Category Archive Tips and Tricks

เทคนิคทำเว็บสร้างรายได้ : ตัวอย่างความสำเร็จจาก 3 เว็บดังในญี่ปุ่น

ดิฉันคิดว่า ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่เชี่ยวชาญกับการจัดเก็บสิ่งของให้เป็นหมวดหมู่เหลือเกิน บ้านญี่ปุ่นก็จะกั้นเป็นส่วน ๆ มีที่เก็บของอย่างเพียงพอในพื้นที่ที่จำกัด อาหารญี่ปุ่นก็จะใส่กล่องเบนโตะ กั้นอาหารแต่ละประเภทเป็นช่อง ๆ อย่างเป็นระเบียบ ชานชาลารถไฟ ก็จะมีเส้นขีดให้คนยืนเข้าแถวอย่างเรียบร้อย ไม่ยืนออกนอกเส้นทาง

เมื่อมองธุรกิจเว็บและ Content ดิฉันก็รู้สึกว่า ญี่ปุ่นเชี่ยวชาญในการจัดระบบข้อมูลให้เป็นระเบียบเหลือเกิน มันคงฝังใน DNA คนญี่ปุ่นไปแล้ว แถมมีบางเว็บ ประสบความสำเร็จมากจนสามารถแปลงการจัดระบบตรงนั้น กลายมาเป็นรายได้ มีผู้เข้าชมเป็นล้านคนต่อเดือน โดยไม่ต้องพึ่งค่าโฆษณา

Krungsri Guru ฉบับนี้ ดิฉันจึงขอยก 3 เว็บดังในญี่ปุ่น ที่ประสบความสำเร็จในการสร้างและจัด Content เผื่อเป็นไอเดียแก่ Startup ในไทยทุกท่านนะคะ

1. CAKES.mu – สละชาเขียว 1 ขวดแลกกับนิตยสารเฉพาะในแบบของคุณ


ขณะที่สื่อสิ่งพิมพ์ ทั้งนิตยสารและหนังสือพิมพ์ทั่วโลกกำลังหวาดหวั่นกับยอดขายลดลงเนื่องจากผู้บริโภคหันไปอ่านเนื้อหาฟรีทางออนไลน์แทน มีเว็บญี่ปุ่นเว็บหนึ่งกำลังประสบความสำเร็จอย่างงดงามกับการสร้าง Digital Content เพื่อจำหน่าย

Cakes.mu เป็น Platform ออนไลน์ที่รวบรวมบทความจากคนในวงการต่าง ๆ อาทิ นักธุรกิจ นักเขียนมืออาชีพ นักจิตวิทยา นักดนตรี ดารา นักร้อง นักกีฬา นักวาดการ์ตูนชื่อดัง มาจำหน่ายบนเว็บ ผู้อ่านต้องเสียค่าสมาชิกสัปดาห์ละ 150 เยน (ประมาณ 50 บาท) โดยสามารถอ่านบทความต่าง ๆ กว่า 10,000 บทความในแต่ละสัปดาห์ และสามารถ Follow นักเขียนหรือบทความที่ตนเองชอบได้ โปรดนึกถึงภาพเว็บเว็บหนึ่งที่มีบทความคุณนิ้วกลม คุณซิโก้ เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง คุณแชมป์ ทีปกร คุณวิษณุ เครืองาม อยู่ในเว็บเดียวกัน

ความน่าสนใจของเว็บนี้ คือ ระบบ Algorithm ของเว็บจะคัดกรองบทความที่สมาชิกแต่ละคน “น่าจะชอบ” จากบทความที่สมาชิกอ่านในอดีต เพื่อสร้างประสบการณ์เฉพาะและรื่นรมย์แก่ผู้อ่านมากขึ้น แทนที่ลูกค้าต้องคอยตามซื้อนิตยสารหลาย ๆ ฉบับ เพียงเข้ามาที่เว็บ Cakes ที่เดียว ก็สามารถเลือกอ่านบทความที่ตนเองถูกใจในสไตล์ของตัวเองได้ จัดว่าเป็นการก้าวข้ามข้อจำกัดของนิตยสารไปได้อย่างงดงาม

รายได้ของ Cakes มาจากค่าสมาชิกเป็นหลัก ตลอดจนค่าหนังสือหากบทความนั้นรวมเป็น E-book หรือตีพิมพ์เป็นหนังสือ โดยทางบริษัทจะแบ่งรายได้กับผู้เขียนบทความด้วย หากบทความนั้นรวมตีพิมพ์เป็นหนังสือจำหน่าย ส่วนวิธีการโปรโมท ก็ให้ผู้เขียนแต่ละคนโปรโมทเว็บกับแฟน ๆ ใน Social Media ของตนแทน เป็นการประหยัดค่าการตลาด แต่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มีประสิทธิภาพมากเป็นอย่างยิ่งเลยทีเดียว

2. Cookpad.com – เว็บรวมสูตรอาหารที่ทำกำไรถึงร้อยละ 50


คนญี่ปุ่นนิยมทำอาหารทานเองที่บ้านเนื่องจากราคาถูกกว่าทานอาหารข้างนอกมาก และสามารถปรุงรสไม่จัด ดีต่อสุขภาพ นอกจากนี้ คนญี่ปุ่นยังมองว่า การทำอาหาร เป็นวิธีการแสดงความรักอย่างหนึ่งด้วย ทว่า มีคนกลุ่มหนึ่งมีปัญหากับการแสดงความรักดังกล่าว … กลุ่มแม่บ้านญี่ปุ่นนั่นเอง “เย็นนี้ จะทำอาหารอะไรดี” เป็นคำถามที่แม่บ้านญี่ปุ่นต้องปวดหัวทุก ๆ วัน เพราะหากทำซ้ำ ๆ กัน สมาชิกในครอบครัวอาจโอดครวญได้

Cookpad.com เป็นเว็บที่เข้ามาตอบโจทย์ปัญหานี้ ทางเว็บรวบรวมสูตรอาหารต่าง ๆ ใครก็ได้สามารถเข้ามาดูได้ฟรี ปัจจุบันมีผู้เข้าชมเว็บสูงถึง 5.5 ล้านคนต่อเดือน (คำนวณง่าย ๆ คือ ประชากรครึ่งหนึ่งของคนกรุงเทพฯ กำลังใช้เว็บนี้) เสน่ห์ของ Cookpad คือ มีสูตรอาหารต่าง ๆ ประมาณ 2 ล้านกว่าสูตร ดิฉันเคยลองหาสูตรทำต้มยำกุ้ง ก็พบประมาณ 100 กว่าสูตรเลยทีเดียว ทาง Cookpad ไม่ได้เป็นผู้คิดค้นสูตรอาหารกว่า 2 ล้านสูตรนี้ แต่เป็น User ของเว็บ โดยทางเว็บสร้างระบบให้แม่บ้านญี่ปุ่นหรือ User ทั่วไป สามารถอัพโหลดสูตรอาหารของตนได้ง่ายที่สุด เพื่อแบ่งปันและเรียนรู้วิธีทำอาหารใหม่ ๆ จากกันและกัน ขณะเดียวกัน มีปุ่มให้เราเขียนคอมเม้นท์หรือส่งภาพอาหารที่ทำให้เจ้าของสูตร ทำให้เจ้าของสูตรมีกำลังใจในการอัพสูตรอาหารต่อไป

เสน่ห์อีกประการของ Cookpad คือ แทนที่จะเสิร์ชหาวิธีทำเมนูต่าง ๆ เช่น “วิธีทำยำวุ้นเส้น” ผู้ใช้สามารถค้นสูตรโดยพิมพ์คีย์เวิร์ดจากวัตถุดิบที่เหลือในตู้เย็น เช่น “กะหล่ำปลี” “หมูสับ” หรือวัตถุดิบกับวิธีทำอาหารก็ได้ เช่น “กะหล่ำปลี x ต้ม” ระบบของ Cookpad ก็จะกรองสูตรที่มีคีย์เวิร์ดเช่นนั้นมาให้
รายได้ของ Cookpad มาจาก 2 ทางหลัก หนึ่ง คือ ค่าสมาชิก โดยปกติแล้ว User สามารถเข้าชมเว็บได้ฟรี แต่หากใครต้องการดูแค่สูตรที่ได้รับความนิยมหรือสูตรจากเชฟพิเศษเพื่อประหยัดเวลา ก็สามารถสมัครเป็น Premium User ได้โดยเสียค่าสมาชิกเดือนละ 280 เยน หรือประมาณ 90 บาท (ปัจจุบันมีผู้สมัครถึง 1.7 ล้านคน) รายได้อีกทาง มาจากการจัด Event ร่วมกับบริษัทต่าง ๆ เช่น การประกวดสูตรอาหารบนเว็บ

นอกจากนี้ ในช่วงหลัง Cookpad ขยายธุรกิจโดยร่วมกับซูเปอร์มาร์เก็ตออนไลน์ ให้ User สามารถสั่งซื้อของได้ หรือบริการพิเศษจำหน่ายข้อมูลทางการตลาด เช่น เดือนนี้ลูกค้ากลุ่มใด เสิร์ชคำว่าอะไร ให้ความสนใจเรื่องใด

 

3. Storys.jp – เพราะทุกคนมีเรื่องราว



คอนเซปท์คล้ายเว็บ https://storylog.co/ ของไทย กล่าวคือ ให้ User มาแบ่งปันเรื่องราวต่าง ๆ ของตัวเอง จุดเด่น คือ ตัวเว็บที่ให้ User สามารถพิมพ์และอัปโหลดเรื่องราวได้ง่าย หนึ่งในฟังก์ชั่นที่เก๋ คือ ฟังก์ชั่นสร้าง Bubble บทสนทนา โดย User สามารถพิมพ์ชื่อบุคคล และประโยคที่คนนั้นพูดในลักษณะของ Bubble ได้ เช่น

ในทุกเรื่องราว ย่อมมีตัวละครอื่นนอกจากตนเอง ทางเว็บก็ทำฟังก์ชั่นนี้มาให้ เพื่อให้เราเขียน Story ได้ง่ายขึ้น และให้ผู้อ่านอ่านแบบมีอรรถรสมากขึ้น

ส่วนกิมมิคในการกระตุ้นให้ User มีกำลังใจโพสท์ต่อก็เด็ดไม่แพ้กัน ผู้ที่เข้ามาอ่านสามารถคลิก Comment ในทุกย่อหน้าของ Story นั้นได้เลย (ไม่ต้องรอ Comment ท้ายบทความแบบเว็บอื่น ๆ) ถ้าอยากอ่านเรื่องราวจากผู้เขียนต่อ ก็กดปุ่ม “อยากอ่านต่อ” ได้ ผู้เขียนจะได้มีกำลังใจอยากเขียนต่อไป นอกจากนี้ ตัวผู้เขียนเอง สามารถคลิกเข้าไปดูได้ว่า ใครเข้ามาอ่านเรื่องราวของตนเองแล้วบ้าง
นักเขียนที่มีผู้อ่านเยอะมาก ๆ ก็อาจพิมพ์ผลงานตนเองเป็นหนังสือ หรือเป็น E-book หรือบางครั้ง ค่ายหนังค่ายละครญี่ปุ่น ก็จะเข้ามาควานหา Story ที่น่าสนใจไปทำหนังเช่นกัน เนื่องจากสามารถคาดเดาเรทติ้งล่วงหน้าได้ เรื่องที่คนอ่านเยอะในเว็บ หากนำมาทำเป็นหนังหรือละคร ก็ต้องมีผู้สนใจมากเช่นกัน เหมือนเรื่อง Birigal … เรื่องเด็กสาวม.ปลายที่เรียนไม่เก่ง แต่สามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยเคโอ ซึ่งถูกนำมาสร้างเป็นหนัง ละคร และตีพิมพ์เป็นหนังสือ Best Seller

Storys.jp สร้างรายได้จากการทำงานร่วมกับบริษัทโทรทัศน์หรือช่วยเป็นตัวกลางระหว่างสำนักพิมพ์กับนักเขียน ตลอดจนช่วยทำ E-book นั่นเอง

สรุป ทั้ง 3 ตัวอย่างเว็บดังในญี่ปุ่นข้างต้น ไม่ว่าจะเป็น Cakes.mu เว็บรวมบทความจากนักเขียนชื่อดัง Cookpad.com เว็บรวมสูตรอาหาร หรือ Storys.jp เว็บที่เชื่อว่าทุกคนมีเรื่องราวพิเศษของตัวเอง ได้พิสูจน์ให้เราเห็นแล้วว่า …..

1. เว็บไม่จำเป็นต้องหารายได้จากโฆษณาเป็นหลัก
เว็บสามารถหารายได้จากค่าสมาชิกหรือค่าประสานงานต่าง ๆ หากจำนวน User มีมากพอ ก็นำข้อมูลมาวิเคราะห์และจำหน่ายได้ ทั้งนี้ ต้องมั่นใจว่า คุณค่าที่เว็บมอบให้ลูกค้า มีสูงกว่า Content ฟรีหรือแหล่งข้อมูลแหล่งอื่นจริง ๆ

2. เว็บไม่จำเป็นต้องทำ Content ทุกอย่างเอง
แทนที่เว็บจะคิดและเขียนทุกอย่างด้วยตนเอง เราอาจใช้ User-Generated Content ได้ กล่าวคือ เปิดเป็น Platform แล้วให้ User เข้ามาเขียน ข้อดี คือ ได้ Content ที่หลากหลาย ปริมาณมากในช่วงเวลาอันสั้น

นอกจากนี้ User แต่ละคน จะเป็นคนช่วยทำการตลาดให้เรา เนื่องจากเขาจะช่วยเผยแพร่ Content ของเขาให้แก่เพื่อน ๆ ใน SNS ทำให้เว็บเป็นที่รู้จักมากขึ้น

สิ่งสำคัญ คือ ทำอย่างไรให้ User สร้าง Content ได้ง่าย และสามารถรักษาให้ User เขียน content ได้อย่างสม่ำเสมอ ดังฟังก์ชั่นส่งภาพอาหารขอบคุณเจ้าของสูตรในเว็บ Cookpad หรือปุ่ม “อยากอ่านต่อ” ในเว็บ Storys.jp เป็นต้น

3. เว็บเป็นแหล่งข้อมูลที่มีค่า
ข้อมูลผู้ใช้และระบบอัลกอริธึ่มจัดเป็นอาวุธสำคัญของทั้ง 3 เว็บ หากเว็บสามารถรวบรวมจำนวน User ได้มากพอ ทางเว็บก็สามารถนำข้อมูล User ไปวิเคราะห์เชิงการตลาด ไม่ว่าจะเป็นความชอบ ความสนใจ หรือความถี่ในการใช้บริการได้

ใครสนใจการตลาดแบบญี่ปุ่น สามารถอ่านบทความเก่าวิเคราะห์สินค้าญี่ปุ่นที่สามารถปรับใช้ได้กับตลาดไทยกันนะคะ

 


 

ขอบคุณ Content ดี ๆ ที่มีประโยชน์มาก ๆ จาก คุณเกตุวดี Marumura ครับ 🙂

เทคนิคการทำเว็บไซต์ให้ติดอันดับ Google ด้วยการส่งเว็บของเราเข้าสู่สารบัญเว็บไซต์ด้วยวิธีง่าย ๆ

วิธีการส่งเว็บไซต์ของเราเข้าสู่สารบัญเว็บไซต์

เรามารู้จักสารบัญเว็บไซต์กันก่อนนะครับ สารบัญเว็บไซต์นั้นมีมาตั้งแต่สมัยยุคแรกเริ่มของอินเทอร์เน็ต ซึ่งใช้เป็นแหล่งในการโปรโมทเว็บ และอีกจุดประสงค์หลักคือ การทำ Backlink ของเหล่านักทำ SEO ซึ่งการทำ SEO การส่งเว็บไซต์ของเราเข้าสู่สารบัญเว็บไซต์ คือส่วนแรกที่ต้องทำก่อนเลยนะครับ

สารบัญเว็บไซต์แรกชื่อว่า http://info.cern.ch ซึ่งถือว่าเป็นเว็บแรกที่ถือว่าเกิดขึ้นมาบนโลกอินเทอร์เน็ต จนต่อมาได้มีเว็บไดเร็คทอรี่อีกมากมายที่เกิดขึ้นมา อาทิเช่น DMOZ / Yahoo! ต่างก็ทำหน้าที่ในการจัดเก็บข้อมูลเว็บไซต์นับแสนที่เกิดขึ้นมาอย่างรวดเร็วเพียงแค่ไม่กี่ปี

จนในยุคต่อมาสารบัญเว็บไซต์เข้ามามีบทบาทเป็นอย่างมาก เนื่องจากในยุคก่อนเครื่องมือการค้นหายังไม่แพร่หลาย ผู้คนส่วนใหญ่ที่ต้องการเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ที่ตนชื่นชอบ ก็มักที่จะใช้บริการเว็บไดเร็คทอรี่ต่าง ๆ เหล่านี้ และเนื่องจากข้อจำกัดในการเก็บข้อมูล และกฏระเบียบต่าง ๆ มากมาย ทำให้เว็บไดเร็คทอรี่ยักษ์ใหญ่ไม่สามารถที่จะรับเว็บไซต์บางประเภทได้ จึงมีผู้ให้บริการใหม่ ๆ เปิดตัวขึ้นมาอีกมากมาย ซึ่งถือว่าช่วงปี ค.ศ 1994 – 1997 เป็นช่วงที่มีการแข่งขันกันสูงมาก สำหรับเว็บไดเร็คทอรี่ที่เปิดขึ้นมาไม่เว้นแต่ละวัน

อะไรคือสิ่งที่ทำให้เว็บไดเร็คทอรี่มีความสำคัญอยู่เสมอ แม้ว่าในยุคนี้จะมีผู้คนส่วนใหญ่หันไปใช้บริการ Search Engine ดัง ๆ อย่าง Google เสียเป็นส่วนใหญ่ ที่จะทำให้เว็บมีคนรู้จักเยอะก็คือ การโปรโมท ซึ่งการโปรโมทก็มีมากมายหลายวิธี คงไม่มีใครที่ทำเว็บแล้วดังได้ถ้าขาดการนำเว็บไป submit เข้าสู่เว็บไซต์อื่น ๆ เว็บไดเร็คทอรี่ก็ทำหน้าที่เปรียบดุจเว็บท่า ซึ่งพาผู้โดยสารข้ามไปยังเว็บมากมายที่อยู่ในสารบัญเว็บเหล่านั้น แต่ผู้โดยสารในที่นี้เราจะรวมทั้งผู้ที่สนใจเข้ามาค้นหา และ Bot ซึ่งเป็นเครื่องมือหนึ่งจาก Search Engine ที่เข้ามาสำรวจเก็บข้อมูล และมันจะไต่ต่อไปยังเว็บต่าง ๆทั้งหมดที่มีอยู่ในเว็บไดเร็คทอรี่นั้น ๆ

วิธีการ ส่งเว็บไซต์ของเราเข้าสู่สารบัญเว็บไซต์มี 2 วิธีดังนี้

  1. การส่ง Website URL ด้วยตัวเอง

2. การส่ง Website URL ผ่าน Website ที่ให้บริการ

เรามาเริ่มวิธีที่ 1 กันครับ การส่ง Website Url ด้วยตัวเอง
Search Engines Google

1. การส่งเว็บไซต์ให้ Google เข้า Google พิมพ์ submit website google เราจะเจอที่ที่ให้เราส่งเว็บไซต์ไป ซึ้งอยู่ลำดับแรกเลย ให้เรา เพิ่ม URL เว็บไซต์ของเราลงไปแล้วกดส่ง เพียงเท่านี้ Bot ของ Google ก็จะรู้จักเว็บไซต์ของเราแล้วครับ

Search Engines Bing
2. การส่งเว็บไซต์ให้ Bing ไปที่ : http://www.bing.com/docs/submit.aspx เราจะเห็นที่ใส่ URL พอใส่ URL เสร็จเรียบร้อย ก็กรอก captcha text ที่แสดง เสร็จกด SUBMIT เลยครับ

วิธีที่ 2 การส่ง Website Url ผ่าน Website ที่ให้บริการ
เราสามารถ ส่ง Url ผ่าน Website ที่ให้บริการเหล่านี้ได้ http://www.freewebsubmission.com
http://www.entireweb.com/free_submission

โดย Website เหล่านี้จะทำการ ส่ง Url ไปให้ Search Engines และ Web Directories ต่างๆ โดยที่เราไม่ต้องทำการ ส่ง Url เองทีละตัวเหมือนวิธีแรก


สรุป

การทำ SEO นั้นสิ่งแรกที่เราจะทำเลยนั้นก็คือ การส่งเว็บไซต์ของเราเข้าไปสู่สารบัญเว็บไซต์ให้ Search Engines รู้จักเรา และเรายังได้ลิงก์กลับมาสู่เว็บไซต์ของเราด้วย
นี้คือ list เว็บสารบัญเว็บไซต์เพื่อทำ Blicklink ครับ http://www.directorycritic.com/free-directory-list.html

ซึ่งที่ผมพูดไปตอนแรกแล้วนั้นว่าการส่งเว็บไซต์ของเราเข้าสู่สารบัญเว็บไซต์ จะทำให้ Bot ของ Search Engines รู้จักเราแล้ว ยังทำให้เราได้ลิงก์กลับมาสู่เว็บไซต์เราด้วยนะครับ


ขอบคุณที่มา: https://medium.com/artisan-digital-agency/

เทคนิคการทำเว็บไซต์ ให้โดนใจลูกค้า

หัวใจสำคัญในการทำเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ คือ การทำเพื่อลูกค้า ไม่ได้ทำเพื่อเราเอง 

การทำเว็บไซต์โดยโฟกัสที่แค่ความสวย ไม่ใช่คำตอบที่ถูกต้อง สิทธิพงศ์ ศิริมาศเกษม ผู้ก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการ บริษัท rgb72 จำกัด เกริ่นนำ ก่อนที่จะเจาะลึกไปที่รายละเอียดว่า อยากให้ผู้ประกอบการปรับ Mindset หรือความเชื่อใหม่ในเรื่องการทำเว็บไซต์ที่ดี รวมไปถึงการทำแอปพลิเคชัน โมบายแอป หรืออะไรก็แล้วแต่เพื่อการทำธุรกิจออนไลน์

 

ทุกอย่างเริ่มต้นแค่ Customer Goals และ Business Goals 

สิทธิพงศ์ กล่าวว่า ผู้ประกอบการจะต้องตอบโจทย์ 2 ข้อนี้ให้ได้ก่อน นั่นคือ “Customer Goals” คืออะไร หมายถึง ลูกค้าเข้ามาในเว็บไซต์เรา เข้ามาทำอะไร และ Business Goals” คือ เว็บไซต์ของเรา มีหน้าที่อะไรที่จะทำให้ธุรกิจเราดีขึ้น โดยยกตัวอย่าง เฟซบุ๊ก ซึ่ง Customer Goals คือ (1) เราอยากรู้เรื่องชาวบ้าน (2) เราอยากให้ชาวบ้านรู้เรื่องเรา ส่วน Business Goals คือ เฟซบุ๊กได้ประโยชน์จากการขายโฆษณา ดังนั้นแปลว่า เว็บไซต์และแอปพลิเคชันของเขา ต้องทำได้ 2 หน้าที่ ก็คือ ทุกคนที่เข้าไปในเฟซบุ๊ก ต้องสามารถที่จะรู้เรื่องเพื่อนได้ และเพื่อนต้องรู้เรื่องเราได้ ในขณะเดียวกันเฟซบุ๊กเองต้องสามารถขายโฆษณาได้

ดังนั้น ถ้าผู้ประกอบการอยากจะทำเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันให้ดี สิ่งที่ต้องมุ่งความสนใจ คือ Customer Goals ก็คือ เราทำเพื่อลูกค้า ไม่ได้ทำเพื่อเราเอง และสิ่งที่ต้องสนใจต่อไปคือพฤติกรรมของลูกค้า เพื่อจะได้หาเทคนิคในการทำเว็บไซต์ไปตอบโจทย์และความต้องการพวกเขาได้

พฤติกรรมลูกค้าสมัยนี้มีอะไรบ้าง  

สิทธิพงศ์ ตั้งคำถามว่า ทำไมผู้ประกอบการถึงต้องรู้จักพฤติกรรมลูกค้า ก่อนจะอธิบายต่อไปว่า เพราะทุกวันนี้พฤติกรรมลูกค้าเปลี่ยนไป คนออนไลน์สมัยนี้ชอบใช้ของฟรี ดูอะไรก็ดูฟรี พอดูโฆษณาไป 5 วินาทีก็ทนไม่ไหว ถ้าให้เขาจ่ายเงินค่าชมก็อาจจะไม่อยากจ่ายก็ได้ และเนื่องจากพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป จะสามารถที่จะเล่นกับพฤติกรรมของเขาอย่างไร ก่อนที่แจกแจงว่า พฤติกรรมของผู้บริโภคสมัยนี้ โดยเฉพาะผู้บริโภคออนไลน์ ประกอบด้วย

  1. ชอบเอาตัวเองเป็นจุดศูนย์กลาง (Self-centered)
  2. เวลาซื้อของต้องมีความเชื่อมั่นและความน่าเชื่อถือ
  3. ชอบอะไรที่เป็นรายละเอียด
  4. ชอบ Human Touch
  5. สมาธิสั้น
  6. ชอบอะไรง่าย ๆ

แล้วผู้ประกอบการจะจัดการอย่างไรดีกับพฤติกรรมเหล่านี้

ใช้ทฤษฎี Start with Why 

ในการจัดการกับมนุษย์สมัยนี้ที่ชอบเอาตัวเองเป็นจุดศูนย์กลาง (Self-centered) ให้ขายของโดยใช้ทฤษฎี Start with Why คือ มุ่งเน้นไปที่เหตุผลว่า ลูกค้าเขาจะเอาไปทำไม ทำไมเขาต้องซื้อ และทำไมต้องซื้อของเรา แทนที่จะเริ่มต้นว่า สินค้าของเราคืออะไร โดยยกตัวอย่างให้เข้าใจง่าย ๆ ว่า

“ผมชอบไปเดินฟอร์จูน เจอคนที่มาขายคอมพิวเตอร์ให้เรา ก็มักจะพูดว่า พี่เอาคอมพิวเตอร์สเปกอะไร ใครเจอแบบผมนี่ก็จะอึ้งแบบผมเหมือนกัน สเปกคืออะไร เขาก็บอกว่า พี่เอา 2 GB 3 GB หรือ 4 GB เอา RAM เท่าไร ฮาร์ดดิสก์มากน้อยขนาดไหน จอใหญ่จอเล็ก ความละเอียดเท่าไร เอาการ์ดจอไหม งงไหมครับ งงสิครับ แต่ถ้าเริ่มต้นที่เราซื้อไปทำไม เขาถาม พี่จะเอาคอมพิวเตอร์ไปทำอะไรครับ อ๋อ เอาไปเล่นเฟซบุ๊กกับเอาไปใช้ word กับ excel นิดหน่อยเท่านั้นเอง เกมเล่นไหมครับพี่ อ๋อ ถ้าไม่เล่น พี่เอารุ่นนี้ไปเลยครับ 2 GB RAM ก็ไม่ต้องเยอะ การ์ดจอไม่ต้องนะครับ รับรองเหมาะกับสิ่งที่พี่เอาไป แบบนี้ขายง่ายกว่าไหมครับ น่าซื้อกว่านะครับ” 

ไม่มองข้าม About Us ไม่ละเลย Security

คนสมัยนี้เวลาซื้อของต้องมีความเชื่อมั่น สำหรับเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซสามารถจะสร้างความเชื่อมั่นให้ลูกค้าได้ ด้วยหน้า About Us ซึ่งมักจะเป็นหน้าที่เราคิดน้อยที่สุด แต่มันคือตัวที่บอกเครดิต เช่น คนขายเครื่องหนัง อาจจะบอกเลยว่า ขายมาถึง 3 รุ่น 60 กว่าปี รู้จักเรื่องของเครื่องหนังเป็นอย่างดี ก็ช่วยสร้างเครดิตได้

“จากสถิติพบว่า คนประมาณ 7% ที่เข้ามาในเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ จะเข้าไปดูหน้า About Us เหมือนจะน้อยนะครับ แต่ว่า 30% ของกลุ่มนั้น เป็นกลุ่มที่จะเปลี่ยนกลายเป็นลูกค้าเรา ดังนั้นอย่าลืม มีหน้า About Us แล้วตั้งใจเขียนด้วย”

ส่วนเรื่องจะทำให้คนรู้สึกว่าน่าเชื่อถือ คือเว็บไซต์ต้องมี Security ถ้าเกิดมีการจ่ายเงิน ต้องมีระบบ Security ให้พร้อมในทางเทคนิค เช่น มี https ให้เห็นว่ามี Security ก็จะทำให้คนซื้อกล้าที่จะซื้อ

รีวิวควรมี รูปภาพต้องใช่ เนื้อหาดึงดูดใจ ขายได้ด้วยเรื่องเล่า

พฤติกรรมของคนในปัจจุบัน ชอบอะไรที่เป็นรายละเอียด เวลาคนสมัยนี้จะซื้อของ ต้อง Search หาข้อมูล อ่านรีวิว ดูนี่ดูนั่นเยอะแยะไปหมด ซึ่งบางครั้งก็เป็นเนื้อหาหรือ Content ที่ผู้ประกอบการอาจจะต้องทำด้วย เช่น เราทำร้านอาหาร อาจจะต้องเชิญคนมาช่วยรีวิว หาคนที่ชอบเขียนใน Pantip หรือว่าชอบรีวิวร้านอาหารเข้ามา ทำให้ชื่อของร้านเรามีเนื้อหาอยู่ในเว็บไซต์ต่าง ๆ เวลาคนที่สนใจ Search ก็จะพบ

อีกเรื่องคือ รูปภาพเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะเวลาคนดูสินค้า นอกจากจะอ่านรายละเอียดแล้ว ยังอยากจะเห็นภาพหลายมุม บางครั้งอยากจะซูมให้ได้ด้วย อยากจะเข้าไปดูใกล้ ๆ ตัดเย็บเป็นอย่างไร ดีไหม ภาพจึงมีผลมากต่อการตัดสินใจซื้อ

“จากการวิจัย พบว่า 66% ของคนที่เข้ามาในเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ ต้องการที่จะดูภาพมากกว่า 1 ภาพ ถ้าเป็นรองเท้าก็อยากจะเห็นมุมอื่น วิวอื่น 75% บอกว่าอยากเห็นภาพคุณภาพดี ๆ ถ้าภาพผมมันยับ ๆ แตก ๆ เคยเจอไหมครับ เราอยากซื้อไหม เราก็จะรู้สึก มันดีจริงไหมเนี่ย ขนาดเว็บไซต์ตัวเองยังทำไม่ดีเลย แล้วของที่จะขายให้ฉันจะดีไหม 61% บอกว่าอยากซูมได้ ดังนั้นต่อไปนี้ทำเว็บไซต์ โฟกัสเรื่องรูปภาพ ทำให้มีหลายรูปนะครับ ถ่ายภาพให้ชัด ละเอียด และที่สำคัญคือ บอกคนที่ทำเว็บไซต์ให้เราว่า พี่อยากจะให้มันซูมได้ด้วย

สำหรับเรื่อง Wording หรือข้อความที่เขียน ก็มีส่วนที่จะทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น เช่น หากเราเขียนว่า “ซื้อวันนี้ลด 50%” กับ “ซื้อวันนี้ลด 50%” โดยด้านล่างจะย้ำเลยว่า “ทุกชิ้น ทุกราคา วันเดียวเท่านั้น” เพื่อเป็นการตอกย้ำ 2 รอบ ซึ่งพบว่าคนสนใจคลิกต่อ ข้อความแบบแรกที่มีบรรทัดเดียว 20% แต่อย่างที่ 2 ที่มีตัวย้ำซ้ำไปอีกรอบ คนจะคลิกเพิ่มขึ้นกลายเป็น 50%

ต่อมาคือ Storytelling คือการบอกเล่าเรื่องราว ให้รู้ถึงที่มาที่ไปของสินค้า อาจจะทำเป็นวิดีโอหรืออาจจะทำเป็น Blog ก็ได้ เช่น พวกอสังหาริมทรัพย์ ไปเขียนขั้นตอนการก่อสร้างเป็นอย่างไร คัดเลือกผลิตภัณฑ์อย่างไร ไปจับมือหุ้นส่วนที่ไหนบ้าง ซึ่งเรื่องราวที่เล่าจะทำให้คนอ่านรู้สึกว่า สินค้าไม่ได้แบบทำง่าย ๆ จากโรงงาน แต่มีเรื่องราว แม้บางสินค้าเราอาจจะไปซื้อมาขายต่อ แต่กว่าเราจะซื้อมาสักชิ้น กว่าเราจะเลือกมา จาก 100 ชิ้น คัดมาเหลือ 10 ชิ้น เพื่อที่จะมาขายในเว็บไซต์ บางทีก็มีเรื่องที่สามารถนำมาเล่าได้

“หนึ่งใน storytelling ที่ผมชอบมากคือ โฆษณากล้อง Leica เขาตั้งชื่อว่าเป็นโฆษณาที่น่าเบื่อที่สุด (The Most Boring Ad Ever Made?) เพราะว่าโฆษณานี้ยาวถึง 45 นาที มีภาพอะไรบ้าง ไม่มีอะไรเลย นอกจากเขาเอากระดาษทรายมาขัดกล้อง ขัดไปเรื่อย ๆ อย่างเดียว แต่มันได้อะไรครับ คนดูจบหลายคน เยอะนะครับ เพราะว่าพอดูแล้วอิน รู้สึกว่า โอ้โห! กว่าจะได้กล้องมาตัวหนึ่งต้องทำละเอียดขนาดนี้ Handmade ขนาดนี้เลยหรือ เริ่มรู้แล้วว่า ทำไมกล้องเขาถึงต้องราคาแพง เพราะงานเนี้ยบนี่เอง ไม่เหมือนกล้องยี่ห้ออื่น ก็เป็นตัวที่จะมาช่วยขยายเรื่องราว บอกรายละเอียดให้กับลูกค้าได้รู้ว่าสินค้านั้นไม่ได้ได้มาง่าย ๆ”

อย่าลืม Good Impression, Emotion, Character, Conversation & Follow up

คนเราชอบ Human Touch การสร้างความสัมพันธ์ด้วยเว็บไซต์ สามารถทำได้โดย

  • ต้องมี Good Impression คือความประทับใจตั้งแต่แรกเห็น เว็บไซต์หน้าแรกเปิดมาก็ต้องทำให้คนดูแล้วรู้สึกแล้วประทับใจ อยากดูต่อ ไม่ใช่ว่าเปิดหน้าแรกมารูปแบบก็ไม่สวย หรือรูปที่ใช้ความละเอียดไม่ดี คนเห็นแล้วไม่ประทับใจก็ไม่ดูต่อ
  • ถัดมาคือ การสร้าง Emotion หรือสร้างอารมณ์ เช่น LINE เป็นแอปพลิเคชันที่สื่อด้านอารมณ์มาก มีสติกเกอร์เป็นตัวสร้างอารมณ์ นั่นคือเหตุผลที่เราหันมาใช้ LINE กันหมดเลย ดังนั้นในการทำเว็บไซต์หรือการทำแอปพลิเคชันของเรา ไม่ควรละเลยในเรื่องนี้ ต้องพยายามสื่อสารด้านอารมณ์ด้วย
  • Character ของเว็บไซต์หรือสินค้าของเราต้องมี ต้องมีจุดขายที่เด่นชัด (Unique Selling Point)

“โดยมากที่ผมไปคุยกับลูกค้าที่จะทำเว็บไซต์หรือทำแอป ผมก็มักจะถามเลยว่า Product ของเขามี Character เป็นอย่างไร ถ้าเทียบกับคนแล้วเหมือนใคร ดูแล้วหล่อ เท่ แต่มีอายุนิดหนึ่ง เหมือนวิลลี่แล้วกัน เราก็จะจินตนาการภาพออก ถ้าเกิดว่าสินค้าของเราสามารถสื่อออกมาได้เหมือนเป็นคน ก็จะทำให้ messageไปถึงลูกค้า ลูกค้าก็จะอินกับสินค้านั้น”

  • คนปัจจุบันต้องการติดต่อกับเราได้ ซึ่งก็มีหลายวิธี เช่น อีเมล โทรศัพท์ LINE หรือผ่านแชต ซึ่งเป็นที่มาของ Conversational Commerceคือการสนทนาในการขายของ ถ้าเราทำเว็บไซต์ขายของ ก็ต้องแน่ใจว่ามีช่องให้ลูกค้าติดต่อได้ สามารถที่จะแชต แม้ในเว็บไซต์จะบอกว่า เสื้อตัวนี้ 200 บาท แต่เขาก็ยังถามราคาในคอมเมนต์ เพราะพวกเขาต้องการสื่อสาร อาจจะเผื่อต่อราคาได้ ความสัมพันธ์แบบนี้จะทำให้ลูกค้ารักเรา ชอบเราได้
  • การ Follow up เมื่อลูกค้ามาซื้อของเรา ควรเก็บเป็นสถิติ คนนี้ซื้อเสื้อแนวนี้ คนนั้นชอบแนวนั้น มีคอลเล็กชันใหม่ ก็จะได้ส่งข้อความหรือโฆษณา หรือว่าโปรโมชันไปได้ถูกคน หนึ่งในวิธีที่หลายแบรนด์ใช้คือการส่งอีเมล

“การส่งอีเมล บางทีมันมี strategy นิด ๆ หน่อย ๆ เช่น สมมติผมทำให้อสังหาฯ ผมอยากรู้ว่าในห้องนี้มีใครสนใจคอนโดบ้าง สมมติว่าในนี้ 1,000 คน ผมมีอีเมลหมดเลย อีเมลฉบับแรกขายบ้าน เปิดกันประมาณ 20 คน ฉบับที่ 2 ยิงไปขายคอนโด ปรากฏว่าเปิดกันประมาณ 300 คน เฮ้ย! คอนโดใช้ได้ ผมก็จะเก็บกลุ่มนี้ไว้ ต่อไปผมก็จะโฟกัสแล้วว่า เราลองเล่นคอนโดราคาถูกดีกว่า แต่อยู่นอกเมือง คอนโดเริ่มต้นที่ล้านกว่าบาท ยิงไปเลยที่ 300 คนนี้ 300 คนนี้ แน่นอนครับเป็นคนที่สนใจคอนโด แต่เขาสนใจคอนโดราคาถูกหรือแพงเราไม่รู้ ส่งราคาถูกไปก่อน ปรากฏว่าเปิดประมาณ 150 คน แล้วหลังจากนั้น เราค่อยมากรองครับ ก็ส่งไปเรื่อย ๆ สุดท้ายเราก็จะได้กลุ่มเป้าหมายที่ถูกต้อง โดยไม่จำเป็นต้องซื้ออีเมลมาเป็นก้อน ๆ ใหญ่ ๆ ซึ่งเราต้องพยายามหาเวลาเทคแคร์กับคนที่ไม่รู้จักเราอีก ซึ่งนั่นก็จะยากกว่า”

 

เรียกร้องความสนใจ

จากการที่คนเราสมาธิสั้น โดยจากสถิติมีสมาธิอยู่กับการจดจ่อแค่ 8 วินาที ดังนั้นวิธีง่าย ๆ ก็คือการทำอย่างไรก็ได้ให้เขาสนใจเรา

  • การใช้ทฤษฎี Eye Contact เช่น การใช้ภาพพรีเซ็นเตอร์ที่มี Eye Contact หรือมองตาคนดูอยู่ตลอดเวลา แรก ๆ เราอาจจะไม่ได้สนใจอะไรกับโฆษณานี้ แต่เห็นแล้วเราก็มักสะดุดหยุดดูครู่หนึ่ง ถ้าเห็นหลายครั้งแล้วหยุดดูเรื่อย ๆ ก็แสดงว่าการใช้  Eye Contact  นั้นได้ผล หรือการใช้ Eye Direction เพื่อให้เกิดเส้นนำสายตาที่ไปจบที่ตัวสินค้า ดังนั้น ต่อไปนี้เราทำสินค้า ทำโฆษณา ไม่ว่าจะบนเฟซบุ๊กหรือบนเว็บไซต์ ให้ลองดูว่ามี Eye Contact หรือ Eye Direction ไหม
  • การใช้สี ก็มีความสำคัญ สีแดงเป็นสีที่ร้อนแรง สีฟ้าทำให้รู้สึกเย็นใจ สีส้มเป็นสีที่มีวิจัยออกมาว่า เป็นสีที่ทำให้คนอยากกดปุ่มมากที่สุด จึงเป็นสีที่ใช้กับพวกปุ่ม Buy Now ซื้อเลย ดังนั้นสีก็มีผลมาก ๆ กับการตัดสินใจหรือว่ากับอารมณ์ของคน

Search ต้องเจอ เข้าถึงต้องง่าย

การที่คนเราชอบอะไรที่ง่าย ๆ ดังนั้นการเข้าถึงก็ต้องง่าย โดยมีเทคนิค เช่น

  • ทำ UI หรือ User Interface ให้ใช้ง่าย แปลว่า เวลาลูกค้าเข้ามาในเว็บไซต์ อยากจะหาปุ่มซื้อ ต้องหาได้ อยากจะหาปุ่ม save ไว้ก่อน เดี๋ยวค่อยมาดูใหม่ก็ต้องหาได้ มีทฤษฎีว่า Interface ของเว็บไซต์ที่ดี คือต้อง No Interface นั่นคือ ผู้ใช้ต้องรู้สึกว่ามันไม่มีอยู่ ความง่ายก็คือ เขาต้องเข้าถึงทุกอย่างได้
  • มือถือต้องเข้าถึงได้เช่นเดียวกับเว็บไซต์ อย่างไรก็ตาม เวลาจะซื้อ คนก็ยังเลือกใช้คอมพิวเตอร์ ดังนั้นจะเน้นพัฒนาบนมือถืออย่างเดียวก็ไม่ได้

สิทธิพงศ์ กล่าวสรุปว่า หัวใจที่สำคัญก่อนที่ผู้ประกอบการจะทำเว็บไซต์ แอปพลิเคชัน หรืออะไรก็ตามเพื่ออีคอมเมิร์ซ ให้ทุกคนเอาตัวเองออกมา แล้วคิดถึง (1) ลูกค้าของเรา ว่าเขาเข้ามาทำอะไร ต้องการอะไร โดยเอาพฤติกรรมผู้บริโภคทั้ง 6 ที่แนะนำไปวิเคราะห์ดูว่าเป็นแบบนั้นไหม (2) เราต้องการจะขายอะไร ถ้าเว็บไซต์ของเราสามารถที่จะตอบโจทย์ 2 ข้อนี้ได้ เราก็จะสามารถทำเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซที่ตอบโจทย์ลูกค้าได้อย่างเต็มที่จริง ๆ และก็ช่วยส่งเสริมให้ธุรกิจเติบโตต่อไป

 


 

ขอบคุณที่มา: https://www.etda.or.th/content/technics-for-e-commerce-website.html

วิธีเชื่อมต่อ WooCommerce กับ Google Analytic เพื่อติดตามยอด Ecommerce

พอดีว่ามีโอกาสได้หาวิธีเชื่อมต่อให้ Google Analytic สามารถตรวจจับการซื้อขายบนเว็บไซต์ที่ใช้ WooCommerce ได้ แล้วก็เห็นว่ายังไม่มี Tutorial ที่เป็นภาษาไทย ก็เลยขอโอกาสตรงนี้มาเขียนให้อ่านกันว่าต้องทำอย่างไรบ้างครับ

ใช้ Plug-in ตัวไหนในการติดตั้ง ?

เท่าที่ลองหลาย ๆ ตัว ผมพบว่า Enhanced Ecommerce Google Analytics เป็นตัวที่ติดตั้งง่ายมาก! แค่ลงปลั๊กอิน ใส่เลข Google Analytics ID แล้วก็ติ๊กเปิดใช้งาน ก็สามารถทำงานได้แล้ว

หน้าต่างปลั๊กอิน Enhanced Ecommerce Google Analytic ก็ประมาณนี้ครับ ง่ายๆ ติ๊กมันทุกอันเลย

พอเสร็จแล้วให้เราไปเปิดที่ Google Analytic และเข้าไปตั้งค่า Ecommerce Setting โดยเข้าจาก Admin > View > E-commerce Settings

จะพบหน้าต่าง Ecommerce Set-up ให้เราเปิด Status ให้เป็น On แล้วกด Next Step เพื่อไปยังหน้าต่อไปครับ

เสร็จแล้วก็มาเปิด Enhanced Ecommerce Reporting เพื่อดูว่า User ที่เข้ามาซื้อของ มีพฤติกรรมอะไรบ้าง เช่น ลบสินค้าออกจากตะกร้ากี่ครั้ง เข้าไปดู Related products กี่ครั้ง

(สำหรับส่วนนี้ทางผู้เขียนบทความก็ยังไม่ได้ศึกษาโดยละเอียด แต่ทางเจ้าของ Plugin แนะนำมาว่าให้ติดตั้งครับ)

และให้ตั้งค่า Checkout Labeling ตามที่ผมเขียนเอาไว้ได้แก่

Step 1 : Checkout View
Step 2 : Billing Info
Step 3 : Proceed to payment

และขั้นตอนสุดท้าย หากสินค้าของเรา รับชำระเป็นเงินบาท ต้องไปตั้งค่าทั้งใน Google Analytic ให้เป็น THB และใน Woocommerce ให้เป็น THB ตรงกัน

ตั้งค่าตามวงกลมนี้เลยครับ

พอตอนสุดท้าย ก็คือการทดสอบซื้อสินค้า ในที่นี้ผมได้ลองตั้งสินค้าที่มีราคา 1 บาท แล้วลองทำการซื้อผ่านออนไลน์ ก็จะขึ้นในหน้าต่าง Product Performance ตามภาพด้านล่างนี้ครับ

ก็เป็นอันเสร็จสิ้นในการตั้งค่าให้ WooCommerce และ Google Analytic ทำงานร่วมกันและแสดงผล ซึ่งจากตรงนี้ เราสามารถนำไปใช้คู่กับ UTM Link เพิ่มเติม เพื่อหาว่า Channel ใดที่มีคนเข้ามาซื้อมากที่สุด หรือสินค้าแบบไหนที่คนเข้ามาดูแต่ไม่ซื้อ เพื่อปรับปรุงกันต่อไป


Credit: medium.com/@kittypunkz

เข้าเว็บต่างประเทศช้า สามารถ test speed จากต่างประเทศได้

เว็บที่เอาไว้คอย test speed จากต่างประเทศ

http://www.web-hosting-top.com/web-hosting/tools.website-speed-test

http://www.selfseo.com/website_speed_test.php

อันนี้จะเป็น trace route ของประเทศต่างๆสามารถเลือกประเทศทดสอบได้  โดยไม่ต้องให้ลูกค้า cap หน้าจอ

http://www.traceroute.org/

ข้อดีของ G Suite

ข้อมูลเบื้องต้น เพิ่งเริ่มต้นใช้ G Suite

G Suite เป็นแพ็คเกจของบริการที่ใช้ระบบคลาวด์ ซึ่งทำให้ผู้ใช้ในบริษัทหรือโรงเรียนสามารถทำงานร่วมกันแบบออนไลน์ในรูปแบบใหม่ที่ไม่ใช่แค่ใช้อีเมลและแชท แต่ยังมีการประชุมทางวิดีโอ โซเชียลมีเดีย การทำงานร่วมกันในเอกสารแบบเรียลไทม์ และอีกมากมาย เพียงลงชื่อสมัครใช้บัญชี G Suite โดยระบุชื่อโดเมนที่ต้องการใช้กับบริการของ Google เมื่อยืนยันว่าเป็นเจ้าของโดเมนแล้ว คุณและทีมสามารถเริ่มใช้ Gmail, ปฏิทิน, ไดรฟ์ และบริการหลักอื่นๆ ของ G Suite รวมถึงบริการเพิ่มเติมอื่นๆ เช่น Google+, แฮงเอาท์, Blogger และอีกมากมาย

เคล็ดลับ 10 ข้อสำหรับการจัดการ G Suite
1. เพิ่มผู้ใช้และจัดการบริการในคอนโซลผู้ดูแลระบบของ Google ถ้าต้องการให้ผู้ใช้ในองค์กรเริ่มต้นใช้ G Suite คุณต้องเพิ่มผู้ใช้ลงในบัญชีของคุณ คุณสามารถดำเนินการนี้ได้จากคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องหรือแม้แต่อุปกรณ์เคลื่อนที่โดยใช้ คอนโซลผู้ดูแลระบบของ Google
ในเว็บเบราว์เซอร์ ให้ไปที่ admin.google.com และลงชื่อเข้าใช้ด้วยชื่อและรหัสผ่านของผู้ดูแลระบบ นอกจากนี้ คุณยังสามารถใช้คอนโซลผู้ดูแลระบบเพื่อจัดการบริการของผู้ใช้ รหัสผ่าน และข้อมูลอื่นๆ ทั้งหมดสำหรับบัญชีของคุณ
2. เพิ่มระดับความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัย
G Suite มี คุณลักษณะด้านความปลอดภัย ที่สำคัญมากมาย ซึ่งออกแบบมาเพื่อเก็บรักษาข้อมูลที่คุณบันทึกไว้ในระบบของเราให้มีความปลอดภัย นอกจากนี้ ขอแนะนำให้คุณทำตามแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดด้านความปลอดภัยเพื่อเพิ่มระดับความปลอดภัย เช่น การยืนยันแบบ 2 ขั้นตอนเพื่อเพิ่มระดับความปลอดภัยของรหัสผ่าน และมาตรการป้องกันการปลอมแปลงเพื่อต่อสู่กับการละเมิดความปลอดภัยของอีเมล
3. ควบคุมการเข้าถึงคุณลักษณะและบริการของผู้ใช้
เมื่อเริ่มต้น ผู้ใช้ทุกคนจะสามารถใช้บริการส่วนใหญ่ได้ แต่คุณสามารถใช้คอนโซลผู้ดูแลระบบเพื่อปิดบริการที่ไม่ต้องการให้คนอื่นใช้ หรือเพื่อปรับแต่งการทำงานของบริการ กำหนดการตั้งค่าเดียวกันสำหรับทุกคนหรือ
ใช้นโยบายกับผู้ใช้แต่ละกลุ่ม ตัวอย่างเช่น คุณอาจเปิดใช้งานแฮงเอาท์เฉพาะสำหรับทีมสนับสนุนของคุณ หรืออนุญาตเฉพาะแผนกการตลาดให้แชร์ Google Sites แบบสาธารณะได้
            4. เปลี่ยนอีเมลทางธุรกิจมาใช้ Gmail
ผู้ใช้ที่คุณเพิ่มในบัญชี G Suite จะได้รับที่อยู่อีเมลในโดเมนที่คุณระบุเมื่อสร้างบัญชี ผู้ใช้สามารถใช้ที่อยู่นี้กับบริการ Gmail ของ G Suite แต่ถ้าผู้ใช้ใช้ที่อยู่นี้กับโปรแกรมอีเมลเดิมอยู่ คุณสามารถเลือกเวลาที่จะให้เปลี่ยนโปรแกรมได้ อีเมลจะยังไม่เข้าไปที่บัญชี Gmail ของผู้ใช้ (และหยุดเข้าไปที่โปรแกรมเดิม) จนกว่าคุณจะเปลี่ยนระเบียน MX ของโดเมนให้ชี้ไปที่เซิร์ฟเวอร์ของ Google โปรดดูที่ เริ่มต้นใช้งาน Gmail
            5. ใช้แหล่งข้อมูลการทำให้ใช้งานได้และการฝึกอบรมของเรา เพื่อช่วยให้การเริ่มต้นใช้งานเป็นไปอย่างราบรื่น เราได้จัดเตรียมแหล่งข้อมูลมากมายไว้สำหรับทำให้ผู้ใช้ของคุณใช้งาน G Suite ได้ แนะนำให้ผู้ใช้ไปที่ ศูนย์การเรียนรู้ของ G Suite เพื่อดูคำแนะนำการเริ่มต้นอย่างรวดเร็ว วิดีโอ และเคล็ดลับสำหรับผู้ใช้ด้านธุรกิจ และไปที่ เว็บไซต์การทำให้ใช้งานได้ เพื่อดูแผนการเริ่มต้นใช้งาน คำแนะนำด้านเทคนิค และเทมเพลตสำหรับสร้างศูนย์การเรียนรู้ของคุณเอง
             6. ให้สิทธิ์ผู้ดูแลระบบแก่เจ้าหน้าที่ IT
ไม่ว่าองค์กรของคุณจะมีขนาดเท่าใด เราขอแนะนำให้คุณกระจายความรับผิดชอบในการจัดการผู้ใช้และบริการให้แก่ผู้ใช้ที่เชื่อถือได้กลุ่มหนึ่ง ซึ่งทำได้โดย การให้สิทธิ์ผู้ดูแลระบบ แก่ผู้ใช้เหล่านั้น เมื่อผู้ดูแลระบบลงชื่อเข้าใช้บัญชี G Suite ระบบจะนำไปที่คอนโซลผู้ดูแลระบบเช่นเดียวกับคุณ แต่ผู้ใช้ที่ไม่ใช่ผู้ดูแลระบบจะไม่เห็นคอนโซลผู้ดูแลระบบเมื่อลงชื่อเข้าใช้ แต่จะไปที่รายการของบริการที่มีการจัดการทันที
             7. จัดการการเผยแพร่คุณลักษณะสำหรับผู้ใช้
G Suite ทำงานบนเว็บ 100% ดังนั้นคุณและผู้ใช้ของคุณจะได้รับคุณลักษณะและอัปเดตใหม่ๆ โดยอัตโนมัติ โดยไม่ต้องติดตั้งหรืออัปเดตซอฟต์แวร์ใดๆ แต่คุณสามารถติดตามการเผยแพร่ที่กำลังจะมีขึ้นได้อย่างง่ายดายผ่าน ปฏิทินการเผยแพร่ หรือบล็อกของเรา รวมถึงควบคุมว่าจะเปิดให้บริการคุณลักษณะใหม่สำหรับผู้ใช้เมื่อใด
โดยตั้งค่า กระบวนการเผยแพร่ของ G Suite
            8. จัดการอุปกรณ์เคลื่อนที่ของคุณจากระยะไกล
ใช้คอนโซลผู้ดูแลระบบเพื่อ จัดการอุปกรณ์เคลื่อนที่ของผู้ใช้ บังคับใช้นโยบายการรักษาความปลอดภัยสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ของคุณ ล้างข้อมูลอุปกรณ์ที่สูญหายหรือถูกโจรกรรมจากระยะไกล เป็นต้น
9. ติดตามการใช้งานและแนวโน้ม
ตรวจสอบว่าบริการแต่ละรายการมีการใช้งานอย่างไรในองค์กรของคุณ โดยดู กราฟและรายงานการใช้งาน ในคอนโซลผู้ดูแลระบบ วิเคราะห์การทำงานร่วมกันของทีม ระบุรูปแบบการรักษาความปลอดภัยที่ไม่ต้องการ และติดตามแนวโน้มอื่นๆ
           10. เพิ่มโดเมนได้ฟรี ถ้าองค์กรของคุณได้ชื่อโดเมนมาใหม่หรือทำธุรกิจในหลายโดเมน คุณสามารถ เพิ่มโดเมนทั้งหมด ลงในบัญชีได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม จากนั้นผู้ใช้สามารถมีข้อมูลประจำตัวได้หลายโดเมนในขณะที่แชร์บริการต่างๆ ในฐานะองค์กรเดียว

G Suite ต่างจากบริการอื่นๆอย่างไร ?
         1. ผู้บุกเบิกระบบคลาวด์ Google ได้รับการยอมรับว่าเป็นชื่อที่ได้รับความไว้วางใจและเป็นผู้นำในวงการด้านโครงสร้างพื้นฐานระบบคลาวด์ที่เชื่อถือได้
2. สร้างมาเพื่อระบบคลาวด์ G Suite ออกแบบมาเป็นบริการที่ทำงานในระบบคลาวด์โดยสมบูรณ์ แผนกไอทีจึงไม่ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายไปกับการดูแลชุดอุปกรณ์เดสก์ท็อป
3. แพ็กเกจครบวงจร โดยมีพื้นที่เก็บไฟล์และการแชร์กับ Google ไดรฟ์ การทำงานร่วมกันใน Google เอกสารแบบเรียลไทม์ การประชุมผ่านวิดีโอโดยใช้แฮงเอาท์ และ ระบบอีเมลแบบมืออาชีพอย่าง Gmail ทั้งหมดนี้ให้บริการในราคาเดียว
          4. ระบบเดียวที่ใช้ได้สะดวก ผู้ใช้ G Suite จะได้รับประสบการณ์แบบเดียวกันเมื่อใช้อุปกรณ์ ระบบปฏิบัติการ และเบราว์เซอร์ต่างๆ และมีพนักงานจำนวนมากใช้ ผลิตภัณฑ์ Google ที่บ้านอยู่แล้ว
          5. ความช่วยเหลือออฟไลน์ Gmail, ปฏิทิน และ Google เอกสารช่วยให้ผู้ใช้ดู แก้ไข และสร้างเนื้อหาได้เมื่อไม่ได้เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต จากนั้นระบบจะซิงค์ข้อมูลให้โดยอัตโนมัติเมื่อเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต

ทำไมฉันควรจ่ายค่าบริการ G Suite ในเมื่อ Google มีผลิตภัณฑ์ที่คล้ายกันซึ่งใช้งานได้ฟรี ?
      1. อีเมลธุรกิจที่ใช้ชื่อโดเมนของคุณ
2. พื้นที่เก็บข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับ Gmail และ ไดรฟ์
3. การสนับสนุนทางโทรศัพท์และอีเมลตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน
4. การรับประกันความพร้อมในการใช้งาน 99.9%
ทำงานร่วม กับ Microsoft Outlook ได้
5. คุณลักษณะด้านการรักษาความปลอดภัยที่ดียิ่งขึ้น
6. การดูแลระบบแบบเต็มรูปแบบกับบัญชีผู้ใช้ทั้งหมด

 

ขอบคุณที่มา: www.1belief.com

Google G Suite จำเป็นต่อองค์กรแค่ไหน

Google G Suite จำเป็นต่อองค์กรแค่ไหน และประโยชน์ที่จะได้รับจาก G Suite

Google G Suite คืออะไร ต้องทำความเข้าใจเสียก่อนว่า Google ได้ออกแอพพลิเคชันมามากมาย เพื่ออำนวยความสะดวกสบายให้กับผู้ใช้งานในตลาดองค์กร ซึ่งคือ Google Apps for Business แต่ Google เอง ได้เปลี่ยนชื่อใหม่ แต่ฟีเจอร์ยังเหมือนเดิม เหมาะสมกับตลาดองค์กรในชื่อของ Google G Suite นั่นเอง

บริการของ Google G Suite มีอะไรบ้าง

บริการโดยรวมของ G Suite เป็นโซลูชันครบวงจร เน้นบริการบนคลาวด์เป็นหลัก ช่วยตอบสนองความต้องการของธุรกิจต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น

 

อีเมลและการเชื่อมต่ออื่นๆ

มีอีเมล์โดเมนในชื่อธุรกิจของคุณเองเช่น [email protected] ทำให้ธุรกิจของคุณดูน่าเชื่อถือ เป็นมืออาชีพ และยังสามารถสร้างรายชื่ออีเมลได้ตามความต้องการ พร้อมใช้งานทั้งในมือถือและพีซี

ยังมี Google Calendar ที่เป็นปฏิทินออนไลน์สำหรับทุกคนในองค์กร กำหนดการประชุมได้อย่างพร้อมเพรียงกัน และยังมีการแจ้งเตือนก่อนถึงนัดหมาย ทำให้ไม่พลาดทุกการนัดหมายของคุณ

ติดต่อกับทุกคนในองค์กร เพียงแค่ใช้ Meet จากแฮงก์เอาท์ เชื่อมต่อกันให้กลายเป็นหนึ่งเดียว ไม่ว่าจะแชทคุยผ่านตัวอักษร แนบไฟล์งานต่างๆ หรือประชุมแบบวิดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ก็ทำได้เช่นกัน

และยังมี Google Drive รองรับการเก็บข้อมูลบนคลาวด์ตามเท่าที่คุณต้องการ ควบคุมวิธีการแชร์ไฟล์ที่ง่ายกว่า และยังซิงค์ไฟล์ข้อมูลกับคอมพิวเตอร์ของคุณโดยอัตโนมัติ

งานด้านเอกสาร

google g suite

  • Google Docs งานเอกสารโดยทั่วไป ตอบโจทย์การทำงานพร้อมกัน ลืมปุ่ม Save ไปได้เลย เพราะจะมีการบันทึกโดยอัตโนมัติ
  • Google Sheets สร้างตารางง่ายๆ แค่คลิกที่เบราเซอร์ ไม่ต้องลงโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ใดๆ เพิ่มเติม เพิ่มแผนภูมิหรือตารางได้อย่างง่ายดาย
  • Google Form ใช้งานแบบสำรวจที่ดูสวยงาม และเป็นมืออาชีพ วิเคราะห์คำตอบได้อัตโนมัติ และมีการสำรองข้อมูลไว้ใน Google Sheet
  • Google Slides พอกันทีกับการพรีเซนต์งานแบบเดิมๆ ง่ายกว่าด้วย Google Slide งานนำเสนอของคุณจะดูสวยงาม ทุกคนในทีมสามารถเข้าถึงและแก้ไขได้พร้อมกัน ใช้งานได้ทันที
  • Google Sites      สร้างเว็บไซต์ไม่เป็นไม่ใช่ปัญหา เพราะ Google Sites รองรับออกมาทุกหน้าจอ ไม่ว่าจะเป็นเดสก์ท็อปหรือมือถือ ไม่จำเป็นที่จะต้องเรียนทางด้านกราฟิกหรือเขียนโปรแกรมก็เข้าใจได้
  • Google Keep ต้องการโน้ตส่วนตัว ต้อง Google Keep ที่ช่วยให้การจดบันทึกเป็นเรื่องที่น่าสนใจ มีเครื่องมือช่วยเตือนทำให้ไม่ลืม ใช้งานได้กับทุกอุปกรณ์

ข้อดีของการใช้งาน G Suite

google g suite

  • ไม่จำเป็นที่จะต้องลงโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ใดๆ ให้หนักเครื่อง เพราะบริการ G Suite สามารถใช้งานผ่านเว็บเบราเซอร์ได้ทันที
  • ทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถึงแม้ว่าจะไม่ได้อยู่สถานที่เดียวกัน ทุกคนในองค์กร สามารถแก้ไข เพิ่มเติมงานเอกสารได้แบบเรียลไทม์ ทำให้ทุกคนใช้งานเอกสารที่เป็นเวอร์ชันล่าสุดเสมอ
  • เหมาะกับหลายอุปกรณ์ ไม่ว่าจะเป็นบนเดสก์ท็อป บนสมาร์ทโฟน หรือจะระบบปฏิบัติการต่างกันเช่น MAC OS หรือ Windows ก็ใช้ร่วมกับบริการของ G Suite ได้อย่างราบรื่น ไม่มีสะดุด
  • ปลอดภัย มั่นใจได้ว่า คุณจะได้รับบริการอย่างต่อเนื่อง ได้ใช้เวอร์ชันใหม่ตลอด จึงไม่ต้องกังวลใดๆ กับการอัพเดตซอฟต์แวร์

แล้ว Google G Suite เหมาะกับใคร

G Suite เหมาะกับองค์กรทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก เพราะจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายไปได้มากกว่าการซื้อซอฟต์แวร์ ซึ่งมีราคาสูงกว่า G Suite และยังประหยัดเวลา ช่วยให้การสื่อสารระหว่างในกลุ่มพนักงานมีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วย

เคล็ดลับการ ทำเว็บไซต์ ให้โดนใจลูกค้า

ในยุคที่อะไรๆ ก็ Go Online กันหมด จากสื่อสิ่งพิมพ์เป็น Online Magazine จากพ่อค้ามีหน้าร้านสู่พ่อค้าบนแพลทฟอร์ม ทำให้การ ทำเว็บไซต์ในตอนนี้กลายเป็นเรื่องสำคัญไปแล้วสำหรับเหล่านักธุรกิจหน้าใหม่และเหล่าพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์!

จะมาสร้างเพจแบบไก่กาอาราเล่ก็อาจจะทำให้คุณค้าขายไปได้ในระยะหนึ่งเท่านั้นแต่หากอยากจะประสบความสำเร็จแบบเปรี้ยงปร้างแล้วละก็…การมีเว็บไซต์นี่แหละดีที่สุด เพราะมันเปรียบเหมือนคุณมีหน้าร้านแบบออนไลน์เป็นของตัวเอง ไม่ต้องไปเช่าที่หรือไปฝากร้านที่ไหน แต่มาตกแต่งหน้าร้านของตัวเองให้ดูสวยงาม น่าสนใจ เท่านี้ก็สามารถดึงดูดลูกค้าให้มามี Engagement กับแบรนด์ของคุณได้เป็นอย่างดีเลยล่ะ!

ในวันนี้เราเลยเอา เคล็ดลับการ ทำเว็บไซต์เพื่อเหล่าพ่อค้าแม่ค้าและนักธุรกิจมือใหม่จะได้มีเว็บไซต์ที่สวยโดนใจทั้งคนขายแล้วก็คนซื้อ ลองไปดูกันเลย!

เคล็ดลับออกแบบเว็บไซต์ ให้โดนใจลูกค้า - เรียบง่าย

Simple is the best

เพราะหน้าตารูปลักษณ์เป็นสิ่งแรกที่เรามักจะเห็นกันใช่ไหม!? การทำเว็บไซต์ ก็เช่นกัน คุณเคยเข้าไปในเว็บไซต์ที่รก เต็มไปด้วยกล่องนั้นกล่องนี้เด้งขึ้นมาไม่รู้จักจบจักสิ้นหรือเปล่า เจอแบบนี้ก็อยากจะปิดแล้ว! ลูกค้าของคุณก็เช่นกัน พยายามทำให้เว็บไซต์ของคุณมีความเรียบง่าย ดูแล้วสะอาดตา ไม่รก เลือกใช้โทนสีที่ดูสบาย ไม่แสบตา อ่านง่าย ควรคำนึงถึงตัวอักษรและพื้นหลังด้วยนะ นอกจากนี้คุณอาจใช้โทนสีของแบรนด์มาปรับให้เข้ากับเว็บไซต์ก็ดูเก๋ดีไม่น้อยเลยล่ะ

เคล็ดลับออกแบบเว็บไซต์ ให้โดนใจลูกค้า - พร้อมใช้งาน

Ready to take

หนึ่งในสิ่งที่ทำให้เหล่าลูกค้ามักจะเบือนหน้าหนีแทนที่จะกดซื้อสินค้าเมื่อเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์นั้นก็คือ ความยุ่งยากในระบบของการจ่ายเงิน ปุ่มซื้ออยู่ตรงไหนหาไม่เจอ ราคากี่บาทไม่ชัดเจน ต้องเข้าตรงนู่น ต้องกดตรงนี้ กว่าจะฝ่าด่านเข้าไปจ่ายเงินได้เป็น 100 Steps แบบนี้ลูกค้าเบื่อแน่นอน สำหรับเหล่าพ่อค้าแม่ค้ามือใหม่ เราอยากแนะนำว่าคุณควรมีความชัดเจนในเรื่องของราคา ใส่รูปภาพให้สวยงาม น่าซื้อ ติดราคาให้เรียบร้อยและอีกอย่างที่จะดึงดูดลูกค้าได้เป็นอย่างดีเลยก็คือคำว่า SALE!!!

หากคุณจะลดราคาสินค้าตัวนี้ก็ติดป้ายไปเลยว่า Sale เหลือราคาเท่าไหร่ก็ใส่ลงไป นอกจากนี้ทำปุ่มจ่ายเงินให้ดูง่าย ทำระบบหลังบ้านให้มีความปลอดภัย ไม่ให้ข้อมูลของลูกค้ารั่วไหล เท่านี้ก็เก๋แล้ว!

เคล็ดลับออกแบบเว็บไซต์ ให้โดนใจลูกค้า - รู้ใจลูกค้า

Know your customer

เรื่องสำคัญมากที่สุดเวลาที่คุณอยากจะเข้าถึงหัวใจของลูกค้าก็คือการที่คุณต้องรู้จักลูกค้าของคุณเป็นอย่างดี ก่อนอื่นเลยคุณต้องเข้าใจแบรนด์ของคุณและรู้ว่ากลุ่มลูกค้าของคุณคือใคร ชอบอะไร ไม่ชอบอะไร เหมือนเวลาที่คุณชอบใครสักคนก็คงอยากจะรู้จักตัวตนของเขา อยากจะเอาใจ อยากทำให้เขาชอบคุณ การเอาใจกลุ่มลูกค้าก็ใช้หลักการเดียวกัน

เมื่อคุณรู้จักกลุ่มลูกค้าของตัวเองแล้วคุณก็สามารถใช้จุดนั้นมาเป็นส่วนหนึ่งในการ ทำเว็บไซต์ ของตัวเองได้ เช่น กลุ่มลูกค้าของคุณเป็นคน Gen Y แน่นอนว่าพวกเขามีความเป็นตัวของตัวเองสูง ชอบความ Unique ชอบอะไรเท่ๆ คุณก็อาจจะมี Feature ที่ให้ลูกค้าสร้าง Profile ของแต่ละคนได้หรืออาจออกแบบให้เหล่าลูกค้ากลุ่มนี้สามารถลองสินค้าแบบออนไลน์ หรือให้เขา Create สินค้าที่มีชิ้นเดียวในโลกโดยพวกเขาออกแบบเองได้ อะไรแบบนี้ก็จะได้ใจลูกค้าไปเต็มๆ!

เคล็ดลับออกแบบเว็บไซต์ ให้โดนใจลูกค้า - content ต้องโดน

Create Cool Content

อีกหนึ่งสิ่งที่จะทำให้เว็บไซต์ของคุณดู Cool ดึงดูดลูกค้าให้มา Enjoy ในเว็บไซต์ได้ก็คือ Content คุณสามารถดีไซน์ในส่วนของ Content ให้ดูน่าอ่าน มีรูปภาพประกอบพร้อมทั้ง Create Content ที่เป็นประโยชน์สำหรับลูกค้ารวมถึงคนทั่วไป Content ที่ดีจะช่วยให้คุณดึงคนเข้าสู่เว็บไซต์ได้มากขึ้น

นอกจากนี้หาก Content ของคุณมีประสิทธิภาพแล้วล่ะก็… เตรียมตัวรับลูกค้าที่ถาโถมได้เลย เพราะ Content ที่ดีจะถูกส่งต่อออกไปด้วยการแชร์ ฉะนั้นแล้วอย่าลืมเตรียมหลังบ้านไว้ให้พร้อมก่อนที่เว็บจะล่มหาก Content ของคุณโดนใจจนใครๆ ก็อยากแชร์!

เคล็ดลับออกแบบเว็บไซต์ ให้โดนใจลูกค้า - เคลื่อนไหวตลอดเวลา

Stay Lively

มาถึงข้อสุดท้ายที่จะช่วยให้เว็บไซต์ของคุณโดนใจเหล่าลูกค้าและคนทั่วไปก็คือการเคลื่อนไหวในเว็บไซต์ คุณควรที่จะมี Activities กับลูกค้าตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นการตอบปัญหาลูกค้าแบบ Real time การลง Content ใหม่ๆ การอัพเดตสินค้าตลอดเวลา อย่าปล่อยให้เว็บไซต์ของคุณกลายเป็นเว็บไซต์ที่นิ่งเฉยเหมือนบ้านร้าง ควรมีคนดูแลเป็นประจำ ที่สำคัญคนดูแลจะต้องมี Attitude ที่ไปในทิศทางเดียวกับแบรนด์ของคุณด้วย เคยเห็นมานักต่อนักแล้วที่คนดูแลดันเหวี่ยงใส่ลูกค้าจนแบรนด์เสียหาย น่ากลัวก็ตรงนี้!

ที่สำคัญคือในเทศกาลต่างๆ คุณก็สามารถสร้างสีสันให้เว็บไซต์ด้วยการทำกราฟฟิกสวยๆ เก๋ๆ ให้เข้ากับเทศกาล นี่ก็เป็นอีกหนึ่งดีไซน์ที่แสดงให้เห็นว่าแบรนด์ของคุณทันสมัยและทันต่อเหตุการณ์มากแค่ไหน!

เคล็ดลับการ ทำเว็บไซต์ ให้โดนใจลูกค้า


Credit: https://www.webconer.com/%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%94%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3-%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B9%87%E0%B8%9A%E0%B9%84%E0%B8%8B%E0%B8%95%E0%B9%8C-%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%88%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2/

5 วิธีทำเว็บไซต์ ให้ถูกใจคนซื้อยุค GEN Y

หลายคนกำลังคิดอยู่ละสิว่า สร้างเว็บให้ถูกใจคนซื้อ ก็แค่มีเว็บที่สวยไง มันจะไปยากอะไร !!!

แต่สวยเรา กับสวยคนอื่น มันเหมือนกันรึป่าว แล้วอะไรกันแน่ที่เป็นปัจจัยให้เว็บของเราโดนใจคนซื้อ เอาเป็นว่ามาดูหลักการ 5 ข้อที่โบจะบอกต่อไปนี้ดีกว่าคะ ใครที่มีครบขอแนะนำให้เดินหน้า ทำการตลาดออนไลน์ไปได้เลย แต่ถ้าใครยังมีไม่ครบก็ลองปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้นดูนะคะ

  1. ตรงกลุ่มเป้าหมาย ( Meet Target) สำหรับการทำธุรกิจกลุ่มเป้าหมายเป็นอะไรที่สำคัญมากๆ เพราะฉะนั้นเพื่อนๆที่เป็นเจ้าของแบรนด์จะต้องรู้ว่ากลุ่มเป้าหมายของเราคือใคร ผู้ชาย หรือผู้หญิง ช่วงอายุประมาณเท่าไหร่ ตรงนี้จะส่งผลมากๆต่อการออกแบบเว็บไซต์ของคุณ และนอกจากนี้ยังต้องเลือกประเภทเว็บไซต์ให้เหมาะกับธุรกิจ เป็นเว็บ Blog , เว็บบริษัท (Corporate) หรือ เว็บร้านค้าออนไลน์ (eCommerce) เช่น ธุรกิจขายเสื้อผ้าออนไลน์ กลุ่มเป้าหมายเป็นวัยรุ่น อายุ 18 – 25 ปี เหมาะกับเว็บไซต์ประเภทร้านค้าออนไลน์ (eCommerce) ที่มีระบบสั่งซื้อสินค้าผ่านเว็บไซต์ การออกแบบเว็บไซต์ก็ควรเลือกโทนสีสันสดใส เน้นความทันสมัย ดูโมเดิร์น นอกจากจะต้องออกแบบตามกลุ่มเป้าหมายแล้ว ควรออกแบบให้เหมาะสมกับตัวสินค้าด้วยวิธีสร้างเว็บ ให้โดนใจกลุ่มเป้าหมาย
  2. ออกแบบสวย (Beautiful Design) เว็บไซต์ยิ่งสวยยิ่งดึงดูดคนซื้อ และถ้ายิ่งสามารถโชว์ความเป็นตัวตนผ่านเว็บไซต์ได้อีกยิ่งดีเข้าไปใหญ่ เว็บสวยสามารถเพิ่มมูลค่าของสินค้าของเราได้ด้วย โบแนะนำให้ ให้ความสำคัญกับการออกแบบเว็บไซต์ที่สามารถชูสินค้าได้อย่างโดดเด่น เว้นระยะห่างภายในเว็บไซต์ให้เหมาะสม การใช้สีภายในเว็บไซต์ต้องดูสะอาดตา มีการจัดเรียงสีที่มีโทนเดียวกัน สีไม่โดด หรือจัดจ้านจนเกินไป การใช้ชนิดตัวอักษรที่อ่านง่าย มีขนาดตัวอักษรที่ชัดเจน รูปภาพที่นำมาใช้ภายในเว็บก็ควรมีขนาดที่เหมาะสม และต้องเป็นภาพที่มีคุณภาพ คมชัด และถูกลิขสิทธิ์นะคะวิธีทำเว็บไซต์ ให้สวย
  3.  ใช้งานง่าย (Easy to use) ใครๆก็ชอบอะไรง่ายๆ สั้นๆ เร็วๆ ดังนั้น เราต้องออกแบบเว็บไซต์ให้ใช้งานง่าย มีการแบ่งสัดส่วนการใช้งานไว้อย่างชัดเจน เรียงลำดับเมนูให้เรียง สินค้า/บริการ, รีวิว/ผลงาน อะไรที่เกี่ยวกับเราเอาไว้ท้ายๆ  ช่องที่จะให้สอบถามข้อมูลต้องดูสะดุดตาเข้าถึงง่าย มีช่องสำหรับการค้นหาที่ใช้งานได้จริง มีช่องทางการติดต่อที่ชัดเจน ใส่ไปให้หมดเลยค่ะ ทั้งอีเมล์ เฟสบุ๊ก, ไลน์, อินสตาแกรม, ทวิตเตอร์  แล้วถ้าใครมีหน้าร้านก็อย่าลืมไปปักหมุดแผนที่ลงในเว็บด้วย สามารถสร้างความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์เราได้เยอะเลยคะวิธีสร้างเว็บไซต์ ให้ใช้งานง่าย
  4. รองรับการใช้งานบนมือถือ (Mobile Responsive) ยุคดิจิตอลนี้ ใครมีแค่โน๊ตบุ๊ค นี่คือ เอ้าท์มากนะ เพราะอะไรๆก็ drive ด้วยมือถือ แท็บเล็ต และสมาร์ทโฟน กันทั้งนั้น ดังนั้นถ้าเว็บของเราไม่รองรับการใช้งานบนอุปกรณ์มือถือ มันอาจจะเสียโอกาสในการขาย กระทบต่อความสะดวกสบายต่อการใช้งานได้ เพราะฉะนั้นการสร้างเว็บไซต์ต้องใช้งานได้กับทุกอุปกรณ์ที่ผู้ซื้อมี การปรับแปลงนี้มีความสำคัญอย่างมาก เพราะมันสามารถสื่อถึงความเป็น professional ของเจ้าของแบรนด์ได้ด้วย ยิ่งสะดวก ยิ่งขายดี จำไว้ !!!วิธีสร้างเว็บ ให้รองรับบนมือถือ
  5. เว็บปัง เนื้อหาต้องดี (Content is the best) ในยุคนี้ต้องทำเนื้อหาให้ดี ให้โดน และต้องยูนีกเป็นเอกลักษณ์ แล้วมันจะปังมาก คอนเทนท์ในเว็บไซต์เป็นอะไรที่สำคัญมาก เพราะเนื้อหาเราดี โดนใจคนซื้อ บทความนั้นก็จะถูกแชร์ออกไป เรื่อย เรื่อย เรื่อยๆ ทำให้กลุ่มลูกค้าเราขยายตัวกว้างขึ้น ทำให้ผู้ซื้อมองเห็นสินค้าเรามากขึ้นด้วย เรื่องนี้ต้องทำด่วน !!! เพราะมันสามารถส่งผลดีต่อเว็บไซต์ของเราด้านความน่าเชื่อถือ น่าสนใจ และยังเป็นผลดีๆมากๆๆ ก.ไก่ ล้านตัว ต่อการทำการตลาดออนไลน์ในอนาคตด้วยวิธีสร้างเว็บ ให้มีแต่บทความดีๆ
    ไหนๆ ก็ไหนๆ ล่ะ โบจะมาบอก tool ดีๆ สำหรับคนอยากมีเว็บฟรีกันดีกว่า ในบ้านเรามีเว็บที่ให้บริการรับทำเว็บไซต์ฟรีเยอะเลย แต่ที่เห็นส่วนมากมีแต่ประเภท Ecommarce และ Blog ยังไม่ประเภท Corporate เท่าไหร่ มีที่ไหนบ้างมาดูกัน !!!

วิธีสร้างเว็บฟรี  สำหรับคนเริ่มต้นธุรกิจขายของออนไลน์

การสร้างเว็บไซต์ฟรี แบบง่ายๆ สามารถทำได้โดยการสร้างผ่านเว็บสำเร็จรูป ซึ่งในประเทศไทยมีผู้ให้บริการประเภทนี้มากมาย ยกตัวอย่างเช่น Weloveshopping, Lnwshop สองเว็บนี้เหมาะกับการสร้างเว็บร้านค้าออนไลน์ เพราะมีรูปแบบของเว็บไซต์ที่มีระบบตะกร้าสินค้าไว้ให้บริการ แต่สำหรับเหล่าบล็อกเกอร์ที่อยากมีเว็บ blog ขอแนะนำ wordpress.org และ blogger.com เว็บนี้มีธีมให้เลือกมากมาย ใช้งานง่าย เหมาะกับการเขียนบล๊อกมากๆค่ะ

วิธีสร้างเว็บ ฟรี
ข้อเสนอแนะ
  : หากต้องการปรับแต่งเว็บไซต์ให้ตรงตามต้องการมากขึ้น ควรรู้เรื่องพื้นฐาน HTML, CSS ไว้บ้างนะคะ โดยสามารถศึกษาได้จาก Thaicreate.com ที่นี่เป็นแหล่งรวมโค้ดที่มีตั้งแต่ง่ายจนไปถึงยากเลยทีเดียว แต่สำหรับใครที่ไม่อยากทำเอง อยากหาบริษัทรับทำเว็บไซต์แล้วละก็ ก็แนะนำให้ดูที่หน้าผลงานเป็นอันดับแรก ลองพูดคุยกับเจ้าของบริษัทดูว่าสามารถร่วมงานกันได้ไหม และลองเปรียบเทียบราคากับปริมาณงานที่เราต้องการ เราจะได้รู้ว่าเจ้าดีสุดในการทำเว็บไซต์ของเรา ^^


Credit: https://www.webconer.com/5-%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B9%87%E0%B8%9A%E0%B9%84%E0%B8%8B%E0%B8%95%E0%B9%8C/

10 เทคนิค การเขียนบทความ / เขียนบล็อก ให้ประสบความสำเร็จ

การเขียนบทความที่ดี มีคุณภาพ ควรมีลักษณะอย่างไร ? เขียนบทความ SEO มีหลักการอย่างไร ? คำถามในทำนองนี้ ผมเชื่อว่าคงมีใครหลายคนสงสัยอยู่เป็นแน่ ..

เป็นที่รู้กันดีว่า หากต้องการประสบความสำเร็จ ในเรื่องของ Content Marketing (รวมไปถึงการทำ SEO) ไม่ว่าจะชอบหรือไม่ก็ตาม คุณจำเป็นต้องเรียนรู้ในเรื่องของ “Blog” (บล็อก) เพราะ การเขียนบล็อก (Blogging) / การเขียนบทความ นับว่าเป็นช่องทางหนึ่งที่สำคัญในสายงานของ Digital Marketing

ยิ่งหากคุณต้องการที่จะสร้างตัวตน สร้างแบรนด์ สร้างธุรกิจ หรือ ทำการตลาด บนโลกออนไลน์ ความรู้เรื่อง Blog เรื่อง การเขียนบทความ ถือเป็นพื้นฐานที่จำเป็นอย่างมาก ซึ่งคนทำ SEO หรือนักการตลาดออนไลน์ มือใหม่ มักจะไม่เข้าใจถึงคุณค่าและประโยชน์ของการมี Blog ว่ามันสามารถช่วยในเรื่องของ SEO อีกทั้งยังช่วยในเรื่องธุรกิจออนไลน์ได้

ประโยชน์ของการเขียนบทความ / การเขียนบล็อก

การเขียนบล็อกถูกใช้กันอย่างแพร่หลายในโลกออนไลน์ ด้วยวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันออกไป
• บางคนใช้ Blog ในการเขียนเล่าเรื่องราวชีวิตส่วนตัว
• บางคนใช้ Blog ในการแชร์ประสบการณ์ ความรู้ หรือเรื่องราวที่ตนสนใจ
• บางคนใช้ Blog ในการช่วยทำอันดับบน Google (ช่วยเรื่อง SEO)
• บางคนใช้ Blog ในการโปรโมทแนะนำ สินค้าหรือบริการ
• บางคนใช้ Blog เพื่อสร้างรายได้บนโลกออนไลน์

(สำหรับมือใหม่มากๆ ที่ไม่รู้ว่า Blog มันเป็นยังไง หรือแตกต่างกับเว็บไซต์ยังไง อาจเกิดความสงสัย ขอให้ลองอ่านที่ผมเคยเขียนอธิบายไว้ ►  Website กับ Blog ต่างกันอย่างไร?)

Blog มีความสำคัญอย่างมาก แต่การจะสร้างบล็อก หรือ เขียนบล็อก ขึ้นมาให้ประสบความสำเร็จนั้น ใช่ว่าจะทำกันได้ง่ายๆ ที่ว่าสำเร็จนั้น ในเบื้องต้นก็คือ “มีคนอ่าน” และต่อมาคือ ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่คุณตั้งเป้าหมายไว้ตามมา อาทิเช่น
– ทำให้มีคนติดตามเรา
– ทำให้คนรู้จักแบรนด์สินค้าเรา หรือ รู้จักตัวเรา
– ทำให้คนเชื่อใจเรา หรือ ให้ความไว้วางใจเรา
– ทำให้คนโทรติดต่อมาสอบถาม หรือ สั่งซื้อสินค้า/บริการ ของเรา

แนวคิดหลักในการเขียนบล็อกอย่างมืออาชีพ

ผมขอยกตัวอย่างบล็อกของคุณณัฐ www.nuttaputch.com (ถือเป็นอีกคนหนึ่งที่เป็นไอดอลของผม)
คุณณัฐแนะนำเรื่องการสร้างบล็อกให้ประสบความสำเร็จไว้ 5 อย่าง ซึ่งถือเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับ
คนที่คิดจะเป็น Blogger หรือคนที่อยากจะใช้การเขียนบทความ มาช่วยในเรื่องของการทำ Content Marketing

1. ต้องโฟกัส
2. ต้องต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
3. ต้องรักและให้เกียรติในสิ่งที่ทำ
4. อย่าหยุดคิด อย่าหยุดที่จะเรียนรู้
5. วางแผนระยะยาว และ Optimize อยู่เสมอ

► อ่านฉบับเต็ม

10 วิธีการเขียนบทความ / เขียนบล็อก ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

สำหรับในบทความนี้ผมจะขอมาแนะนำวิธีที่จะช่วยทำให้ Blog ของคุณมีประสิทธิภาพ แบบเจาะลึกลงรายละเอียดให้มากยิ่งขึ้น เพื่อให้คุณกลายเป็น Blogger ที่มีคุณภาพในสายตาคนอ่าน รวมไปถึง หลักของการเขียนบทความที่ดี และ การเขียนบทความให้เป็นมิตรต่อ SEO

#1 – กำหนดเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของการเขียนบล็อก (Blog  Purpose)

+ คุณจะเขียนบล็อกไปทำไม ?
+ อะไรคือวัตถุประสงค์ หรือ จุดมุ่งหมาย ?
+ คอนเซ็ปต์ของบล็อกคืออะไร ?
+ บทความที่คุณตั้งใจจะนำเสนอ ตั้งใจจะเขียนเพื่ออะไร ?

คำถามเหล่านี้ถือเป็นจุดเริ่มต้น ที่หลายคนมองข้าม และหลายต่อหลายบล็อก (รวมไปถึงบทความงานเขียนส่วนใหญ่) ที่ถูกเขียนขึ้นมานั้น สร้างมาอย่างไร้จุดหมาย ซึ่งหากเราไม่รู้ว่าเราจะเขียนบล็อกขึ้นมาทำไม … มันก็ยากที่จะทำให้เราประสบความสำเร็จได้ (เป้าหมายมีไว้พุ่งชน แต่คุณจะพุ่งชนอะไร ในเมื่อคุณไม่มีเป้าหมาย ??)

การกำหนดเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ไว้ก่อนนี้ ก็เพื่อให้คุณได้หลัก หรือ จุดหมาย สำหรับกำหนดทิศทางและหาแนวทางปฎิบัติได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ยกตัวอย่าง 3 เป้าหมายหลักๆของการเขียนบล็อก ซึ่งเป็นที่นิยม เช่น

เขียนบล็อกเพื่อสร้างรายได้ (Blog For Money) : คุณสร้างบล็อกขึ้นมา , เผยแพร่ Content ที่น่าสนใจ , มี Traffic มีคนอ่าน จากนั้น หารายได้จาก Adsense หรือ Affiliate Marketing หรือ ติด Banner โฆษณา หรือ ช่องทางอื่นๆ นี่เป็นเป้าหมายที่นิยมในหมู่ของ คนที่ต้องการหารายได้จากอินเตอร์เนต

กรณีนี้ ตัวอย่างแนวทางปฎิบัติคือ : การให้ความสำคัญกับ Content ที่มีความเกี่ยวข้องสอดคล้องกับ Keyword ที่จะทำเงินให้คุณ

เขียนบล็อกเพื่อนำเสนอ (Blog For Lead) : ไม่ว่าจะขายสินค้า หรือ บริการ (ทั้ง Online และ Offline) การใช้ Blog ถือเป็นวิธีการโปรโมท ทางอินเตอร์เนตที่มีประสิทธิภาพที่สุดวิธีหนึ่ง เพราะคุณสามารถที่จะสื่อสารกับกลุ่มคนอ่าน โดยนำเสนอ สินค้า/บริการ ผ่านทางการเขียนบทความ เพื่อโน้มน้าวใจพวกเค้ากลายมาเป็นลูกค้าได้ หรือเพื่อให้เค้าเกิดความสนใจในเบื้องต้น จนที่สุดแล้วติดต่อเรามาเพื่อสอบถามพูดคุยกันต่อไป

กรณีนี้ ตัวอย่างแนวทางปฎิบัติคือ : การให้ความสำคัญกับการให้รายละเอียดข้อมูลที่ครบถ้วน รวมไปถึงคำแนะนำต่างๆ ที่จะโน้มน้าวให้ผู้อ่านเชื่อใจ และตัดสินใจเลือกเรา

เขียนบล็อกเพื่อเพิ่มจำนวนคนเข้าเว็บ (Blog For Traffic) : หากคุณถามผู้เชี่ยวชาญการตลาดออนไลน์ หรือ ผู้เชี่ยวชาญด้าน SEO ถึง วิธีการเพิ่ม Traffic ให้กับเว็บไซต์ คำตอบหนึ่งที่คุณจะได้รับอย่างแน่นอน นั่นก็คือ “สร้าง Blog ครับ/ค่ะ” หรือ “ใช้ Content Marketing สิ” ซึ่งการเขียนบล็อกเพื่อเพิ่ม Traffic ยังเสมือนเป็นการขยาย Brand Awareness ทำให้คนรู้จักเรามากยิ่งขึ้นด้วย

กรณีนี้ ตัวอย่างแนวทางปฎิบัติคือ : การให้ความสำคัญกับการอัพเดทอย่างต่อเนื่อง และรู้จักเลือกหัวเรื่องนำเสนอที่คิดว่าคนจะให้ความสนใจ หรือที่กำลังเป็นกระแส หรือเป็นที่นิยม (Trending Topics)

#2 – ค้นหาข้อมูลก่อนลงมือเขียน (Research)

การจะเขียนบทความขึ้นมาสักบทความหนึ่งให้มีคุณภาพนั้น จำเป็นต้องอาศัยเวลา หากต้องการทำให้ง่ายขึ้น ก่อนที่จะลงมือเขียน คุณควรจะทำการค้นคว้าข้อมูลก่อน เรื่องนี้ ถือเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก (ส่วนตัวแล้วสำหรับผม ถือเป็น หัวใจหลักเลย เรื่อง หาข้อมูล)

เมื่อคุณได้หัวเรื่องที่จะเขียน ให้ทำการค้นหาใน Google โดยใช้ คำค้นหาที่ใกล้เคียง เพื่อ
– รวบรวมข้อมูลเพิ่มเติม หาไอเดีย มาต่อยอดในงานเขียนของเรา
– ดูคนอื่นว่า เค้าเขียนอย่างไร ในหัวข้อที่เรากำลังจะเขียน
– ดูบทความอื่นๆที่ติดอันดับหน้าแรกๆบน  Google
– เพื่อนำมาวิเคราะห์ ว่าการตั้งชื่อโพสแบบไหน ลักษณะการเขียนอย่างไร Google ถึงชอบ

อย่าลืมที่จะทำการค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อนำมาพัฒนาการเขียนบทความ การเขียนบล็อกของเราให้ดียิ่งขึ้น

#3 – ตั้งชื่อโพสอย่างมีกึ๋น (Post Title)

เมื่อคุณได้ไอเดียที่จะเขียนแล้ว สิ่งสำคัญต่อมาก็คือ การตั้งชื่อโพส (ตั้งชื่อบทความ) …
ซึ่งโดยปกติแล้ว หน้าที่สำคัญของ Post Title นั้น มีอยู่ด้วยกัน 2 อย่าง คือ
1. เพื่อให้คนที่เห็น เกิดความรู้สึกน่าสนใจ อยากคลิกอ่าน
2. เพื่อให้เป็นมิตรต่อการทำ SEO
ดังนั้นในการตั้งชื่อโพสในบล็อก เราควรอาศัยหลักที่ว่านี้ ควบคู่กันไป

ผมขอยกตัวอย่างง่ายๆ เอาว่า บทความนี้เลยละกัน

General Keyword = การเขียนบล็อก , การเขียนบทความ
Long Tail Keyword =  เทคนิค + การเขียนบล็อก / การเขียนบทความ + ที่ดี
Semantic Keyword = เทคนิค + การเขียนบล็อก / การเขียนบทความ + ประสบความสำเร็จ
Post Title = 10 เทคนิค การเขียนบทความ / เขียนบล็อก ให้ประสบความสำเร็จ

ตั้งชื่อแบบนี้ คนเห็นก็อยากคลิกอ่าน รู้สึกน่าสนใจ อีกทั้งยัง SEO-Friendly เหมาะต่อการทำ SEO เพราะมี Keyword อยู่ในชื่อโพสด้วย … ส่วนไอเดียการตั้งชื่อ Post Title นั้น ก็อาจจะหาไอเดียแบบง่ายๆ จาก Related Keyword ใน Google (ในส่วนของ Predictive Search)

 

หรือยกตัวอย่างเพิ่มเติม

main keyword = รีวิวร้านอาหาร 
longtail keyword = รีวิวร้านอาหาร อร่อย
longtail keyword = รีวิวร้านอาหาร ราคาถูก
longtail keyword = รีวิวร้านอาหาร ชื่อดัง
longtail keyword = รีวิวร้านอาหาร อร่อย กรุงเทพ
longtail keyword = รีวิวร้านอาหาร อร่อย สีลม
long + semantic keyword = รีวิวที่กิน อร่อย สีลม
long + semantic keyword = แนะนำ ร้านอาหาร เมนูเด็ด สีลม
long + semantic keyword = รีวิวร้านอาหารญี่ปุ่น สีลม
long + semantic keyword = รีวิวร้านอาหารเวียดนาม ในกรุงเทพ

focus keyword หรือ main keyword หรือ จะเรียก seed keyword ก็สุดแล้วแต่ ส่วน long tail กับ semantic เอาจริงๆมันก็คล้ายๆกัน  ยิ่งยกตัวอย่างมากไปหรือใช้ศัพท์เทคนิคมากเกิน อาจจะยิ่งทำให้งง เอาเป็นว่าง่ายๆคือ เราต้องฉลาดในการเล่นคำ ที่จะเอามาเป็น Keyword โดยยึดหลัก คำที่คนน่าจะนิยมใช้ค้นหาเป็นหลัก (ใช้ Keyword Planner ดู Volumn) ว่า เราจะใช้คำไหนดี ที่เข้ากับเนื้อหาบทความของเรา เอามาตั้งเป็นชื่อ Post Title

ข้อคิดสำคัญ : ในส่วนของการตั้งชื่อโพสนี้ ถือว่าจำเป็นมากๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคนที่หวังผลจะเขียนเพื่อทำ SEO ด้วยแล้ว นอกเหนือจากการวิเคราะห์ Keyword เบื้องต้น (โดยใช้ ► Google Keyword Planner) เพื่อหา Volumn ปริมาณการค้นหา หากคุณได้ทำการ Research ข้อมูลในข้อที่ 2 แล้วทำการวิเคราะห์คู่แข่งมาก่อน มันจะช่วยทำให้สามารถตัดสินใจวางแผนในการปรับเปลี่ยน Post Title รวมถึง Keyword … โดยพยายามหลีกเลี่ยง ที่จะแข่งขันกับ เว็บไซต์ที่เป็น Authority Site (เว็บใหญ่ๆเว็บดังๆ) ที่จำนวนมากๆ และหันมามอง Long Tail Keyword หรือ Semantic Keyword แทน ที่เว็บไซต์คู่แข่งที่แข็งแกร่งมีจำนวนน้อยกว่า

#4 – กำหนดเค้าโครงของโพส (Post Outline)

เมื่อได้ชื่อโพสมาแล้ว ขั้นตอนต่อไปที่จะช่วยให้งานเขียนของคุณง่ายขึ้น และช่วยลดระยะเวลาในการเขียน นั่นก็คือ การกำหนดเค้าโครงสร้าง ในที่นี้หมายถึง “การตัดสินใจเลือกว่า ในบทความที่เราจะเขียนนั้น จะประกอบด้วยหัวข้ออะไรบ้าง” เสมือนเป็นการแบ่งย่อยบทความเป็น Section ซึ่งการกำหนด หัวข้อ/หัวเรื่อง ให้กับบทความนั้น นอกเหนือจากจะทำให้เราประหยัดเวลาในการเขียน ยังช่วยทำให้ง่ายต่อการอ่านอีกด้วย

ยกตัวอย่างการเขียนบทความนี้ ผมวาง Post Outline ไว้คือ
– ประโยชน์
– แนวคิดหลัก
– วิธีการ (แบ่งย่อย อีก 10 หัวข้อย่อย)
– บทสรุป

#5 – รู้จักเขียน Introduction (Post Intro)

“เริ่มต้นดี มีชัยไปกว่าครึ่ง” – คำกล่าวนี้นำมาใช้ได้จริงกับการเขียนบทนำสำหรับโพสลงในบล็อก

บทนำสำหรับการเขียนบล็อกที่ดี ควรจะมีความยาวสักประมาณ 2-3 บรรทัด โดยอธิบายถึงภาพรวมคร่าวๆของเนื้อหาในบทความนั้นๆ ในขณะที่ สอดแทรกด้วยข้อความที่ชวนให้ผู้อ่านเกิดความรู้สึกน่าสนใจ ชวนให้ติดตาม และแน่นอนว่า อย่าลืมที่จะใส่ Keyword ลงไปใน Post Intro ด้วย หากคุณหวังที่จะเป็นมิตรต่อ SEO (ตัวอย่าง ย้อนกลับไปดูด้านบนสุดนะครับ ^_^)

#6 – ขนาดของบทความ ยาวดีกว่าสั้น (Post Length)

หากเรากล่าวถึงเฉพาะการเขียนบทความสำหรับ Blog เมื่อดูจากสถิติของที่มาหลายๆแห่ง ทั้งจาก Blog ที่ให้ความรู้ด้าน SEO ของต่างประเทศ รวมถึงจากประสบการณ์วิเคราะห์ผล SERPs ส่วนตัว ผลยืนยันได้ว่า บทความที่มีความยาว มีแนวโน้มที่จะถูกจัดอันดับบน Google ได้ดีกว่าบทความที่มีขนาดสั้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ไม่ได้หมายความว่า บทความยาวๆทุกบทความจะอันดับดีกันหมด หรือ บทความสั้นๆไม่มีโอกาสติดอันดับเลย

สิ่งสำคัญที่มากกว่า ขนาดของบทความ คือ คุณค่าของตัวเนื้อหา ว่ามีประโยชน์ต่อคนอ่าน อีกทั้งมีความสอดคล้องกับคำค้นหา มากน้อยเพียงใด

#7 – เรียนรู้กฎพื้นฐานของ Onpage SEO

SEO ถือเป็นเรื่องที่ค่อนข้างละเอียดอ่อนและซับซ้อน แต่หากพูดถึง SEO กับ การเขียนบทความ คุณไม่จำเป็นต้องเชี่ยวชาญในเรื่องของ SEO ในทุกๆเรื่องก็ได้ แต่สิ่งที่คุณจำเป็นต้องเรียนรู้ ก็คือ คอนเซ็ปต์พื้นฐานในการปรับแต่ง Onpage หรือ การปรับแต่งบทความ ให้เป็นมิตรต่อ SEO

Onpage SEO ในส่วนของ Content นั้นก็ไม่มีอะไรมาก เพียงแค่กฎบางข้อที่คุณต้องนำมาปรับใช้กับบทความของคุณ เพื่อช่วยส่งสัญญาณที่ดีให้ Google เข้าใจบทความเรามากยิ่งขึ้น ซึ่งหลักๆก็มีดังต่อไปนี้

• ชื่อ Title ปรับให้มีขนาดน้อยกว่า 60 ตัวอักษร และต้องมี Keyword ร่วมอยู่ด้วย
• เขียน Descriptions ให้น่าอ่าน อยู่ระหว่าง 150-160 ตัวอักษร และควรมี Keyword ร่วมอยู่ด้วย
• การใส่  ALT tags สำหรับรูปภาพในบทความ เพื่อบอก Google ให้รู้ว่ารูปนั้นเกี่ยวกับอะไร
• การใช้ H1 สำหรับชื่อโพส (ปกติชื่อโพสจะถูกตั้งให้เป็น H1 อัตโนมัติอยู่แล้ว)
• การใช้ H2, H3 , H4 tags สำหรับหัวข้อย่อย หากมี Keyword อยู่ด้วยจะยิ่งดี (ดูตามความเหมาะสม)
• การตั้งชื่อ URLs หากมี Keyword อยู่ด้วยจะยิ่งดี (ดูตามความเหมาะสม)
• ทำหน้าเพจให้โหลดเร็วๆ อะไรที่ไม่จำเป็นก็ตัดทิ้ง เช่นพวก Script ต่างๆ รวมถึงขนาดไฟล์ของรูปภาพ
• การสร้าง Internal Links อย่างชาญฉลาด เพื่อเชื่อมโยงบทความใหม่และเก่าในบล็อก
• การทำโครงสร้างหน้าเว็บให้เป็นมิตรต่อทั้ง User และ Bot
• การทำให้หน้าเว็บรองรับการดูบนมือถือ

(เรื่อง Onpage SEO นี้จะกล่าวแบบละเอียดในโอกาสต่อไป)

#8 – ตกแต่งบทความให้น่าอ่าน

เมื่อตั้งชื่อโพสที่น่าสนใจ และเขียนบทความที่ดี เสร็จเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไป ที่จำเป็นต้องทำ
ก็คือ การจัดหน้าตาของโพส ให้ดูสวยงาม และง่ายต่อการอ่าน ไม่ว่าจะเป็น

• การขึ้นบรรทัดใหม่และการจัดวางพารากราฟ (4 บรรทัด ต่อ พารากราฟ กำลังสวย)
• การใช้ Bullet เพื่อช่วยให้อ่านง่ายและดูน่าสนใจ
• การปรับขนาดและสีสันของตัวอักษร ทั้งในส่วนของหัวข้อย่อย และในตัวเนื้อหา
• การใช้ตัวหนา-ตัวเอียง เพื่อเน้นข้อความ
• การเลือกใช้รูปแบบ Font ที่เหมาะสม
• การเพิ่มรูปภาพประกอบ ให้ดูมีสีสัน มีชีวิตชีวา
• การเพิ่ม External Links ที่มีความเกี่ยวข้องกับเนื้อหา และเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน

 

#9 – รู้จักโปรโมทเผยแพร่บทความให้คนเห็น

การเขียนบล็อก ต่อให้คุณเขียนบทความ มีเนื้อหาที่ดีขนาดไหนก็ตาม มันจะไม่ประสบความสำเร็จได้เลย
หากไม่มีคนเห็น ไม่มีคนรู้จัก และไร้ซึ่งคนอ่าน … อย่ามองว่าการโปรโมทเป็นตัวเลือกหนึ่ง แต่ให้มองว่า
มันเป็นส่วนหนึ่ง (ที่สำคัญมากเสียด้วย) ของการเขียนบล็อก หรือ การทำ Content Marketing

ในปัจจุบัน Social Media ทำให้เราสามารถทำการโปรโมทได้ง่ายขึ้น
สิ่่งที่ควรจะทำหลังจากที่คุณได้เผยแพร่บทความลงในบล็อกแล้ว อาทิเช่น

• แชร์โพสใน Facebook Page
• แชร์โพสใน Facebook Profile (เฟสส่วนตัวของคุณ)
• แชร์โพสใน Twitter , Instagram , Pinterest หรือ Line
• แชร์โพสใน Facebook Group ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาของคุณ
• การใช้ Email List ส่งเป็น Newsletter สำหรับผู้ที่มาติดตามบล็อกของคุณ
• โปรโมทโพสผ่าน Comment ในเว็บไซต์ หรือ Facebook Page อื่นๆ 
(เลือกที่มีเนื้อหาใกล้เคียง ตามความเหมาะสม และกาลเทศะ)
• โปรโมทโพสผ่าน Webboard ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา หรือที่น่าจะทำให้คนเห็น
• การนำบทความไป Submit กับ PR Site คุณภาพ
• (สำหรับคนมีงบ) ลงโฆษณากับ Facebook Ads หรือ Twitter Ads
• (สำหรับคนมีงบ) ลงโฆษณากับ Google Adwords

ในขั้นตอนนี้ นักทำ SEO ส่วนใหญ่นิยมเรียกมันว่า “การสร้าง Backlinks” ซึ่งผมถือว่ามันเป็นส่วนหนึ่งในการโปรโมท

#10 – เขียนบทความใหม่ๆอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ

ไม่ว่าจะเป็นคนอ่าน , Search Engine หรือ Social Media ต่างล้วนมองหา Content ใหม่ๆอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นการที่เราหมั่นอัพเดทบทความ ที่สดใหม่ มีความ Unique และ มีความสอดคล้องเกี่ยวข้องกับ วัตถุประสงค์หรือเป้าหมายหรือคอนเซ็ปต์ของบล็อก ย่อมสามารถช่วยทำให้บล็อกมี Traffic เพิ่มมากขึ้น และเป็นกุญแจสำคัญ ที่จะทำให้คุณประสบความสำเร็จในฐานะ Blogger ได้ในระยะยาว

บทสรุปส่งท้าย

ในสายงาน Digital Marketing นั้นการสร้าง Content มีอยู่ด้วยกันหลากหลายช่องทาง แต่ การเขียนบล็อก (Blogging) โดยใช้ทักษะของ การเขียนบทความ ถือเป็น กระบวนการหลักอย่างหนึ่ง ซึ่งหากคุณสามารถสร้าง Content / สร้างบทความ ที่มีคุณภาพด้วยแล้ว ย่อมเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้ประสบกับความสำเร็จดังที่ตั้งเป้าหมายไว้ ไม่ว่าจะในฐานะของ Blogger , Web Master/Admin , SEO Specialist , Internet Marketer , Content Creator , Copy Writer และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง Online Business Owner …

บทความนี้ น่าจะช่วยทำให้ท่านเข้าใจถึง การสร้าง Content / การเขียนบล็อก / การเขียนบทความ ให้มีคุณภาพ ได้อย่างเห็นภาพชัดเจนมากยิ่งขึ้น และผมหวังว่าท่านจะลองนำไปใช้ต่อยอดสร้างสรรค์ผลงานของตัวท่านเอง ให้ออกมาเข้ากับคำกล่าวที่ว่า “Content is King” นะครับ

10 เทคนิค การเขียนบทความ / เขียนบล็อก ให้ประสบความสำเร็จ

1 – กำหนดเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของการเขียนบล็อก (Blog  Purpose)
2 – ค้นหาข้อมูลก่อนลงมือเขียน (Research)
3 – ตั้งชื่อโพสอย่างมีกึ๋น (Post Title)
4 – กำหนดเค้าโครงของโพส (Post Outline)
5 – รู้จักเขียน Introduction (Post Intro)
6 – ขนาดของบทความ ยาวดีกว่าสั้น (Post Length)
7 – เรียนรู้กฎพื้นฐานของ Onpage SEO
8 – ตกแต่งบทความให้น่าอ่าน
9 – รู้จักโปรโมทเผยแพร่บทความให้คนเห็น
10 – เขียนบทความใหม่ๆอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ


Credit: http://www.webbastard.net/how-to-blogging/