Category Archive Email

ข้อดีของ G Suite

ข้อมูลเบื้องต้น เพิ่งเริ่มต้นใช้ G Suite

G Suite เป็นแพ็คเกจของบริการที่ใช้ระบบคลาวด์ ซึ่งทำให้ผู้ใช้ในบริษัทหรือโรงเรียนสามารถทำงานร่วมกันแบบออนไลน์ในรูปแบบใหม่ที่ไม่ใช่แค่ใช้อีเมลและแชท แต่ยังมีการประชุมทางวิดีโอ โซเชียลมีเดีย การทำงานร่วมกันในเอกสารแบบเรียลไทม์ และอีกมากมาย เพียงลงชื่อสมัครใช้บัญชี G Suite โดยระบุชื่อโดเมนที่ต้องการใช้กับบริการของ Google เมื่อยืนยันว่าเป็นเจ้าของโดเมนแล้ว คุณและทีมสามารถเริ่มใช้ Gmail, ปฏิทิน, ไดรฟ์ และบริการหลักอื่นๆ ของ G Suite รวมถึงบริการเพิ่มเติมอื่นๆ เช่น Google+, แฮงเอาท์, Blogger และอีกมากมาย

เคล็ดลับ 10 ข้อสำหรับการจัดการ G Suite
1. เพิ่มผู้ใช้และจัดการบริการในคอนโซลผู้ดูแลระบบของ Google ถ้าต้องการให้ผู้ใช้ในองค์กรเริ่มต้นใช้ G Suite คุณต้องเพิ่มผู้ใช้ลงในบัญชีของคุณ คุณสามารถดำเนินการนี้ได้จากคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องหรือแม้แต่อุปกรณ์เคลื่อนที่โดยใช้ คอนโซลผู้ดูแลระบบของ Google
ในเว็บเบราว์เซอร์ ให้ไปที่ admin.google.com และลงชื่อเข้าใช้ด้วยชื่อและรหัสผ่านของผู้ดูแลระบบ นอกจากนี้ คุณยังสามารถใช้คอนโซลผู้ดูแลระบบเพื่อจัดการบริการของผู้ใช้ รหัสผ่าน และข้อมูลอื่นๆ ทั้งหมดสำหรับบัญชีของคุณ
2. เพิ่มระดับความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัย
G Suite มี คุณลักษณะด้านความปลอดภัย ที่สำคัญมากมาย ซึ่งออกแบบมาเพื่อเก็บรักษาข้อมูลที่คุณบันทึกไว้ในระบบของเราให้มีความปลอดภัย นอกจากนี้ ขอแนะนำให้คุณทำตามแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดด้านความปลอดภัยเพื่อเพิ่มระดับความปลอดภัย เช่น การยืนยันแบบ 2 ขั้นตอนเพื่อเพิ่มระดับความปลอดภัยของรหัสผ่าน และมาตรการป้องกันการปลอมแปลงเพื่อต่อสู่กับการละเมิดความปลอดภัยของอีเมล
3. ควบคุมการเข้าถึงคุณลักษณะและบริการของผู้ใช้
เมื่อเริ่มต้น ผู้ใช้ทุกคนจะสามารถใช้บริการส่วนใหญ่ได้ แต่คุณสามารถใช้คอนโซลผู้ดูแลระบบเพื่อปิดบริการที่ไม่ต้องการให้คนอื่นใช้ หรือเพื่อปรับแต่งการทำงานของบริการ กำหนดการตั้งค่าเดียวกันสำหรับทุกคนหรือ
ใช้นโยบายกับผู้ใช้แต่ละกลุ่ม ตัวอย่างเช่น คุณอาจเปิดใช้งานแฮงเอาท์เฉพาะสำหรับทีมสนับสนุนของคุณ หรืออนุญาตเฉพาะแผนกการตลาดให้แชร์ Google Sites แบบสาธารณะได้
            4. เปลี่ยนอีเมลทางธุรกิจมาใช้ Gmail
ผู้ใช้ที่คุณเพิ่มในบัญชี G Suite จะได้รับที่อยู่อีเมลในโดเมนที่คุณระบุเมื่อสร้างบัญชี ผู้ใช้สามารถใช้ที่อยู่นี้กับบริการ Gmail ของ G Suite แต่ถ้าผู้ใช้ใช้ที่อยู่นี้กับโปรแกรมอีเมลเดิมอยู่ คุณสามารถเลือกเวลาที่จะให้เปลี่ยนโปรแกรมได้ อีเมลจะยังไม่เข้าไปที่บัญชี Gmail ของผู้ใช้ (และหยุดเข้าไปที่โปรแกรมเดิม) จนกว่าคุณจะเปลี่ยนระเบียน MX ของโดเมนให้ชี้ไปที่เซิร์ฟเวอร์ของ Google โปรดดูที่ เริ่มต้นใช้งาน Gmail
            5. ใช้แหล่งข้อมูลการทำให้ใช้งานได้และการฝึกอบรมของเรา เพื่อช่วยให้การเริ่มต้นใช้งานเป็นไปอย่างราบรื่น เราได้จัดเตรียมแหล่งข้อมูลมากมายไว้สำหรับทำให้ผู้ใช้ของคุณใช้งาน G Suite ได้ แนะนำให้ผู้ใช้ไปที่ ศูนย์การเรียนรู้ของ G Suite เพื่อดูคำแนะนำการเริ่มต้นอย่างรวดเร็ว วิดีโอ และเคล็ดลับสำหรับผู้ใช้ด้านธุรกิจ และไปที่ เว็บไซต์การทำให้ใช้งานได้ เพื่อดูแผนการเริ่มต้นใช้งาน คำแนะนำด้านเทคนิค และเทมเพลตสำหรับสร้างศูนย์การเรียนรู้ของคุณเอง
             6. ให้สิทธิ์ผู้ดูแลระบบแก่เจ้าหน้าที่ IT
ไม่ว่าองค์กรของคุณจะมีขนาดเท่าใด เราขอแนะนำให้คุณกระจายความรับผิดชอบในการจัดการผู้ใช้และบริการให้แก่ผู้ใช้ที่เชื่อถือได้กลุ่มหนึ่ง ซึ่งทำได้โดย การให้สิทธิ์ผู้ดูแลระบบ แก่ผู้ใช้เหล่านั้น เมื่อผู้ดูแลระบบลงชื่อเข้าใช้บัญชี G Suite ระบบจะนำไปที่คอนโซลผู้ดูแลระบบเช่นเดียวกับคุณ แต่ผู้ใช้ที่ไม่ใช่ผู้ดูแลระบบจะไม่เห็นคอนโซลผู้ดูแลระบบเมื่อลงชื่อเข้าใช้ แต่จะไปที่รายการของบริการที่มีการจัดการทันที
             7. จัดการการเผยแพร่คุณลักษณะสำหรับผู้ใช้
G Suite ทำงานบนเว็บ 100% ดังนั้นคุณและผู้ใช้ของคุณจะได้รับคุณลักษณะและอัปเดตใหม่ๆ โดยอัตโนมัติ โดยไม่ต้องติดตั้งหรืออัปเดตซอฟต์แวร์ใดๆ แต่คุณสามารถติดตามการเผยแพร่ที่กำลังจะมีขึ้นได้อย่างง่ายดายผ่าน ปฏิทินการเผยแพร่ หรือบล็อกของเรา รวมถึงควบคุมว่าจะเปิดให้บริการคุณลักษณะใหม่สำหรับผู้ใช้เมื่อใด
โดยตั้งค่า กระบวนการเผยแพร่ของ G Suite
            8. จัดการอุปกรณ์เคลื่อนที่ของคุณจากระยะไกล
ใช้คอนโซลผู้ดูแลระบบเพื่อ จัดการอุปกรณ์เคลื่อนที่ของผู้ใช้ บังคับใช้นโยบายการรักษาความปลอดภัยสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ของคุณ ล้างข้อมูลอุปกรณ์ที่สูญหายหรือถูกโจรกรรมจากระยะไกล เป็นต้น
9. ติดตามการใช้งานและแนวโน้ม
ตรวจสอบว่าบริการแต่ละรายการมีการใช้งานอย่างไรในองค์กรของคุณ โดยดู กราฟและรายงานการใช้งาน ในคอนโซลผู้ดูแลระบบ วิเคราะห์การทำงานร่วมกันของทีม ระบุรูปแบบการรักษาความปลอดภัยที่ไม่ต้องการ และติดตามแนวโน้มอื่นๆ
           10. เพิ่มโดเมนได้ฟรี ถ้าองค์กรของคุณได้ชื่อโดเมนมาใหม่หรือทำธุรกิจในหลายโดเมน คุณสามารถ เพิ่มโดเมนทั้งหมด ลงในบัญชีได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม จากนั้นผู้ใช้สามารถมีข้อมูลประจำตัวได้หลายโดเมนในขณะที่แชร์บริการต่างๆ ในฐานะองค์กรเดียว

G Suite ต่างจากบริการอื่นๆอย่างไร ?
         1. ผู้บุกเบิกระบบคลาวด์ Google ได้รับการยอมรับว่าเป็นชื่อที่ได้รับความไว้วางใจและเป็นผู้นำในวงการด้านโครงสร้างพื้นฐานระบบคลาวด์ที่เชื่อถือได้
2. สร้างมาเพื่อระบบคลาวด์ G Suite ออกแบบมาเป็นบริการที่ทำงานในระบบคลาวด์โดยสมบูรณ์ แผนกไอทีจึงไม่ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายไปกับการดูแลชุดอุปกรณ์เดสก์ท็อป
3. แพ็กเกจครบวงจร โดยมีพื้นที่เก็บไฟล์และการแชร์กับ Google ไดรฟ์ การทำงานร่วมกันใน Google เอกสารแบบเรียลไทม์ การประชุมผ่านวิดีโอโดยใช้แฮงเอาท์ และ ระบบอีเมลแบบมืออาชีพอย่าง Gmail ทั้งหมดนี้ให้บริการในราคาเดียว
          4. ระบบเดียวที่ใช้ได้สะดวก ผู้ใช้ G Suite จะได้รับประสบการณ์แบบเดียวกันเมื่อใช้อุปกรณ์ ระบบปฏิบัติการ และเบราว์เซอร์ต่างๆ และมีพนักงานจำนวนมากใช้ ผลิตภัณฑ์ Google ที่บ้านอยู่แล้ว
          5. ความช่วยเหลือออฟไลน์ Gmail, ปฏิทิน และ Google เอกสารช่วยให้ผู้ใช้ดู แก้ไข และสร้างเนื้อหาได้เมื่อไม่ได้เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต จากนั้นระบบจะซิงค์ข้อมูลให้โดยอัตโนมัติเมื่อเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต

ทำไมฉันควรจ่ายค่าบริการ G Suite ในเมื่อ Google มีผลิตภัณฑ์ที่คล้ายกันซึ่งใช้งานได้ฟรี ?
      1. อีเมลธุรกิจที่ใช้ชื่อโดเมนของคุณ
2. พื้นที่เก็บข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับ Gmail และ ไดรฟ์
3. การสนับสนุนทางโทรศัพท์และอีเมลตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน
4. การรับประกันความพร้อมในการใช้งาน 99.9%
ทำงานร่วม กับ Microsoft Outlook ได้
5. คุณลักษณะด้านการรักษาความปลอดภัยที่ดียิ่งขึ้น
6. การดูแลระบบแบบเต็มรูปแบบกับบัญชีผู้ใช้ทั้งหมด

 

ขอบคุณที่มา: www.1belief.com

Google G Suite จำเป็นต่อองค์กรแค่ไหน

Google G Suite จำเป็นต่อองค์กรแค่ไหน และประโยชน์ที่จะได้รับจาก G Suite

Google G Suite คืออะไร ต้องทำความเข้าใจเสียก่อนว่า Google ได้ออกแอพพลิเคชันมามากมาย เพื่ออำนวยความสะดวกสบายให้กับผู้ใช้งานในตลาดองค์กร ซึ่งคือ Google Apps for Business แต่ Google เอง ได้เปลี่ยนชื่อใหม่ แต่ฟีเจอร์ยังเหมือนเดิม เหมาะสมกับตลาดองค์กรในชื่อของ Google G Suite นั่นเอง

บริการของ Google G Suite มีอะไรบ้าง

บริการโดยรวมของ G Suite เป็นโซลูชันครบวงจร เน้นบริการบนคลาวด์เป็นหลัก ช่วยตอบสนองความต้องการของธุรกิจต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น

 

อีเมลและการเชื่อมต่ออื่นๆ

มีอีเมล์โดเมนในชื่อธุรกิจของคุณเองเช่น [email protected] ทำให้ธุรกิจของคุณดูน่าเชื่อถือ เป็นมืออาชีพ และยังสามารถสร้างรายชื่ออีเมลได้ตามความต้องการ พร้อมใช้งานทั้งในมือถือและพีซี

ยังมี Google Calendar ที่เป็นปฏิทินออนไลน์สำหรับทุกคนในองค์กร กำหนดการประชุมได้อย่างพร้อมเพรียงกัน และยังมีการแจ้งเตือนก่อนถึงนัดหมาย ทำให้ไม่พลาดทุกการนัดหมายของคุณ

ติดต่อกับทุกคนในองค์กร เพียงแค่ใช้ Meet จากแฮงก์เอาท์ เชื่อมต่อกันให้กลายเป็นหนึ่งเดียว ไม่ว่าจะแชทคุยผ่านตัวอักษร แนบไฟล์งานต่างๆ หรือประชุมแบบวิดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ก็ทำได้เช่นกัน

และยังมี Google Drive รองรับการเก็บข้อมูลบนคลาวด์ตามเท่าที่คุณต้องการ ควบคุมวิธีการแชร์ไฟล์ที่ง่ายกว่า และยังซิงค์ไฟล์ข้อมูลกับคอมพิวเตอร์ของคุณโดยอัตโนมัติ

งานด้านเอกสาร

google g suite

  • Google Docs งานเอกสารโดยทั่วไป ตอบโจทย์การทำงานพร้อมกัน ลืมปุ่ม Save ไปได้เลย เพราะจะมีการบันทึกโดยอัตโนมัติ
  • Google Sheets สร้างตารางง่ายๆ แค่คลิกที่เบราเซอร์ ไม่ต้องลงโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ใดๆ เพิ่มเติม เพิ่มแผนภูมิหรือตารางได้อย่างง่ายดาย
  • Google Form ใช้งานแบบสำรวจที่ดูสวยงาม และเป็นมืออาชีพ วิเคราะห์คำตอบได้อัตโนมัติ และมีการสำรองข้อมูลไว้ใน Google Sheet
  • Google Slides พอกันทีกับการพรีเซนต์งานแบบเดิมๆ ง่ายกว่าด้วย Google Slide งานนำเสนอของคุณจะดูสวยงาม ทุกคนในทีมสามารถเข้าถึงและแก้ไขได้พร้อมกัน ใช้งานได้ทันที
  • Google Sites      สร้างเว็บไซต์ไม่เป็นไม่ใช่ปัญหา เพราะ Google Sites รองรับออกมาทุกหน้าจอ ไม่ว่าจะเป็นเดสก์ท็อปหรือมือถือ ไม่จำเป็นที่จะต้องเรียนทางด้านกราฟิกหรือเขียนโปรแกรมก็เข้าใจได้
  • Google Keep ต้องการโน้ตส่วนตัว ต้อง Google Keep ที่ช่วยให้การจดบันทึกเป็นเรื่องที่น่าสนใจ มีเครื่องมือช่วยเตือนทำให้ไม่ลืม ใช้งานได้กับทุกอุปกรณ์

ข้อดีของการใช้งาน G Suite

google g suite

  • ไม่จำเป็นที่จะต้องลงโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ใดๆ ให้หนักเครื่อง เพราะบริการ G Suite สามารถใช้งานผ่านเว็บเบราเซอร์ได้ทันที
  • ทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถึงแม้ว่าจะไม่ได้อยู่สถานที่เดียวกัน ทุกคนในองค์กร สามารถแก้ไข เพิ่มเติมงานเอกสารได้แบบเรียลไทม์ ทำให้ทุกคนใช้งานเอกสารที่เป็นเวอร์ชันล่าสุดเสมอ
  • เหมาะกับหลายอุปกรณ์ ไม่ว่าจะเป็นบนเดสก์ท็อป บนสมาร์ทโฟน หรือจะระบบปฏิบัติการต่างกันเช่น MAC OS หรือ Windows ก็ใช้ร่วมกับบริการของ G Suite ได้อย่างราบรื่น ไม่มีสะดุด
  • ปลอดภัย มั่นใจได้ว่า คุณจะได้รับบริการอย่างต่อเนื่อง ได้ใช้เวอร์ชันใหม่ตลอด จึงไม่ต้องกังวลใดๆ กับการอัพเดตซอฟต์แวร์

แล้ว Google G Suite เหมาะกับใคร

G Suite เหมาะกับองค์กรทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก เพราะจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายไปได้มากกว่าการซื้อซอฟต์แวร์ ซึ่งมีราคาสูงกว่า G Suite และยังประหยัดเวลา ช่วยให้การสื่อสารระหว่างในกลุ่มพนักงานมีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วย

แชร์ประสบการณ์ เมื่อเวิร์ดเพรส “ส่งเมลไม่ออก” และวิธีแก้ปัญหา

หากคุณกำลังเจอปัญหา “ส่งเมลไม่ออก” หรือ เมลที่ส่ง “เข้าเมลขยะ”

หรือไม่รู้ว่าเมลที่ส่งแล้วไปไหน “ส่งออกไหม” “ผู้รับได้เมลไหม” “เปิดเมลอ่านหรือเปล่า”

ปัญหาเหล่านี้จะหมดไปหลังจากคุณอ่านและทำตามวิธีการที่ผมกำลังจะบอกคุณต่อไปนี้

วิธีนั่นก็คือใช้ Mailgun

mailgun คือผู้ให้บริการด้านอีเมลโดยเฉพาะ โดยเราจะใช้ mailgun นี้มาเป็นคนส่งเมลให้เราแทนการส่งเมลจาก host เราเอง ซึ่ง mailgun เค้าให้เราใช้งานฟรี เดือนละ 10,000 อีเมล หากมากกว่านั้นมีค่าใช้จ่ายเพิ่ม ขึ้นอยู่กับเราครับว่าหากต้องการใช้งานมากกว่านั้นก็ค่อยซื้อบริการเค้า แต่สำหรับผมแล้ว 10,000 อีเมลต่อเดือนที่เค้าให้มาก็เยอะมากแล้วครับ

สิ่งแรกที่ต้องทำคือ

สมัคร Account Mailgun ก่อน คลิก หลังจากสมัครเรียบร้อยแล้วให้ Login เข้าไปที่ Account เราครับ แล้วคลิกที่เมนู Domain

คลิก Add Domain ใส่ชื่อ Domain ของเราลงไป เช่น mg.yourdomain.com

วิธีการตั้งค่าหลังจากเราเพิ่มโดเมนเสร็จมีอยู่แค่ 3 ขั้นตอนง่าย ๆ ดังนี้

  1. Login เข้าไปยัง DNS Provider ที่เราใช้อยู่
  2. เพิ่ม DNS Record เข้าไปตามรายการที่ทาง mailgun ให้มา มีอยู่ทั้งหมด 5 Record
  3. รอให้ DNS ที่เราเพิ่มเข้าไป Verify ( ไม่เกิน 1 วัน )

วิธีดูว่า DNS เรา Verify หรือยัง มีจุดสังเกตุอยู่ 2 จุดดังนี้

  1. Domain Information ตรง State จะ Active สีเขียว

2.Domain Verification & DNS

ตรวจสอบขั้นตอนนี้ให้เรียบร้อยนะครับไม่งั้นเราจะไปต่อไม่ได้ ส่วนใครทำผ่านหมดแล้ว ก็ไปขั้นตอนต่อไปกันครับ

Tracking Settings

ในขั้นตอนนี้เราจะไปตั้งให้ mailgun track ว่ามีการคลิกหรือเปิดอีเมลที่เราส่งไปหรือไม่ โดยเข้าไปที่เมนู Tracking Settings และตั้งเป็น on ตามภาพครับ

มาถึงตอนนี้เราก็จะได้ SMTP สำหรับไปใช้ส่งอีเมลให้เว็บเรากันแล้ว
แต่ยังเหลืออีกขั้นตอนนั้นก็คือเราต้องไปโหลดปลั๊กอินสำหรับทำให้ WordPress เราใช้ SMTP ในการส่งเมลครับ

ผมแนะนำเป็นตัวนี้ Easy WP SMTP โหลดมาและติดตั้งให้เรียบร้อย เสร็จแล้วเข้าไปตั้งค่า smtp ตามภาพครับ

นำ Default SMTP Login มาใส่ในช่อง SMTP username
นำ Default Password มาใส่ในช่อง SMTP Password
ดูวิธีตั้งค่าตามตามภาพนะครับ

สำหรับ SMTP username และ SMTP Password เอามาจากไหน ?
เอาจาก mailgun ที่เราสมัครไว้ อยู่ในส่วนของ Domain Information ตามภาพครับ

คราวนี้เว็บเราก็พร้อมที่จะส่งเมลโดยใช้ smtp กันแล้วครับ โดยจากที่ผมใช้ mailgun ในการส่งเมลมา ดูจาก Logs
ผมส่งไปทั้งหมด 1,388 เมล เข้า Inbox ถึง 1,372 ไม่เข้าแค่ 16 เมลเท่านั้น ผมยังสงสัยครับว่า 16 เมลที่ส่งไม่เข้าเนี่ยเป็นเพราะอะไร เราสามารถดูได้จาก Logs ของ mailgun ครับ

ดูจาก logs แล้วมันบอกว่า 16 email นี้ไม่มีอยู่จริง ซึ่งมีโอกาสเป็นไปได้ว่าเป็นเมลที่สมัครเข้ามาในเว็บเป็นสแปมเมลนั่นเอง

จบแล้ว

ขอบคุณบทความดี ๆ จาก CodingDee ครับ

วิธีแก้ปัญหาส่งเมลไม่ได้ของ wordpress ด้วย Postman SMTP

วิธีแก้ปัญหาส่งเมลไม่ได้ของ wordpress เป็นปัญหาที่น่าปวดหัวสำหรับคนที่อยากจะส่งข้อมูลของที่คนมากรอก ผ่านอีเมล
ซึ่งวิธีแก้ปัญหาไม่ได้ยาก แต่จะมีหลายขั้นตอนหน่อย โดยใช้ปลั๊กอินที่มีชื่อว่า Postman SMTP Mailer/Email Log เป็นปลั๊กอินที่มีประโยชน์มาก โดยต้องตั้งค่า SMTP ผ่าน Gmail ทำให้มีความปลอดภัย

วิธีแก้ปัญหาส่งเมลไม่ได้ของ wordpress ด้วย Postman SMTP

1. อย่างแรกต้องโหลดปลั๊กอินแล้วติดตั้งปลั๊กอิน Postman SMTP ก่อน เสร็จแล้วไปที่ Settings หาเมนู Postman SMTPคลิกเข้าไปจะเจอหน้าตาเหมือนในรูปที่หนึ่งด้านล่าง ให้คลิกที่ Start the Wizard

ปัญหาส่งเมลไม่ได้ของ wordpress

2. หลังจากคลิก Start the Wizard แล้วขั้นตอนที่ 2 คลิก None แล้วกด Next ต่อไปเลย

ปัญหาส่งเมลไม่ได้ของ wordpress ด้วย postman SMTP

3. ในช่อง Email Address ให้ใส่อีเมลของเรา และในช่อง Name ใส่ชื่ออะไรก็ได้ อาาจะใส่ชื่อเว็บเหมือนผมก็ได้

ปัญหาส่งเมลไม่ได้ของ wordpress ด้วย postman SMTP

4. gmail จะดึง Mail Server Hostname ให้เราอัตโนมัติไม่ต้องทำอะไร กด Next 

ปัญหาส่งเมลไม่ได้ของ wordpress ด้วย postman SMTP

5. gmail จะตั้งค่า Default ให้เรา Socket เป็น port 587 และ Authentication เป็น OAuth 2.0 ถ้าค่าตรงตามนี้แล้วกด Nextต่อไปได้เลย

wordpress-postman-mail5

6. มาถึงขั้นตอนนี้ ให้คลิก Google Developers Console Gmail Wizard  เพื่อไปสร้าง Client ID และ Client Secret 

ปัญหาส่งเมลไม่ได้ของ wordpress ด้วย postman SMTP

7. เลือกบัญชีอีเมลของเราที่ต้องการจะใช้กับ SMTP

ปัญหาส่งเมลไม่ได้ของ wordpress ด้วย postman SMTP

8.  Create a project แล้วคลิก Continue

ปัญหาส่งเมลไม่ได้ของ wordpress ด้วย postman SMTP

9. ไม่มีอะไรมาก คลิก Go to credentails

ปัญหาส่งเมลไม่ได้ของ wordpress ด้วย postman SMTP

10. ในขั้นตอนนี้ ให้คลิก client ID  มันจะพาเราไปยังขั้นตอนถัดไป

ปัญหาส่งเมลไม่ได้ของ wordpress ด้วย postman SMTP

11. ขั้นตอนนี้ต้องคลิกที่ Configure consent screen เพื่อที่จะสร้าง OAuth client ID เราจำเป็นต้องตั้งค่า product nameก่อน

ปัญหาส่งเมลไม่ได้ของ wordpress ด้วย postman SMTP

12. หลังจากคลิก Configure consent screen ก่อนหน้านี้ มันจะพาเรามาที่หน้า Credentails แท็บที่ 2 OAuth consent screen ให้ตั้งชื่อ Product name ของเราครับ จากนั้นก็คลิก Save 

ปัญหาส่งเมลไม่ได้ของ wordpress ด้วย postman SMTP

13. ตรงที่ Create client ID  ให้คลิกเลือกที่ Web application หลังคลิกเสร็จข้อมูลด้านล่างตรงหมายเลข 17,18,19 จะโผล่ออกมา ให้เราไป Copy จากหน้าก่อนหน้านี้ในหน้าหลังบ้านของ wordpress(ดูรูปที่ 2 ของข้อนี้)

ปัญหาส่งเมลไม่ได้ของ wordpress ด้วย postman SMTP

 

* ให้ copy ทั้ง Authorized javaScript origins  และ Authorized redirect URI ไปวางที่หมายเลข 17,18 ให้ตรงช่องด้วยครับ และคลิก Create เพื่อไปต่อ

wordpress-postman-mail14

14. ถ้าเราตั้งค่าถูกต้องตามที่ผมแนะนำไว้ คิดว่าคงจะต้องได้ OAuth client ทั้ง client ID และ client secret ตามรูปด้านล่าง

ปัญหาส่งเมลไม่ได้ของ wordpress ด้วย postman SMTP

15. ในขั้นตอนนี้ให้ copy ทั้ง client ID และ client secret ตามรูปด้านบน มากรอกใส่ในช่อง ตามรูปด้านล่าง ให้ตรงช่องด้วยครับแล้วคลิก Next ต่อไปเลยครับ

 

ปัญหาส่งเมลไม่ได้ของ wordpress ด้วย postman SMTP

16. ถ้ากรอกถูกต้อง เราจะเห็นข้อความ You’re Done แล้วคลิก Finish ได้เลยคับ

ปัญหาส่งเมลไม่ได้ของ wordpress ด้วย postman SMTP

17. ยังครับ ยังไม่จบแค่นี้ หลังจากเราตั้งค่าทุกอย่างเสร็จสิ้นเรียบร้อย เราต้องไปกำหนด permission โดยคลิกที่ Grant permission with Google เพื่ออนุญาต

วิธีแก้ปัญหาส่งเมลไม่ได้ของ wordpress

18. คลิกอนุญาตครับ

วิธีแก้ปัญหาส่งเมลไม่ได้ของ wordpress

19. กระบวนการทุกอย่างเสร็จสิ้นแล้วครับ เพื่อให้มั่นใจว่าเราได้ตั้งค่าทุกอย่างถูกต้อง ให้เราทดสอบส่งอีเมล คลิกที่ Send a Test Email

วิธีแก้ปัญหาส่งเมลไม่ได้ของ wordpress

20. ให้กรอกอีเมลที่ต้องการจะทดสอบ แล้วคลิก Next

วิธีแก้ปัญหาส่งเมลไม่ได้ของ wordpress

21. ถ้าได้รับข้อความ Success แสดงว่าเราได้ตั้งค่า SMTP ถูกต้อง และอย่าลืมลองไปเช็คอีเมลเพื่อให้แน่ใจ

วิธีแก้ปัญหาส่งเมลไม่ได้ของ wordpress

วิธีแก้ปัญหาส่งเมลไม่ได้ของ wordpress

จะเห็นได้ว่า วิธีแก้ปัญหาส่งเมลไม่ได้ของ wordpress ด้วย Postman SMTP นั้นไม่ได้ยากอย่างที่คิด แค่มันเยอะขั้นตอนนิดหน่อย แนะนำให้ใจเย็นๆครับ แค่ทำครั้งเดียว เสียเวลาครั้งเดียว ปัญหาการส่งเมลไม่ได้ก็หมดไปจากชีวิตครับ


 

ขอบคุณความรู้ดี ๆ จาก https://www.teeneeweb.com/wordpress-postman-smtp-email/