ เพราะปรกติ เราจ่ายค่าโฮสเป็นรายปี ก็ใช้ไปแล้วนี่เนอะ อืม…อยากบอกว่า ถ้าเปลี่ยนได้ก็เปลี่ยนเถอะครับ เพราะ อยากให้คุณลองวัดที่ตัวคุณเองดูว่าเวลาเข้าเว็บไหน ที่มันโหลดนานๆ คุณจะอยากเข้ามั้ย หรือ เข้าเว็บไหน แล้วมันกลายเป็น Page Not Found คุณจะกลับมาเข้าเว็บนี้อีกมั้ย และ ก็จงอย่าแปลกใจเลย หาก คุณทำ SEO ขั้นเทพแล้ว เว็บยังไม่ติดอันดับ ซักที อาจเป็นเพราะ บอท มันมาเจอคำว่า Page Not Found ตอนมาเว็บคุณก็เป็นได้

4. link ไปเว็บที่เนื้อหาไม่สอดคล้องกับเว็บเรา  เนื้อหาเว็บ กับเว็บที่เรา link ไปหาก็เกี่ยวเหมือนกันนะครับ เพราะ Google panda Algorithm นอกจากจะวัดคุณภาพจากเนื้อหาในเว็บของคุณแล้ว ยังวัดจาก link ที่ไปจากเว็บของคุณด้วยเช่นกัน จะแลก link กับเว็บไหนจะดูแต่ PR ไม่ได้นะครับ ต้องดูเนื้อหาเว็บด้วยครับ

5. link เข้ามามากผิดปรกติ  คุณเป็นคนนึงหรือป่าวที่ submit directory ที่เดียว 500 กว่าเว็บ Google คงไม่ปลื้มแน่ถ้าเห็นเว็บไหนทำแบบนี้ เรียกว่าไม่เนียน เอาซะเลย ค่อยๆ ทำดีกว่าครับ เนียนๆ ดูเป็นธรรมชาติ อยากให้จำสุภาษิตนึงไว้ (อีกแระ) ว่า “ช้าๆ ได้พร้าเล่มงาม” วันนึง 10 เว็บ 20 เว็บ ก็พอแล้วครับค่อยๆ นะ ค่อยๆ อ้อ !! อีกเรื่องครับ เว็บที่ link เข้ามาต้องเป็นเว็บที่เนื้อหาสอดคล้องกับเว็บคุณเหมือนกันนะครับ

6. อย่าทำ Gray SEO อย่างน่าเกลียด  คำพระสอนไว้ว่าให้เดินสายกลาง เราก็ทำ SEO กันแบบสีเทาๆ เหอๆ เค้ามี สายขาว กับ สายดำ เราสายเทา ว่างั้น อืม…บาปเบาๆ ทำบ่อยๆ มันก็เป็นบาป หนักได้เหมือนกันนะครับ เพราะ ฉะนั้น Gray SEO ถ้าเราคิดว่าเฮ้ย “ไม่เป็นไร” แล้วอัดมันทุกวันล่ะก็ มันก็จะกลายเป็นเหมือนกับคุณกำลังทำ Black SEO อยู่ แล้วก็รอวันโดนแบนได้เลยล่ะครับ

7. ทำตัวเป็นโจรขโมยเนื้อหา  นอกจากจะบาป แล้ว คริสต์ก็ผิดพระบัญญัติข้อ 8 ทาง พุทธก็ผิดศีลข้อ 2 ทาง Search Engine ก็มองว่าคุณ Duplicate Content อีกด้วย ผมเคยพูดถึงเรื่องนี้ในบทความ Google panda คืออะไร Duplicate Content คือ การก็อปปี้ หรือ ขโมย เนื้อหาข้อมูลมากจากเว็บไซต์อื่นๆ มาเว็บในเว็บของคุณเอง Google ก็จะมีหน้าที่เป็นตำรวจมาจับขโมยนั่นเอง

8. ทำ Cloaking  เหอๆ จะกลายเป็นบทความศาสนา แล้วมั้ง ก็คือ ข้อนี้บาปครับ และ นอกจากนี้ ทาง Search Engine ก็มองว่าเว็บคุณไม่ดีด้วย การทำ Cloaking การทำหน้าเว็บเพื่อหลอก Bots หรือ Crawler ของ Search Engine โดยทำเพื่อให้เว็บติดอันดับอย่างรวดเร็ว ครับ เหมือนกับการโกหก แหละครับ บาปกรรม นะ

 

9. หลีกเลี่ยงโปรแกรมช่วยทำ SEO ใครมาชวนให้ลองบอกไปเลยว่าไม่ เพราะ Search Engine เค้าฉลาดนะ จับได้หมดแหละครับอย่าพยายามเลย ไอ้วิธีนี้อ่ะไม่ได้ผลหรอกครับ เข้าข่าย ข้อ1 โกง Search Engine นะครับ

10. การทำ Redirects   มาถึงข้อนี้อาจมีคนท้วงผมครับว่า “จำได้นะว่าเคยให้ทำ แนะนำไว้ในบทความที่ชื่อว่า 18 สิ่งง่ายๆเกี่ยวกับ SEO ที่นักพัฒนาเวปไซท์มักจะมองข้ามไป” ใช่ครับผมเคยบอกไว้ การทำ Redirect นั้นควรทำแต่ต้องทำอย่างถูกวิธีครับทำได้แค่วิธีที่ชื่อว่า 301 redirect เท่านั้นครับ ถ้าเป็นประเภท <META HTTP-EQUIV=’Refresh’ อะไรแบบนั้น อย่าครับ ห้ามเด็ดขาด


 

ขอบคุณข้อมูลดี ๆ จาก โฮสอะตอม ครับ

วิธีทำ HTTPS สำหรับบริการโฮสติ้งของ Standhost

ขั้นตอนการติดตั้ง Let’s Encrypt SSL Certificate

ทุกๆ เว็บไซต์จะสามารถขอ SSL Certificate มาติดตั้งได้ฟรีโดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น ประสิทธิภาพการเข้ารหัสสามารถทำได้ดีไม่แตกต่างจาก SSL Certificate ที่มีขายแบบปกติ เริ่มติดตั้งโดยการ Login เข้าสู่ DirectAdmin Control Panel ของเราครับ

1. เลือกเมนู Domain Setup เพื่อเปิดใช้งาน SSL Certificates

domain setup

2. คลิกโดเมนที่ต้องการ

ตั้งค่าโดเมน

3. ติ๊กเลือกเมนู Secure SSL จากนั้นคลิก Save จากนั้นตรวจสอบในส่วนของ private_html setup ว่าได้ติ๊กเลือกเมนู Use a directory named private_html เรียบร้อยแล้ว

check ssl

4. กลับไปที่หน้า Home ของ DirectAdmin ในส่วนของเมนู Advanced Features คลิกเลือก SSL Certificates

advanced features

5. ติ๊กเลือกเมนู Use the server’s shared signed certificate. จากนั้นเลือก Free & automatic certificate from Let’s Encrypt

6. ระบุข้อมูลส่วนตัวตามช่องรายละเอียดดังภาพ จากนั้นคลิก Save ด้านล่างสุด

Let's Encrypt free ssl

7. ระบบได้ยื่นคำขอไปยัง Let’s Encrypt และบันทึก Certificate and Key ไว้บน Server เรียบร้อยแล้วครับ

ssl success

เมื่อเราติดตั้ง Let’s Encrypt SSL Certificate ลงในโดเมนของเราเรียบร้อยแล้ว แต่เว็บของเรามันยังไม่เป็น HTTPS นะครับ ซึ่งขั้นตอนต่อไป ผมจะมาแนะนำการทำเว็บ WordPress ของเราให้เป็น HTTPS ไปดูกันเลย ^_^

การทำเว็บให้เป็น HTTPS มีอยู่ด้วยกัน 2 กรณี คือ
  1. ทำกับเว็บใหม่เลย แบบนี้ก็จะง่ายเลยไม่ซับซ้อน
  2. ทำกับเว็บเดิมที่เป็น HTTP แบบนี้อาจต้องระวังสักเล็กน้อยครับ

ขั้นตอนการทำเว็บให้เป็น HTTPS กรณีทำกับเว็บใหม่

1. ให้เข้าไปหน้า DirectAdmin แล้วให้เราติดตั้ง WordPress ผ่าน Softaculous apps installer

2. เมื่อเราเข้าสู่หน้าการติดตั้งตั้ง WordPress ของ Softaculous แล้ว ในส่วนของ Choose Protocol ให้เลือกเป็น HTTPS ได้เลยครับ

Softaculous

3. หลังจากติดตั้ง WordPress เสร็จเรียบร้อย เราจะพบว่า Web Browser แจ้งว่าเว็บไซต์ของเรามีการเชื่อมต่อแบบเข้ารหัส เป็น HTTPS แล้วครับ

ทำเว็บให้เป็น HTTPS

ขั้นตอนการทำเว็บให้เป็น HTTPS กรณีทำกับเว็บเดิมที่เป็น HTTP

http website

1. ในขั้นตอนแรกให้เราทำการ back up เว็บของเราให้เรียบร้อยก่อนเลยครับ เพราะมันจะมีการย้าย Directory จาก public_html ไปสู่ private_html ดูวิธีการ backup เว็บ WordPress ได้ที่บทความนี้ครับ วิธี backup เว็บไซต์ WordPress โดยใช้ปลั๊กอิน All in one WP Migration

2. หลังจากนั้นให้เข้าไปที่ DirectAdmin แล้วให้ไปที่หน้า overview ในส่วนของ Softaculous apps installer ให้คลิก remove ลบเว็บเดิมของเราทิ้งไปเลยครับ ^_^

3. ให้เข้าไปติดตั้ง WordPress ใหม่อีกครั้งครับ ผ่าน Softaculous apps installer ในส่วนของ Choose Protocol ให้เลือกเป็น HTTPS ได้เลยครับ

Softaculous

4. จากนั้นให้เรา Import ไฟล์เว็บที่เราได้ backup ไว้ในตอนแรกกลับเข้าไปใหม่ครับ ด้วยปลั๊กอิน All in one WP Migration อีกครั้ง โดยดูขั้นตอนการย้ายเว็บ >>คลิกที่นี่<<

5. หลักจากเราย้ายเว็บกลับเข้ามาเรียบร้อยแล้วเราจะพบว่า Web Browser แจ้งว่าเว็บไซต์ของเรามีการเชื่อมต่อแบบเข้ารหัส เป็น HTTPS แล้วครับ

seedtheme

ยังๆ ครับ มันยังไม่จบครับ !!

เพราะการติดตั้ง Let’s Encrypt – SSL Certificates ทำให้ URL  การเข้าถึงเว็บไซต์ของเราเปลี่ยนไป จาก HTTP เป็น HTTPS ซึ่งจะส่งผลให้ Google หา URL เดิมไม่เจอ ซึ่งอาจเกิดผลเสียทำให้ผู้ชมเว็บไซต์ลดลงได้

403 error

วิธีแก้ไขสามารถทำได้โดยทำ 301 Redirect สำหรับ https โดยเฉพาะ วิธีนี้เป็นวิธีที่จะบอก Google และผู้ใช้ทั่วไปว่าเว็บไซต์ของเรา ตอนนี้เปลี่ยนจาก http เป็น https แล้ว รวมไปถึง Redirect ผู้ชมจาก http มาเป็น https ทั้งหมดด้วย

วิธีการทำ 301 Redirect

1. ให้เขาไปที่ DirectAdmin แล้วคลิกไปที่ flie manager >> เลือกชื่อ domain ของเรา
2. ให้เข้าไปที่ โฟลเดอร์ private_html

private html

3. ให้ติ๊กเลือกไฟล์ .htaccess

hattcaass

4. ให้คลิก Add to Clipboard

5. จากให้ให้คลิก back กลับไป และให้เข้าไปในโฟลเดอร์ public_html

public html

6. ให้เราคลิก Copy Clipboard Files Here เพื่อวางไฟล์ .htaccess ที่เราได้ coppy เอาไว้

7. คลิก edit เพื่อเข้าไปแก้ไขไฟล์ .htaccess

edit file httaccess

8. ลบ Code เก่าออกไปทั้งหมด และเพิ่ม Code ด้านล่างนี้เข้าไปครับ จากนั้นให้คลิก save as

RewriteEngine On
RewriteCond %{HTTPS} off
RewriteRule (.*) https://%{HTTP_HOST}%{REQUEST_URI}

301 rewrite

9. ลองเข้าไปพิมพ์ URL แบบเก่าที่เป็น HTTP ลงไปใน Web Browser ดูอีกครั้ง จะเห็นได้เว็บของเราจะ redirect กลับไปที่ URL ใหม่ ที่เป็น HTTPS อยู่เสมอ

 


ขอบคุณข้อมูลดี ๆ จาก พัดวี ครับ padveewebschool.com