Category Archive Wordpress

10 เทคนิค การเขียนบทความ / เขียนบล็อก ให้ประสบความสำเร็จ

การเขียนบทความที่ดี มีคุณภาพ ควรมีลักษณะอย่างไร ? เขียนบทความ SEO มีหลักการอย่างไร ? คำถามในทำนองนี้ ผมเชื่อว่าคงมีใครหลายคนสงสัยอยู่เป็นแน่ ..

เป็นที่รู้กันดีว่า หากต้องการประสบความสำเร็จ ในเรื่องของ Content Marketing (รวมไปถึงการทำ SEO) ไม่ว่าจะชอบหรือไม่ก็ตาม คุณจำเป็นต้องเรียนรู้ในเรื่องของ “Blog” (บล็อก) เพราะ การเขียนบล็อก (Blogging) / การเขียนบทความ นับว่าเป็นช่องทางหนึ่งที่สำคัญในสายงานของ Digital Marketing

ยิ่งหากคุณต้องการที่จะสร้างตัวตน สร้างแบรนด์ สร้างธุรกิจ หรือ ทำการตลาด บนโลกออนไลน์ ความรู้เรื่อง Blog เรื่อง การเขียนบทความ ถือเป็นพื้นฐานที่จำเป็นอย่างมาก ซึ่งคนทำ SEO หรือนักการตลาดออนไลน์ มือใหม่ มักจะไม่เข้าใจถึงคุณค่าและประโยชน์ของการมี Blog ว่ามันสามารถช่วยในเรื่องของ SEO อีกทั้งยังช่วยในเรื่องธุรกิจออนไลน์ได้

ประโยชน์ของการเขียนบทความ / การเขียนบล็อก

การเขียนบล็อกถูกใช้กันอย่างแพร่หลายในโลกออนไลน์ ด้วยวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันออกไป
• บางคนใช้ Blog ในการเขียนเล่าเรื่องราวชีวิตส่วนตัว
• บางคนใช้ Blog ในการแชร์ประสบการณ์ ความรู้ หรือเรื่องราวที่ตนสนใจ
• บางคนใช้ Blog ในการช่วยทำอันดับบน Google (ช่วยเรื่อง SEO)
• บางคนใช้ Blog ในการโปรโมทแนะนำ สินค้าหรือบริการ
• บางคนใช้ Blog เพื่อสร้างรายได้บนโลกออนไลน์

(สำหรับมือใหม่มากๆ ที่ไม่รู้ว่า Blog มันเป็นยังไง หรือแตกต่างกับเว็บไซต์ยังไง อาจเกิดความสงสัย ขอให้ลองอ่านที่ผมเคยเขียนอธิบายไว้ ►  Website กับ Blog ต่างกันอย่างไร?)

Blog มีความสำคัญอย่างมาก แต่การจะสร้างบล็อก หรือ เขียนบล็อก ขึ้นมาให้ประสบความสำเร็จนั้น ใช่ว่าจะทำกันได้ง่ายๆ ที่ว่าสำเร็จนั้น ในเบื้องต้นก็คือ “มีคนอ่าน” และต่อมาคือ ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่คุณตั้งเป้าหมายไว้ตามมา อาทิเช่น
– ทำให้มีคนติดตามเรา
– ทำให้คนรู้จักแบรนด์สินค้าเรา หรือ รู้จักตัวเรา
– ทำให้คนเชื่อใจเรา หรือ ให้ความไว้วางใจเรา
– ทำให้คนโทรติดต่อมาสอบถาม หรือ สั่งซื้อสินค้า/บริการ ของเรา

แนวคิดหลักในการเขียนบล็อกอย่างมืออาชีพ

ผมขอยกตัวอย่างบล็อกของคุณณัฐ www.nuttaputch.com (ถือเป็นอีกคนหนึ่งที่เป็นไอดอลของผม)
คุณณัฐแนะนำเรื่องการสร้างบล็อกให้ประสบความสำเร็จไว้ 5 อย่าง ซึ่งถือเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับ
คนที่คิดจะเป็น Blogger หรือคนที่อยากจะใช้การเขียนบทความ มาช่วยในเรื่องของการทำ Content Marketing

1. ต้องโฟกัส
2. ต้องต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
3. ต้องรักและให้เกียรติในสิ่งที่ทำ
4. อย่าหยุดคิด อย่าหยุดที่จะเรียนรู้
5. วางแผนระยะยาว และ Optimize อยู่เสมอ

► อ่านฉบับเต็ม

10 วิธีการเขียนบทความ / เขียนบล็อก ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

สำหรับในบทความนี้ผมจะขอมาแนะนำวิธีที่จะช่วยทำให้ Blog ของคุณมีประสิทธิภาพ แบบเจาะลึกลงรายละเอียดให้มากยิ่งขึ้น เพื่อให้คุณกลายเป็น Blogger ที่มีคุณภาพในสายตาคนอ่าน รวมไปถึง หลักของการเขียนบทความที่ดี และ การเขียนบทความให้เป็นมิตรต่อ SEO

#1 – กำหนดเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของการเขียนบล็อก (Blog  Purpose)

+ คุณจะเขียนบล็อกไปทำไม ?
+ อะไรคือวัตถุประสงค์ หรือ จุดมุ่งหมาย ?
+ คอนเซ็ปต์ของบล็อกคืออะไร ?
+ บทความที่คุณตั้งใจจะนำเสนอ ตั้งใจจะเขียนเพื่ออะไร ?

คำถามเหล่านี้ถือเป็นจุดเริ่มต้น ที่หลายคนมองข้าม และหลายต่อหลายบล็อก (รวมไปถึงบทความงานเขียนส่วนใหญ่) ที่ถูกเขียนขึ้นมานั้น สร้างมาอย่างไร้จุดหมาย ซึ่งหากเราไม่รู้ว่าเราจะเขียนบล็อกขึ้นมาทำไม … มันก็ยากที่จะทำให้เราประสบความสำเร็จได้ (เป้าหมายมีไว้พุ่งชน แต่คุณจะพุ่งชนอะไร ในเมื่อคุณไม่มีเป้าหมาย ??)

การกำหนดเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ไว้ก่อนนี้ ก็เพื่อให้คุณได้หลัก หรือ จุดหมาย สำหรับกำหนดทิศทางและหาแนวทางปฎิบัติได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ยกตัวอย่าง 3 เป้าหมายหลักๆของการเขียนบล็อก ซึ่งเป็นที่นิยม เช่น

เขียนบล็อกเพื่อสร้างรายได้ (Blog For Money) : คุณสร้างบล็อกขึ้นมา , เผยแพร่ Content ที่น่าสนใจ , มี Traffic มีคนอ่าน จากนั้น หารายได้จาก Adsense หรือ Affiliate Marketing หรือ ติด Banner โฆษณา หรือ ช่องทางอื่นๆ นี่เป็นเป้าหมายที่นิยมในหมู่ของ คนที่ต้องการหารายได้จากอินเตอร์เนต

กรณีนี้ ตัวอย่างแนวทางปฎิบัติคือ : การให้ความสำคัญกับ Content ที่มีความเกี่ยวข้องสอดคล้องกับ Keyword ที่จะทำเงินให้คุณ

เขียนบล็อกเพื่อนำเสนอ (Blog For Lead) : ไม่ว่าจะขายสินค้า หรือ บริการ (ทั้ง Online และ Offline) การใช้ Blog ถือเป็นวิธีการโปรโมท ทางอินเตอร์เนตที่มีประสิทธิภาพที่สุดวิธีหนึ่ง เพราะคุณสามารถที่จะสื่อสารกับกลุ่มคนอ่าน โดยนำเสนอ สินค้า/บริการ ผ่านทางการเขียนบทความ เพื่อโน้มน้าวใจพวกเค้ากลายมาเป็นลูกค้าได้ หรือเพื่อให้เค้าเกิดความสนใจในเบื้องต้น จนที่สุดแล้วติดต่อเรามาเพื่อสอบถามพูดคุยกันต่อไป

กรณีนี้ ตัวอย่างแนวทางปฎิบัติคือ : การให้ความสำคัญกับการให้รายละเอียดข้อมูลที่ครบถ้วน รวมไปถึงคำแนะนำต่างๆ ที่จะโน้มน้าวให้ผู้อ่านเชื่อใจ และตัดสินใจเลือกเรา

เขียนบล็อกเพื่อเพิ่มจำนวนคนเข้าเว็บ (Blog For Traffic) : หากคุณถามผู้เชี่ยวชาญการตลาดออนไลน์ หรือ ผู้เชี่ยวชาญด้าน SEO ถึง วิธีการเพิ่ม Traffic ให้กับเว็บไซต์ คำตอบหนึ่งที่คุณจะได้รับอย่างแน่นอน นั่นก็คือ “สร้าง Blog ครับ/ค่ะ” หรือ “ใช้ Content Marketing สิ” ซึ่งการเขียนบล็อกเพื่อเพิ่ม Traffic ยังเสมือนเป็นการขยาย Brand Awareness ทำให้คนรู้จักเรามากยิ่งขึ้นด้วย

กรณีนี้ ตัวอย่างแนวทางปฎิบัติคือ : การให้ความสำคัญกับการอัพเดทอย่างต่อเนื่อง และรู้จักเลือกหัวเรื่องนำเสนอที่คิดว่าคนจะให้ความสนใจ หรือที่กำลังเป็นกระแส หรือเป็นที่นิยม (Trending Topics)

#2 – ค้นหาข้อมูลก่อนลงมือเขียน (Research)

การจะเขียนบทความขึ้นมาสักบทความหนึ่งให้มีคุณภาพนั้น จำเป็นต้องอาศัยเวลา หากต้องการทำให้ง่ายขึ้น ก่อนที่จะลงมือเขียน คุณควรจะทำการค้นคว้าข้อมูลก่อน เรื่องนี้ ถือเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก (ส่วนตัวแล้วสำหรับผม ถือเป็น หัวใจหลักเลย เรื่อง หาข้อมูล)

เมื่อคุณได้หัวเรื่องที่จะเขียน ให้ทำการค้นหาใน Google โดยใช้ คำค้นหาที่ใกล้เคียง เพื่อ
– รวบรวมข้อมูลเพิ่มเติม หาไอเดีย มาต่อยอดในงานเขียนของเรา
– ดูคนอื่นว่า เค้าเขียนอย่างไร ในหัวข้อที่เรากำลังจะเขียน
– ดูบทความอื่นๆที่ติดอันดับหน้าแรกๆบน  Google
– เพื่อนำมาวิเคราะห์ ว่าการตั้งชื่อโพสแบบไหน ลักษณะการเขียนอย่างไร Google ถึงชอบ

อย่าลืมที่จะทำการค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อนำมาพัฒนาการเขียนบทความ การเขียนบล็อกของเราให้ดียิ่งขึ้น

#3 – ตั้งชื่อโพสอย่างมีกึ๋น (Post Title)

เมื่อคุณได้ไอเดียที่จะเขียนแล้ว สิ่งสำคัญต่อมาก็คือ การตั้งชื่อโพส (ตั้งชื่อบทความ) …
ซึ่งโดยปกติแล้ว หน้าที่สำคัญของ Post Title นั้น มีอยู่ด้วยกัน 2 อย่าง คือ
1. เพื่อให้คนที่เห็น เกิดความรู้สึกน่าสนใจ อยากคลิกอ่าน
2. เพื่อให้เป็นมิตรต่อการทำ SEO
ดังนั้นในการตั้งชื่อโพสในบล็อก เราควรอาศัยหลักที่ว่านี้ ควบคู่กันไป

ผมขอยกตัวอย่างง่ายๆ เอาว่า บทความนี้เลยละกัน

General Keyword = การเขียนบล็อก , การเขียนบทความ
Long Tail Keyword =  เทคนิค + การเขียนบล็อก / การเขียนบทความ + ที่ดี
Semantic Keyword = เทคนิค + การเขียนบล็อก / การเขียนบทความ + ประสบความสำเร็จ
Post Title = 10 เทคนิค การเขียนบทความ / เขียนบล็อก ให้ประสบความสำเร็จ

ตั้งชื่อแบบนี้ คนเห็นก็อยากคลิกอ่าน รู้สึกน่าสนใจ อีกทั้งยัง SEO-Friendly เหมาะต่อการทำ SEO เพราะมี Keyword อยู่ในชื่อโพสด้วย … ส่วนไอเดียการตั้งชื่อ Post Title นั้น ก็อาจจะหาไอเดียแบบง่ายๆ จาก Related Keyword ใน Google (ในส่วนของ Predictive Search)

 

หรือยกตัวอย่างเพิ่มเติม

main keyword = รีวิวร้านอาหาร 
longtail keyword = รีวิวร้านอาหาร อร่อย
longtail keyword = รีวิวร้านอาหาร ราคาถูก
longtail keyword = รีวิวร้านอาหาร ชื่อดัง
longtail keyword = รีวิวร้านอาหาร อร่อย กรุงเทพ
longtail keyword = รีวิวร้านอาหาร อร่อย สีลม
long + semantic keyword = รีวิวที่กิน อร่อย สีลม
long + semantic keyword = แนะนำ ร้านอาหาร เมนูเด็ด สีลม
long + semantic keyword = รีวิวร้านอาหารญี่ปุ่น สีลม
long + semantic keyword = รีวิวร้านอาหารเวียดนาม ในกรุงเทพ

focus keyword หรือ main keyword หรือ จะเรียก seed keyword ก็สุดแล้วแต่ ส่วน long tail กับ semantic เอาจริงๆมันก็คล้ายๆกัน  ยิ่งยกตัวอย่างมากไปหรือใช้ศัพท์เทคนิคมากเกิน อาจจะยิ่งทำให้งง เอาเป็นว่าง่ายๆคือ เราต้องฉลาดในการเล่นคำ ที่จะเอามาเป็น Keyword โดยยึดหลัก คำที่คนน่าจะนิยมใช้ค้นหาเป็นหลัก (ใช้ Keyword Planner ดู Volumn) ว่า เราจะใช้คำไหนดี ที่เข้ากับเนื้อหาบทความของเรา เอามาตั้งเป็นชื่อ Post Title

ข้อคิดสำคัญ : ในส่วนของการตั้งชื่อโพสนี้ ถือว่าจำเป็นมากๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคนที่หวังผลจะเขียนเพื่อทำ SEO ด้วยแล้ว นอกเหนือจากการวิเคราะห์ Keyword เบื้องต้น (โดยใช้ ► Google Keyword Planner) เพื่อหา Volumn ปริมาณการค้นหา หากคุณได้ทำการ Research ข้อมูลในข้อที่ 2 แล้วทำการวิเคราะห์คู่แข่งมาก่อน มันจะช่วยทำให้สามารถตัดสินใจวางแผนในการปรับเปลี่ยน Post Title รวมถึง Keyword … โดยพยายามหลีกเลี่ยง ที่จะแข่งขันกับ เว็บไซต์ที่เป็น Authority Site (เว็บใหญ่ๆเว็บดังๆ) ที่จำนวนมากๆ และหันมามอง Long Tail Keyword หรือ Semantic Keyword แทน ที่เว็บไซต์คู่แข่งที่แข็งแกร่งมีจำนวนน้อยกว่า

#4 – กำหนดเค้าโครงของโพส (Post Outline)

เมื่อได้ชื่อโพสมาแล้ว ขั้นตอนต่อไปที่จะช่วยให้งานเขียนของคุณง่ายขึ้น และช่วยลดระยะเวลาในการเขียน นั่นก็คือ การกำหนดเค้าโครงสร้าง ในที่นี้หมายถึง “การตัดสินใจเลือกว่า ในบทความที่เราจะเขียนนั้น จะประกอบด้วยหัวข้ออะไรบ้าง” เสมือนเป็นการแบ่งย่อยบทความเป็น Section ซึ่งการกำหนด หัวข้อ/หัวเรื่อง ให้กับบทความนั้น นอกเหนือจากจะทำให้เราประหยัดเวลาในการเขียน ยังช่วยทำให้ง่ายต่อการอ่านอีกด้วย

ยกตัวอย่างการเขียนบทความนี้ ผมวาง Post Outline ไว้คือ
– ประโยชน์
– แนวคิดหลัก
– วิธีการ (แบ่งย่อย อีก 10 หัวข้อย่อย)
– บทสรุป

#5 – รู้จักเขียน Introduction (Post Intro)

“เริ่มต้นดี มีชัยไปกว่าครึ่ง” – คำกล่าวนี้นำมาใช้ได้จริงกับการเขียนบทนำสำหรับโพสลงในบล็อก

บทนำสำหรับการเขียนบล็อกที่ดี ควรจะมีความยาวสักประมาณ 2-3 บรรทัด โดยอธิบายถึงภาพรวมคร่าวๆของเนื้อหาในบทความนั้นๆ ในขณะที่ สอดแทรกด้วยข้อความที่ชวนให้ผู้อ่านเกิดความรู้สึกน่าสนใจ ชวนให้ติดตาม และแน่นอนว่า อย่าลืมที่จะใส่ Keyword ลงไปใน Post Intro ด้วย หากคุณหวังที่จะเป็นมิตรต่อ SEO (ตัวอย่าง ย้อนกลับไปดูด้านบนสุดนะครับ ^_^)

#6 – ขนาดของบทความ ยาวดีกว่าสั้น (Post Length)

หากเรากล่าวถึงเฉพาะการเขียนบทความสำหรับ Blog เมื่อดูจากสถิติของที่มาหลายๆแห่ง ทั้งจาก Blog ที่ให้ความรู้ด้าน SEO ของต่างประเทศ รวมถึงจากประสบการณ์วิเคราะห์ผล SERPs ส่วนตัว ผลยืนยันได้ว่า บทความที่มีความยาว มีแนวโน้มที่จะถูกจัดอันดับบน Google ได้ดีกว่าบทความที่มีขนาดสั้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ไม่ได้หมายความว่า บทความยาวๆทุกบทความจะอันดับดีกันหมด หรือ บทความสั้นๆไม่มีโอกาสติดอันดับเลย

สิ่งสำคัญที่มากกว่า ขนาดของบทความ คือ คุณค่าของตัวเนื้อหา ว่ามีประโยชน์ต่อคนอ่าน อีกทั้งมีความสอดคล้องกับคำค้นหา มากน้อยเพียงใด

#7 – เรียนรู้กฎพื้นฐานของ Onpage SEO

SEO ถือเป็นเรื่องที่ค่อนข้างละเอียดอ่อนและซับซ้อน แต่หากพูดถึง SEO กับ การเขียนบทความ คุณไม่จำเป็นต้องเชี่ยวชาญในเรื่องของ SEO ในทุกๆเรื่องก็ได้ แต่สิ่งที่คุณจำเป็นต้องเรียนรู้ ก็คือ คอนเซ็ปต์พื้นฐานในการปรับแต่ง Onpage หรือ การปรับแต่งบทความ ให้เป็นมิตรต่อ SEO

Onpage SEO ในส่วนของ Content นั้นก็ไม่มีอะไรมาก เพียงแค่กฎบางข้อที่คุณต้องนำมาปรับใช้กับบทความของคุณ เพื่อช่วยส่งสัญญาณที่ดีให้ Google เข้าใจบทความเรามากยิ่งขึ้น ซึ่งหลักๆก็มีดังต่อไปนี้

• ชื่อ Title ปรับให้มีขนาดน้อยกว่า 60 ตัวอักษร และต้องมี Keyword ร่วมอยู่ด้วย
• เขียน Descriptions ให้น่าอ่าน อยู่ระหว่าง 150-160 ตัวอักษร และควรมี Keyword ร่วมอยู่ด้วย
• การใส่  ALT tags สำหรับรูปภาพในบทความ เพื่อบอก Google ให้รู้ว่ารูปนั้นเกี่ยวกับอะไร
• การใช้ H1 สำหรับชื่อโพส (ปกติชื่อโพสจะถูกตั้งให้เป็น H1 อัตโนมัติอยู่แล้ว)
• การใช้ H2, H3 , H4 tags สำหรับหัวข้อย่อย หากมี Keyword อยู่ด้วยจะยิ่งดี (ดูตามความเหมาะสม)
• การตั้งชื่อ URLs หากมี Keyword อยู่ด้วยจะยิ่งดี (ดูตามความเหมาะสม)
• ทำหน้าเพจให้โหลดเร็วๆ อะไรที่ไม่จำเป็นก็ตัดทิ้ง เช่นพวก Script ต่างๆ รวมถึงขนาดไฟล์ของรูปภาพ
• การสร้าง Internal Links อย่างชาญฉลาด เพื่อเชื่อมโยงบทความใหม่และเก่าในบล็อก
• การทำโครงสร้างหน้าเว็บให้เป็นมิตรต่อทั้ง User และ Bot
• การทำให้หน้าเว็บรองรับการดูบนมือถือ

(เรื่อง Onpage SEO นี้จะกล่าวแบบละเอียดในโอกาสต่อไป)

#8 – ตกแต่งบทความให้น่าอ่าน

เมื่อตั้งชื่อโพสที่น่าสนใจ และเขียนบทความที่ดี เสร็จเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไป ที่จำเป็นต้องทำ
ก็คือ การจัดหน้าตาของโพส ให้ดูสวยงาม และง่ายต่อการอ่าน ไม่ว่าจะเป็น

• การขึ้นบรรทัดใหม่และการจัดวางพารากราฟ (4 บรรทัด ต่อ พารากราฟ กำลังสวย)
• การใช้ Bullet เพื่อช่วยให้อ่านง่ายและดูน่าสนใจ
• การปรับขนาดและสีสันของตัวอักษร ทั้งในส่วนของหัวข้อย่อย และในตัวเนื้อหา
• การใช้ตัวหนา-ตัวเอียง เพื่อเน้นข้อความ
• การเลือกใช้รูปแบบ Font ที่เหมาะสม
• การเพิ่มรูปภาพประกอบ ให้ดูมีสีสัน มีชีวิตชีวา
• การเพิ่ม External Links ที่มีความเกี่ยวข้องกับเนื้อหา และเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน

 

#9 – รู้จักโปรโมทเผยแพร่บทความให้คนเห็น

การเขียนบล็อก ต่อให้คุณเขียนบทความ มีเนื้อหาที่ดีขนาดไหนก็ตาม มันจะไม่ประสบความสำเร็จได้เลย
หากไม่มีคนเห็น ไม่มีคนรู้จัก และไร้ซึ่งคนอ่าน … อย่ามองว่าการโปรโมทเป็นตัวเลือกหนึ่ง แต่ให้มองว่า
มันเป็นส่วนหนึ่ง (ที่สำคัญมากเสียด้วย) ของการเขียนบล็อก หรือ การทำ Content Marketing

ในปัจจุบัน Social Media ทำให้เราสามารถทำการโปรโมทได้ง่ายขึ้น
สิ่่งที่ควรจะทำหลังจากที่คุณได้เผยแพร่บทความลงในบล็อกแล้ว อาทิเช่น

• แชร์โพสใน Facebook Page
• แชร์โพสใน Facebook Profile (เฟสส่วนตัวของคุณ)
• แชร์โพสใน Twitter , Instagram , Pinterest หรือ Line
• แชร์โพสใน Facebook Group ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาของคุณ
• การใช้ Email List ส่งเป็น Newsletter สำหรับผู้ที่มาติดตามบล็อกของคุณ
• โปรโมทโพสผ่าน Comment ในเว็บไซต์ หรือ Facebook Page อื่นๆ 
(เลือกที่มีเนื้อหาใกล้เคียง ตามความเหมาะสม และกาลเทศะ)
• โปรโมทโพสผ่าน Webboard ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา หรือที่น่าจะทำให้คนเห็น
• การนำบทความไป Submit กับ PR Site คุณภาพ
• (สำหรับคนมีงบ) ลงโฆษณากับ Facebook Ads หรือ Twitter Ads
• (สำหรับคนมีงบ) ลงโฆษณากับ Google Adwords

ในขั้นตอนนี้ นักทำ SEO ส่วนใหญ่นิยมเรียกมันว่า “การสร้าง Backlinks” ซึ่งผมถือว่ามันเป็นส่วนหนึ่งในการโปรโมท

#10 – เขียนบทความใหม่ๆอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ

ไม่ว่าจะเป็นคนอ่าน , Search Engine หรือ Social Media ต่างล้วนมองหา Content ใหม่ๆอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นการที่เราหมั่นอัพเดทบทความ ที่สดใหม่ มีความ Unique และ มีความสอดคล้องเกี่ยวข้องกับ วัตถุประสงค์หรือเป้าหมายหรือคอนเซ็ปต์ของบล็อก ย่อมสามารถช่วยทำให้บล็อกมี Traffic เพิ่มมากขึ้น และเป็นกุญแจสำคัญ ที่จะทำให้คุณประสบความสำเร็จในฐานะ Blogger ได้ในระยะยาว

บทสรุปส่งท้าย

ในสายงาน Digital Marketing นั้นการสร้าง Content มีอยู่ด้วยกันหลากหลายช่องทาง แต่ การเขียนบล็อก (Blogging) โดยใช้ทักษะของ การเขียนบทความ ถือเป็น กระบวนการหลักอย่างหนึ่ง ซึ่งหากคุณสามารถสร้าง Content / สร้างบทความ ที่มีคุณภาพด้วยแล้ว ย่อมเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้ประสบกับความสำเร็จดังที่ตั้งเป้าหมายไว้ ไม่ว่าจะในฐานะของ Blogger , Web Master/Admin , SEO Specialist , Internet Marketer , Content Creator , Copy Writer และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง Online Business Owner …

บทความนี้ น่าจะช่วยทำให้ท่านเข้าใจถึง การสร้าง Content / การเขียนบล็อก / การเขียนบทความ ให้มีคุณภาพ ได้อย่างเห็นภาพชัดเจนมากยิ่งขึ้น และผมหวังว่าท่านจะลองนำไปใช้ต่อยอดสร้างสรรค์ผลงานของตัวท่านเอง ให้ออกมาเข้ากับคำกล่าวที่ว่า “Content is King” นะครับ

10 เทคนิค การเขียนบทความ / เขียนบล็อก ให้ประสบความสำเร็จ

1 – กำหนดเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของการเขียนบล็อก (Blog  Purpose)
2 – ค้นหาข้อมูลก่อนลงมือเขียน (Research)
3 – ตั้งชื่อโพสอย่างมีกึ๋น (Post Title)
4 – กำหนดเค้าโครงของโพส (Post Outline)
5 – รู้จักเขียน Introduction (Post Intro)
6 – ขนาดของบทความ ยาวดีกว่าสั้น (Post Length)
7 – เรียนรู้กฎพื้นฐานของ Onpage SEO
8 – ตกแต่งบทความให้น่าอ่าน
9 – รู้จักโปรโมทเผยแพร่บทความให้คนเห็น
10 – เขียนบทความใหม่ๆอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ


Credit: http://www.webbastard.net/how-to-blogging/

WordPress หน้าขาว แก้ได้ง่าย ๆ ใน 5 วิธีนี้

WordPress หน้าขาว ปัญหายอดฮิตอีกปัญหาที่คนทำ WordPress ต้องพบเจออยู่เป็นประจำ บทความนี้ CodingDee จะพามาดูวิธีรับมือเมื่อ WordPress ขึ้นหน้าขาว โล่ง ๆ ไม่มีอะไรเลย มาดูกันครับ

WordPress หน้าขาว แก้ได้ง่าย ๆ

WordPress หน้าขาว

CodingDee ได้รวบรวมวิธีแก้ปัญหาไว้ให้ 5 วิธีลองเลือกนำไปปรับใช้ดูครับ

1. เปิดโหมด Debug

Default ของ WordPress จะปิดโหมดนี้ไว้เพื่อความปลอดภัยครับ เว็บจะไม่แสดงข้อความหรือ error อะไรออกมา ทำให้เราเห็นเป็นหน้าขาว ๆ โล่ง ๆ วิธีที่จะทำให้ WordPress บอกเราว่าเกิดอะไรขึ้น เราจะได้นำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์หาสาเหตุและวิธีแก้กันต่อไป วิธีก็คือให้เราไปที่ไฟล์ wp-config.php แล้วมองหาบรรทัดนี้
define( 'WP_DEBUG', false);
แก้จาก false เป็น true ก็จะได้แบบนี้
define( 'WP_DEBUG', true);
save แล้วลองเปิดหน้าเว็บดูก็จะเจอ ข้อความหรือ error ที่ WordPress ส่งออกมาให้เราดูเราก็นำข้อความตรงนี้ไป Search Google เพื่อหาวิธีแก้ไขต่อไปครับ

2.ปิด Plugin ให้หมดทุกตัว

WordPress หน้าขาว ปัญหาส่วนใหญ่ก็มาจาก Plugin ที่เราเอามาลงเนี่ยแหละ พอลงเสร็จ หน้าขาวเลย ถ้าเป็นแบบนี้ก็สันนิษฐานได้เลยว่าเป็นที่ Plugin เนี่ยแหละลองไปไล่ปิด Plugin ดูก็จะหายครับ ไล่ปิดไปทีละตัว ๆ ก็จะรู้เองว่าเป็นที่ Plugin ตัวไหน
แต่มันก็จะมีเคสที่หนักกว่านี้คือ error แบบเข้าหลังบ้านไม่ได้เลยแบบนี้ก็ปิด Plugin ไม่ได้น่ะสิ ไม่ต้องตกใจครับ CodingDee มีวิธีแก้ง่าย ๆ ทำตามนี้เลย วิธีปิดปลั๊กอิน WordPress เมื่อเข้าหลังบ้านไม่ได้

3.โหลด Theme มาลงใหม่

บางครั้งปัญหาก็อาจจะเป็นที่ Theme ที่เราใช้งานอยู่ครับ ไฟล์อาจจะหายไปหรือไม่สมบูรณ์ด้วยสาเหตุอะไรก็แล้วแต่ที่เราไม่รู้ หรือเราเผลอไปแก้ไขไฟล์ Theme ก็เป็นสาเหตุให้ WordPress หน้าขาวได้ครับ วิธีก็คือให้เราไปโหลด Theme ที่เราใช้ ส่วนใหญ่ก็คงซื้อ Theme มาจาก Themeforest กันแหละเนอะ นั่นแหละไปโหลดมาแตกไฟล์แล้ว FTP ไฟล์ขึ้นไปทับของเดิมให้หมด

4.โหลด WordPress มาลงใหม่

วิธีนี้ก็จะคล้าย ๆ กับวิธีที่ 3 เพียงแต่เปลี่ยนจาก Theme เป็น ไฟล์ WordPress ก็ไม่มีอะไรมากไปโหลดมา แตกไฟล์ FTP ขึ้นไปทับของเดิม

ปล.ยกเว้นไฟล์ wp-config.php นะครับไม่ต้องเอาไปทับของเดิมนะ เดี๋ยวเว็บจะพังเอา

5.Backup เว็บบ่อย ๆ

วิธีนี้เป็นวิธีที่ง่ายและผมชอบทำอยู่บ่อย ๆ เพราะเนื่องจากผมดูแล WordPress อยู่หลายเว็บ ผมเลยตั้ง BackUp ทุกวัน ถ้าเว็บไหนมีปัญหาก็ Restore ให้ 1-5 นาทีก็เสร็จเรียบร้อย แต่วิธีนี้อาจจะไม่เหมาะกับเว็บที่ใช้ WooCommerce นะครับ เพราะอาจส่งผลให้ Order ที่ลูกค้าสั่งมาหน้าเว็บหายได้เพราะเราไป Restore มัน แต่ก็เป็นไม่ตายสุดท้าย ถ้า 4 วิธีข้างบนเกิดไม่ได้ผลขึ้นมา ยังไงหมั่นทำ Backup ไว้บ่อย ๆ จะดีมากครับ มันช่วยเราได้เสมอถ้าเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดขึ้นมา BackUp ไว้หลาย ๆ ที่นะไม่ใช่เอาไว้บน Cloud ที่เดียว เอาลงมาเก็บ Offline ใส่ไว้ใน External ก็ได้ เดี๋ยวจะหาว่าไม่เตือน

แถมให้เอามาเล่าสู่กันฟัง

ผมเคยเจออยู่เคสนึง อาการหน้าขาวแบบนี้เลย ก็ไล่แก้ไป ปิด Plugin ลง Theme ใหม่ ก็หาย พอวันต่อมาเป็นอีก เราก็สงสัย เพิ่งแก้ไปนะเป็นอีกแล้วเหรอ ผมก็ลองไปเปิด โหมด Debug ดู มันฟ้องว่าไฟล์หลักใน WordPress ไม่สมบูรณ์ก็เลย FTP ไปไล่ดูว่าไฟล์ไหนลองเปิดไฟล์ดูก็รู้เลยสาเหตุเลยครับ ว่าทำไมเพิ่งแก้ไปแล้วกลับมาเป็นอีก สาเหตุคือ WordPress โดน Hack ครับ ไฟล์โดนฝัง script เต็มไปหมด ผมก็เลยต้องมาล้างระบบใหม่หมด

  • ติดตั้ง WordPress ให้ใหม่
  • ติดตั้ง Theme ใหม่
  • ติดตั้ง Plugins ใหม่

จบแล้ว

ขอบคุณบทความดี ๆ จาก CodingDee

ปัญหา wordpress ที่เจอได้บ่อย ๆ พร้อมวิธีแก้ไข

ปัญหา wordpress ที่มือใหม่มักจะพบเจอได้บ่อย ๆ ทาง Standhost ได้รวบรวมบทความพร้อมวิธีแก้ไขไว้ให้อ่านกันได้ง่าย ๆ ไม่ต้องไปไล่หาอ่านทีละบทความใครเจอปัญหาอะไรก็อ่านตามลิงก์ข้างล่างนี้ได้เลย

1.WordPress ส่งเมลไม่ออก หรือส่งแล้วอีเมลเข้า junk mail

เป็นอีกปัญหายอดฮิตที่ต้องเจอกันแทบจะทุกคน ไม่ต้องกังวล CodingDee มีวิธีแก้ไขอ่านวิธีทำได้ที่บทความนี้

แชร์ประสบการณ์ เมื่อเวิร์ดเพรส “ส่งเมลไม่ออก” และวิธีแก้ปัญหา

2.WordPress โดน hack

ปัญหาโดนแฮกทุกคนมีโอกาสได้พบเจอแน่นอนถ้าไม่มีการป้องกันที่ดีผมเขียนวิธีการป้องกันไว้ที่บทความนี้ เสริมเกราะให้เวิร์ดเพรสด้วย iThemes Security ตอนที่ 1

3.WordPress แชร์บทความแล้วรูปไม่ขึ้น

ปัญหานี้มักจะเจอเวลาเรานำบทความไปแชร์ใน facebook แล้วรูปไม่ขึ้นหรือขึ้นแต่รูปไม่ตรงกับรูปในบทความอ่านวิธีแก้ไขได้ที่บทความนี้

Facebook Share รูปไม่ขึ้นและวิธีแก้ไข

4.WordPress โดน Spam

ตอนผมทำเว็บใหม่ ๆ ปวดหัวกับมันมากผมมีวิธีป้องกันที่ได้ผลแทบจะ 100% เลยอ่านต่อที่บทความนี้ Invisible reCaptcha ปลั๊กอินป้องกันสแปมสำหรับ WordPress

5.Database มีขนาดใหญ่ (บวม)

ปัญหานี้ต้องจ้างแม่บ้านประจำเวิร์ดเพรส WP Optimize ปลั๊กอินกำจัดขยะสำหรับเวิร์ดเพรส

6.Fatal error: Allowed memory size of 123….

ไม่รู้จะอธิบายยังไง ปัญหานี้ก็เจอบ่อยมากกกกกก อ่านวิธีแก้ไขต่อที่บทความนี้ Fatal Error: Allowed Memory size Exhausted WordPress

7.White Screen Of The Dead (หน้าขาว)

ในเมื่อ Windows มีจอฟ้า WordPress ก็มีจอขาว 555+ อ่านวิธีแก้ไขได้ที่บทความนี้ครับ WordPress หน้าขาว แก้ได้ง่าย ๆ ใน 5 วิธีนี้

จบแล้ว

ขอบคุณบทความดี ๆ จาก CodingDee

Fatal Error: Allowed Memory size Exhausted WordPress

ปัญหานี้เป็นอีกปัญหายอดฮิตที่ผมเจอบ่อยมาก สาเหตุส่วนใหญ่มาจากการตั้งค่าโฮสที่ไม่เหมาะสมกับ WordPress พอเราใช้งานเว็บไปสักพักก็จะเจอข้อความคล้าย ๆ แบบนี้โผล่ขึ้นมา

FATAL ERROR: ALLOWED MEMORY SIZE OF 86735766 BYTES EXHAUSTED

อาการนี้มันจะเป็น ๆ หาย ๆ ซึ่งผมเองได้พบวิธีแก้ไขปัญหานี้อยู่ 2 วิธีดังนี้ครับ

วิธีที่ 1.เพิ่มโค๊ดบรรทัดนี้เข้าไปที่ไฟล์ wp-config.php

define( 'WP_MEMORY_LIMIT', '1024M' );

วิธีที่ 2.แจ้งมายัง Standhost ครับ

ถ้าลองวิธีที่ 1 แล้วยังไม่ได้วิธีสุดท้ายคือแจ้งโฮสที่เราใช้งานอยู่ให้ทางโฮสเค้าแก้ให้ครับ อาจต้องมีการปรับคอนฟิกเพื่อลูกค้าครับ สำหรับลูกค้า Standhost นะครับ 🙂

จบแล้ว

ขอบคุณบทความดี ๆ จาก CodingDee ครับ

WP Optimize ปลั๊กอินกำจัดขยะสำหรับเวิร์ดเพรส

WP Optimize ลงปลั๊กอินนี้ไว้เปรียบเสมือนมีแม่บ้านประจำตัว ที่จะคอย ปัด กวาด เช็ด ถู ช่วยให้ Database เราสะอาดไม่รกรุงรังอีกต่อไป แถมขนาดของ Database ก็เล็กลงด้วยนะ ส่งผลให้เว็บเราทำงานได้เร็วขึ้น ผมนำไปติดตั้งให้กับเว็บลูกค้าที่ผมดูแลอยู่โดยก่อนใช้ปลั๊กอิน Database มีขนาด 1 GB ใหญ่มาก ๆ เว็บลูกค้าเป็นเว็บบทความปกตินะครับไม่ใช่เว็บ E-Commerce หลังจากที่ผมลงปลั๊กอิน WP Optimize แล้ว ขนาดของ Database เหลืออยู่เพียง 24 MB เท่านั้นลดลง 900 MB เลย

ทำไม Database ถึงมีขนาดใหญ่ ?

เพราะทุก ๆ การกระทำที่เราทำลงไปในเว็บไม่ว่าจะเป็น สร้างบทความ แก้ไขบทความ อัพรูปภาพ สร้างสินค้า ลงปลั๊กอิน มันจะมีข้อมูลที่ยังคงค้างอยู่ใน Database เราเช่นเวลาเราเขียนบทความตัวระบบของ WordPress เองก็จะมีการสร้าง Revision ขึ้นมาสำหรับสำรองข้อมูลที่เราเขียนลงไปเป็นหลาย ๆ เวอร์ชั่นก็ส่งผลให้ขนาดของ Database เราใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ หรือเวลาเราติดตั้งปลั๊กอินก็เหมือนกัน ปลั๊กอินบางตัวจะมีการบันทึกข้อมูลสำหรับการตั้งค่าต่าง ๆ ที่เรากำหนดไว้ของตัวปลั๊กอินลงใน Database เหมือนกัน บางปลั๊กอินถ้าผู้พัฒนาเค้าเขียนมาดีมันก็จะลบข้อมูลพวกนี้ออกไปให้เวลาเราลบปลั๊กอินแต่ส่วนมากมันไม่ได้ลบออกไปด้วยก็ส่งผลให้ Database เราบวมได้เหมือนกัน

ใครใช้ WooCommerce ควรลง

สำหรับร้านค้าที่ใช้ WooCommerce ควรจะลงไว้ครับเพราะ WooCommerce เองมันมีฟีเจอร์ Geo Location สำหรับเก็บข้อมูล Location และ IP Address ของ User ที่เข้ามาใช้งานเว็บเราไว้ทำให้ Database เราจะมีขนาดใหญ่กว่าปกติตัวปลั๊กอินก็จะช่วยตรงนี้ได้ครับ

ติดตั้งปลั๊กอิน

โหลดได้ที่นี่ คลิก

วิธีใช้งาน

หลังจากติดตั้งแล้วให้เราสังเกตจะมีเมนู WP Optimize โผล่ขึ้นมา คลิกเข้าไปเลยแล้วจะเจอหน้าตาสำหรับการตั้งค่าประมาณนี้ (ตั้งค่าตามภาพได้เลย) สำหรับใครที่ไม่ต้องการลบ Draft Post (ฉบับร่าง) ไม่ต้องคลิก Clean all auto-drafts and trashed posts นะครับ

(อย่าลืม Backup ก่อนทุกครั้งนะครับ) แล้วกด Run all selected optimisations ได้เลย

ตั้งเวลา Optimize

เราสามารถตั้งเวลาให้ปลั๊กอิน Optimize Database ให้เราได้ด้วยจะได้ไม่ต้องมาคอยกด Optimize เองยิ่งใครมีเว็บที่ต้องดูแลเยอะ ๆ นี้สบายเลย ตั้งเป็น วันละครั้ง อาทิตย์ละครั้ง เดือนละครั้ง ก็ตามใจเราเลย โดยจากภาพผมตั้งไว้ที่ อาทิตย์ละ 1 ครั้งครับ

จบแล้ว

ขอบคุณบทความดี ๆ จาก CodingDee ครับ

Invisible reCaptcha ปลั๊กอินป้องกันสแปมสำหรับ WordPress

Invisible reCaptcha ปลั๊กอินสุดเจ๋งที่ช่วยป้องกันสแปมสำหรับ WordPress ก่อนหน้าที่ผมจะเปลี่ยนมาใช้ Invisible reCaptcha นั้นผมใช้ reCaptcha เวอร์ชั่นเก่าอยู่ก่อนหน้านี้อยู่แล้ว เวอร์ชั่นที่ให้เรากดเลือกรูปนั่นแหละ…

Invisible reCaptcha For WordPress

ปัญหาอีกข้อที่ผมเจอเมื่อเราใส่ captcha ไว้ตามหน้าแบบฟอร์มต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น หน้าฟอร์มสมัครสมาชิก หน้าฟอร์มติดต่อเรา หน้าฟอร์มคอมเมนต์ เป็นต้น ปัญหาที่ตามมาคือการที่ user ถูกขัดจังหวะการใช้งานนั่นเอง ผมเคยเจอบางเว็บใส่ captcha ไว้หน้าสั่งซื้อด้วยก็มีนะ ทีนี้พอ user ถูกขัดจังหวะบางคนเค้าปิดหน้าเว็บทิ้งไปเลย ถ้าเป็นหน้าสั่งซื้อกรอกแล้วไม่ผ่านติด captcha เค้าก็ปิดเว็บออกไปเลยทำให้เราสูญเสียรายได้ ขอยกเคสที่ผมเจอคือผมใส่ Google reCaptcha ไว้ที่หน้าสมัครตัวแทนจำหน่ายที่เราจะต้องกดติ๊กถูกก่อน submit ฟอร์มนั่นแหละ ผมเองก็คิดว่ามันง่ายในระดับแล้วนะ มันต้องมากรอก ตัวอักษร ตัวเลข แต่ปรากฎว่ามีลูกค้าโทรศัพท์เข้าที่บริษัทค่อนข้างบ่อย บอกว่ากด สมัครตัวแทนไม่ได้ ผมก็สงสัยว่าเพราะอะไรเค้าถึงกดสมัครไม่ได้ ผมลองใช้งานดูมันก็สมัครได้นะ ไม่ติดปัญหาอะไรแล้วทำไมลูกค้าเรากดสมัครไม่ได้ งงสิครับทีนี้ ไม่รู้จะวิเคราะห์หาสาเหตุยังไง

ผมนึกขึ้นได้ว่าเว็บเราติด Hotjar ไว้นี่หว่า ( Hotjar คือ เครื่องมือวิเคราะห์การใช้งานของ user ในเว็บเราว่าเค้า คลิกส่วนไหนของเว็บบ้าง ไม่ว่าจะเป็น ปุ่ม ลิงก์ หรือเลื่อนเมาส์ไปส่วนไหนของหน้าจอ ฯลฯ ไว้จะเล่ารายละเอียดให้ฟังวันหลังนะครับ ) พอผมมาเปิดดู history การใช้งานหน้าแบบฟอร์มสมัครตัวแทนจำหน่าย ปรากฏว่าแทบไม่มีการคลิกที่ช่องสี่เหลี่ยมของ captcha เลย นั่นแหละสาเหตุที่สมัครไม่ผ่าน ทั้งที่ผมเขียนบอกไว้ชัดเจนว่าให้คลิกที่ช่องสี่เหลี่ยมตรงนี้ก่อนนะ แต่ก็อย่างว่าละครับ ความปลอดภัยและความสะดวกสบายมักจะสวนทางกันเสมอ ถ้าเราไม่ติด captcha ลูกค้าก็ใช้งานได้ง่ายขึ้นแต่ก็เสี่ยงจะโดน spam แบบนี้เราควรจะเลือกวิธีไหนดี

สุดท้ายก็หาวิธีแก้ปัญหานี้ได้นั่นก็คือ Invisible reCaptcha ซึ่งมันก็คือ reCaptcha ที่พัฒนาให้ใช้งานง่ายขึ้นโดยที่มีการขัดจังหวะการใช้งานของ user น้อยลงกว่าเดิมนั่นเอง คือ user ไม่ต้องกดอะไรเลย กรอกฟอร์มเสร็จกด submit แค่นั้นจบเลย

ผมไม่รอช้ารีบถอด Google reCaptcha เวอร์ชั่นเดิมออกแล้วเปลี่ยนมาใช้ Invisble reCaptcha อย่างไวปรากฎว่าหลังจากนั้นไม่มีลูกค้าโทรเข้ามาที่บริษัทว่าสมัครตัวแทนไม่ผ่านอีกเลย ย้ำว่าไม่มีเลยนะครับ และอัตราการสมัครตัวแทนจำหน่ายก็เพิ่มมากขึ้นกว่าเดิมอีกด้วยและไม่มี spam เลย win win ทั้งฝั่งเราและลูกค้า

ข้อดีของปลั๊กอินนี้

  1. ไม่ขัดจังหวะการใช้งานของ User UX ดีขึ้นแน่นอน
  2. สามารถใช้งานร่วมกับ WooCommerce ได้
  3. สามารถใช้งานร่วมกับ BuddyPress ได้
  4. สามารถใช้งานร่วมกับ ContactForm7 และ Gravity Form ได้
  5. สามารถใช้งานร่วมกับ Seed Confirm Pro ได้

เล่าเรื่องมาพอสมควร (เหรอ) มาดูวิธีใช้งานกันครับ

สร้าง API Key สำหรับใช้งาน captcha กับเว็บเรา

  • คลิก แล้ว login ด้วย Gmail เข้าไปได้เลย
  • เสร็จแล้วกรอกข้อมูลลงไปดูตัวอย่างตามภาพด้านล่าง
  • Label คือชื่อสำหรับ captcha ที่เราสร้างขึ้นมากรอกเป็นชื่ออะไรก็ได้ผมกรอกเป็น CodingDee.com
  • เลือก Invisible reCAPTCHA
  • Domains กรอกชื่อเว็บที่เราต้องการใช้งานลงไป จริง ๆ สามารถกรอกได้มากกว่าหนึ่งเว็บใครใช้หลายเว็บก็ใส่ลงไป 1 บรรทัดต่อ 1 เว็บ สำหรับผมใช้เว็บเดียว
  • กดยอมรับเงื่อนไขการใช้งาน
  • กด Register

เสร็จแล้วเราจะได้ Site key และ Secret key มาตามภาพ

เข้าไปที่หลังบ้าน Settings >> Invisible reCaptcha

  • นำ Site key และ Secret key กรอกลงไปตามภาพ

  • Badge Position สามารถเลือกได้ 3 ตำแหน่งว่าเราต้องการให้ captcha อยู่ส่วนไหนของฟอร์ม ผมเลือกมุมขวาล่าง
  • เสร็จแล้วกดบันทึก

Tab WordPress

สำหรับส่วนนี้ปลั๊กอินจะมีให้เราเลือกว่าต้องการให้มี captcha ที่ส่วนไหนบ้าง เช่น

  • หน้า Login
  • หน้า Register
  • Comment
  • หน้าลืมรหัสผ่าน

สำหรับผมเปิดหมดทุกหน้าเลย

Tab WooCommerce

ส่วนนี้สำหรับใครที่ใช้ WooCommerce ก็สามารถมาเปิดใช้งานตรงส่วนนี้ได้ครับ

  • หน้า WooCommerce Login
  • หน้า WooCommerce Register
  • หน้าลืมรหัสผ่าน
  • ส่วนของ Comment และรีวิวสินค้า

Tab BuddyPress

ส่วนนี้สำหรับใครที่ใช้ BuddyPress

Tab Contact Forms

ส่วนนี้ผมชอบมากสามารถใช้ร่วมกันกับปลั๊กอินฟอร์มอื่น ๆ ได้ เช่น ContactForm7 GravityForm เป็นต้น

ทดลองเข้าหน้า Login ดูเราก็จะพบกับ captcha ที่โผล่ขึ้นมาตามภาพ

หน้าแจ้งชำระเงินผมใช้ Seed Confirm Pro

สำหรับใครที่ใช้ seed confirm pro อยู่ก็จะได้ captcha เพิ่มเข้ามาให้อัตโนมัติตามภาพครับ

จบแล้ว

ขอบคุณบทความดี ๆ จาก CodingDee  ครับ

เสริมเกราะให้เวิร์ดเพรสด้วย iThemes Security ตอนที่ 1

วันนี้ผมมีวิธีตั้งค่า Plugin iThemes Security มาฝากครับ ถ้าอ่านบทความนี้จบ และเอาไปปรับใช้กับ เว็บไซต์ของคุณ ผมรับรองได้เลยว่าเว็บไซต์ของคุณจะมีความปลอดภัยเพิ่มมากขึ้นแน่นอน

WordPress โดนแฮค ทำยังไงดีครับ

นี่เป็นอีกคำถามที่ผมเจอบ่อยมาก โดยอาการที่เจอก็จะแตกต่างกันไป ตั้งแต่ หน้าเว็บโดน Redirect ไปเว็บอื่น ,เข้าเว็บแล้วโดน Google เตือนว่าเว็บไม่ปลอดภัย, โดนวาง Backlink ไปเว็บ 18+ บลาๆๆ แล้วแต่ว่าใครจะโดนแบบไหน

ถ้าถามผม ผมก็จะตอบว่า ลง WordPress ใหม่ หรือ มี BackUp ไหม Restore กลับไปก่อนหน้าที่จะโดนสิ  สาเหตุที่ผมตอบแบบนี้เพราะถ้าเว็บโดนแฮคไปแล้วเนี่ย มันจะกระจายสคริปฝังไปแทบจะทุกไฟล์ในเว็บเราเลยครับ มาตามแก้นี่ใช้เวลาเยอะมาก อารมณ์เดียวกับ คอมโดนไวรัสนั่นแหละ ลงวินโดวน์ใหม่ง่ายกว่า

คงไม่มีใครอยากโดนกับเว็บตัวเองแน่ๆ  ลองนึกภาพวันดีคืนดี มีคนมาบอกว่า ทำไมผมเข้าเว็บคุณแล้วมันขึ้นเป็นเว็บโป๊ล่ะ หรือทำไมเว็บเข้าหลังบ้านไม่ได้ หรือทำไมโดนกูเกิ้ลฟ้องว่าเว็บไม่ปลอดภัย ขึ้นหน้าจอสีแดงหราโชวน์ให้ชาวโลกเค้ารู้กันไปเลย ว่าเว็บโดนแฮคนะ

พอจะเห็นภาพใช่ไหมครับว่ามันน่ากลัวแค่ไหน เว็บสุดรักสุดหวงของเราที่ลงทั้งแรงกาย แรงใจสร้างมาจะต้องมาเป็นแบบนี้  แต่ไม่ต้องกังวลไปครับ วันนี้ผมจะมาแนะนำพระเอกของเราที่จะมาช่วยให้เว็บเรามีความปลอดภัยเพิ่มมากขึ้น เปรียบเสมือนกับใส่ vanguard กันเลย ใครรู้จัก vanguard นี้บ่งบอกอายุนะ ( 55 )

iThemes Security คืออะไร?

คือ ปลั๊กอินที่ช่วยป้องกันช่องโหว่ที่ส่งผลให้เว็บไซต์เราไม่ปลอดภัยครับมีฟีเจอร์ต่าง ๆให้เราเลือกใช้เยอะมากเช่น

1.Brute Force Protection

2.File Change Detection

3.404 Detection

4.Strong Password Enforcement

5.Lock Out Bad Users

6.Away Mode

7.Hide Login & Admin

8.Database Backups

9.Email Notifications

มีข้อดียังไง?

1.ฟรี

ตัวปลั๊กอินเองมี 2 เวอร์ชั่นให้เราใช้งานคือ เวอร์ชั่นฟรี และ เวอร์ชั่นเสียตังค์ แค่เวอร์ชั่นฟรีก็เหลือเฟือครับสำหรับการเสริมเกราะให้เว็บไซต์เราแล้ว

2.เบา

เบาในที่นี้คือ กินทรัพยากรเว็บไซต์น้อย ลงแล้วเว็บไม่หน่วง ลงแล้วไม่โดน Host แจ้งมาว่าเว็บเรากินทรัพยากรเค้าเยอะ (กรณีที่เช่า share host)

3.ใช้งานง่าย

ขั้นตอนการตั้งค่าต่าง ๆ ก็ไม่ซับซ้อน ตัวปลั๊กอินเองก็อธิบายไว้ได้ชัดเจนว่าแต่ละฟีเจอร์เอาไว้ใช้ทำอะไร เหมาะสำหรับ user ที่ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ทางด้านพวกนี้มากก็สามารถตั้งค่าเองได้

สรุป

ความปลอดภัยของเว็บไซต์นั้นเป็นเรื่องที่ต้องให้ลำดับความสำคัญมาอันดับต้น ๆ เลย เพราะถ้าปัญหามันเกิดแล้ว ไปตามแก้ทีหลังเนี่ย เป็นเรื่องที่ยากลำบากกว่าการป้องกันซะอีก เสียเวลาด้วย เอาเวลาไปพัฒนาเว็บไซต์เราดีกว่า

ลอง โหลด ไปใช้กันดูครับ รับรองว่าเว็บไซต์ของคุณจะปลอดภัยขึ้นมากกว่าเดิมแน่นอน

ตอนที่ 2 มาแล้ว

เสริมเกราะให้เวิร์ดเพรสด้วย iThemes Security ตอนที่ 2

จบแล้ว


ขอบคุณบทความดี ๆ จาก CodingDee  ครับ

เสริมเกราะให้เวิร์ดเพรสด้วย iThemes Security ตอนที่ 2

มาตามสัญญาครับ สำหรับเสริมเกราะให้เวิร์ดเพรสด้วย iThemes Security ตอนที่ 2 คราวนี้เราจะมาทำความเข้าใจว่าแต่ละฟีเจอร์ของ iThemes มีอะไรบ้าง เพื่อจะได้เข้าใจและนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับเว็บของเรากัน หลังอ่านบทความนี้จบคุณจะได้เว็บที่มีความปลอดภัยแน่นปึ๊ก ไม่โดนแฮคง่าย ๆ อีกต่อไป.

ก่อนจะเริ่มกันใครยังไม่อ่าน ตอนที่ 1 ผมเอามาแปะไว้ให้แล้ว

สำหรับใครที่พร้อมแล้วก็มาเริ่มกันเลย

เข้าไปที่ Menu Security > Settings เราจะเจอหน้าสำหรับตั้งค่าปลั๊กอินโดยแบ่งเป็นแต่ละฟีเจอร์ มีอยู่ทั้งหมด 29 ฟีเจอร์ด้วยกัน ( เยอะมากกก )

ฟีเจอร์แรก Security Check

ฟีเจอร์นี้ปลั๊กอินจะตั้งค่าต่างๆให้เราอัตโนมัติเพียงแค่คลิก Secure Site

WordPress Tweaks

ส่วนนี้จะคล้าย ๆ กับส่วนของ System Tweaks แตกต่างกันตรงที่ส่วนนี้จะตั้งค่าในส่วนของ WordPress ตั้งตามภาพได้เลย




System Tweaks

สำหรับส่วนนี้จะเป็นการตั้งค่าเกี่ยวกับสิทธ์ในการเข้าถึงไฟล์ ตรงนี้เป็นอีกจุดหนึ่งที่เว็บส่วนมากโดนแฮคเนื่องจากไม่มีการกำหนดสิทธ์ในการเข้าถึง File หรือ Directory ต่าง ๆ ที่ดีพอ ส่วนนี้ตั้งตามภาพได้เลยครับ


Database Backups

ฟีเจอร์นี้คือสำรองฐานข้อมูลเว็บเรานั่นเอง ตั้งค่าตามภาพได้เลยครับ



อธิบายเพิ่มเติม จากรูปผมตั้งให้ปลั๊กอินทำการสำรองข้อมูล Database เป็นไฟล์ zip และส่งเข้าเมลผมทุกวันนั่นเอง

Away Mode

ฟีเจอร์นี้ผมชอบมากเปรียบเสมือนตั้งเวลาการเข้าใช้งานหลังบ้านเว็บเรานั้นเอง
โดยสามารถตั้งได้ว่าเราจะไม่อนุญาติให้สามารถเข้าหลังบ้านได้ตั้งแต่กี่โมงถึงกี่โมง
สำหรับผมผมตั้งไว้ที่ เที่ยงคืนถึงแปดโมงเช้า จะไม่สามารถเข้าใช้งานหลังบ้านได้  ตามภาพ

ลองนึกภาพว่า WP-ADMIN เป็นประตูบ้านเรานะครับ แล้ว ALWAY MODE เป็นรั้วกั้น พอถึงเวลาเราก็ปิดรั้วกั้นไม่ให้ใครเข้ามาประตูบ้านเราได้ ถ้าเราไม่ตั้ง ALWAY MODE จำกัดช่วงเวลาที่เข้าหลังบ้านเว็บเราได้ก็เปรียบเสมือนบ้านที่ไม่มีรั้วกั้น ใครจะมาเคาะจะมางัดประตูเข้าบ้านเราก็สามารถทำได้ตลอดเวลา

Banned Users

ฟีเจอร์นี้ก็มีไว้สำหรับ แบนผู้ใช้งานนั่นเอง เราสามารถเอาไอพีที่เราต้องการจะแบนมาใส่ไว้ในช่อง ตามภาพ
1 บรรทัดต่อ 1 เลขไอพี ในส่วนนี้ให้ตั้งค่าตามภาพได้เลยครับ
ปล. สำหรับใครที่เพิ่งลงปลั๊กอินครั้งแรกเลขไอพีในช่อง Ban Hosts จะยังไม่มีเหมือนของผมนะ

Local Brute Force Protection

ฟีเจอร์นี้จำเป็นอย่างมากต้องเปิดไว้เลย มันก็คือระบบป้องการ Brute Force นั่นเอง สำหรับใครที่ยังไม่รู้จักว่า Brute Force คืออะไร ผมจะอธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ
Brute Force คือ เครื่องมือที่ใช้ในการ สุ่ม username password login เข้าระบบนั่นเอง โดยเครื่องมือประเภทนี้จะมี Database List พวก username และ password ยอดฮิตที่ชอบกันเช่น username admin password 1234 เป็นต้น โดยมันจะสุ่ม ส่ง username password เข้ามาที่ระบบเราอยู่เรื่อยๆจนกว่าจะเจอ username password ที่ถูกต้อง ถ้าเราตั้ง username และ password ไม่ดีพอก็จะโดนเครื่องมือพวกนี้เจาะเข้าระบบเราได้ง่าย ๆ นั่นเอง สำหรับ วิธีตั้งรหัสผ่านให้คาดเดาได้ยากและปลอดภัย ผมเขียนไว้ ลองไปอ่านกันดูครับ
วิธีตั้งค่าก็ดูตัวอย่างตามภาพได้เลยครับ

อธิบายจากภาพ ผมตั้งไว้ว่า ถ้า user ใดก็ตามทำการ login เข้าระบบผิดติดต่อกันเกิน 3 ครั้งจะโดนแบน 480 นาที คิดเป็นชั่วโมงก็ 16 ชั่วโมง หลังจากนั้นถึงจะมา login ใหม่ได้
และถ้าใครมาลอง login โดยใช้ username admin จะโดนแบนทันทีเลย หวังว่าไม่มีใครตั้ง username เป็น admin นะ ใครตั้งรีบไปเปลี่ยนเลยด่วน ๆ

Hide Backend

ส่วนนี้จะเป็นการเปลี่ยน url สำหรับเข้าหลังบ้านครับ โดยปกติเวลาเราจะเข้าหลังบ้านของ wordpress เราก็จะพิมพ์ /wp-login.php หรือ /wp-admin แค่นี้มันก็จะ redirect มาหน้า login ให้แล้วซึ่งจริง ๆ แล้วไม่เป็นผลดีเลยครับ ใครก็สามารถหาหน้า login เว็บเราเจอ วิธีเปลี่ยนก็ดูตามรูปเลยครับ

จากรูปผมตั้ง url สำหรับเข้าหลังบ้านเป็น /abc เพียงเท่านี้ เมื่อผู้ไม่หวังดีหรือคนอื่นที่พิเรนมาลองเดา url เข้าหลังบ้านเราด้วย /wp-login.php หรือ /wp-admin เค้าก็จะหาไม่เจอแล้วครับ

Change Database Table Prefix

ส่วนนี้จะทำการเปลี่ยน prefix ชื่อนำหน้าของ table ใน database เว็บเราครับซึ่ง default ของ wordpress คือ wp_ อันนี้ควรจะเปลี่ยนอย่างยิ่งครับเพื่อไม่ให้เดาชื่อ table ใน database เราได้ ทำตามภาพได้เลยครับ
ปล. backup database ก่อนทำตรงนี้นะครับ กันไว้ก่อนเผื่อเกิดเหตุการไม่คาดฝัน

แถมให้ในส่วนของ Logs ครับ

ตัวปลั๊กอินเองจะเก็บ logs ไว้ให้เราดูว่ามีอะไรเกิดขึ้นกับ web ของเราบ้างมาดูกันเลยครับ

จากรูปแสดงให้เห็นว่าในวันที่ 2017-01-28 เวลา 21:07:56 มีการพยายามเข้า url หลังบ้านแต่เจอ Alway mode ที่ตั้งเวลาไว้เลยเข้าไม่ได้ มาลองดูอีกสักอันกันครับ

อันนี้มีการสุ่ม  login ด้วย user ที่ชื่อว่า test เข้ามาหลายครั้งเลยและสุดท้ายก็โดน ban ไปตามที่เราตั้งค่าไว้ครับ ลองคลิกที่เลขไอพีดูว่ามาจากไหน

จากภาพก็มาจาก Jarkata โน่นเลย
เห็นไหมครับว่าวัน ๆ หนึ่งเกิดอะไรขึ้นกับเว็บของเรากันบ้าง ถ้าเราไม่มีการป้องกันที่ดีพอจะเกิดอะไรขึ้นบ้างก็ไม่รู้ ดีไม่ดีอาจต้องทำเว็บใหม่กันเลย

จบแล้ว

ขอบคุณบทความดี ๆ จาก CodingDee ครับ

แชร์ประสบการณ์ เมื่อเวิร์ดเพรส “ส่งเมลไม่ออก” และวิธีแก้ปัญหา

หากคุณกำลังเจอปัญหา “ส่งเมลไม่ออก” หรือ เมลที่ส่ง “เข้าเมลขยะ”

หรือไม่รู้ว่าเมลที่ส่งแล้วไปไหน “ส่งออกไหม” “ผู้รับได้เมลไหม” “เปิดเมลอ่านหรือเปล่า”

ปัญหาเหล่านี้จะหมดไปหลังจากคุณอ่านและทำตามวิธีการที่ผมกำลังจะบอกคุณต่อไปนี้

วิธีนั่นก็คือใช้ Mailgun

mailgun คือผู้ให้บริการด้านอีเมลโดยเฉพาะ โดยเราจะใช้ mailgun นี้มาเป็นคนส่งเมลให้เราแทนการส่งเมลจาก host เราเอง ซึ่ง mailgun เค้าให้เราใช้งานฟรี เดือนละ 10,000 อีเมล หากมากกว่านั้นมีค่าใช้จ่ายเพิ่ม ขึ้นอยู่กับเราครับว่าหากต้องการใช้งานมากกว่านั้นก็ค่อยซื้อบริการเค้า แต่สำหรับผมแล้ว 10,000 อีเมลต่อเดือนที่เค้าให้มาก็เยอะมากแล้วครับ

สิ่งแรกที่ต้องทำคือ

สมัคร Account Mailgun ก่อน คลิก หลังจากสมัครเรียบร้อยแล้วให้ Login เข้าไปที่ Account เราครับ แล้วคลิกที่เมนู Domain

คลิก Add Domain ใส่ชื่อ Domain ของเราลงไป เช่น mg.yourdomain.com

วิธีการตั้งค่าหลังจากเราเพิ่มโดเมนเสร็จมีอยู่แค่ 3 ขั้นตอนง่าย ๆ ดังนี้

  1. Login เข้าไปยัง DNS Provider ที่เราใช้อยู่
  2. เพิ่ม DNS Record เข้าไปตามรายการที่ทาง mailgun ให้มา มีอยู่ทั้งหมด 5 Record
  3. รอให้ DNS ที่เราเพิ่มเข้าไป Verify ( ไม่เกิน 1 วัน )

วิธีดูว่า DNS เรา Verify หรือยัง มีจุดสังเกตุอยู่ 2 จุดดังนี้

  1. Domain Information ตรง State จะ Active สีเขียว

2.Domain Verification & DNS

ตรวจสอบขั้นตอนนี้ให้เรียบร้อยนะครับไม่งั้นเราจะไปต่อไม่ได้ ส่วนใครทำผ่านหมดแล้ว ก็ไปขั้นตอนต่อไปกันครับ

Tracking Settings

ในขั้นตอนนี้เราจะไปตั้งให้ mailgun track ว่ามีการคลิกหรือเปิดอีเมลที่เราส่งไปหรือไม่ โดยเข้าไปที่เมนู Tracking Settings และตั้งเป็น on ตามภาพครับ

มาถึงตอนนี้เราก็จะได้ SMTP สำหรับไปใช้ส่งอีเมลให้เว็บเรากันแล้ว
แต่ยังเหลืออีกขั้นตอนนั้นก็คือเราต้องไปโหลดปลั๊กอินสำหรับทำให้ WordPress เราใช้ SMTP ในการส่งเมลครับ

ผมแนะนำเป็นตัวนี้ Easy WP SMTP โหลดมาและติดตั้งให้เรียบร้อย เสร็จแล้วเข้าไปตั้งค่า smtp ตามภาพครับ

นำ Default SMTP Login มาใส่ในช่อง SMTP username
นำ Default Password มาใส่ในช่อง SMTP Password
ดูวิธีตั้งค่าตามตามภาพนะครับ

สำหรับ SMTP username และ SMTP Password เอามาจากไหน ?
เอาจาก mailgun ที่เราสมัครไว้ อยู่ในส่วนของ Domain Information ตามภาพครับ

คราวนี้เว็บเราก็พร้อมที่จะส่งเมลโดยใช้ smtp กันแล้วครับ โดยจากที่ผมใช้ mailgun ในการส่งเมลมา ดูจาก Logs
ผมส่งไปทั้งหมด 1,388 เมล เข้า Inbox ถึง 1,372 ไม่เข้าแค่ 16 เมลเท่านั้น ผมยังสงสัยครับว่า 16 เมลที่ส่งไม่เข้าเนี่ยเป็นเพราะอะไร เราสามารถดูได้จาก Logs ของ mailgun ครับ

ดูจาก logs แล้วมันบอกว่า 16 email นี้ไม่มีอยู่จริง ซึ่งมีโอกาสเป็นไปได้ว่าเป็นเมลที่สมัครเข้ามาในเว็บเป็นสแปมเมลนั่นเอง

จบแล้ว

ขอบคุณบทความดี ๆ จาก CodingDee ครับ

WordPress Chat ง่าย ๆ ด้วย Facebook Messenger แบบไม่ต้องใช้ปลั๊กอิน

WordPress Chat

WordPress มีปลั๊กอินสำหรับที่สามารถทำ chat อยู่หลายตัวก็จริงแต่ผมเองเป็นประเภทที่ไม่ชอบลงปลั๊กอิน (ถ้าไม่จำเป็น) ซึ่งเมื่อปลายปีที่ผ่านมาเฟสบุ๊คเองก็ปล่อยฟีเจอร์สำหรับให้ลูกค้าที่เข้าเว็บมาสามารถ chat ผ่านหน้าเว็บได้เลยโดยที่เราแทบจะไม่ต้องทำอะไรเลยมีขั้นตอนเล็ก ๆ น้อย ๆสำหรับเปิดใช้งานซึ่งตรงกับความต้องการของผมมาก ใช้เวลาจริง ๆ ไม่เกิน 5 นาทีก็เสร็จแล้วหากใครอยากลองทำบ้างก็สามารถทำตามขั้นตอนด้านล่างนี้ได้เลยครับ

ข้อกำหนดในการใช้งานมี 3 ข้อ

  1. เว็บที่จะใช้งาน Messenger ได้ต้องติดตั้ง HTTPS แล้วเท่านั้น
  2. ใช้ชื่อโดเมนเท่านั้น เช่น https://standhost.com สำหรับการใส่ไว้ในไวท์ลิสต์
  3. ไม่รองรับที่อยู่ IP และ localhost สำหรับการใส่ไว้ในไวท์ลิสต์

วิธีในการติดตั้งมีอยู่ 3 ขั้นตอนง่ายมาก

1.เราต้องมี App ID สำหรับจะใช้งานกันก่อนใครยังไม่มีไปสร้างมาก่อนนะครับ สร้าง App

2.เพิ่มโดเมนเราเข้าไว้ใน Whitelist โดยเข้าไปที่เพจที่เราต้องการแล้วเลือก การตั้งค่า > แพลตฟอร์ม Messenger > Whitelisted Domains > กรอกชื่อโดเมนของเราลงไป

3.นำ Code ด้านล่างนี้ไปใส่โดย facebook แนะนำให้เราใส่ไว้ใน Tag Body

<script>
  window.fbAsyncInit = function() {
    FB.init({
      appId            : 'YOUR-APP-ID',
      autoLogAppEvents : true,
      xfbml            : true,
      version          : 'v2.11'
    });
  };

  (function(d, s, id){
     var js, fjs = d.getElementsByTagName(s)[0];
     if (d.getElementById(id)) {return;}
     js = d.createElement(s); js.id = id;
     js.src = "https://connect.facebook.net/th_TH/sdk.js";
     fjs.parentNode.insertBefore(js, fjs);
   }(document, 'script', 'facebook-jssdk'));
</script>
<div class="fb-customerchat" page_id="YOUR-PAGE-ID"></div>

วิธีดูเพจไอดี

จริง ๆ แล้วไอดีเพจมันก็ดูในเพจเราได้เลยนะแต่สำหรับใครที่หาไม่เจอผมมีอีกวิธีที่ง่ายขึ้น เข้าไปที่เว็บนี้ findmyfbid.com แล้วกรอก url ของเพจเราลงไปเช่น https://www.facebook.com/ชื่อเพจ แค่นี้เราก็จะได้เพจไอดีมาแล้ว

ทดลองใช้งานจริง

ถ้าทำถูกทุกขั้นตอนแล้วลองเข้าหน้าเว็บเราดูก็จะเจอปุ่ม messenger โผล่ขึ้นมาที่มุมล่างขวาของจอแบบนี้

จบแล้ว

ขอบคุณบทความดี ๆ จาก CodingDee ครับ