Category Archive Tips and Tricks

9 ธุรกิจที่ Google รับทำโฆษณา แต่มีเงื่อนไข

รู้หรือไม่!! ธุรกิจอะไรบ้าง ที่ Google รับทำโฆษณา และแต่มีเงื่อนไขในการโฆษณาอย่างไรบ้างนั้น มาดูกันดีกว่าค่ะ

1.ธุรกิจนักสืบและรับดุแลผุ้สูงอายุ ธุรกิจนี้สามารถลงโฆษณากับ Google Search ได้ค่ะ แต่ไม่สามารถใช้โฆษณา GDN,Remarketing,Rlsa ได้ค่ะ เนื่องจากจะมีปัญหาเรื่องสิทธิส่วนบุคคล และมีเนื้อหาที่ค่อนช้างละเอียดอ่อน  Google จึงรับทำไม่รับทำโฆษณากับ 3 รูปแบบนี้ค่ะ

2.ธุรกิจแบรนด์เนมทั้งมือ 1 มือ2  สามารถทำโฆษณาได้ทั้งหมด แต่มีเงื่อนไขคือ จะต้องมีการขอใช้ trademark จากเจ้าของแบรนด์  ว่าโฆษณาเราจะใช้คำนี้มาทำโฆษณา เช่น BMW Rolex Louis Vuitton (trademark คือ เครื่องหมายการค้า)

 3.โลโก้การันตี โดยมีเงื่อนไขคือ ต้องระบุทุกครั้งว่า “ยินดีคืนเงินเต็มจำนวน” และควรใช้เครื่องหมายหรือโลโก้การันตี

4.ธุรกิจประเภท MLM ธุรกิจเครือข่าย ขายตรง สามารถทำโฆษณากับ Google ได้หลากหลายรูปแบบ โดยมีเงื่อนไงว่า หากมีการการันตีรายได้ ต้องระบุด้วยว่า “ผลลัพธ์ขึ้นอยู่กับความสามารถแต่ละบุคคล” และต้องระบุเนื้อหาดังต่อไปนี้

-ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัท เช่น ชื่อบริษัท ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ อีเมล ให้ชัดเจน

-ใส่ข้อมูลที่ชัดเจนเรื่องแผนธุรกิจ และรายละเอียดว่าผู้เข้าร่วมธุรกิจสามารถสร้างรายได้อย่างไร

-ผุ้เข้าร่วมธุรกิจจะทำอะไรบ้าง สร้างรายได้จากกิจกรรมเหล่านี้อย่างไร

-โครงสร้างการสร้างรายได้เป็นอย่างไร (เงินเดือน หรือคอมมิชชั่น ได้ค่าตอบแทนเท่าไหร่ บ่อยแค่ไหน ขึ้นอยุ่กับเงื่อนไขหรือปัจจัยอะไรบ้าง)

-มีความเสี่ยงอะไรบ้าง ในการเข้าร่วมธุรกิจ

5.ธุรกิจที่รับจ้างเก็บข้อมูลในเว็บไซต์ สามารถทำโฆษณา Google Search GDN Remarketing หรือ RLSA โดยมีเงื่อนไข

1.หากมีการเก็บเลขบัตรประชาชน เลขที่บัญชี เลขบัตรเครดิต ต้องทำเรื่องเว็บไซต์ให้เป็น SSL certificate คือ ใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ เป็นไฟล์ข้อมูลขนาดเล็ก ที่ได้มีการผูกไว้กับ Private Key ของเครื่องเซิร์ฟเวอร์ เพื่อยืนยันตัวตนและความถูกต้องในการส่งข้อมูลระหว่างเครื่องเซิร์ฟเวอร์กับเว็บบราว์เซอร์หรือ Application ที่ใช้งาน มีการเข้ารหัสและถอดรหัสผ่านเทคโนโลยี SSL/TLS หากข้อมูลของท่านถูกดักจับไปได้ ข้อมูลก็ท่านก็ยังมีความปลอดภัย

2.ต้องมีคำกล่าวที่ชัดเจนว่าข้อมูลที่เก็บไป จะถูกนำไปใช้ในช่องทางไหน และมีการเก็บข้อมูลให้ปลอดภัยได้อย่างไร

6.อาหารเสริมลดน้ำหนัก ผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนัก อาหารเสริมทางเพศ และอาหารเสริมทุกชนิด โดยสามารถทำโฆษณา Google Search, Google Display Network  เงื่อนไขคือ

1.ต้องใส่ข้อความ ผลลัพธ์อาจเปลี่ยนแปลงขึ้นอยู่กับผู้ใช้แต่ละคน สำหรับเว้บไซต์ที่มีการบรรยายสรรพคุณ ทั้งข้อความ รูปภาพ ตัวอย่างเช่น ใหญ่ขึ้นใน…วัน เห็นผลในกี่วัน  ลดน้ำหนักภายในกี่เดือน หรือตั้งแต่ที่ใช้ รวมถึงภาพประกอบเว็บไซต์ เช่น รูปรีวิวผู้ใช้สินค้า รูปก่อน-หลังใช้ คลิปวีดีโอรีวิวจาก YouTube บรรยายสรรพคุณ

2.ห้ามมีข้อความที่บอกว่า ถาวร ตลอดไป ไม่กลับมาอ้วนอีก ไม่โยโย่ สวยเหมือนนางฟ้า ยาวขึ้น..เซนติเมตร ภานใน…วัน ลดน้ำหนัก..กิโลกรัม ภายใน…วัน ขาวขึ้น…ระดับ ภายใน…วัน มีการรับประกันผลลัพธ์ และระยะเวลาที่เห็นผล

ในส่วนนี้การทำโฆษณาโดยใช้ Remarketing,Rlsa  ไม่รับทำเลย

7.สินเชื่อส่วนบุคคล บริการทางการเงิน กรณีนี้สามารถทำโฆษณาได้ทั้ง 4 รูปแบบ แต่ต้องมีการระบุข้อมูลต่อไปนี้ในเว็บไซต์

1.ระยะเวลาสูงสุดและต่ำสุดในการจ่ายคืนระยะเวลาต่ำสุดไม่น้อยกว่า 60 วัน

2.ต้องระบุดอกเบี้ยสูงสุดต่อปี

3.ต้องมีตัวอย่างให้เห็นถึงค่าใช้จ่ายรวมทั้งหมด รวมถึงค่าธรรมเนียมต่างๆ ที่จะคิด

4.ต้องระบุข้อมูลการติดต่อ สถานที่ตั้งของธุรกิจ

5.หากมีคำนิยมที่เพิ่มความน่าเชื่อถือแก่เว็บไซต์จากบุคคลที่สาม จะต้องมีลิงค์ของบุคคลที่สามที่ให้คำนิยามนั้น

8.การรักษาและสรรพคุณการรักษาโรค สามารถทำโฆษณาในรูปแบบของ Google Search ได้เพียงอย่างเดียว เงื่อนไขคือ ต้องตัดคำที่โฆษณาเกินจริงออกไป เช่น บอกลา 1 เดียวในโลก ป้องกัน ลดความเสี่ยง รักษา บรรเทา ปลอดภัยจาก..

9.ชื่อโรคที่รักษาไม่ได้ สามารถทำโฆษณาในรูปแบบของ Google Search ได้เพียงอย่างเดียว เนื่องจากต้องตัดข้อมูลที่บอกชื่อโรค เช่น มะเร็ง เอดส์ เบาหวาน ความดัน วัณโรค เก๋าท์ โรคไต หรือโรคที่คิดว่าไม่รักษาได้จริง

การทำโฆษณาจะผ่านการตรวจทานว่าเป็นไปตามข้อกำหนดของนโยบายการโฆษณา AdWords หรือไม่ เพื่อให้แน่ใจว่าโฆษณานั้นปลอดภัยและเหมาะกับทุกคน โฆษณาส่วนใหญ่จะได้รับการตรวจทานอย่างเร็วที่สุด


Credit: http://blog.itopplus.com/tips/id_626_NinebusinessGoogle

มาอ่านค่าความเร็วของเว็บจาก Site Speed รีพอร์ทใน Google Analytics กัน

Site Speed เป็นหนึ่งในหลายรีพอร์ทที่ถูกใช้งานค่อนข้างน้อยจาก digital marketer ทั้งหลาย เนื่องจากข้อมูลที่แสดงในรีพอร์ทนี้อาจจะเกี่ยวข้องไม่มากนักกับกระบวนการตัดสินใจเชิงมาร์เก็ตติ้ง และดูจะเป็นข้อมูลทางเทคนิคอลมากกว่า แต่จากนี้ไปรีพอร์ทนี้ก็น่าจะต้องถูกดูมากขึ้นบ้างอีกสักนิดนึง เนื่องจาก Google ประกาศไว้ค่อนข้างชัดเจนว่า ความเร็วของเว็บนั้นมีผลต่อการจัดอับดับเว็บไซต์ โดยเฉพาะกับอุปกรณ์โมบายด์ โดยจะเริ่มมีผลในเดือน July 2018 ซึ่งจากบทความดังกล่าวยังเผยว่า จริงแล้วนั้น ในบางกรณีก็มีการนำความเร็วของเว็บไปเป็นปัจจัยในการจัดอันดับบนเดสก์ท็อปมาก่อนหน้านี้แล้ว ดังนั้นเรื่องของความเร็วจึงเป็นเรื่องสำคัญอีกเรื่องหนึ่งที่คนทำ SEO ในปีนี้จะต้องพิจารณาไปด้วย แต่เอาจริงๆ ถ้ามองในมุม User Experience แล้ว เรื่องความเร็วของเว็บ ยังไงก็เป็นเรื่องต้องให้ความสำคัญอยู่แล้ว ดังนั้นไม่ว่าเรื่องนี้มีผลกับอันดับมากน้อยแค่ไหนก็ตาม เราก็ควรต้องทำให้มันเร็วขึ้นอยู่ดีไม่ใช่หรือ

เครื่องมือง่ายๆ ที่ใช้ตรวจสอบความเร็วของหน้าบนเว็บไซต์ ซึ่งหลายคนอาจจะเคยใช้มาบ้างแล้ว ก็คือ PageSpeed Insight ซึ่งวิธีการใช้งานก็เพียงให้เราระบุ URL ของหน้าเว็บไซต์ที่เราต้องการจะตรวจสอบความเร็วเท่านั้นเอง ก็จะสามารถเห็นข้อมูลตามภาพได้ทันที อย่างเว็บของ GAT เองหลังจากตรวจสอบก็จะเห็นว่าบน Desktop ได้คะแนน 80/100 ซึ่งผ่านเกณฑ์พอดิบพอดี (Good=80-100) ส่วนบน Mobile ได้ 75/100 ก็จะแสดงให้เห็นเป็นสีเหลืองตามภาพ

PageSpeed-insight

ในกรณีที่คะแนนของหน้าบนเว็บไซต์ไม่ดี เครื่องมือนี้ก็จะแนะนำว่ามีจุดใดที่มีปัญหาพร้อมทั้งแนวทางการแก้ไขให้ด้วย ภาพด้านล่างนี้เป็นตัวอย่างส่วนหนึ่งที่เครื่องมือนี้แนะนำให้ทำการ Optimize ขนาดของรูปภาพให้เล็กลงได้อีกนั่นเอง

optimization-suggestion

แต่ปัญหาอย่างหนึ่งของเครื่องมือ PageSpeed Insight ก็คือ เราจะสามารถตรวจสอบความเร็วได้ทีละหนึ่งหน้า หรือหนึ่ง URL เท่านั้น ดังนั้นในกรณีที่เว็บไซต์เรามีหน้าจำนวนมาก และเราอยากตรวจสอบความเร็วทีละหลายๆ หน้านั้น ก็ดูจะเป็นเรื่องทีเสียเวลาอยู่พอสมควร บทความนี้ก็เลยขอแนะนำอีกหนึ่งรีพอร์ทใน Google Analytics ที่ได้กล่าวไว้ในตอนต้น ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหานี้ได้ซึ่งก็คือ Site Speed รีพอร์ท โดยสามารถเข้าดูได้จากเมนูนี้ Behavior> Site Speed>Speed Suggestions

Speed-suggestions-report

เมื่อเข้ามาดูแล้วเชื่อว่าทุกคนน่าจะทำความเข้าใจเองได้ไม่ยากนัก อย่างที่ได้กล่าวไว้ข้อดีของรีพอร์ทนี้คือ ทุก URL ของเว็บไซต์เราจะถูกรวบรวมไว้ที่เดียวเพื่อให้เราสามารถตรวจสอบความเร็วแต่ละหน้าได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะด้วยวิธีการ Sorting ตามเวลาที่ใช้โหลดหน้าแต่ละหน้า (Avg. Page Load Time) หรือ PageSpeed Score ซึ่งก็เป็นค่าที่ดึงมาจาก PageSpeed Insight อีกทีหนึ่ง หรือจะใช้ Table Filter เอาตรงๆ ได้เลยในกรณีที่เรารู้อยู่แล้วว่าเราต้องการดูค่าความเร็วของหน้าไหน

คำแนะนำและเรื่องควรทราบ

  1. PageSpeed Score ใน Google Analytics จะไม่ใช่ค่า Realtime เหมือนตอนที่เราดูจาก PageSpeed Insight อาจจะคลาดเคลื่อนกันได้เล็กน้อย ดังนั้นในกรณีที่เราสนใจหน้าบางหน้าเป็นพิเศษให้เราคล้ิกที่ไอคอนเปิดหน้าต่างใหม่ในคอลัมม์ PageSpeed Suggestions เพื่อไปดูค่าความเร็วแบบ Realtime และคำแนะนำการแก้ไขที่ PageSpeed Insight อีกทีหนึ่ง
  2. เราไม่จำเป็นต้องแก้ไขเรื่องความเร็วของหน้าทุกหน้าพร้อมๆ กันก็ได้ หลายครั้งเราอาจพบว่าพอเราดูรีพอร์ท Speed Suggestions จะมีหน้าที่ได้คะแนะต่ำๆ จำนวนมากจนน่าตกใจ ซึ่งอาจจะมีถึงหลายร้อยหน้าก็ได้ คำแนะนำคือให้เลือกแก้หน้าที่มีผลต่อการใช้งานของยูสเซอร์ในโฟลว์หลักๆ ก่อน เช่น Shopping Flow หรือ Checkout Flow รวมไปถึงหน้าที่มี Pageviews, Conversion Rate และ Page Value สูงๆ ก่อน
  3. อย่าคาดหวังกับอันดับที่ดีขึ้นใน Google Search Result จนเกินไป เพราะถึงแม้ว่า Google จะออกมาบอกเองว่า ‘ความเร็ว’ มีผลต่อการจัดอันดับ แต่ก็เป็นเพียงปัจจัยหนึ่งเท่านั้นเอง สุดท้ายถึงอันดับบน Google จะดีขึ้นบ้างหรือไม่นั้นก็เป็นเรื่องหนึ่ง แต่อันดับในใจคนใช้งานน่าจะดีขึ้นบ้างละ

Credit: https://googleanalyticsthailand.wordpress.com/2018/02/18/site-speed-%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%9E%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%97%E0%B9%83%E0%B8%99-google-analytics/

วิธีการติดตั้ง Google Analytics อย่างถูกต้อง เข้าใจง่าย ทำได้เอง

การสมัครใช้งานและการติดตั้ง Google Analytics ไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่หลายคนคิด การติดตั้งสามารถทำได้ในเวลาไม่เกิน 15 นาที ใครที่มีเว็บเป็นของตัวเองแต่ยังไม่ได้ติดตั้ง Google Analytics ต้องบอกเลยว่าเสียโอกาสไปมากมายจากข้อมูลที่จะได้จาก Google Analytics เพื่อนำมาวิเคราะห์และปรับปรุงเว็บไซต์ให้ดีขึ้น บทความนี้จะอธิบายขั้นตอนการติดตั้ง Google Analytics ทีละขั้นตอนเพื่อให้ผู้เริ่มต้นสามารถติดตั้งได้เอง มาเริ่มกันเลยครับ

1. เปิด browser แล้วพิมพ์ URL http://www.google.com/analytics/ เพื่อเข้าไปยังหน้าแรกของ Google Analytics ดังภาพ แล้ว sign in ด้วย Gmail account หรือถ้ายังไม่มีก็กด Create account ขึ้นมาใหม่

Setup-Google-Analytics-1

2. เมื่อ sign in แล้วจะเข้ามายังหน้าที่แนะนำขั้นตอนเบื้องต้นดังภาพ ให้กดปุ่ม sign up ต่อไปได้เลย
Setup-Google-Analytics-2

3. เมื่อ sign up แล้วจะเข้ามายังหน้า New Account หน้านี้เป็นหน้าที่สำคัญมาก โดยหน้านี้เราจะต้องเซ็ตอัพ account แรกของเราขึ้นมาซึ่งจะมีรายละเอียดปลีกย่อยดังนี้

  • What would you like to track : ระบบจะ default ไว้ที่ website หากเราจะ track mobile app ให้เลือก mobile app
  • Account Name : แนะนำให้ใส่ชื่อบริษัทที่เป็นเจ้าของเว็บนั้น เพราะหนึ่งบริษัทหรือหนึ่ง account อาจจะมีหลายเว็บได้ ซึ่งต่อไปเราสามารถสร้าง property ของเว็บอื่นๆ ภายใต้ account เดียวกันนี้ได้ ไม่จำเป็นต้องสร้าง account ใหม่ แต่ถ้าไม่มีก็ใส่ชื่อเว็บได้
  • Website Name : ช่องนี้ให้ใส่ชื่อเว็บไซต์
  • Website URL : ช่องนี้ให้ใส่ URL ของเว็บไซต์ ใส่แค่ .com หรือ .co.th เท่านั้นก็พอนะครับ
  • Industry Category : ให้เลือกประเภทธุรกิจหรือเนื้อหาของเว็บไซต์เรา เช่นเราเป็นเว็บไซต์ขายของก็เลือก shopping
  • Time Zone : ให้เลือกประเทศไทย
  • ในส่วนของ Data Sharing Setting ระบบ recommend ให้เลือกทั้งหมด แนะนำให้ปล่อยไว้อย่างนั้นเพราะเป็นส่วนที่เราต้องใช้งานในอนาคตเช่นการแชร์ข้อมูลกับ adwords account ของเรา และแชร์ข้อมูลเพื่อทำ benchmark กับกลุ่มเว็บไซต์ใน industry เดียวกันซึ่งจะทำให้เราสามารถดูรีพอร์ทของเราเปรียบเทียบกับเว็บไซต์อื่นๆได้

Setup-Google-Analytics-3

Setup-Google-Analytics-4

4. เมื่อกรอกข้อมูลครบหมดแล้วให้กดที่ Get Tracking ID ด้านล่างสุด จะมีหน้าต่าง pop up ขึ้นมาให้กด I acceptเพื่อยอมรับเงื่อนไขต่างๆ ในการใช้งาน Google Analytics
Setup-Google-Analytics-5

5. เมื่อกด I accept แล้วก็จะเข้ามายังหน้า Property ซึ่งในหน้านี้จะมีส่วนที่เรียกว่า Tracking Code อยู่ เราจะต้อง copy โค้ดนี้ไปแปะไว้ทุกหน้าในเว็บไซต์ของเรา ตรงนี้หากเราทำเองไม่ได้ ให้ส่ง code นี้ไปให้คนที่ทำเว็บไซต์ของเราติดตั้งให้ เท่านี้เป็นอันเสร็จเรียบร้อย
Setup-Google-Analytics-6

6. หลังจากที่ติดตั้งโค้ดที่หน้าเว็บไซต์แล้ว ข้อมูลจะยังไม่เข้ามาทันที อาจจะต้องรอสักพักหนึ่งแล้วแต่รอบของการอัพเดทข้อมูลของ Google บางที่อาจจะไม่เกินชั่วโมงหรืออาจจะถึงวันหนึ่งก็ได้ ระหว่างนี้เราสามารถเข้าไปทำความรู้จักกับ report ต่างๆ ของ Google Analytics ได้ก่อนโดยการกดที่ Reporting ที่เมนูบาร์ด้านบนก็จะเข้าไปยังหน้า report ตามภาพด้านล่างครับ ขอให้สนุกกับการใช้งาน Google Analytics นะครับ

Setup-Google-Analytics-7


ขอบคุณคำแนะนำดี ๆ จาก https://googleanalyticsthailand.wordpress.com/2015/03/01/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87-google-analytics/

การทำ SEO ด้วย 5 เทคนิคง่ายๆ ทำด้วยตัวเอง ไม่ต้องจ้างใคร

5 เทคนิคการทำ SEO ง่ายๆ ที่สามารถเริ่มได้ทันที

  1. การตั้งชื่อบทความ หรือ Tilte เป็นเรื่องที่สำคัญมาก
    ชื่อของบทความควรต้องสามารถบอกเนื้อหาหลักของบทความได้ทันที ส่วนนี้เป็นส่วนที่สำคัญมากเพราะเป็นส่วนแรกที่ทั้ง Google และผู้อ่านเห็นและจะทำความเข้าใจว่าบทความนี้พูดถึงอะไร ซึ่งโดยปกติชื่อบทความจะถูกนำไปแสดงบนผลการค้นหาด้วย นั่นจึงเป็นส่ิงสำคัญมากที่ชื่อของบทความควรจะต้องมี Keyword หลักที่เราต้องการให้เว็บไซต์ของเราไปแสดงผลเวลามีคนค้นหาคำๆนั้น ยกตัวอย่างเช่นเวลามีคนค้นหาความว่า “ติดตั้ง Google tag manager” ในชื่อบทความก็ควรจะต้องมีคำนี้รวมอยู่ด้วย เทคนิคที่สำคัญอีกอย่างในการตั้งชื่อชื่อบทความคือ จะต้องสื่อสารให้ตรงกับความต้องการของผู้อ่านมากที่สุด คือเมื่ออ่านชื่อบทความแล้วต้องทำให้รู้สึกอยากคลิ้กเข้าไปอ่านต่อ จากตัวอย่างด้านล่างจะเห็นว่า ชื่อบทความที่แสดงผลอยู่จะมี keyword ที่ถูกค้นหารวมอยู่ด้วย

    google-search-result
    ชื่อบทความจะแสดงผลอยู่ในผลการค้นหา การตั้งชื่อบทความจึงควรจะต้องมีคึย์เวิร์ดที่เกี่ยวกับคำค้นหารวมอยู่ด้วย
  2. ย่อหน้าแรกควรต้องมี Keyword หลักของเนื้อหา
    เช่นเดียวกันกับข้อหนึ่ง ส่วนนี้เป็นส่วนแรกๆ ที่ผู้อ่านและ Google จะเห็นและทำความเข้าใจเนื้อหาหลักได้ดีมากยิ่งขึ้น ดังนั้นจึงควรเป็นเนื้อหาที่เจาะเข้าประเด็นหลักของบทความและมีความน่าสนใจที่จะชวนให้ติดตามอ่านต่อจนจบให้ได้ ส่วนนี้สำหรับคนที่สร้างเว็บไซต์จาก WordPress ถือว่ามึความสำคัญค่อนข้างมาก เพราะโดยพื้นฐานแล้ว ย่อหน้าแรกมักจะถูกนำไปแสดงอยู่บนผลการค้นหาด้วย (ดูจากภาพด้านบนจะเห็นว่ามี Keyword รวมอยู่ในรายละเอียดใต้ชื่อบทความ) ดังนั้นแล้วทั้งข้อ 1 และ 2 นี้มีผลโดยตรงกับความน่าสนใจของบทความ ผู้ที่ค้นหาจะคลิ้กเข้าไปอ่านบทความหรือไม่นั้น สองส่วนนี้มีความสำคัญมากที่สุด
  3. ความยาวของเนื้อหา 
    ส่วนนี้ถือเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ค่อนข้างสำคัญ เพราะเวลาที่ใช้อ่านบนเว็บไซต์นั้นมีผลต่ออันดับด้วย การมีเนื้อหาที่ดีนั้นโดยปกติก็ไม่มีทางจะเป็นไปได้ที่มีความยาวแค่ 10 หรือ 20 บรรทัดอยู่แล้ว แต่ที่สำคัญสำหรับเนื้อหาที่มีความยาวนั่นก็คือ จะต้องยาวแบบมีคุณภาพด้วย ไม่ใช่ยาวแบบน้ำท่วมทุ่ง วกไปวนมา อ่านไม่รู้เรื่อง ในผลการวิจัยต่างประเทศนั้นมีตัวเลขที่ชัดเจนว่าส่วนใหญ่เว็บไซต์ที่ติดอันดับหน้าแรก มักจะมีเนื้อหาที่มีความยาวเฉลี่ยประมาณ 1,890 คำ

    word-count-seo-ranking
    ช้อมูลจากเว็บไซต์ http://backlinko.com/ แสดงให้เห็นว่าเว็บไซต์ที่อยู่ในผลการค้นหาหน้าแรกมีความยาวเฉลี่ยที่ 1,890 คำ
  4. การมี Link ไปยังบทความอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ 
    การทำ SEO มักจะพูดกันแต่การทำ Backlink (inbound link) แต่จริงๆ แล้วการลิงค์ออกไปยังเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกันกับเนื้อหาในเนื้อนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ควรทำ เพราะนอกจากจะทำให้ User ได้รับข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมแล้ว Google เองยังสามารถที่จะเข้าใจบริบทของเนื้อหาบนเว็บไซต์เราได้ดียิ่งขึ้นด้วย
  5. การตั้งชื่อไฟล์ภาพ และการเพิ่ม Caption หรือ Alt text ให้กับรูปภาพทุกรูป
    เนื่องจาก Google ยังไม่สามารถทำความเข้าใจความหมายของรูปภาพได้ ดังนั้นการตั้งชื่อไฟล์ภาพ การใส่ชื่อภาพ และคำขยายความของภาพจึงเป็นเรื่องทำสำคัญที่จะทำให้ Google เข้าใจว่าเรากำลังสื่อสารเรื่องอะไร เทคนิคที่คนทำ SEO ส่วนใหญ่ทำกันคือ การใส่ Keyword ของหน้าๆ นั้นเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของคำขยายความภาพด้วยเพื่อเป็นการทำให้มีปริมาณ Keyword ในหน้านั้นหนาแน่นมากยิ่งขึ้น ข้อดีอีกอย่างของการใส่ Caption และ Alt text นั้นก็คือจะทำให้ภาพนั้นอยู่ในผลการค้นหาแบบ Image ได้ดีขึ้นอีกด้วย ซึ่งก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งในการเพิ่มจำนวนคนเข้าเว็บไซต์ จากตัวอย่าง ลองค้นหาคำว่า “ติดตั้ง google tag manager” ก็จะมีภาพจากเว็บไซต์ googleanalyticsthailand ไปแสดงผลอยู่ด้วย

    google-image-search-result
    การใส่คีย์เวิร์ดใน caption ของรูปภาพจะมีส่วนช่วยให้ภาพนั้นมีโอกาสแสดงในผลการค้นหาแบบ Image มากขึ้น

โครสร้างเว็บไซต์ เนื้อหาบนเว็บไซต์ และลิงค์จากเว็บไซต์อื่นๆ ถือเป็นสามปัจจัยที่สำคัญมากในการทำ SEO ซึ่งแต่ละส่วนก็ยังมีรายละเอียดปลีกย่อยที่ต้องศึกษาเพิ่มเติมต่อไปอีก แต่ส่วนที่ผมให้ความสำคัญมากที่สุดและอยากจะเน้นย้ำทิ้งท้ายไว้ตรงนี้อีกครั้ง และมั่นใจว่า Google เองก็ให้ความสำคัญมากเช่นกัน นอกจากทั้งสามส่วนที่กล่าวมาแล้ว นั่นก็คือเรื่อง “User” ที่เข้ามาในเว็บของเรานั่นเอง สิ่งหนึ่งที่ผมเองเชื่อมาตลอดคือ ถ้า user เข้ามาในเว็บของเราแล้วได้รับประสบการณ์ที่ดี เช่น เว็บไซต์โหลดเร็ว รองรับการแสดงผลบนมือถือ รวมถึงได้อ่านเนื้อหาที่มีประโยชน์ ชอบเนื้อหาและข้อมูลในเว็บไซต์ของเราแล้ว Google เองก็จะชอบด้วย เพราะโดยหลักการแล้ว Google ย่อมต้องการที่จะส่งมอบเนื้อหาที่ดีที่สุดให้กับคนที่ใช้โปรดักส์ Search ซึ่งเป็นจุดเด่นของโปรดักส์ตัวนี้ การส่งมอบเนื้อหาของเว็บไซต์ที่สร้างประสบการณ์แย่ๆ ให้กับผู้อ่านย่อมเป็นการ Discredit ตัวเอง ดังนั้นการทำ SEO ที่ดีเราจึงควรที่จะต้องให้ความสำคัญกับ User มากพอๆกับ Search Engine ด้วย

 


 

ขอบคุณข้อมูลจาก https://googleanalyticsthailand.wordpress.com/2015/12/15/seo-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/

วิธีปิดปลั๊กอิน WordPress เมื่อเข้าหลังบ้านไม่ได้

วิธีปิดปลั๊กอิน WordPress จริง ๆ มีหลายวิธีแต่วิธีนี้ง่ายสุด ช่วยได้เมื่อเราไม่สามารถเข้าไปปิดปลั๊กอินผ่านหลังบ้านได้

วิธีปิด Plugin WordPress เมื่อเข้าหลังบ้านไม่ได้

  1. ให้เรา FTP เข้าไปที่เว็บของเรา
  2. มองหาโฟลเดอร์ที่มีชื่อว่า wp-content
  3. ดับเบิ้ลคลิกเข้าไปข้างในโฟลเดอร์
  4. เปลี่ยนชื่อโฟลเดอร์ plugins เป็นชื่อ plugins-backup (จริง ๆ เปลี่ยนเป็นชื่ออะไรก็ได้)

คราวนี้ลองเข้าเว็บดูปลั๊กอินก็จะ Deactivate ทั้งหมดแล้วครับ

จริง ๆ แล้วยังมีอีกวิธีที่จะปิดปลั๊กอินได้ก็คือปิดผ่าน Database แต่วิธีนั้นค่อนข้างยากกว่าวิธีนี้พอสมควรและเสี่ยงที่จะทำ Database พังถ้าเราไม่เชี่ยวชาญพอ

ปล.ถ้าอย่าลืมมาเปลี่ยนชื่อโฟลเดอร์ plugins กลับมาให้เหมือนเดิมด้วยนะครับเมื่อเราเข้าหลังบ้านได้แล้ว

จบแล้ว

ขอบคุณบทความดี ๆ จาก CodingDee ครับ

WordPress หน้าขาว แก้ได้ง่าย ๆ ใน 5 วิธีนี้

WordPress หน้าขาว ปัญหายอดฮิตอีกปัญหาที่คนทำ WordPress ต้องพบเจออยู่เป็นประจำ บทความนี้ CodingDee จะพามาดูวิธีรับมือเมื่อ WordPress ขึ้นหน้าขาว โล่ง ๆ ไม่มีอะไรเลย มาดูกันครับ

WordPress หน้าขาว แก้ได้ง่าย ๆ

WordPress หน้าขาว

CodingDee ได้รวบรวมวิธีแก้ปัญหาไว้ให้ 5 วิธีลองเลือกนำไปปรับใช้ดูครับ

1. เปิดโหมด Debug

Default ของ WordPress จะปิดโหมดนี้ไว้เพื่อความปลอดภัยครับ เว็บจะไม่แสดงข้อความหรือ error อะไรออกมา ทำให้เราเห็นเป็นหน้าขาว ๆ โล่ง ๆ วิธีที่จะทำให้ WordPress บอกเราว่าเกิดอะไรขึ้น เราจะได้นำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์หาสาเหตุและวิธีแก้กันต่อไป วิธีก็คือให้เราไปที่ไฟล์ wp-config.php แล้วมองหาบรรทัดนี้
define( 'WP_DEBUG', false);
แก้จาก false เป็น true ก็จะได้แบบนี้
define( 'WP_DEBUG', true);
save แล้วลองเปิดหน้าเว็บดูก็จะเจอ ข้อความหรือ error ที่ WordPress ส่งออกมาให้เราดูเราก็นำข้อความตรงนี้ไป Search Google เพื่อหาวิธีแก้ไขต่อไปครับ

2.ปิด Plugin ให้หมดทุกตัว

WordPress หน้าขาว ปัญหาส่วนใหญ่ก็มาจาก Plugin ที่เราเอามาลงเนี่ยแหละ พอลงเสร็จ หน้าขาวเลย ถ้าเป็นแบบนี้ก็สันนิษฐานได้เลยว่าเป็นที่ Plugin เนี่ยแหละลองไปไล่ปิด Plugin ดูก็จะหายครับ ไล่ปิดไปทีละตัว ๆ ก็จะรู้เองว่าเป็นที่ Plugin ตัวไหน
แต่มันก็จะมีเคสที่หนักกว่านี้คือ error แบบเข้าหลังบ้านไม่ได้เลยแบบนี้ก็ปิด Plugin ไม่ได้น่ะสิ ไม่ต้องตกใจครับ CodingDee มีวิธีแก้ง่าย ๆ ทำตามนี้เลย วิธีปิดปลั๊กอิน WordPress เมื่อเข้าหลังบ้านไม่ได้

3.โหลด Theme มาลงใหม่

บางครั้งปัญหาก็อาจจะเป็นที่ Theme ที่เราใช้งานอยู่ครับ ไฟล์อาจจะหายไปหรือไม่สมบูรณ์ด้วยสาเหตุอะไรก็แล้วแต่ที่เราไม่รู้ หรือเราเผลอไปแก้ไขไฟล์ Theme ก็เป็นสาเหตุให้ WordPress หน้าขาวได้ครับ วิธีก็คือให้เราไปโหลด Theme ที่เราใช้ ส่วนใหญ่ก็คงซื้อ Theme มาจาก Themeforest กันแหละเนอะ นั่นแหละไปโหลดมาแตกไฟล์แล้ว FTP ไฟล์ขึ้นไปทับของเดิมให้หมด

4.โหลด WordPress มาลงใหม่

วิธีนี้ก็จะคล้าย ๆ กับวิธีที่ 3 เพียงแต่เปลี่ยนจาก Theme เป็น ไฟล์ WordPress ก็ไม่มีอะไรมากไปโหลดมา แตกไฟล์ FTP ขึ้นไปทับของเดิม

ปล.ยกเว้นไฟล์ wp-config.php นะครับไม่ต้องเอาไปทับของเดิมนะ เดี๋ยวเว็บจะพังเอา

5.Backup เว็บบ่อย ๆ

วิธีนี้เป็นวิธีที่ง่ายและผมชอบทำอยู่บ่อย ๆ เพราะเนื่องจากผมดูแล WordPress อยู่หลายเว็บ ผมเลยตั้ง BackUp ทุกวัน ถ้าเว็บไหนมีปัญหาก็ Restore ให้ 1-5 นาทีก็เสร็จเรียบร้อย แต่วิธีนี้อาจจะไม่เหมาะกับเว็บที่ใช้ WooCommerce นะครับ เพราะอาจส่งผลให้ Order ที่ลูกค้าสั่งมาหน้าเว็บหายได้เพราะเราไป Restore มัน แต่ก็เป็นไม่ตายสุดท้าย ถ้า 4 วิธีข้างบนเกิดไม่ได้ผลขึ้นมา ยังไงหมั่นทำ Backup ไว้บ่อย ๆ จะดีมากครับ มันช่วยเราได้เสมอถ้าเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดขึ้นมา BackUp ไว้หลาย ๆ ที่นะไม่ใช่เอาไว้บน Cloud ที่เดียว เอาลงมาเก็บ Offline ใส่ไว้ใน External ก็ได้ เดี๋ยวจะหาว่าไม่เตือน

แถมให้เอามาเล่าสู่กันฟัง

ผมเคยเจออยู่เคสนึง อาการหน้าขาวแบบนี้เลย ก็ไล่แก้ไป ปิด Plugin ลง Theme ใหม่ ก็หาย พอวันต่อมาเป็นอีก เราก็สงสัย เพิ่งแก้ไปนะเป็นอีกแล้วเหรอ ผมก็ลองไปเปิด โหมด Debug ดู มันฟ้องว่าไฟล์หลักใน WordPress ไม่สมบูรณ์ก็เลย FTP ไปไล่ดูว่าไฟล์ไหนลองเปิดไฟล์ดูก็รู้เลยสาเหตุเลยครับ ว่าทำไมเพิ่งแก้ไปแล้วกลับมาเป็นอีก สาเหตุคือ WordPress โดน Hack ครับ ไฟล์โดนฝัง script เต็มไปหมด ผมก็เลยต้องมาล้างระบบใหม่หมด

  • ติดตั้ง WordPress ให้ใหม่
  • ติดตั้ง Theme ใหม่
  • ติดตั้ง Plugins ใหม่

จบแล้ว

ขอบคุณบทความดี ๆ จาก CodingDee

ปัญหา wordpress ที่เจอได้บ่อย ๆ พร้อมวิธีแก้ไข

ปัญหา wordpress ที่มือใหม่มักจะพบเจอได้บ่อย ๆ ทาง Standhost ได้รวบรวมบทความพร้อมวิธีแก้ไขไว้ให้อ่านกันได้ง่าย ๆ ไม่ต้องไปไล่หาอ่านทีละบทความใครเจอปัญหาอะไรก็อ่านตามลิงก์ข้างล่างนี้ได้เลย

1.WordPress ส่งเมลไม่ออก หรือส่งแล้วอีเมลเข้า junk mail

เป็นอีกปัญหายอดฮิตที่ต้องเจอกันแทบจะทุกคน ไม่ต้องกังวล CodingDee มีวิธีแก้ไขอ่านวิธีทำได้ที่บทความนี้

แชร์ประสบการณ์ เมื่อเวิร์ดเพรส “ส่งเมลไม่ออก” และวิธีแก้ปัญหา

2.WordPress โดน hack

ปัญหาโดนแฮกทุกคนมีโอกาสได้พบเจอแน่นอนถ้าไม่มีการป้องกันที่ดีผมเขียนวิธีการป้องกันไว้ที่บทความนี้ เสริมเกราะให้เวิร์ดเพรสด้วย iThemes Security ตอนที่ 1

3.WordPress แชร์บทความแล้วรูปไม่ขึ้น

ปัญหานี้มักจะเจอเวลาเรานำบทความไปแชร์ใน facebook แล้วรูปไม่ขึ้นหรือขึ้นแต่รูปไม่ตรงกับรูปในบทความอ่านวิธีแก้ไขได้ที่บทความนี้

Facebook Share รูปไม่ขึ้นและวิธีแก้ไข

4.WordPress โดน Spam

ตอนผมทำเว็บใหม่ ๆ ปวดหัวกับมันมากผมมีวิธีป้องกันที่ได้ผลแทบจะ 100% เลยอ่านต่อที่บทความนี้ Invisible reCaptcha ปลั๊กอินป้องกันสแปมสำหรับ WordPress

5.Database มีขนาดใหญ่ (บวม)

ปัญหานี้ต้องจ้างแม่บ้านประจำเวิร์ดเพรส WP Optimize ปลั๊กอินกำจัดขยะสำหรับเวิร์ดเพรส

6.Fatal error: Allowed memory size of 123….

ไม่รู้จะอธิบายยังไง ปัญหานี้ก็เจอบ่อยมากกกกกก อ่านวิธีแก้ไขต่อที่บทความนี้ Fatal Error: Allowed Memory size Exhausted WordPress

7.White Screen Of The Dead (หน้าขาว)

ในเมื่อ Windows มีจอฟ้า WordPress ก็มีจอขาว 555+ อ่านวิธีแก้ไขได้ที่บทความนี้ครับ WordPress หน้าขาว แก้ได้ง่าย ๆ ใน 5 วิธีนี้

จบแล้ว

ขอบคุณบทความดี ๆ จาก CodingDee

Fatal Error: Allowed Memory size Exhausted WordPress

ปัญหานี้เป็นอีกปัญหายอดฮิตที่ผมเจอบ่อยมาก สาเหตุส่วนใหญ่มาจากการตั้งค่าโฮสที่ไม่เหมาะสมกับ WordPress พอเราใช้งานเว็บไปสักพักก็จะเจอข้อความคล้าย ๆ แบบนี้โผล่ขึ้นมา

FATAL ERROR: ALLOWED MEMORY SIZE OF 86735766 BYTES EXHAUSTED

อาการนี้มันจะเป็น ๆ หาย ๆ ซึ่งผมเองได้พบวิธีแก้ไขปัญหานี้อยู่ 2 วิธีดังนี้ครับ

วิธีที่ 1.เพิ่มโค๊ดบรรทัดนี้เข้าไปที่ไฟล์ wp-config.php

define( 'WP_MEMORY_LIMIT', '1024M' );

วิธีที่ 2.แจ้งมายัง Standhost ครับ

ถ้าลองวิธีที่ 1 แล้วยังไม่ได้วิธีสุดท้ายคือแจ้งโฮสที่เราใช้งานอยู่ให้ทางโฮสเค้าแก้ให้ครับ อาจต้องมีการปรับคอนฟิกเพื่อลูกค้าครับ สำหรับลูกค้า Standhost นะครับ 🙂

จบแล้ว

ขอบคุณบทความดี ๆ จาก CodingDee ครับ

WP Optimize ปลั๊กอินกำจัดขยะสำหรับเวิร์ดเพรส

WP Optimize ลงปลั๊กอินนี้ไว้เปรียบเสมือนมีแม่บ้านประจำตัว ที่จะคอย ปัด กวาด เช็ด ถู ช่วยให้ Database เราสะอาดไม่รกรุงรังอีกต่อไป แถมขนาดของ Database ก็เล็กลงด้วยนะ ส่งผลให้เว็บเราทำงานได้เร็วขึ้น ผมนำไปติดตั้งให้กับเว็บลูกค้าที่ผมดูแลอยู่โดยก่อนใช้ปลั๊กอิน Database มีขนาด 1 GB ใหญ่มาก ๆ เว็บลูกค้าเป็นเว็บบทความปกตินะครับไม่ใช่เว็บ E-Commerce หลังจากที่ผมลงปลั๊กอิน WP Optimize แล้ว ขนาดของ Database เหลืออยู่เพียง 24 MB เท่านั้นลดลง 900 MB เลย

ทำไม Database ถึงมีขนาดใหญ่ ?

เพราะทุก ๆ การกระทำที่เราทำลงไปในเว็บไม่ว่าจะเป็น สร้างบทความ แก้ไขบทความ อัพรูปภาพ สร้างสินค้า ลงปลั๊กอิน มันจะมีข้อมูลที่ยังคงค้างอยู่ใน Database เราเช่นเวลาเราเขียนบทความตัวระบบของ WordPress เองก็จะมีการสร้าง Revision ขึ้นมาสำหรับสำรองข้อมูลที่เราเขียนลงไปเป็นหลาย ๆ เวอร์ชั่นก็ส่งผลให้ขนาดของ Database เราใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ หรือเวลาเราติดตั้งปลั๊กอินก็เหมือนกัน ปลั๊กอินบางตัวจะมีการบันทึกข้อมูลสำหรับการตั้งค่าต่าง ๆ ที่เรากำหนดไว้ของตัวปลั๊กอินลงใน Database เหมือนกัน บางปลั๊กอินถ้าผู้พัฒนาเค้าเขียนมาดีมันก็จะลบข้อมูลพวกนี้ออกไปให้เวลาเราลบปลั๊กอินแต่ส่วนมากมันไม่ได้ลบออกไปด้วยก็ส่งผลให้ Database เราบวมได้เหมือนกัน

ใครใช้ WooCommerce ควรลง

สำหรับร้านค้าที่ใช้ WooCommerce ควรจะลงไว้ครับเพราะ WooCommerce เองมันมีฟีเจอร์ Geo Location สำหรับเก็บข้อมูล Location และ IP Address ของ User ที่เข้ามาใช้งานเว็บเราไว้ทำให้ Database เราจะมีขนาดใหญ่กว่าปกติตัวปลั๊กอินก็จะช่วยตรงนี้ได้ครับ

ติดตั้งปลั๊กอิน

โหลดได้ที่นี่ คลิก

วิธีใช้งาน

หลังจากติดตั้งแล้วให้เราสังเกตจะมีเมนู WP Optimize โผล่ขึ้นมา คลิกเข้าไปเลยแล้วจะเจอหน้าตาสำหรับการตั้งค่าประมาณนี้ (ตั้งค่าตามภาพได้เลย) สำหรับใครที่ไม่ต้องการลบ Draft Post (ฉบับร่าง) ไม่ต้องคลิก Clean all auto-drafts and trashed posts นะครับ

(อย่าลืม Backup ก่อนทุกครั้งนะครับ) แล้วกด Run all selected optimisations ได้เลย

ตั้งเวลา Optimize

เราสามารถตั้งเวลาให้ปลั๊กอิน Optimize Database ให้เราได้ด้วยจะได้ไม่ต้องมาคอยกด Optimize เองยิ่งใครมีเว็บที่ต้องดูแลเยอะ ๆ นี้สบายเลย ตั้งเป็น วันละครั้ง อาทิตย์ละครั้ง เดือนละครั้ง ก็ตามใจเราเลย โดยจากภาพผมตั้งไว้ที่ อาทิตย์ละ 1 ครั้งครับ

จบแล้ว

ขอบคุณบทความดี ๆ จาก CodingDee ครับ

Invisible reCaptcha ปลั๊กอินป้องกันสแปมสำหรับ WordPress

Invisible reCaptcha ปลั๊กอินสุดเจ๋งที่ช่วยป้องกันสแปมสำหรับ WordPress ก่อนหน้าที่ผมจะเปลี่ยนมาใช้ Invisible reCaptcha นั้นผมใช้ reCaptcha เวอร์ชั่นเก่าอยู่ก่อนหน้านี้อยู่แล้ว เวอร์ชั่นที่ให้เรากดเลือกรูปนั่นแหละ…

Invisible reCaptcha For WordPress

ปัญหาอีกข้อที่ผมเจอเมื่อเราใส่ captcha ไว้ตามหน้าแบบฟอร์มต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น หน้าฟอร์มสมัครสมาชิก หน้าฟอร์มติดต่อเรา หน้าฟอร์มคอมเมนต์ เป็นต้น ปัญหาที่ตามมาคือการที่ user ถูกขัดจังหวะการใช้งานนั่นเอง ผมเคยเจอบางเว็บใส่ captcha ไว้หน้าสั่งซื้อด้วยก็มีนะ ทีนี้พอ user ถูกขัดจังหวะบางคนเค้าปิดหน้าเว็บทิ้งไปเลย ถ้าเป็นหน้าสั่งซื้อกรอกแล้วไม่ผ่านติด captcha เค้าก็ปิดเว็บออกไปเลยทำให้เราสูญเสียรายได้ ขอยกเคสที่ผมเจอคือผมใส่ Google reCaptcha ไว้ที่หน้าสมัครตัวแทนจำหน่ายที่เราจะต้องกดติ๊กถูกก่อน submit ฟอร์มนั่นแหละ ผมเองก็คิดว่ามันง่ายในระดับแล้วนะ มันต้องมากรอก ตัวอักษร ตัวเลข แต่ปรากฎว่ามีลูกค้าโทรศัพท์เข้าที่บริษัทค่อนข้างบ่อย บอกว่ากด สมัครตัวแทนไม่ได้ ผมก็สงสัยว่าเพราะอะไรเค้าถึงกดสมัครไม่ได้ ผมลองใช้งานดูมันก็สมัครได้นะ ไม่ติดปัญหาอะไรแล้วทำไมลูกค้าเรากดสมัครไม่ได้ งงสิครับทีนี้ ไม่รู้จะวิเคราะห์หาสาเหตุยังไง

ผมนึกขึ้นได้ว่าเว็บเราติด Hotjar ไว้นี่หว่า ( Hotjar คือ เครื่องมือวิเคราะห์การใช้งานของ user ในเว็บเราว่าเค้า คลิกส่วนไหนของเว็บบ้าง ไม่ว่าจะเป็น ปุ่ม ลิงก์ หรือเลื่อนเมาส์ไปส่วนไหนของหน้าจอ ฯลฯ ไว้จะเล่ารายละเอียดให้ฟังวันหลังนะครับ ) พอผมมาเปิดดู history การใช้งานหน้าแบบฟอร์มสมัครตัวแทนจำหน่าย ปรากฏว่าแทบไม่มีการคลิกที่ช่องสี่เหลี่ยมของ captcha เลย นั่นแหละสาเหตุที่สมัครไม่ผ่าน ทั้งที่ผมเขียนบอกไว้ชัดเจนว่าให้คลิกที่ช่องสี่เหลี่ยมตรงนี้ก่อนนะ แต่ก็อย่างว่าละครับ ความปลอดภัยและความสะดวกสบายมักจะสวนทางกันเสมอ ถ้าเราไม่ติด captcha ลูกค้าก็ใช้งานได้ง่ายขึ้นแต่ก็เสี่ยงจะโดน spam แบบนี้เราควรจะเลือกวิธีไหนดี

สุดท้ายก็หาวิธีแก้ปัญหานี้ได้นั่นก็คือ Invisible reCaptcha ซึ่งมันก็คือ reCaptcha ที่พัฒนาให้ใช้งานง่ายขึ้นโดยที่มีการขัดจังหวะการใช้งานของ user น้อยลงกว่าเดิมนั่นเอง คือ user ไม่ต้องกดอะไรเลย กรอกฟอร์มเสร็จกด submit แค่นั้นจบเลย

ผมไม่รอช้ารีบถอด Google reCaptcha เวอร์ชั่นเดิมออกแล้วเปลี่ยนมาใช้ Invisble reCaptcha อย่างไวปรากฎว่าหลังจากนั้นไม่มีลูกค้าโทรเข้ามาที่บริษัทว่าสมัครตัวแทนไม่ผ่านอีกเลย ย้ำว่าไม่มีเลยนะครับ และอัตราการสมัครตัวแทนจำหน่ายก็เพิ่มมากขึ้นกว่าเดิมอีกด้วยและไม่มี spam เลย win win ทั้งฝั่งเราและลูกค้า

ข้อดีของปลั๊กอินนี้

  1. ไม่ขัดจังหวะการใช้งานของ User UX ดีขึ้นแน่นอน
  2. สามารถใช้งานร่วมกับ WooCommerce ได้
  3. สามารถใช้งานร่วมกับ BuddyPress ได้
  4. สามารถใช้งานร่วมกับ ContactForm7 และ Gravity Form ได้
  5. สามารถใช้งานร่วมกับ Seed Confirm Pro ได้

เล่าเรื่องมาพอสมควร (เหรอ) มาดูวิธีใช้งานกันครับ

สร้าง API Key สำหรับใช้งาน captcha กับเว็บเรา

  • คลิก แล้ว login ด้วย Gmail เข้าไปได้เลย
  • เสร็จแล้วกรอกข้อมูลลงไปดูตัวอย่างตามภาพด้านล่าง
  • Label คือชื่อสำหรับ captcha ที่เราสร้างขึ้นมากรอกเป็นชื่ออะไรก็ได้ผมกรอกเป็น CodingDee.com
  • เลือก Invisible reCAPTCHA
  • Domains กรอกชื่อเว็บที่เราต้องการใช้งานลงไป จริง ๆ สามารถกรอกได้มากกว่าหนึ่งเว็บใครใช้หลายเว็บก็ใส่ลงไป 1 บรรทัดต่อ 1 เว็บ สำหรับผมใช้เว็บเดียว
  • กดยอมรับเงื่อนไขการใช้งาน
  • กด Register

เสร็จแล้วเราจะได้ Site key และ Secret key มาตามภาพ

เข้าไปที่หลังบ้าน Settings >> Invisible reCaptcha

  • นำ Site key และ Secret key กรอกลงไปตามภาพ

  • Badge Position สามารถเลือกได้ 3 ตำแหน่งว่าเราต้องการให้ captcha อยู่ส่วนไหนของฟอร์ม ผมเลือกมุมขวาล่าง
  • เสร็จแล้วกดบันทึก

Tab WordPress

สำหรับส่วนนี้ปลั๊กอินจะมีให้เราเลือกว่าต้องการให้มี captcha ที่ส่วนไหนบ้าง เช่น

  • หน้า Login
  • หน้า Register
  • Comment
  • หน้าลืมรหัสผ่าน

สำหรับผมเปิดหมดทุกหน้าเลย

Tab WooCommerce

ส่วนนี้สำหรับใครที่ใช้ WooCommerce ก็สามารถมาเปิดใช้งานตรงส่วนนี้ได้ครับ

  • หน้า WooCommerce Login
  • หน้า WooCommerce Register
  • หน้าลืมรหัสผ่าน
  • ส่วนของ Comment และรีวิวสินค้า

Tab BuddyPress

ส่วนนี้สำหรับใครที่ใช้ BuddyPress

Tab Contact Forms

ส่วนนี้ผมชอบมากสามารถใช้ร่วมกันกับปลั๊กอินฟอร์มอื่น ๆ ได้ เช่น ContactForm7 GravityForm เป็นต้น

ทดลองเข้าหน้า Login ดูเราก็จะพบกับ captcha ที่โผล่ขึ้นมาตามภาพ

หน้าแจ้งชำระเงินผมใช้ Seed Confirm Pro

สำหรับใครที่ใช้ seed confirm pro อยู่ก็จะได้ captcha เพิ่มเข้ามาให้อัตโนมัติตามภาพครับ

จบแล้ว

ขอบคุณบทความดี ๆ จาก CodingDee  ครับ