Category Archive Application

7 ปลั๊กอินสามัญประจำเวิร์ดเพรส

สำหรับบทความนี้ผมก็ได้รวบรวมรายชื่อปลั๊กอินยอดนิยมที่ผมลงทุกครั้งที่ทำเว็บมาให้ดูกันครับ เชื่อว่าหลาย ๆ คนคงมีรายชื่อปลั๊กอินที่ชอบเหมือนผม มาดูกันว่ามีปลั๊กอินอะไรบ้าง 

7 ปลั๊กอินสามัญประจำเวิร์ดเพรส

1.iThemes Security

สำหรับปลั๊กอินนี้ บอกได้คำเดียวว่า ต้องลง ไม่ลงไม่ได้เป็นปลั๊กอินที่ช่วยเสริมความปลอดภัยให้กับเว็บเรา ป้องกันและอุดช่องโหว่ต่าง ๆ ที่เสี่ยงต่อการโดนแฮคหรือโดนมัลแวร์

สาเหตุที่ผมแนะนำตัวนี้เพราะ เบา ไม่กินทรัพยากรเว็บมาก ใช้เวลาเรียนรู้น้อย

ไปอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ เสริมเกราะให้เวิร์ดเพรสด้วย iThemes Security ตอนที่ 1

โหลดที่นี่

2.Yoast SEO

ปลั๊กอินนี้คงไม่มีใครไม่รู้จัก เป็นปลั๊กอินที่ช่วยเช็คคะแนนการ Set Onpage ว่าตรงตามมาตรฐานการทำ Seo อยู่ในระดับใดโดยสังเกตได้จาก สีที่เป็นตัวบ่งบอกสถานะว่าหน้านี้เรา Set onpage ได้ดีระดับไหน

  • สีเขียวคือ ดี – ดีมาก
  • สีส้มคือ พอใช้
  • สีแดงคือ แย่

นอกจากนี้ยังช่วยในเรื่องของการ Set รูปภาพ Set รายละเอียดเมื่อเรานำบทความนั้นไปแชร์ตาม Social ต่าง ๆ เช่น Facebook, Twitter เป็นต้น โหลดที่นี่

3.W3 Total Cache

ปลั๊กอินช่วยแคชเว็บนั่นเอง ทำให้เว็บทำงานได้เร็วขึ้น ช่วยลดการทำงานของ server ลง เว็บใครช้าลงตัวนี้เลยครับเร็วขึ้นแน่นอน ส่วนใครที่ใช้ CloudFlare อยู่แล้วก็สามารถ Integrate เข้ากับปลั๊กอินนี้ได้เหมือนกัน Clear Cache CloudFlare ด้วย W3 Total Cache ไปโหลดกันเลย คลิก

4.Imagify

ปลั๊กอินนี้จะช่วยลดขนาดของรูปภาพที่เราใช้ในเว็บให้มีขนาดเล็กลง พอขนาดเล็กลงก็ส่งผลให้โหลดได้เร็วขึ้น โดยตัวปลั๊กอินจะมีระดับการบีบอัดอยู่ 3 ระดับ

  1. NORMAL ลดขนาดลงนิดหน่อย ไม่สูญเสียความละเอียดของภาพ
  2. AGGRESSIVE ลดขนาดลงปานกลาง สูญเสียความละเอียดของภาพบ้างเล็กน้อย
  3. ULTRA ลดขนาดลงแบบเยอะมาก สูญเสียความละเอียดของภาพเยอะ

สาเหตุที่ผมแนะนำตัวนี้เพราะว่า ปลั๊กอินนี้ให้ใช้ฟรีโดยมี เครดิต ให้เราเดือนละ 100 เครดิต สามารถบีบอัดรูปได้ทั้ง 3 ระดับใช้งานง่ายมีหน้าให้เปรียบเทียบรูปภาพ ก่อน – หลัง บีบอัด แนะนำว่าใช้คู่กับ W3 Total Cache จะยิ่งคอมโบโหดมาก โหลด

อ่านรีวิว Imagify เต็ม ๆ ได้ที่นี่ เว็บเร็วขึ้นด้วย Imagify สุดยอดปลั๊กอินลดขนาดรูป

5.Google XML Sitemaps

ปลั๊กอินนี้จะช่วยสร้างไฟล์ sitemap.xml ไว้สำหรับให้ Search engines เข้ามาเก็บข้อมูลและนำไป index ต่อไป ตัวปลั๊กอินใช้งานง่ายไม่ต้องตั้งค่าอะไรลงเสร็จใช้ได้เลย ผมเคยสงสัยอยู่เหมือนกันว่าในเมื่อ Yoast SEO ก็มีฟังก์ชั่นสำหรับสร้าง Sitemap ได้ทำไมไม่ใช้ตัวนั้น ผมค้นไปเจอบทความอยู่บทความหนึ่งที่เปรียบเทียบกันระหว่าง Yoast กับ Google XML ว่าอันไหนดีกว่ากันได้ผลว่า Google XML ชนะผมก็เลยแนะนำให้ใช้ตัวนี้ครับ โหลด

6.Facebook Comments Plugin

ปลั๊กอินสำหรับเชื่อมคอมเมนต์ของ Facebook เข้ากับเว็บเรานั่นเอง ถ้าใครกำลังเจอปัญหาคอมเมนต์สแปมอยู่ลองเปลี่ยนมาใช้ตัวนี้ดูครับ เว็บที่ผมดูแลอยู่ผมจะปิดคอมเมนต์ที่ของเวิร์ดเพรสไป มาใช้ตัวนี้แทน ไม่หนัก Database เว็บเราด้วย โหลด

7.Seed Social

ขาดปลั๊กอินตัวนี้ไปไม่ได้ด้วยประการทั้งปวง เพราะเหมาะกับคนไทยเรามากมี Social แชร์หลัก ๆ ที่นิยมอยู่ครบทั้ง

  • Facebook
  • Google Plus
  • Twitter
  • Line

ผมให้คำนิยามปลั๊กอินนี้สั้น ๆ คือ เบา ดี มีไลน์ รออะไร โหลดเลย

ขอบคุณข้อมูลดี ๆ จาก

ปลั๊กอิน wordpress 7 ปลั๊กอินที่ต้องลงทุกครั้งเมื่อทำเว็บ

 

รวม WordPress Plugins น่าสนใจ แยกตามหมวดหมู่

WordPress Plugins น่าสนใจ แยกตามหมวดหมู่

 

ปลั๊กอินพื้นฐานควรติดตั้ง

ชื่อตัวเสริม คุณสมบัติตัวเสริม
Jetpack by WordPress คุณสมบัติหลากหลาย โดยเฉพาะเรื่องป้องกันความปลอดภัย
All in One SEO จัดการ SEO
WP Super Cache เก็บ Cache เพื่อเพิ่มความเร็วในการเข้าเว็บไซต์
Wordfence Security แสกนเว็บไซต์ป้องกันความปลอดภัย ปล.หนักไม่เหมาะกับติดตั้งตลอดเวลา

ปลั๊กอินสำหรับร้านค้า & ธุรกิจ

ชื่อตัวเสริม คุณสมบัติตัวเสริม
Woocommerce ตั้งร้านค้าออนไลน์ (ฟรี)
Easy digital download ตั้งร้านค้าออนไลน์เน้นเป็นพวกสื่อดิจิตอล (ฟรี) Extension เสริม (ไม่ฟรี)
Sensei ขายคอร์สสอนออนไลน์ (ไม่ฟรี)
easyReservations ระบบจองห้องพัก
Pinpoint Booking System ระบบจองห้องพัก +WooCommerce
Easy Property Listings ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
Car Rental System ระบบจัดการการเช่ารถ (ไม่ฟรี)
WP Car Manager ระบบขายรถ
Booking Ultra Pro Appointments ระบบจองนัดหมายแบบเป็นเวลา
Restaurant Reservations ระบบจองสำหรับร้านอาหาร
Table Rate Shipping for WooCommerce ตัวเสริมจัดการเรื่องระบบขนส่งสำหรับ Woocommerce (ไม่ฟรี)

ปลั๊กอินจัดการเนื้อหาเว็บไซต์

ชื่อตัวเสริม คุณสมบัติตัวเสริม
Page Builder by SiteOrigin ช่วยจัดความสวยงามของเนื้อหาของเว็บไซต์ (ฟรี)
Elementor Page Builder ช่วยจัดความสวยงามของเนื้อหาของเว็บไซต์ (ฟรี)
Visual Composer ช่วยจัดความสวยงามของเนื้อหาของเว็บไซต์ (ไม่ฟรี)
Divi Builder ช่วยจัดความสวยงามของเนื้อหาของเว็บไซต์ (ไม่ฟรี)
SiteOrigin Widgets Bundle ตัวเสริมของ Page Builder by SiteOrigin

ปลั๊กอินจัดการ SEO & ค่าสถิติ

ชื่อตัวเสริม คุณสมบัติตัวเสริม
All in One SEO จัดการ SEO
Yoast SEO จัดการ SEO
Google Analytics Dashboard ดูค่าสถิติ
WP Statistics ดูค่าสถิติ
Google XML Sitemaps สร้าง xml ช่วยเรื่องติดอันดับ google
Broken Link Checker จัดการลิงก์ที่เสียหายเพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือด้าน SEO

ปลั๊กอินเพิ่มความเร็วในการเข้าเว็บไซต์

ชื่อตัวเสริม คุณสมบัติตัวเสริม
WP Fastest Cache เก็บ Cache เพื่อเพิ่มความเร็วในการเข้าเว็บไซต์
WP Super Cache เก็บ Cache เพื่อเพิ่มความเร็วในการเข้าเว็บไซต์
W3 Total Cache เก็บ Cache เพื่อเพิ่มความเร็วในการเข้าเว็บไซต์
EWWW Image Optimizer ลดขนาดรูป เพื่อเพิ่มความเร็วในการเข้าเว็บไซต์
Imagify Image Optimizer ลดขนาดรูป เพื่อเพิ่มความเร็วในการเข้าเว็บไซต์
WP Smush – Image Optimization ลดขนาดรูป เพื่อเพิ่มความเร็วในการเข้าเว็บไซต์
Autoptimize บีบพวก html css js เพื่อเพิ่มความเร็วในการเข้าเว็บไซต์
WP-Optimize ทำความสะอาดฐานข้อมูล และ ไฟล์ที่ไม่จำเป็นออก
P3 (Plugin Performance Profiler) เช็คการทำงานของเว็บไซต์

ปลั๊กอินสร้างเว็บไซต์หลายภาษา

ชื่อตัวเสริม คุณสมบัติตัวเสริม
Polylang สร้างเว็บไซต์ 2ภาษา (ฟรี)
qTranslateX สร้างเว็บไซต์ 2ภาษา (ฟรี)
WPML สร้างเว็บไซต์ 2ภาษา (ไม่ฟรี)

ปลั๊กอินเพิ่มความปลอดภัยเว็บไซต์

ชื่อตัวเสริม คุณสมบัติตัวเสริม
Jetpack by WordPress คุณสมบัติหลากหลาย โดยเฉพาะเรื่องป้องกันความปลอดภัย
Wordfence Security แสกนเว็บไซต์ป้องกันความปลอดภัย ปล.หนักไม่เหมาะกับติดตั้งตลอดเวลา
Captcha by BestWebSoft ให้บวกลบตัวเลขก่อนเข้าสู่ระบบป้องกันเรื่องความปลอดภัย
Lockdown WP Admin เปลี่ยน url การเข้าหลังบ้าน
All In One WP Security & Firewall ป้องกันความปลอดภัยของเว็บไซต์

ปลั๊กอินระบบเว็บบอร์ด & ระบบคอมเม้นท์

ชื่อตัวเสริม คุณสมบัติตัวเสริม
bbPress สร้างเว็บบอร์ด ถามตอบ
DW Question & Answer สร้างเว็บบอร์ด ถามตอบ
AnsPress สร้างเว็บบอร์ด ถามตอบ
BuddyPress สร้างเว็บบอร์ด ถามตอบ
Disqus Comment System ระบบคอมเม้นท์
Facebook Comments ระบบคอมเม้นท์เฟสบุ๊ค
DW Reactions สร้างปุ่ม Like หลายอารมร์แบบ Facebook

ปลั๊กอินสำรองข้อมูล & ย้ายโฮส

ชื่อตัวเสริม คุณสมบัติตัวเสริม
all-in-one-wp-migration สำรองข้อมูล กับ ย้ายโฮส
Duplicator ย้ายโฮส
BackUpWordPress สำรองข้อมูล
UpdraftPlus สำรองข้อมูล

ปลั๊กอินจัดการป้ายโฆษณา

ชื่อตัวเสริม คุณสมบัติตัวเสริม
AdRotate ระบบจัดการป้ายโฆษณา

ปลั๊กอิน Social

ชื่อตัวเสริม คุณสมบัติตัวเสริม
Simple Share Buttons Adder สร้างปุ่ม Social Share ไม่มี Line (ฟรี)
Seed Social สร้างปุ่ม Social Share มี Line (ฟรี)
Easy Social Share Buttons for WordPress สร้างปุ่ม Social Share มี Line (ไม่ฟรี)
Facebook Login ล็อกอินจาก Facebook
Social Login ล็อกอินจากโซเชียลต่างๆ
Sidebar Login ใช้แสดงรายละเอียดผู้ที่ทำการล็อกอิน อื่นๆ

ปลั๊กอินสร้าง Post Type & Custom Field

ชื่อตัวเสริม คุณสมบัติตัวเสริม
Toolset Types สร้าง Custom Post Type, Taxonomy, Custom Fields
custom-post-type-ui สร้าง Custom Post Type, Taxonomy
Advanced Custom Fields สร้าง Custom Fields
Pods – Custom Content Types and Fields สร้าง Custom Post Type, Taxonomy, Custom Fields

ปลั๊กอินระบบค้นหา

ชื่อตัวเสริม คุณสมบัติตัวเสริม
FacetWP ระบบค้นหาแบบมี field ให้กรอก (ไม่ฟรี)
Search & Filter ระบบค้นหาแบบมี field ให้กรอก (ฟรี)
Ajax Search Lite ปุ่มค้นหาแสดงผลทันที

ปลั๊กอินสร้างตาราง & ฟอร์ม

ชื่อตัวเสริม คุณสมบัติตัวเสริม
Easy Table สร้างตาราง
TablePress สร้างตาราง
Contact Form 7 สร้างฟอร์ม (ฟรี)
Caldera Forms สร้างฟอร์ม (ฟรี)
Gravity Forms สร้างฟอร์ม (ไม่ฟรี)

ปลั๊กอินสร้างสไลเดอร์ & ปฏิทิน

ชื่อตัวเสริม คุณสมบัติตัวเสริม
RoyalSlider สร้างสไลเดอร์ (ไม่ฟรี)
LayerSlider สร้างสไลเดอร์ มีลูกเล่นแยก Layer (ไม่ฟรี)
Smart Slider 3 สร้างสไลเดอร์ (ฟรี)
The Events Calendar สร้างปฏิทินกิจกรรม
Appointment Calendar สร้างปฏิทินนัดหมาย

ปลั๊กอินสร้างลูกเล่นอื่นๆ

ชื่อตัวเสริม คุณสมบัติตัวเสริม
Foo Gallery สร้างแกลอรี่
Nextgen Gallery สร้างแกลอรี่
Gallery สร้างแกลอรี่
WP-VR-view สร้างภาพแบบ 360 องศา (ฟรี)
360 Virtual Tour WP สร้างภาพแบบ 360 องศา (ไม่ฟรี)
blueimp lightbox ทำให้รูปภาพเมื่อคลิ๊กแล้วจะเด้งเป็น popup สวยงาม
WP Featherlight ทำให้รูปภาพเมื่อคลิ๊กแล้วจะเด้งเป็น popup สวยงาม
Embed Any Document จัดการพวกไฟล์เอกสาร เช่น pdf

ปลั๊กอินระบบเกี่ยวกับสร้างบทความ

ชื่อตัวเสริม คุณสมบัติตัวเสริม
Recent Posts Widget Extended แสดงบทความตามที่ต้องการในวิดเจ๊ด
Flexible Posts Widget แสดงบทความตามที่ต้องการในวิดเจ๊ด
Custom Post Widget แสดงบทความตามที่ต้องการในวิดเจ๊ดของแต่ละบทความ
Related Posts Thumbnails แสดงบทความที่เกี่ยวข้อง
Related Posts By Taxonomy แสดงบทความที่เกี่ยวข้องจาก Taxonomy

ปลั๊กอินระบบตอบลูกค้า & Live Chat

ชื่อตัวเสริม คุณสมบัติตัวเสริม
Awesome Support ระบบ Ticket ตอบปัญหาลูกค้า
WP Support Plus Responsive Ticket System ระบบ Ticket ตอบปัญหาลูกค้า
Simple Ajax Chat ระบบ Live Chat
ClickDesk ระบบ Live Chat (ไม่ฟรี)

ปลั๊กอิน Mail

ชื่อตัวเสริม คุณสมบัติตัวเสริม
Postman SMTP ระบบเมล
Bloom email opt-in ระบบเมล (ไม่ฟรี)
WP Subscribe Pro ระบบเมล (ไม่ฟรี)

ปลั๊กอินอื่นๆ

ชื่อตัวเสริม คุณสมบัติตัวเสริม
AJAX Thumbnail Rebuild สร้างรูป Thumbnail ใหม่
cms-tree-page-view จัดเรียงอันดับ post page
theme-test-drive แยกการแสดงผลธีมในแต่ละอุปกรณ์
Redirection redirect url
Seed Buddhist Year เปลี่ยนปี ค.ศ. เป็นปี พ.ศ.
Seed Fonts เปลี่ยนฟอนต์ภาษาไทย
Ultimate Member ระบบ Member (ฟรี)
Disable Google Fonts ปิด Google Fonts
Hide Admin Bar ซ่อน Admin Bar
LONG URL MAKER แก้ปัญหา url ไทยโดนตัดคำ
WP Pro Quiz สร้างแบบทดสอบ
ขอบคุณข้อมูลดี ๆ จาก คุณ Narongchai Suphiratwanich
https://www.beanthemes.com/knowledge/wordpress-pluins-2016/

11 วิธีทำให้เว็บโหลดเร็วขึ้นราวกับติดจรวด (สำหรับ WordPress)

ความเร็วเป็นต่อ รูปหล่อเป็นรอง! 11 วิธีทำให้เว็บโหลดเร็วขึ้นราวกับติดจรวด (สำหรับ WordPress)

“ความเร็วเป็นต่อ รูปหล่อเป็นรอง”

โดยปกติแล้วสุภาษิตนี้เป็นสุภาษิตสอนชายให้ไม่ต้องเกรงกลัวในการที่จะเข้าหาผู้หญิงที่เราชื่นชอบ แม้ว่าเราจะหล่อน้อยกว่า แต่ถ้าเรากล้ากว่า เร็วกว่า เราก็มักจะมีโอกาสพิชิตใจสาวเจ้ามากกว่าคนที่หล่อราวกับเทพบุตรแต่กลับเขินอาย

การทำเว็บก็เช่นกัน… (กว่าจะวกกลับมาได้!) ใครที่สามารถหาวิธีทำให้เว็บโหลดเร็วกว่าก็มักจะมีโอกาสมากกว่าคนอื่นๆ

ผมรับรองเลยว่าถ้าคุณอ่านบทความนี้จบ แล้วลองปรับตาม เว็บไซต์ของคุณต้องเร็วขึ้นกว่าเดิมเป็นหลักวินาทีอย่างแน่นอนครับ : )

เว็บโหลดเร็วมันดียังไง?

เหตุผลหลักๆ มีอยู่แค่ 2 ข้อ แต่เป็น 2 ข้อที่สำคัญมากๆ สำหรับใครก็ตามที่จะทำธุรกิจบนโลกออนไลน์ผ่านเว็บของตัวเองเลยล่ะ

1. ทำให้ Search Engine Ranking ของเราบน Google ดีขึ้น

โดยปกติแล้ว Google จะเก็บอัลกอริทึ่ม Search Engine ของตัวเองไว้เป็นความลับสุดยอด ซึ่งบนโลกใบนี้ไม่มีใครสามารถบอกได้เป๊ะๆ ว่าเราต้องทำยังไงถึงจะทำให้ Keyword ของเราติดหน้าแรกของ Google ได้

แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังมีผู้เชี่ยวชาญหลายๆ คน พยายามแกะรอยอัลกอริทึ่มของ Google ออกมา ซึ่งเว็บไซต์ Backlinko เองก็เป็นหนึ่งในนั้น และจากการวิเคราะห์ข้อมูลจากผลการค้นหาบน Google กว่า 1 ล้านครั้งBacklinko ก็ได้ค้นพบว่าเว็บที่โหลดเร็วจะมี Search Engine Ranking บน Google สูงกว่าเว็บที่โหลดช้าอย่างเห็นได้ชัด

แต่ถ้าไม่อยากเชื่อผู้เชี่ยวชาญ ก็ลองไปอ่าน Search Engine Guideline ของ “ผู้เชี่ยวชาญกว่า” อย่าง Google ได้นะ

2. ทำให้คนเข้าเว็บของเรามากขึ้น

คุณเคยกินเครปป้าเฉื่อยไหมครับ?

ถ้าใครที่เคยกินก็จะรู้ว่ากว่าเราจะได้กินเครปชิ้นนึงเนี่ย ใช้เวลานานมากกก แต่ถึงอย่างนั้นเราก็ยังยอมรอเพราะว่าเครปของป้าแกอร่อยสุดๆ

แต่สมมุติว่าวันดีคืนดี มีร้านอีกร้านมาเปิดข้างๆ ร้านเครปป้าเฉื่อย ชื่อว่าเครปลุงฉิวที่ทำเร็วกว่าป้าเฉื่อย 5 เท่า แถมรสชาติยังอร่อยพอๆ กันอีกด้วย เป็นคุณ คุณจะเลือกกินร้านไหนครับ?

เคสที่พึ่งยกไปนั้นอาจจะไม่เกินขึ้นบ่อยนักบนโลกออฟไลน์ แต่สำหรับโลกออนไลน์น่าจะมีโอกาสเกิดขึ้นบ่อยมากเลยล่ะ ต่อให้เว็บของเราจะสวยขั้นเทพ หรือเนื้อหาจะน่าเสพสักขนาดไหน ถ้าลูกค้าของเราต้องรอเกิน 5 วินาทีแล้วละก็ เขาอาจจะกดปิดแล้วหันไปหาเว็บอื่นที่มีของคล้ายๆ เราก็เป็นได้ ซึ่ง Kissmetrics ที่เป็นเว็บที่ขาย Software Analytics ชื่อดังนั้นก็ตอกย้ำความเชื่อนี้ด้วยข้อมูลที่ว่า 25% ของลูกค้านั้นพร้อมที่จะกดปิดเว็บของเราถ้าต้องรอนานเกิน 4 วินาที

25% นี่ไม่น้อยเลยนะครับ!

วิธีการเช็คความเร็วเว็บ

ถ้าเรายังไม่รู้ว่าเรามีจุดอ่อน เราก็จะไม่สามารถแก้ไขจุดอ่อนของเราได้ เพราะฉะนั้นก่อนที่จะทำให้เว็บโหลดเร็วขึ้น เรามาเช็คกันก่อนดีกว่าว่าเว็บของเราโหลดเร็วเหมือนจรวดอยู่แล้ว หรือโหลดช้าเป็นเต่าคลาน

เว็บที่ผมแนะนำให้ใช้ในการเช็คความเร็วมีอยู่ 3 เว็บคือ GTMetrixPingdom และ WebPageTest

GTMetrix และ Pingdom จะเทสความเร็วบนเซอร์เวอร์ที่อยู่บนประเทศอเมริกา และยุโรป ถ้าคนเข้าเว็บของเราอยู่ที่ไทย เราอาจจะทำให้ได้ผลที่คลาดเคลื่อนกับความเป็นจริงพอสมควร แต่ข้อดีของ 2 ตัวนี้คือมันจะบอกค่อนข้างชัดว่าเว็บเราช้าเพราะอะไร และทำยังไงมันถึงจะดีขึ้น ส่วน WebPageTest นั้นจะมีเซอร์เวอร์อยู่ในสิงคโปร์ด้วย ซึ่งผลที่ได้จะค่อนข้างตรงกว่า ส่วนข้อด้อยของมันก็คือ Interface มันจะดูยากกว่า 2 ตัวแรกนิดหน่อย

เมื่อเทสเสร็จแล้วเราก็จะพอรู้แล้วล่ะว่าเว็บของเราเร็วแค่ไหน ใครรู้ตัวว่าเว็บช้า รีบเลื่อนไปอ่าน 10 ข้อข้างล่างด่วน ส่วนถ้าเว็บของใครเร็วอยู่แล้ว 10 วิธีข้างล่างนี้อาจจะทำให้เว็บคุณเร็วขึ้นอีกก็เป็นได้ แค่วินาทีเดียวก็มีความหมายนะจะบอกให้!

รูปข้างล่างเป็นตัวอย่างที่ผมเทสความเร็วของ Content Shifu บน GTMetrix กับ Pingdom ก่อนที่จะปรับเว็บให้โหลดเร็วขึ้นครับ

Speed test at GT Metrix (Before optimization)_R2

Speed test at Pingdom (Before optimization)_R2

มาเปลี่ยนป้าเฉื่อยเป็นลุงฉิวกันเถอะ! 11 วิธีทำให้เว็บ WordPress โหลดเร็วขึ้นราวกับติดจรวด

ก่อนเริ่มมีอยู่ 2 เรื่องมีผมอยากจะบอก เรื่องแรกเลยก็คือวิธีส่วนใหญ่ที่จะเขียนถึงนั้นเป็นวิธีที่ใช้ได้กับ WordPress เป็นหลัก แต่ตัวหลักการเองน่าจะเอาไปปรับใช้กับ CMS (Content Management System) หรือเว็บรูปแบบอื่นได้เช่นกัน อย่างที่สองก็คือวิธีเหล่านี้จะเป็นวิธีสำหรับคนที่เขียนโปรแกรมไม่เป็น (เพราะผมเองก็ไม่เขียนโปรแกรมเช่นกัน) สำหรับโปรแกรมเมอร์ทั้งหลาย ถ้ามีวิธีที่ดีกว่า หรือง่ายกว่าก็กรุณาแนะนำผมใน comment ด้วยนะ

1. เลือก Hosting ให้ดี

Siteground Hosting

ถ้าเปรียบการสร้างเว็บเหมือนการสร้างร้านอาหาร การเลือก Hosting ก็เปรียบเสมือนการเลือกสถานที่ตั้งของร้านเรา

ข้อมูลทุกอย่างของเว็บเราไม่ว่าจะเป็นบทความ หรือรูปภาพก็จะถูกเอาไปเก็บไว้บน Hosting ที่เราเลือกถ้าเราเลือกได้ดีก็จะเป็นศรีแก่ตัว แต่ถ้าเลือกได้มั่วก็อาจจะทำให้เราเสียใจภายหลังได้

เพราะฉะนั้นก่อนที่จะเลือกลงหลักปักฐานกับ Hosting สักที่ ผมแนะนำให้หาข้อมูลให้ละเอียดก่อน อาจจะเป็นด้วยการค้นหาบนอินเตอร์เน็ตหรือถามเพื่อนๆ ที่ทำเว็บอยู่แล้วก็ได้ ซึ่งปัจจัยหลักที่ควรจะพิจารณาก็คือลักษณะการใช้งานของเรา, ชื่อเสียงของบริษัท, ตำแหน่งที่ตั้งของเซอร์เวอร์, เทคนิคคอลซัพพอร์ต และราคา

สำหรับใครที่ไม่ได้มีความรู้เรื่องเทคโนโลยีมาก ผมแนะนำให้ใช้ Managed Hosting (มีผู้เชี่ยวชาญคอยดูแลเซอร์เวอร์ให้ตลอด) ดีกว่า จะได้ไม่ต้องมานั่งปวดหัวกับเรื่องที่เราไม่ถนัด

Hosting ของต่างชาติที่ผมชอบและอยากจะแนะนำคือ Synthesis (แพง), WP Engine (แพง) และ Siteground(ไม่แพงมาก – ผมใช้อันนี้อยู่) ส่วนของไทย ตัวที่ผมแนะนำคือของ Hostneverdie (ผมเคยใช้เจ้านี้ – บริการดีเลยครับ)

ถ้าอยากศึกษาว่าปัจจัยในการเลือก Hosting มีอะไรบ้าง ลองอ่านบทความ ‘วิธีการเลือก Web Hosting‘ ดูครับ

2. เลือก Theme ให้ดี

Themeforest

ถ้าใครที่กำลังดูๆ หาวิธีทำเว็บโดยใช้ WordPress อยู่ ผมแนะนำให้ใช้ WordPress.org แทนที่จะเป็น WordPress.com เพราะมันจะยืดหยุ่นกว่า และทำอะไรได้หลากหลายกว่ามาก และเนื่องจากว่า WordPress.org นั้นเป็น Open-source Software ที่ใครจะเอาไปพัฒนาต่อยอดยังไงก็ได้

ซึ่งสิ่งที่คนเอาไปพัฒนาต่อยอดนั้นจะเรียกว่า Theme

และด้วยความที่ว่ามันเป็น Open-source Software นี่เอง เลยทำให้ Theme ที่ถูกสร้างขึ้นมานั้นมีคุณภาพต่างกันไปทั้งดีมาก ดีน้อย ไม่ค่อยดี จนไปถึงขั้นห่วยเลยก็มี

ถ้าอยากได้ Theme ที่ดีมาก และเร็วมาก ผมแนะนำ Genesis Framework ของ Studio Press ครับ (แต่ข้อด้อยคือจะปรับแต่งได้น้อย หรือถ้าจะปรับแต่งก็ต้องมีความรู้เรื่องเขียนโปรแกรม) หรือถ้าอยากปรับแต่งอะไรได้มากขึ้น แต่อาจจะต้องแลกมาด้วยความเร็วที่ช้าลงนิดหน่อย ก็ลองไปดู Divi ของ Elegant Themes และ Theme ของ My Theme Shop ครับ ตัวสุดท้ายที่อยากจะแนะนำคือ Themeforest ที่เป็นแนว Market Place ที่นักพัฒนาคนไหนจะนำ Theme มาขายก็ได้ ซึ่งอันนี้ต้องระวังพอสมควรเลยล่ะ คำแนะนำของผมคือให้เลือก Theme ที่เป็น Popular Theme และมีคะแนนรีวิวมากกว่า 4.5 คะแนนขึ้นไป

นอกจากบริษัทพัฒนา Theme ของต่างชาติแล้ว ประเทศไทยของเราเองก็มี Seed Themes ที่เป็นแหล่งรวม Theme ที่สร้างโดยคนไทยซึ่งความสวยงาม และคุณภาพไม่แพ้เมืองนอกเลยครับ

3. เลือก Plugin ให้ดี และติดตั้ง Plugin เท่าที่จำเป็น

Codecanyon

Plugin WordPress เกือบทั้งหมดบนโลกของ WordPress กว่า 2 แสนตัวนั้นก็เป็น Open-source Software เหมือนกับ Theme เพราะฉะนั้นเราต้องดูให้ดีๆ ก่อนดาวน์โหลด หรือซื้อ Plugin สักตัวมาติดที่เว็บของเรา นอกจากนั้นแล้วอีกเรื่องที่สำคัญมากๆ เลยก็คือ เราควรจะติดตั้ง Plugin ‘เท่าที่จำเป็น’ ถ้าเราติดตั้ง Plugin น้อยเกินไป เว็บก็อาจจะไม่สามารถทำงานได้อย่างที่เราคาดหวัง ถ้าเราติดตั้ง Plugin มากเกินไป เว็บก็อาจจะไม่เร็วดั่งใจ

ผมแนะนำว่า Plugin ที่ควรจะมีติดเว็บไว้ก็คือ Plugin ที่สร้างโดย WordPress อย่าง JetpackAkismetWP Super Cache นอกจากนั้นแล้ว Plugin พื้นฐานอย่างพวก SEO Plugin (ผมชอบ Yoast SEO), Backup Plugin (ผมชอบ UpdraftPlus) และ Social Sharing Plugin (ผมชอบ Easy Social Share Buttons และ Seed Social) ก็ควรจะมีติดไว้ด้วยเช่นกัน ส่วนตัวอื่นนอกเหนือจากนี้ก็ลองเลือกดูตามความเหมาะสมกับการใช้งาน

นอกจาก Plugin ในตัวระบบ WordPress เองแล้ว Codecanyon ก็เป็นอีกหนึ่งสถานที่ที่เป็นแหล่งรวม Plugin เจ๋งๆ อย่าง Visual ComposerSlider Revolution และอื่นๆ มากมาย

ในความเห็นของผม จำนวน Plugin ที่เราติดตั้งและใช้งานควรอยู่ระหว่าง 10-15 ตัวครับ

Shifu แนะนำ

วิธีการเช็คว่า Plugin ตัวไหนทำให้เว็บเราโหลดช้าก็คือการติดตั้ง Plugin P3 ของ Godaddy แล้วลองเทสดู พอเทสเสร็จแล้วก็อย่าลืม Deactivate Plugin ตัวนี้ด้วยนะ เราจะได้ไม่มี Plugin เยอะจนเกินไป

4. ลดขนาดไฟล์ด้วยการบีบอัดรูปภาพ

Kraken Image Optimizer

รูปภาพเป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่จะทำให้เว็บโหลดเร็วเป็นจรวด หรือโหลดช้าเป็นเต่าคลาน

วิธีที่ทุกคนน่าจะคุ้นเคยกันดีในการทำรูปภาพมีขนาดเล็กลงซึ่งก็คือการลดขนาดรูป เช่น การลดขนาดรูปจาก 1,500×1,000 pixels เป็น 1,000×500 pixels แต่จริงๆ แล้วมันมีวิธีที่ทำได้มากกว่านั้น โดยที่คุณภาพของรูปภาพไม่เสียด้วย!

วิธีที่ว่านั่นก็คือการบีบอัดรูปภาพ วิธีนี้จะไม่ทำให้ขนาดของรูปเปลี่ยน คือถ้ารูปภาพ Size 1,000×500 pixels ขนาดหลังจากการบีบอัดรูปก็ยังจะคงมีขนาด 1,000×500 pixels เท่าเดิม สิ่งที่จะเปลี่ยนก็คือขนาดของไฟล์นั้นๆ ซึ่งถ้ารูปไม่ได้มีรายละเอียดเยอะเกินไป บางโปรแกรมสามารถบีบอัดรูปให้เหลือขนาดเล็กลงได้กว่า 60% เลย (เช่นถ้ารูปเดิมมีขนาดไฟล์ 500 kb หลังจากที่บีบอัดรูปผ่านโปรแกรมแล้วอาจจะทำให้ขนาดไฟล์เหลือแค่ 200 kb เท่านั้นเอง)

สำหรับโปรแกรมบีบอัดรูปนั้นที่ผมแนะนำก็จะมี TinypngKrakenEwww Image Optimizer และ WP Smush(ตัวนี้เป็น Plugin ใช้ได้กับ WordPress เท่านั้น)

ใช้โปรแกรมใดโปรแกรมหนึ่งข้างบนนี้ทุกครั้งก่อนอัพรูปขึ้นเว็บ รับรองว่าโหลดเร็วขึ้นอีกเยอะแน่นอน

Shifu แนะนำ

โปรแกรมย่อ/ขยายขนาดรูปภาพแบบง่ายๆ ที่ผมชอบใช้มีอยู่ 2 เว็บก็คือ Pixlr Express และ Photoscape ซึ่งเป็นโปรแกรมฟรีทั้ง 2 ตัวเลยครับ

5. ทำ Lazy Load

ถ้าเว็บไหนมีรูป หรือมีพวก Script เยอะมากๆ การทำ Lazy Load จะเป็นสิ่งจำเป็นมากๆ เลยครับ

ความหมายของ Lazy Load จริงๆ แล้วเดาได้ไม่ยาก คือถ้าผู้เข้าชมเว็บของเรายังเลื่อนมาไม่ถึงโซนที่มีรูปอยู่ รูปนั้นก็จะไม่ถูกโหลดขึ้นมา ซึ่งการทำแบบนี้จะทำให้เว็บของเราโหลดเฉพาะสิ่งที่จำเป็นให้กับคนอ่านของเราได้เห็นก่อน

Theme WordPress แบบพรีเมี่ยมหลายๆ Theme จะมี Feature นี้ให้อยู่แล้ว แต่ถ้า Theme ของคุณไม่มี ก็สามารถโหลด Plugin ชื่อว่า Lazy Load มาใช้ได้ครับ

6. พยายามพึ่งพาทรัพยากรภายนอกให้น้อยที่สุด

หลายๆ ครั้งที่เราเขียนบล๊อกหรือทำเว็บ เราอาจจะฝังวีดีโอจาก YouTube, สไลด์จาก Slideshare หรือรูปของเว็บอื่นลงบนเว็บของเรา

ตัว YouTube กับ Slideshare ไม่น่าจะส่งผลกับเว็บของเราเท่าไหร่ แต่รูปของจากแหล่งอื่นมีโอกาสส่งผลเยอะมากครับ เพราะว่าเราจะไม่รู้ว่ารูปของเขาขนาดเท่าไหร่และเว็บของเขาช้าแค่ไหน วิธีที่ผมแนะนำคือโหลดรูปนั้นมาแล้วเอาไปผ่านวิธีที่ 4

Shifu แนะนำ

รูปที่โหลดมาควรจะเป็นรูปที่อนุญาตให้เอามาใช้ได้นะครับ ถ้าใครไม่รู้ว่าจะหารูปฟรีสวยๆ ไม่ติดลิขสิทธิ์จากไหน ผมแนะนำ 2 ที่นี้เลยครับ Pixabay และ Unsplash

7. เก็บ Cache ใน Browser (Leverage Browser Caching)

การเก็บ Cache บน Browser เป็นอีกหนึ่งวิธีที่สำคัญที่สุดที่จะช่วยให้เว็บโหลดเร็วขึ้นมากๆ

เผื่อว่าใครไม่รู้จัก Cache ผมขออธิบายง่ายๆ แบบนี้นะครับ การเก็บ Cache เป็นการฝังข้อมูลชิ้นเล็กๆ ที่เรียกว่า Cookies ลงไปยัง Browser (เช่น Chrome, IE และ Firefox) ของคนที่เข้ามาเยี่ยมชมเว็บของเรา และในครั้งหน้าที่เขากลับมาเยี่ยมชมเว็บของเราอีกครั้ง ข้อมูลส่วนใหญ่ก็จะถูกเรียกจาก Cache แทนที่จะต้องเรียกใหม่ทั้งหมด

วิธีการเก็บ Cache ใน Browser ที่น่าจะง่าย และซับซ้อนน้อยที่สุดก็คือการใส่ Code นิดหน่อยลงไปใน file .htaccess ครับ ใครอ่านแล้วงงก็อย่าพึ่งกลัวนะครับ จริงๆ แล้วทำไม่อยากเลย เดี๋ยวผมจะโชว์ให้ดูทีละสเต๊ป

ขั้นที่ 1: Login เข้า Hosting ของเราแล้วเข้าไปที่ C-Panel จากนั้นลองเลื่อนๆ หา Folder ที่เขียนว่า File Manager ดู (ตัวอย่างที่โชว์ให้ดูนี้เป็นของ Siteground นะครับ Hosting เจ้าอื่นอาจจะมีหน้าตาต่างจากนี้เล็กน้อย)

Siteground File Manager

ขั้นที่ 2: เมื่อ Click Folder File Manager แล้วมันจะมี Pop up เด้งขึ้นมา ให้เราเลือก Show Hidden Files (dotfiles) ด้วยครับ

Siteground File Manager (show hidden file)

ขั้นที่ 3: เปิด file .htaccess เพื่อแก้ไข

File Manager_htaaccess_edit

ขั้นที่ 4: เอา Code ที่อยู่ข้างล่างนี้ไปแปะไว้ในบรรทัดล่างสุดของ file .htaccess

## EXPIRES CACHING ##
<IfModule mod_expires.c>
ExpiresActive On
ExpiresByType image/jpg "access plus 1 year"
ExpiresByType image/jpeg "access plus 1 year"
ExpiresByType image/gif "access plus 1 year"
ExpiresByType image/png "access plus 1 year"
ExpiresByType text/css "access plus 1 month"
ExpiresByType application/pdf "access plus 1 month"
ExpiresByType text/x-javascript "access plus 1 month"
ExpiresByType application/x-shockwave-flash "access plus 1 month"
ExpiresByType image/x-icon "access plus 1 year"
ExpiresDefault "access plus 2 days"
</IfModule>
## EXPIRES CACHING ##

ทีนี้ทุกครั้งที่มีคนเข้ามาเว็บของเรา Browser ของเขาก็จะทำการเก็บ Cache บางอย่างไว้ (เช่นพวก Logo, Header หรือ Footer) และครั้งต่อมาที่เขาเข้ามาเว็บของเรา รับรองว่าโหลดลื่นหัวแตกแน่นอน : )

8. ใช้ Gzip Compression

คำว่า Gzip Compression อาจจะฟังดูงงๆ แต่ผมเชื่อว่าหลายๆ คนคงจะคุ้นเคยกับการบีบอัดไฟล์ หรือโฟลเดอร์ด้วยโปรแกรม WinZip หรือ WinRAR แน่ๆ

หลักการของ Gzip Compression ก็คล้ายๆ กันเลย จะต่างกันตรงที่การทำ Gzip Compression นั้นจะทำการย่อไฟล์บนเว็บของเรา ซึ่งจะทำให้เว็บโหลดเร็วขึ้นอีกมาก

วิธีการทำจะคล้ายกับหัวข้อที่แล้วเลยก็คือการใส่ Code ข้างล่างนี้ลงไปที่ file .htaccess ครับ

## ENABLE GZIP COMPRESSION ##
AddOutputFilterByType DEFLATE text/plain
AddOutputFilterByType DEFLATE text/html
AddOutputFilterByType DEFLATE text/xml
AddOutputFilterByType DEFLATE text/css
AddOutputFilterByType DEFLATE application/xml
AddOutputFilterByType DEFLATE application/xhtml+xml
AddOutputFilterByType DEFLATE application/rss+xml
AddOutputFilterByType DEFLATE application/javascript
AddOutputFilterByType DEFLATE application/x-javascript
## ENABLE GZIP COMPRESSION ##

9. Optimize Database

ถ้าเราใช้ CMS ต่างๆ อย่างเช่น WordPressJoomla หรือ Drupal ในการทำเว็บ ตัว Database ของเว็บเองจะมีการเก็บข้อมูลไว้ตลอดอยู่แล้ว (พวก Auto Draft, Revisions และ Spam Comment ต่างๆ) ซึ่งถ้า Database ของเราเก็บข้อมูลเหล่านี้ไว้เยอะเกินไป ก็อาจจะทำให้เว็บช้าลงได้

ถ้าใครใช้ WordPress อยู่ แนะนำให้ติด Plugin ฟรีชื่อว่า WP Optimize ของ Elegant Themes แล้วก็ให้ตัว Plugin ช่วยจัดการลบสิ่งที่ไม่จำเป็น และ Optimize Database ของเราให้เลยครับ

ส่วนถ้าใครไม่ได้ใช้ WordPress ก็ลองไปดูวิธีการ Optimize Database ด้วยตัวเองได้ที่ลิงก์นี้เลยครับ

10. ใช้ CDN (Content Delivery Network)

Cloudflare

โดยปกติแล้วถ้าคนที่เข้าเว็บของเราอยู่แค่ในประเทศไทย CDN จะไม่จำเป็นเลย แต่ถ้าลูกค้าเรามาจากทั่วโลกล่ะก็ CDN จะทำให้เว็บของเราโหลดเร็วมากขึ้นมากๆ เลยล่ะ

อธิบายง่ายๆ เลยก็คือ CDN จะเป็นบริการที่เก็บ Cache ของเว็บเราไว้ในเซอร์เวอร์ที่อยู่บนที่ต่างๆ ทั่วโลก ถ้าคนเข้าเว็บของเราจากอเมริกา ข้อมูลหน้าเว็บเราก็จะโหลดจาก Server ของ CDN ในแถบอเมริกา ถ้าคนเข้าเว็บของเราจากอังกฤษ ข้อมูลหน้าเว็บเราก็จะโหลดจาก Server ของ CDN ในแถบอังกฤษ

นอกจากนั้นข้อดีอีกอย่างของ CDN ก็คือมันจะช่วยสแกน และป้องกันไม่ให้ “ผู้ไม่ประสงค์ดี” เข้ามาทำการเจาะระบบเว็บของเราด้วยครับ

ซึ่งบริษัทที่ให้บริการ CDN นั้นมีหลายบริษัทมากๆ แต่ตัวทีผมอยากจะแนะนำก็คือ Cloudflare เพราะว่ามันฟรี (เมี่ยม) ครับ (ลองดูวิธีการติดตั้ง Cloudflare ได้ที่นี่เลย)

11. ติดตั้ง Plugin สำหรับเก็บ Cache

Plugin WordPress สำหรับเก็บ Cache ที่ผมอยากจะแนะนำมีอยู่ 3 ตัวครับ ตัวแรกคือ WP Super Cache – ตัวนี้เป็น Plugin ที่สร้างโดย WordPress จะใช้งานง่ายที่สุด และที่สำคัญคือฟรีตลอดกาล, ตัวที่สองคือ W3 Total Cache – ตัวนี้จะใช้ตั้งค่ายากกว่าเยอะ (ถ้าอยากอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการตั้งค่าสามารถเข้าไปอ่านได้ที่ WPBeginner ครับ) แต่ข้อดีคือมี Feature หลากหลายกว่า และฟรี (เมี่ยม) ตัวสุดท้ายคือ WP Rocket ซึ่งตัวนี้จะเป็นตัวที่เขาว่ากันว่าครบเครื่องที่สุด (ผมไม่เคยใช้เอง) ข้อด้อยคือต้องเสียเงินทันทีครับ ($39)

Shifu แนะนำ

W3 Total Cache นั้นจะครอบคลุมถึงเรื่อง Browser Caching, Gzip Compression และ CDN อยู่แล้ว ถ้าใครใช้ Plugin ตัวนี้ ก็สามารถข้ามวิธีที่ 7, 8 และ 10 ไปได้เลยครับ

ถ้า W3 Total Cache ใช้งานยากเกินไป และคุณยังไม่อยากเสียเงินให้กับ WP Rocket ก็ใช้แค่ Plugin ฟรีอย่าง WP Super Cache ก็ได้ครับ ผมแนะนำให้ติด Plugin ชื่อว่า Autoptimize สำหรับการ Optimize CSS, Javascript และ HTML เข้าไปด้วย และตอนจะเลือก Optimize แนะนำว่าให้อย่า Optimize 3 อย่างนี้พร้อมกันครับ ให้ลองเปิด และเทสทีละอย่าง เพราะว่าบางอย่างมันอาจจะทำให้เว็บเราพังได้ 

สรุป

และนี่ก็คือ 11 วิธีทำให้เว็บ WordPress โหลดเร็วขึ้นราวกับติดจรวด ทำครบ รับรองว่าบินไปได้ไกลถึงดาวอังคาร ?

รูปข้างล่างเป็นตัวอย่างของการเทสความเร็วเว็บบน GT Metrix และ Pingdom หลังจากที่ทำการปรับเว็บให้เร็วขึ้นแล้วนะครับ จะเห็นได้ว่าเร็วกว่าก่อนปรับประมาณ 2-3 วินาทีเลย

Speed test at GT Metrix (After optimization)_R2

Speed test at Pingdom (After optimization)_R2

การที่เราสามารถทำให้เว็บโหลดเร็วขึ้นจะส่งผลดีต่ออันดับบน Google ของเรา และทำให้คนที่เข้ามาเยี่ยมชมไม่ต้องรอนานจนเขาไม่อยากรอแล้วหันไปอ่านหรือใช้บริการเว็บอื่นแทน

เรื่องที่ผมอยากจะเน้นย้ำมากๆ เลยก็คือก่อนที่จะทดลองใช้ 11 วิธีที่บอกไป คุณควรจะเทสความเร็วเว็บของคุณด้วย GTMetrixPingdom หรือ WebPageTest ก่อน เพื่อจะได้รู้ว่าเว็บช้าที่จุดไหน จะได้เกาให้ถูกที่คัน

ถ้าเว็บเราเร็ว และคอนเทนต์เราดี รับรองว่าคนอ่านไม่หนีไปไหนแน่นอน

ขอบคุณข้อมูลดี ๆ จาก

https://www.contentshifu.com/wordpress/guide-to-creating-a-fast-loading-wordpress-website/

วิธีแก้ปัญหาส่งเมลไม่ได้ของ wordpress ด้วย Postman SMTP

วิธีแก้ปัญหาส่งเมลไม่ได้ของ wordpress เป็นปัญหาที่น่าปวดหัวสำหรับคนที่อยากจะส่งข้อมูลของที่คนมากรอก ผ่านอีเมล
ซึ่งวิธีแก้ปัญหาไม่ได้ยาก แต่จะมีหลายขั้นตอนหน่อย โดยใช้ปลั๊กอินที่มีชื่อว่า Postman SMTP Mailer/Email Log เป็นปลั๊กอินที่มีประโยชน์มาก โดยต้องตั้งค่า SMTP ผ่าน Gmail ทำให้มีความปลอดภัย

วิธีแก้ปัญหาส่งเมลไม่ได้ของ wordpress ด้วย Postman SMTP

1. อย่างแรกต้องโหลดปลั๊กอินแล้วติดตั้งปลั๊กอิน Postman SMTP ก่อน เสร็จแล้วไปที่ Settings หาเมนู Postman SMTPคลิกเข้าไปจะเจอหน้าตาเหมือนในรูปที่หนึ่งด้านล่าง ให้คลิกที่ Start the Wizard

ปัญหาส่งเมลไม่ได้ของ wordpress

2. หลังจากคลิก Start the Wizard แล้วขั้นตอนที่ 2 คลิก None แล้วกด Next ต่อไปเลย

ปัญหาส่งเมลไม่ได้ของ wordpress ด้วย postman SMTP

3. ในช่อง Email Address ให้ใส่อีเมลของเรา และในช่อง Name ใส่ชื่ออะไรก็ได้ อาาจะใส่ชื่อเว็บเหมือนผมก็ได้

ปัญหาส่งเมลไม่ได้ของ wordpress ด้วย postman SMTP

4. gmail จะดึง Mail Server Hostname ให้เราอัตโนมัติไม่ต้องทำอะไร กด Next 

ปัญหาส่งเมลไม่ได้ของ wordpress ด้วย postman SMTP

5. gmail จะตั้งค่า Default ให้เรา Socket เป็น port 587 และ Authentication เป็น OAuth 2.0 ถ้าค่าตรงตามนี้แล้วกด Nextต่อไปได้เลย

wordpress-postman-mail5

6. มาถึงขั้นตอนนี้ ให้คลิก Google Developers Console Gmail Wizard  เพื่อไปสร้าง Client ID และ Client Secret 

ปัญหาส่งเมลไม่ได้ของ wordpress ด้วย postman SMTP

7. เลือกบัญชีอีเมลของเราที่ต้องการจะใช้กับ SMTP

ปัญหาส่งเมลไม่ได้ของ wordpress ด้วย postman SMTP

8.  Create a project แล้วคลิก Continue

ปัญหาส่งเมลไม่ได้ของ wordpress ด้วย postman SMTP

9. ไม่มีอะไรมาก คลิก Go to credentails

ปัญหาส่งเมลไม่ได้ของ wordpress ด้วย postman SMTP

10. ในขั้นตอนนี้ ให้คลิก client ID  มันจะพาเราไปยังขั้นตอนถัดไป

ปัญหาส่งเมลไม่ได้ของ wordpress ด้วย postman SMTP

11. ขั้นตอนนี้ต้องคลิกที่ Configure consent screen เพื่อที่จะสร้าง OAuth client ID เราจำเป็นต้องตั้งค่า product nameก่อน

ปัญหาส่งเมลไม่ได้ของ wordpress ด้วย postman SMTP

12. หลังจากคลิก Configure consent screen ก่อนหน้านี้ มันจะพาเรามาที่หน้า Credentails แท็บที่ 2 OAuth consent screen ให้ตั้งชื่อ Product name ของเราครับ จากนั้นก็คลิก Save 

ปัญหาส่งเมลไม่ได้ของ wordpress ด้วย postman SMTP

13. ตรงที่ Create client ID  ให้คลิกเลือกที่ Web application หลังคลิกเสร็จข้อมูลด้านล่างตรงหมายเลข 17,18,19 จะโผล่ออกมา ให้เราไป Copy จากหน้าก่อนหน้านี้ในหน้าหลังบ้านของ wordpress(ดูรูปที่ 2 ของข้อนี้)

ปัญหาส่งเมลไม่ได้ของ wordpress ด้วย postman SMTP

 

* ให้ copy ทั้ง Authorized javaScript origins  และ Authorized redirect URI ไปวางที่หมายเลข 17,18 ให้ตรงช่องด้วยครับ และคลิก Create เพื่อไปต่อ

wordpress-postman-mail14

14. ถ้าเราตั้งค่าถูกต้องตามที่ผมแนะนำไว้ คิดว่าคงจะต้องได้ OAuth client ทั้ง client ID และ client secret ตามรูปด้านล่าง

ปัญหาส่งเมลไม่ได้ของ wordpress ด้วย postman SMTP

15. ในขั้นตอนนี้ให้ copy ทั้ง client ID และ client secret ตามรูปด้านบน มากรอกใส่ในช่อง ตามรูปด้านล่าง ให้ตรงช่องด้วยครับแล้วคลิก Next ต่อไปเลยครับ

 

ปัญหาส่งเมลไม่ได้ของ wordpress ด้วย postman SMTP

16. ถ้ากรอกถูกต้อง เราจะเห็นข้อความ You’re Done แล้วคลิก Finish ได้เลยคับ

ปัญหาส่งเมลไม่ได้ของ wordpress ด้วย postman SMTP

17. ยังครับ ยังไม่จบแค่นี้ หลังจากเราตั้งค่าทุกอย่างเสร็จสิ้นเรียบร้อย เราต้องไปกำหนด permission โดยคลิกที่ Grant permission with Google เพื่ออนุญาต

วิธีแก้ปัญหาส่งเมลไม่ได้ของ wordpress

18. คลิกอนุญาตครับ

วิธีแก้ปัญหาส่งเมลไม่ได้ของ wordpress

19. กระบวนการทุกอย่างเสร็จสิ้นแล้วครับ เพื่อให้มั่นใจว่าเราได้ตั้งค่าทุกอย่างถูกต้อง ให้เราทดสอบส่งอีเมล คลิกที่ Send a Test Email

วิธีแก้ปัญหาส่งเมลไม่ได้ของ wordpress

20. ให้กรอกอีเมลที่ต้องการจะทดสอบ แล้วคลิก Next

วิธีแก้ปัญหาส่งเมลไม่ได้ของ wordpress

21. ถ้าได้รับข้อความ Success แสดงว่าเราได้ตั้งค่า SMTP ถูกต้อง และอย่าลืมลองไปเช็คอีเมลเพื่อให้แน่ใจ

วิธีแก้ปัญหาส่งเมลไม่ได้ของ wordpress

วิธีแก้ปัญหาส่งเมลไม่ได้ของ wordpress

จะเห็นได้ว่า วิธีแก้ปัญหาส่งเมลไม่ได้ของ wordpress ด้วย Postman SMTP นั้นไม่ได้ยากอย่างที่คิด แค่มันเยอะขั้นตอนนิดหน่อย แนะนำให้ใจเย็นๆครับ แค่ทำครั้งเดียว เสียเวลาครั้งเดียว ปัญหาการส่งเมลไม่ได้ก็หมดไปจากชีวิตครับ


 

ขอบคุณความรู้ดี ๆ จาก https://www.teeneeweb.com/wordpress-postman-smtp-email/

มาปรับแต่งเว็บไซต์ของคุณเพื่อเพื่มความเร็วกันเถอะ

มีข้อมูลวิจัยผู้ใช้งาน Internet ในสหรัฐส่วนใหญ่ จะรอหน้าเว็บแค่ 4 วิ ครับ เกินจากนี้ไม่ง้อแล้ว เว็บมีเป็นพันล้าน จะคอยทำไม ส่วนใหญ่จะปิดแล้วไปดูเว็บอื่นที่มันรวดเร็วทันใจดีกว่า เราเองในฐานะ Webmaster จึงควรออกแบบเว็บไซต์ให้สามารถโหลดได้รวดเร็ว ทันใจผู้ชมครับ

เราขอแนะนำบริการ Google PageSpeed Insights ครับ สำหรับผู้ที่มีเว็บไซต์ทุกท่านเลยนะครับ ผมแนะนำว่าให้ทดลองใช้งานดู บริการนี้จะเป็นบริการตรวจสอบความเร็วในการเรียกโหลดหน้าเว็บไซต์ของเราครับ โดยระบบตรวจสอบ จะสามารถวิเคราะห์ได้ว่า รูปภาพในเว็บไซต์ของเรารูปใดใหญ่ไปบ้าง สามารถปรับลดขนาดของรูปได้โดยไม่สูญเสียรายละเอียด หรือ Code ในจุดใดสามารถ Optimize ได้บ้าง เพื่อลดขนาดของ Object บนหน้าเว้บไซต์ของเราให้มีขนาดเล็กที่สุด ทำให้การโหลดหน้าเว็บของคุณเร็วขึ้นครับ

ส่วนประโยชน์ที่ได้ นอกจากจะประหยัด Bandwidth แล้วยังทำให้ผู้เข้าชมเว็บไซต์ของคุณ เปิดหน้าเว็บไซต์ได้รวดเร็วขึ้นด้วยครับ

เครื่องมีอนี้เป็น เครื่องมือที่ให้บริการโดย Google เองครับ ความสามารถของ Web Page Speed Test ตัวนี้ไม่ธรรมดาครับ
เพราะไม่เพียงทดสอบความเร็วในการตรวจสอบหน้าเว็บไซต์ของเราเท่านั้น ยังมีคำอธิบาย และคำแนะนำเพื่อนำไปปรับแต่ง

 

เว็บไซต์ของเราให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย ยกตัวอย่างเช่น

  • การโหลดรูปภาพซ้ำซ้อน
  • การคำนวนว่ารูปภาพบนเว็บไซต์บางรูปยังสามารถลดขนาดลงได้อีก โดยไม่สูญเสียความคมชัด
  • การแยกโหลด Java Script ที่ไม่จำเป็นของหน้าแรกให้กระจายออกไปโหลดที่หน้าอื่น

ลองทดสอบประสิทธิภาพเว็บไซค์ของคุณกันได้เลยครับ ที่ลิงค์ด้านล่างนี้ครับ
https://developers.google.com/speed/pagespeed/insights

 


ขอบคุณข้อมูลดี ๆ จาก https://kb.hostatom.com/content/2343/

10 ข้อห้าม ในการทำ SEO

10 ข้อห้าม ในการทำ SEO หากคุณเผลอทำไป แก้ไขอะไรได้ก็รีบแก้ซะนะครับ ก่อนนะโดนเก็บนะครับ

1. ห้ามโกง Search Engine  ในทุกๆ วิธี จะทำอะไรก็ทำแต่ พองาม นะครับ บาง คนอาจจะบอกว่า “ก็มันติดหน้าแรกเร็วนี่” เคยได้ยินคำว่า มาไวไปไวมั้ยล่ะครับ โดนแบนมาเมื่อไหร่อย่าหาว่าผมไม่เตือนนะ อยากให้จำสุภาษิตนึงไว้ว่า “ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน” อย่าหลงเข้าไปอยู่ในด้านมืดของ SEO นะครับ

2. อย่าให้เห็นนะว่า link ไหนเข้าไม่ได้  การทำมี link ตัวไหนซักตัว นี่ก็เป็น ผลเสียของ SEO เช่นกันครับ เพราะ บรรดา Search Engine จะมองว่า เว็บที่มี link เสีย หรือที่เรียกกันว่า Broken Link นั้นเป็นเว็บไม่มีคุณภาพ ไม่นาเชื่อถือ เอาล่ะว่าแล้วก็รีบเช็คกันเลยนะครับ เช็ค Broken Link

3. Hosting ที่ให้บริการมีคุณภาพต่ำ  เรื่องนี้ก็เห็นใจนะครับ เพราะปรกติ เราจ่ายค่าโฮสเป็นรายปี ก็ใช้ไปแล้วนี่เนอะ อืม…อยากบอกว่า ถ้าเปลี่ยนได้ก็เปลี่ยนเถอะครับ เพราะ อยากให้คุณลองวัดที่ตัวคุณเองดูว่าเวลาเข้าเว็บไหน ที่มันโหลดนานๆ คุณจะอยากเข้ามั้ย หรือ เข้าเว็บไหน แล้วมันกลายเป็น Page Not Found คุณจะกลับมาเข้าเว็บนี้อีกมั้ย และ ก็จงอย่าแปลกใจเลย หาก คุณทำ SEO ขั้นเทพแล้ว เว็บยังไม่ติดอันดับ ซักที อาจเป็นเพราะ บอท มันมาเจอคำว่า Page Not Found ตอนมาเว็บคุณก็เป็นได้

4. link ไปเว็บที่เนื้อหาไม่สอดคล้องกับเว็บเรา  เนื้อหาเว็บ กับเว็บที่เรา link ไปหาก็เกี่ยวเหมือนกันนะครับ เพราะ Google panda Algorithm นอกจากจะวัดคุณภาพจากเนื้อหาในเว็บของคุณแล้ว ยังวัดจาก link ที่ไปจากเว็บของคุณด้วยเช่นกัน จะแลก link กับเว็บไหนจะดูแต่ PR ไม่ได้นะครับ ต้องดูเนื้อหาเว็บด้วยครับ

5. link เข้ามามากผิดปรกติ  คุณเป็นคนนึงหรือป่าวที่ submit directory ที่เดียว 500 กว่าเว็บ Google คงไม่ปลื้มแน่ถ้าเห็นเว็บไหนทำแบบนี้ เรียกว่าไม่เนียน เอาซะเลย ค่อยๆ ทำดีกว่าครับ เนียนๆ ดูเป็นธรรมชาติ อยากให้จำสุภาษิตนึงไว้ (อีกแระ) ว่า “ช้าๆ ได้พร้าเล่มงาม” วันนึง 10 เว็บ 20 เว็บ ก็พอแล้วครับค่อยๆ นะ ค่อยๆ อ้อ !! อีกเรื่องครับ เว็บที่ link เข้ามาต้องเป็นเว็บที่เนื้อหาสอดคล้องกับเว็บคุณเหมือนกันนะครับ

6. อย่าทำ Gray SEO อย่างน่าเกลียด  คำพระสอนไว้ว่าให้เดินสายกลาง เราก็ทำ SEO กันแบบสีเทาๆ เหอๆ เค้ามี สายขาว กับ สายดำ เราสายเทา ว่างั้น อืม…บาปเบาๆ ทำบ่อยๆ มันก็เป็นบาป หนักได้เหมือนกันนะครับ เพราะ ฉะนั้น Gray SEO ถ้าเราคิดว่าเฮ้ย “ไม่เป็นไร” แล้วอัดมันทุกวันล่ะก็ มันก็จะกลายเป็นเหมือนกับคุณกำลังทำ Black SEO อยู่ แล้วก็รอวันโดนแบนได้เลยล่ะครับ

7. ทำตัวเป็นโจรขโมยเนื้อหา  นอกจากจะบาป แล้ว คริสต์ก็ผิดพระบัญญัติข้อ 8 ทาง พุทธก็ผิดศีลข้อ 2 ทาง Search Engine ก็มองว่าคุณ Duplicate Content อีกด้วย ผมเคยพูดถึงเรื่องนี้ในบทความ Google panda คืออะไร Duplicate Content คือ การก็อปปี้ หรือ ขโมย เนื้อหาข้อมูลมากจากเว็บไซต์อื่นๆ มาเว็บในเว็บของคุณเอง Google ก็จะมีหน้าที่เป็นตำรวจมาจับขโมยนั่นเอง

8. ทำ Cloaking  เหอๆ จะกลายเป็นบทความศาสนา แล้วมั้ง ก็คือ ข้อนี้บาปครับ และ นอกจากนี้ ทาง Search Engine ก็มองว่าเว็บคุณไม่ดีด้วย การทำ Cloaking การทำหน้าเว็บเพื่อหลอก Bots หรือ Crawler ของ Search Engine โดยทำเพื่อให้เว็บติดอันดับอย่างรวดเร็ว ครับ เหมือนกับการโกหก แหละครับ บาปกรรม นะ

 

9. หลีกเลี่ยงโปรแกรมช่วยทำ SEO ใครมาชวนให้ลองบอกไปเลยว่าไม่ เพราะ Search Engine เค้าฉลาดนะ จับได้หมดแหละครับอย่าพยายามเลย ไอ้วิธีนี้อ่ะไม่ได้ผลหรอกครับ เข้าข่าย ข้อ1 โกง Search Engine นะครับ

10. การทำ Redirects   มาถึงข้อนี้อาจมีคนท้วงผมครับว่า “จำได้นะว่าเคยให้ทำ แนะนำไว้ในบทความที่ชื่อว่า 18 สิ่งง่ายๆเกี่ยวกับ SEO ที่นักพัฒนาเวปไซท์มักจะมองข้ามไป” ใช่ครับผมเคยบอกไว้ การทำ Redirect นั้นควรทำแต่ต้องทำอย่างถูกวิธีครับทำได้แค่วิธีที่ชื่อว่า 301 redirect เท่านั้นครับ ถ้าเป็นประเภท <META HTTP-EQUIV=’Refresh’ อะไรแบบนั้น อย่าครับ ห้ามเด็ดขาด


 

ขอบคุณข้อมูลดี ๆ จาก โฮสอะตอม ครับ

ปัญหาเมื่อ WordPress เจอ 500 Internal Server Error

ปัญหานี้เกิดจากหลายสาเหตุด้วยกัน แล้วแต่สถานการณ์นะครับ แต่ในกรณีผมเนี่ยกำลังจะติดตั้งเว็บใหม่ แต่ทว่ายังไม่ทันเข้าไปถึงหน้าติดตั้งเลยครับ เจอทีถึงกับสะอึกเลยครับ

สาเหตุและวิธีการแก้ไข

ความจริงอาการ 500 Internal Server Error เนี่ยเกิดได้จากหลายสาเหตุนะครับขอบอกไว้ก่อน

1.ตั้งค่า Permission ไม่ถูกหลักของ WordPress นั่นคือ ไฟล์ทุกไฟล์จะต้องเป็น 644 และโฟลเดอร์จะต้องเป็น 755 มิฉะนั้นบางครั้งอาจจะ Error ได้

2.ตั้งค่า Permission ไม่ถูกหลักของ Server (บาง Server จะบล๊อกไว้ไม่ให้ตั้ง Permission เป็น 777 มิฉะนั้นจะขึ้น 500 Internal Server Error)

3.ไฟล์ .htaccess เสีย หรือสร้างขึ้นมาแล้วแต่พิการ ด้วยสาเหตุใดๆก็ตาม ให้ทำการดึงลงมาแก้ไขใหม่อีกครั้ง สังเกตุง่ายๆ ไฟล์ .htaccess จะมีขนาดเป็น 0 kb และอัพโหลดขึ้นไป ทั้งนี้ให้ใส่โค๊ดพื้นฐานของ WordPress นะครับยังไม่ต้องใส่ลูกเล่นกับไฟล์ .htaccess ใส่ค่าดังนี้

# BEGIN WordPress
<IfModule mod_rewrite.c>
RewriteEngine On
RewriteBase /
RewriteCond %{REQUEST_FILENAME} !-f
RewriteCond %{REQUEST_FILENAME} !-d
RewriteRule . /index.php [L]
</IfModule>
# END WordPress

ถ้ายังไม่หาย ให้ลองปิดปลั๊กอินทั้งหมด  บางคนสงสัยว่า เอ๊ะทำยังไง ก็ในเมื่อมันเข้าเว็บไม่ได้เลยอะ

วิธีการปิดปลั๊กอินในกรณีที่เข้าหน้า Admin ไม่ได้ มีดังนี้ครับ

1.ให้ FTP เข้าไปยังโฟลเดอร์ wp-content -> plugins จะเจอกับไฟล์ปลั๊กอินเยอะแยะเลยครับ

2.ให้ทำการเปลียนชื่อโฟลเดอร์ปลั๊กอิน เช่น ถ้าผมจะเปลี่ยนชื่อให้ง่ายๆ คือ ใส่ “_”ข้างหน้าชื่อ ตัวอย่าง _all_in_on_seo_pack

การเปลี่ยนชื่อ = Deactivate ปลั๊กอิน

 


 

ขอบคุณข้อมูลดี ๆ จาก professional-wordpress.com

 

การย้ายเว็บไซต์ WordPress ด้วยปลั๊กอิน Duplicator

การย้ายเว็บไซต์ มักเป็นเรื่องยุ่งยากชวนปวดหัวเสมอ แต่ต่อไปนี้เราจะมาทำให้มันเป็นเรื่องง่ายกัน โดยการใช้ปลั๊กอินที่จะทำการมัดรวมเว็บไซต์ของเราเข้าด้วยกัน แล้วนำไปติดตั้งยังอีกโฮ้สต์ในอีกโดเมน และได้หน้าตาออกมาเหมือนกันอย่างกับโคลนนิ่งเลยทีเดียว

เมื่อไหร่ที่เราควรทำการสำรองข้อมูล

  • ก่อนการ ติดตั้ง อัพเกรด ธีมหรือปลั๊กอิน และ WordPress ควรมีการสำรองฐานข้อมูลและไฟล์อื่นๆ โดยอาจไม่ต้องสำรองไฟล์มีเดียที่อัพโหลดขึ้น
  • หากเป็นเว็บที่มีการเพิ่มเนื้อหาใหม่ทุกวัน ก็ควรมีการสำรองฐานข้อมูลทุกวัน แล้วอาจจะสำรองไฟล์มีเดียรูปภาพวันเว้นวันก็ได้
  • หากเป็นเว็บที่ไม่ค่อยอัพเดตบ่อย ก็ให้สำรองหลังจากการอัพเดตเนื้อหาทุกครั้งแทน

Duplicator

เป็นปลั๊กอินสำหรับการแบ็คอัพหรือย้ายเว็บไซต์ WordPress ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในจำนวนเว็บปลั๊กอินฟรีทั้งหลายของ WordPress เนื่องจากใช้งานค่อนข้างง่ายและคาดหวังได้ มีเวอร์ชั่น Free และแบบ Professional วันนี้เราจะใช้ตัวฟรีกันค่ะ

ตัวฟรีนี้จะเหมาะสำหรับการย้ายเว็บไซต์มากกว่า เพราะปกติปลั๊กอินที่ใช้สำหรับการสำรองข้อมูลนั้นจะต้องมีคุณสมบัติอย่างน้อยเพิ่มอีก 2 อย่าง นั่นก็คือ การตั้งเวลาแบ็คอัพ และ การส่งแบ็คอัพไปยังแหล่งเก็บไฟล์ภายนอก ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้จะไม่มีในตัวฟรีนั่นเอง ให้มานั่งแบ็คอัพเองตลอด เชื่อเถอะค่ะว่าขยันทำไม่ถึงอาทิตย์ก็เลิกแน่นอน! เราผ่านจุดนั้นมาแล้ว

ขั้นแรกเรามาดูเว็บปัจจุบันของเรา เว็บแรกอันบนเป็นเว็บที่เราจำลองบนเครื่องเอง ชื่อ  desktopsite.dev  (ซึ่งสมมุติว่าเราได้ทำการแก้ไขเรียบร้อยแล้ว) ส่วนเว็บที่ 2 อันล่างชื่อ  napamakeup.com  ซึ่งเป็นเนื้อหาเริ่มต้นจากทางโฮสต์ ทีนี้เราต้องการจะทำให้ อันล่างเป็นเหมือนอันบน ด้วยการย้ายแบบ Migrate

desktop-napa

เริ่มกันเลยดีกว่าค่ะ

Desktopsite.dev

Backup

หลังจากติดตั้งปลั๊กอินแล้ว บนเว็บต้นทางของเรา ให้เราไปที่เมนู  Duplicator > Packages ที่แถบเมนูด้านซ้ายมือ แล้วคลิกปุ่ม Create New ด้านมุมขวา

create-package

จากนั้นคลิปปุ่ม Next

next-create-package-backup-duplicator

ระบบก็จะทำการสแกนไฟล์ในของเว็บเราและแสดงสถานะต่างๆ บางโฮ้สต์ก็มีการติดตั้งที่ไม่สนับสนุนกันหรืออาจจะล้าหลังก็จะทำให้เราลำบาก เราเคยมาแล้วกับโฮ้สต์เดิม สุดท้ายต้องมาคอย Import ภาพและบทความทีละอย่างใหม่ ติดตั้งใหม่ เหนื่อย

สำหรับเว็บที่มีไฟล์ uploads เยอะ เช่น รูปภาพ วิดีโอ เราก็สามารถที่จะละเว้นการแบ็คอัพไฟล์เหล่านั้นแล้วดาวน์โหลดมาอัพขึ้นเองต่างหากดไ้ โดยการคลี่แท็บ Archive ออกมาเพื่อตั้งค่าดังนี้

Files

ติ๊ก Enable File Filters เสร็จแล้วก็ใส่พาทของไฟล์ที่ไม่ต้องการในช่อง Directories: เพื่อละเว้นโฟลเดอร์ที่ไม่ต้องการแบ็คอัพ สามารถคลิกที่ [root path] [wp-uploads] [cache] เพื่อกรอกอัตโนมัติได้ คั่นแต่ละพาทด้วยเครื่องหมาย เราสามารถเปิดโปรแกรม FileZilla เพื่อดูพาทที่แน่นอนได้

file-filters-duplicator

ส่วน File extensions: ก็คือ ประเภทของไฟล์ที่เราไม่ต้องการจะแบ็คอัพ เช่น ไฟล์วิดีโอ เป็นต้น

Database

ในแท็บนี้จะเน้นไปในส่วนของฐานข้อมูลที่เราไม่ต้องการให้แบ็คอัพไปด้วยค่ะ ให้ติ๊ก Enable Table Filters ก่อน แล้วไม่ต้องการอันไหนก็ติ๊กที่อันนั้นนะคะ

database-filtes

เพียงเท่านี้เราก็จะสามารถย่อขนาดไฟล์และย่นเวลาในการแบ็คอัพได้แล้วค่ะ

จากนั้นคลิกปุ่ม Build

scan-complete

รอจนเสร็จก็จะขึ้นหน้าต่างแบบนี้ แสดงว่าเรียบร้อยแล้ว

ให้เราทำการคลิกเพื่อดาวน์โหลดไฟล์ทั้ง 2 มาไว้ที่เครื่องเราค่ะ

build-complete

เป็นอันเสร็จสิ้นการแบ็คอัพที่โฮ้สต์ต้นทาง ถ้าหากผ่านขั้นตอนการสแกนไปได้ก็ไม่ค่อยจะมีปัญหาอะไรแล้วค่ะ ส่วนใหญ่ที่ติดปัญหาคือ 1. โฮ้สต์ไม่ซับพอร์ต อันนี้ต้องดูว่ามันเป็นตรงไหนแล้วคุยกับโฮ้สต์ถ้าไม่สามารถแก้ด้วยตัวเองได้  2. ไฟล์มีขนาดใหญ่เกินไป อาจจะไม่รวมไฟล์ที่มีขนาดใหญ่ไปด้วย หรือซื้อตัว Pro ที่รับไฟล์ขนาดใหญ่มากๆ ได้

Napamakeup.com

Create Database

ล็อกอินใช้งาน Control Panel ของเว็บ Napamakeup.com เรา โดยดูการเข้าใช้งานและรหัสผ่านจากอีเมลที่ทางโฮ้สต์ส่งมาให้  ใช้ DirectAdmin จากนั้นทำการสร้างฐานข้อมูล

directtadmin-pathosting mysql-management create-new-database

กรอก Database Name, Database Username กด Random รหัสผ่าน แล้วคลิก Create

create-database

เราก็จะได้ข้อมูล Database มาแบบนี้ อย่าเพิ่งปิดนะคะ ก๊อปทั้งหมดใส่ Notepad ไว้ก่อนก็ได้ค่ะ

database-detailUpload

ให้เรานำข้อมูล FTP ของเว็บ (มีในอีเมล) มาทำการเชื่อมต่อกับโฮ้สต์ของเราด้วยโปรแกรม FileZilla เพื่อทำการลบไฟล์ทั้งหมดในโฟลเดอร์ public_html  ออก แล้วอัพโหลดไฟล์ที่เราได้ดาวน์โหลดมาเก็บไว้ก่อนหน้านี้ขึ้นไปแทน

ftp-detail upload-backup-to-server

อ่านหน้าต่อไปสำหรับการเริ่มติดตั้งติดตั้งแบ็คอัพลงไปที่เว็บใหม่

Install

ที่ช่อง Address bar ก็ให้เราพิพม์ชื่อเว็บเราตามด้วยชื่อไฟล์ installer.php เป็น  napamakeup.com/installer.php 

อันนี้ระบบแจ้งว่า Fail ที่ Root directory นะคะ คือตัว public_html ไม่ได้เปิดให้เขียนไฟล์ได้นั่นเอง

fail-root

ดังนั้นก็ให้เราไปแก้ Permission ของโฟลเดอร์ public_html ให้เป็น 777 ก่อนค่ะ โดยการใช้โปรแกรม FileZilla เช่นเดิม คลิกขวาที่ public_html เลือก File Permission ใส่เลข 777 (แล้วมาเปลี่ยนกลับเป็น 755 หรือ 644 หลังจากติดตั้งเว็บเสร็จแล้ว)

file-permission-root

จากนั้นลองรีเฟรชหน้าเว็บอีกที

เมื่อผ่านแล้ว ระบบจะให้เราใส่ข้อมูลของ Database ที่เราได้สร้างไว้ก่อนหน้านี้ ก๊อปมาใส่ได้เลย

จากนั้นคลิกปุ่ม Test Connection เพื่อทดสอบว่าถูกต้องหรือไม่

เลือนไปด้านล่าง ติ๊กยอมรับ  แล้วคลิกที่ปุ่ม Run Deployment

run-deploy confirm-deploy
กำลังทำการติดตั้ง

กำลังทำการติดตั้ง

เสร็จแล้ว เช็คความถูกต้องก่อนกด Run Update โดยเราสามารถเปลี่ยน Title ตอนนี้ก็ได้ หรือคลิกที่แท็บ New Admin Accountเพื่อเพิ่มยูเซอร์ใหม่หรือ Advanced Options สำหรับการจัดการฐานข้อมูลเพิ่มเติม

พอมาถึงขั้นตอนนี้ก็เป็นอันเสร็จสมบูรณ์แล้วค่ะ จัดการขั้นสุดท้ายด้วยการคลิกที่ลิงค์ต่างๆ

test-site
  1. Review Install Report ดูรายงาน
  2. Save Permalinks เปลี่ยน Permalink ต้องล็อกอินก่อน
  3. Test Site ทดสอบว่าเป็นตามที่ต้องการหรือไม่
  4. Security Cleanup ลบไฟล์แบคอัพที่ติดตั้งเสร็จแล้ว ต้องล็อกอิน

ในที่นี้เราลอง Test Site ดูแล้วเห็นว่าถูกต้อง ก็ทำการคลิก Security Cleanup ค่ะ เขาจะให้เรายืนยันอีกครั้ง

cleanup

ระบบจะให้เรากรอก Username, Password อันเดิมเว็บเดิมที่เราใช้บน desktopsite.dev ค่ะ

login-cleanup

ระบบก็จะนำเราล็อกอินเข้ามาที่ Dashboard ของ WordPress ที่เมนู Duplicator > Tools ให้เราคลิก Delete และ  Clear ทั้ง 3 อย่างในแท็บ Cleanup

clear-duplicator-backup

หน้าตาเว็บใหม่ของเรา แทบแยกไม่ออกจากอันแรกเลยใช่มั๊ยคะ หากเราไม่เปลี่ยน Title ก่อนหน้านี้ ก็จะเหมือนกันเป๊ะค่ะ

after-duplicator-deploy-install
ภาพเปรียบเทียบ

ภาพเปรียบเทียบ

แค่นี้ก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อย เห็นมั๊ยคะว่าย้ายเว็บนั้นไม่ยากอย่างที่คิด

Duplicator Pro

เวอร์ชั่นโปรนั้นสามารถที่จะเพิ่มความสามารถหลายๆ อย่างที่คุ้มค่ากับการลงทุนในราคาเพียง $39 สำหรับ 3 เว็บไซต์ จุดเด่นที่สำคัญนอกเหนือจากการใช้กับเว็บขนาดใหญ่แล้ว ยังมีสิ่งที่น่าสนใจเช่น

Templates

สร้างเทมเพลตการแบคอัพไว้ล่วงหน้า เทมเพลตที่ว่านี้ก็คือ การที่เราต้องการจำกำหนดว่าจะรวมไฟล์ไหน หรือไม่ต้องการที่จะรวมไฟล์ไหนในแบคอัพ จะเอาเฉพาะฐานข้อมูลหรือจะเอาไฟล์อื่นๆ ด้วย เป็นต้น ปกติเราต้องทำการกำหนดทุกครั้ง แต่ถ้าเราสร้างเทมเพลตไว้แล้ว เราก็สามารถเลือกจากเทมเพลตได้เลย

templatesStorage

สามารถที่จะส่งไฟล์แบคอัพไปเก็บไว้บนพื้นที่เก็บไฟล์ออนไลน์ยอดนิยมอย่าง Amazon S3, Dropbox, Google Drive หรือส่งเป็น FTP ไปเก็บไว้บนเซิฟเวอร์อื่นที่เรามีก็ได้ สามารถเพิ่มที่เก็บได้หลายที่นอกเหนือจากเก็บไว้บนเซิฟเวอร์เดียวกับเว็บไซต์

storage

Schedules

กำหนดระยะเวลาในการแบคอัพแบบอัตโนมัติ ทำให้ไม่จำเป็นต้องมาคลิกเอง หากเว็บมีปัญหาเราก็สามารถย้อนกลับไปที่การแบคอัพอัตโนมัติล่าสุดได้เลย สามารถเลือกได้ว่า การแบคอัพอัตโนมัติตัวไหน ใช้กับเทมเพลตไหน เช่น ช่วงเย็นแบคอัพฐานข้อมูล ดึกๆ ก็แบคอัพไฟล์ หรือแบคอัพทั้งเว็บอาทิตย์ละครั้ง เป็นต้น

schedules

และยังมีอีกหลายฟีเจอร์ที่สามารถอำนวยความสะดวกให้เราได้ดังลิสต์ด้านล่าง

pro-featuresราคาตอนนี้จาก $59 เหลือ $39 เท่านั้น สำหรับ Personal Licence (3 เว็บ เพิ่มลบได้) มี Support 1 ปี ต่ออายุในราคาลด 40% คือถึงหมดอายุเราก็ใช้งานไปเรื่อยๆ ได้นะคะ เพียงแต่ไม่ได้อัพเดต ถ้าเลยกำหนดต่ออายุแล้วไปต่อหลังจากนั้นเขาก็จะคิดราคาเต็ม ถ้าต่อภายในช่วงเวลาที่กำหนดถึงจะได้ลด

หากโฮ้สต์ไหนใช้ปลั๊กอินนี้ไม่ได้ อาจจะลองใช้ วิธีการย้ายแบบ Manual ดูนะคะ เสียเวลาหน่อยแต่ได้แน่นอนค่ะ

บทสรุป
Duplicator เป็นปลั๊กอินที่ทำการโคลนนิ่งเว็บแบบยกมาทั้งเว็บ โดยไม่ต้องติดตั้ง WordPress ก่อนทำการโคลนนิ่ง แต่เราก็ต้องสร้างและเชื่อมต่อฐานข้อมูลเอง ปลั๊กอินใช้งานได้ดี

ขอบคุณข้อมูลดี ๆ จาก wpthaiuser

วิธีทำ HTTPS สำหรับบริการโฮสติ้งของ Standhost

ขั้นตอนการติดตั้ง Let’s Encrypt SSL Certificate

ทุกๆ เว็บไซต์จะสามารถขอ SSL Certificate มาติดตั้งได้ฟรีโดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น ประสิทธิภาพการเข้ารหัสสามารถทำได้ดีไม่แตกต่างจาก SSL Certificate ที่มีขายแบบปกติ เริ่มติดตั้งโดยการ Login เข้าสู่ DirectAdmin Control Panel ของเราครับ

1. เลือกเมนู Domain Setup เพื่อเปิดใช้งาน SSL Certificates

domain setup

2. คลิกโดเมนที่ต้องการ

ตั้งค่าโดเมน

3. ติ๊กเลือกเมนู Secure SSL จากนั้นคลิก Save จากนั้นตรวจสอบในส่วนของ private_html setup ว่าได้ติ๊กเลือกเมนู Use a directory named private_html เรียบร้อยแล้ว

check ssl

4. กลับไปที่หน้า Home ของ DirectAdmin ในส่วนของเมนู Advanced Features คลิกเลือก SSL Certificates

advanced features

5. ติ๊กเลือกเมนู Use the server’s shared signed certificate. จากนั้นเลือก Free & automatic certificate from Let’s Encrypt

6. ระบุข้อมูลส่วนตัวตามช่องรายละเอียดดังภาพ จากนั้นคลิก Save ด้านล่างสุด

Let's Encrypt free ssl

7. ระบบได้ยื่นคำขอไปยัง Let’s Encrypt และบันทึก Certificate and Key ไว้บน Server เรียบร้อยแล้วครับ

ssl success

เมื่อเราติดตั้ง Let’s Encrypt SSL Certificate ลงในโดเมนของเราเรียบร้อยแล้ว แต่เว็บของเรามันยังไม่เป็น HTTPS นะครับ ซึ่งขั้นตอนต่อไป ผมจะมาแนะนำการทำเว็บ WordPress ของเราให้เป็น HTTPS ไปดูกันเลย ^_^

การทำเว็บให้เป็น HTTPS มีอยู่ด้วยกัน 2 กรณี คือ
  1. ทำกับเว็บใหม่เลย แบบนี้ก็จะง่ายเลยไม่ซับซ้อน
  2. ทำกับเว็บเดิมที่เป็น HTTP แบบนี้อาจต้องระวังสักเล็กน้อยครับ

ขั้นตอนการทำเว็บให้เป็น HTTPS กรณีทำกับเว็บใหม่

1. ให้เข้าไปหน้า DirectAdmin แล้วให้เราติดตั้ง WordPress ผ่าน Softaculous apps installer

2. เมื่อเราเข้าสู่หน้าการติดตั้งตั้ง WordPress ของ Softaculous แล้ว ในส่วนของ Choose Protocol ให้เลือกเป็น HTTPS ได้เลยครับ

Softaculous

3. หลังจากติดตั้ง WordPress เสร็จเรียบร้อย เราจะพบว่า Web Browser แจ้งว่าเว็บไซต์ของเรามีการเชื่อมต่อแบบเข้ารหัส เป็น HTTPS แล้วครับ

ทำเว็บให้เป็น HTTPS

ขั้นตอนการทำเว็บให้เป็น HTTPS กรณีทำกับเว็บเดิมที่เป็น HTTP

http website

1. ในขั้นตอนแรกให้เราทำการ back up เว็บของเราให้เรียบร้อยก่อนเลยครับ เพราะมันจะมีการย้าย Directory จาก public_html ไปสู่ private_html ดูวิธีการ backup เว็บ WordPress ได้ที่บทความนี้ครับ วิธี backup เว็บไซต์ WordPress โดยใช้ปลั๊กอิน All in one WP Migration

2. หลังจากนั้นให้เข้าไปที่ DirectAdmin แล้วให้ไปที่หน้า overview ในส่วนของ Softaculous apps installer ให้คลิก remove ลบเว็บเดิมของเราทิ้งไปเลยครับ ^_^

3. ให้เข้าไปติดตั้ง WordPress ใหม่อีกครั้งครับ ผ่าน Softaculous apps installer ในส่วนของ Choose Protocol ให้เลือกเป็น HTTPS ได้เลยครับ

Softaculous

4. จากนั้นให้เรา Import ไฟล์เว็บที่เราได้ backup ไว้ในตอนแรกกลับเข้าไปใหม่ครับ ด้วยปลั๊กอิน All in one WP Migration อีกครั้ง โดยดูขั้นตอนการย้ายเว็บ >>คลิกที่นี่<<

5. หลักจากเราย้ายเว็บกลับเข้ามาเรียบร้อยแล้วเราจะพบว่า Web Browser แจ้งว่าเว็บไซต์ของเรามีการเชื่อมต่อแบบเข้ารหัส เป็น HTTPS แล้วครับ

seedtheme

ยังๆ ครับ มันยังไม่จบครับ !!

เพราะการติดตั้ง Let’s Encrypt – SSL Certificates ทำให้ URL  การเข้าถึงเว็บไซต์ของเราเปลี่ยนไป จาก HTTP เป็น HTTPS ซึ่งจะส่งผลให้ Google หา URL เดิมไม่เจอ ซึ่งอาจเกิดผลเสียทำให้ผู้ชมเว็บไซต์ลดลงได้

403 error

วิธีแก้ไขสามารถทำได้โดยทำ 301 Redirect สำหรับ https โดยเฉพาะ วิธีนี้เป็นวิธีที่จะบอก Google และผู้ใช้ทั่วไปว่าเว็บไซต์ของเรา ตอนนี้เปลี่ยนจาก http เป็น https แล้ว รวมไปถึง Redirect ผู้ชมจาก http มาเป็น https ทั้งหมดด้วย

วิธีการทำ 301 Redirect

1. ให้เขาไปที่ DirectAdmin แล้วคลิกไปที่ flie manager >> เลือกชื่อ domain ของเรา
2. ให้เข้าไปที่ โฟลเดอร์ private_html

private html

3. ให้ติ๊กเลือกไฟล์ .htaccess

hattcaass

4. ให้คลิก Add to Clipboard

5. จากให้ให้คลิก back กลับไป และให้เข้าไปในโฟลเดอร์ public_html

public html

6. ให้เราคลิก Copy Clipboard Files Here เพื่อวางไฟล์ .htaccess ที่เราได้ coppy เอาไว้

7. คลิก edit เพื่อเข้าไปแก้ไขไฟล์ .htaccess

edit file httaccess

8. ลบ Code เก่าออกไปทั้งหมด และเพิ่ม Code ด้านล่างนี้เข้าไปครับ จากนั้นให้คลิก save as

RewriteEngine On
RewriteCond %{HTTPS} off
RewriteRule (.*) https://%{HTTP_HOST}%{REQUEST_URI}

301 rewrite

9. ลองเข้าไปพิมพ์ URL แบบเก่าที่เป็น HTTP ลงไปใน Web Browser ดูอีกครั้ง จะเห็นได้เว็บของเราจะ redirect กลับไปที่ URL ใหม่ ที่เป็น HTTPS อยู่เสมอ

 


ขอบคุณข้อมูลดี ๆ จาก พัดวี ครับ padveewebschool.com

มาเปลี่ยน URL login ของ WordPress จาก wp-admin เป็นชื่ออื่นกันครับ

มาเปลี่ยน URL login ของ WordPress จาก wp-admin เป็นชื่ออื่นกันครับ ! ป้องกันการโดน Hack และยังทำให้เว็บของท่านดู Professional ขึ้นได้อีกด้วยนะ 

มีขั้นตอนง่าย ๆ แค่ 8 ขั้นตอน คลิกดูที่รูปภาพได้เลยครับ

1. เลือกเมนู ปลั๊กอิน
2. เลือกเมนู เพิ่มปล๊กอินใหม่
3. ค้นหาคำว่า lockdown wp
4. ในกล่องปลั๊กอิน Lockdown WP Admin ให้คลิก “ติดตั้งตอนนี้”
5. คลิกที่เมนู Lockdown WP
6. ติ๊กที่กล่อง Yes, please hide WP Admin …
7. พิมพ์ชื่อ Login URL ที่ต้องการลงไป่ (ชื่ออะไรก็ได้)
8. กด Save Options

จากนั้นลอง Logout ปิดหน้าต่างเว็บ แล้วเปิดหน้าล็อกอินใหม่ครับ สังเกตว่าถ้าเปิดด้วย Login URL เดิมที่เป็น …/wp-admin จะพบว่าเข้าหน้าล็อกอินไม่ได้แล้วใช่มั้ยครับ
คราวนี้ให้ลองเปิดหน้าล็อกอินด้วย Login URL ใหม่ดู จะพบว่ามันใช้งานล็อกอินได้ ! เพียงเท่านี้เราก็สามารถเปลี่ยน URL Login ของ WordPress เป็นชื่ออื่นได้แล้วครับ